1 / 33

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม )

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน นำเสนอโดยนายชาญชัย ชาญฤทธิ์ ครูชำนาญการพิเศษ ( คศ.3 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม ). เรื่อง. การฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

Download Presentation

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการวิจัยในชั้นเรียนนำเสนอโดยนายชาญชัย ชาญฤทธิ์ครูชำนาญการพิเศษ ( คศ.3 )กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม )

  2. เรื่อง การฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตอง ( ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองและผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง )

  3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตอง • 2. เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างของการใช้วิธีการฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตองก่อนและหลังการฝึก

  4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ผลของการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนที่จะได้พัฒนาทักษะการเล่นกีฬาเปตอง (การโยน) และเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ • ทำให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของแผนการจัด การเรียนรู้ รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตอง • ทำให้ทราบถึงผลของการใช้เทคนิคจินตภาพและการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

  5. ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มประชากร คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 – 4/8 ที่กำลังศึกษาในรายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม ) สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (purposive random sampling )

  6. การทำวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อพัฒนาทักษะและผลสัมฤทธิ์ ของการเล่นกีฬาเปตอง ( ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยน)

  7. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ตัวแปรต้น คือ โปรแกรมการใช้เทคนิคจินตภาพ และ โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนายชาญชัย ชาญฤทธิ์

  8. ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ในการเล่นกีฬาเปตอง อันประกอบไปด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนและ ผลสัมฤทธิ์ของทักษะการปฏิบัติในการโยนลูกเปตอง

  9. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การฝึกเทคนิคจินตภาพเป็นโปรแกรมการฝึกที่ผู้วิจัยคิดและจัดทำขึ้นตามหลักวิชาการที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและเรียนรู้มาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การฝึกเทคนิคจินตภาพเป็นโปรแกรมการฝึกที่ผู้วิจัยคิดและจัดทำขึ้นตามหลักวิชาการที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและเรียนรู้มา สำหรับโปรแกรมการเสริมสร้าง สมรรถภาพทางร่างกาย (ความแข็งแรง) เป็นการจัดโปรแกรมและการปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายซึ่งนักเรียนในชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้วยตนเอง

  10. แบบทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายที่ใช้ในการวิจัยใช้ของ ( ICSPFT )

  11. ข้อตกลงเบื้องต้น 1.การวิจัยในครั้งนี้ใช้เวลาในการฝึกโดย ใช้เวลาเรียนในแต่ละคาบ/วัน ของแต่ละชั้นเรียน รวมเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ 2. กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้น ม.4/1 – 4/8 ชาย 90 คน และหญิง 219 คน รวม 309 คน 3. สถานศึกษาที่ใช้ในการวิจัยและการทดสอบของนักเรียนแต่ละชั้นมีสภาพคล้ายคลึงกันและ ไม่มีส่วนที่จะทำให้ผลการทดสอบแตกต่างกัน continue next page ...............

  12. นิยามศัพท์ “สมรรถภาพทางกาย” “สุขภาพ” “สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ” “เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย” “การจินตภาพ” “โปรแกรมการฝึกจินตภาพ” “ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ” “โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ”

  13. 4 ดีมาก 3 ดี 2 พอใช้ 1 ควรปรับปรุง นิยามศัพท์ ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตอง หมายถึง ผลการทดสอบการโยนลูกเปตองโดยมีคะแนนกำหนดไว้ในแต่ละวงกลมที่กำหนดไว้

  14. การกำหนดคะแนนผลสัมฤทธิ์โยนลูกเปตองการกำหนดคะแนนผลสัมฤทธิ์โยนลูกเปตอง โยนคนละ 5 ครั้ง ระยะห่างจากจุดโยน 9 เมตร ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 20 ซม. ได้ลูกละ 4 คะแนน ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 40 ซม. ได้ลูกละ 3 คะแนน ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 60 ซม. ได้ลูกละ 2 คะแนน ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 80 ซม. ได้ลูกละ 1 คะแนน

  15. การแปลผล (นักเรียนชาย) • ผลรวมคะแนน 17 – 20 คะแนน คะแนนที่ได้ 4 คะแนน • ผลรวมคะแนน 13 – 16 คะแนน คะแนนที่ได้ 3 คะแนน • ผลรวมคะแนน 9 – 12 คะแนน คะแนนที่ได้ 2 คะแนน • ผลรวมคะแนน 5 – 8 คะแนน คะแนนที่ได้ 1 คะแนน • ผลรวมคะแนน 0 – 4 คะแนน คะแนนที่ได้ 0 คะแนน

  16. การแปลผล (นักเรียนหญิง) • ผลรวมคะแนน 16 – 20 คะแนน คะแนนที่ได้ 4 คะแนน • ผลรวมคะแนน 11 – 15 คะแนน คะแนนที่ได้ 3 คะแนน • ผลรวมคะแนน 6 – 10 คะแนน คะแนนที่ได้ 2 คะแนน • ผลรวมคะแนน 1 – 5 คะแนน คะแนนที่ได้ 1 คะแนน • ผลรวมคะแนน 0 คะแนน คะแนนที่ได้ 0 คะแนน

  17. นิยามศัพท์ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองหมายถึงนิยามศัพท์ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองหมายถึง • ผลการทดสอบการปฏิบัติทักษะการโยน ลูกเปตอง โดยมีคะแนนกำหนดไว้ ในแต่ละการแสดงทักษะการโยนของแต่ละคน

  18. ตารางแสดงผลทักษะการโยนลูกเปตอง (โดยการสังเกต)

  19. ตารางแสดงผลทักษะการโยนลูกเปตอง (โดยการสังเกต)

  20. การแปลผลค่าเฉลี่ยจากการคำนวณ ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองและผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง

  21. วิธีการดำเนินการและการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการดำเนินการและการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2. จัดทำโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียนนำเสนอหัวหน้ากลุ่มสาระฯ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบริหารวิชาการ และผู้อำนวยการสถานศึกษา 3. ทำการปฐมนิเทศนักเรียน 4. ทดสอบทักษะนักเรียนก่อนการเรียน 5. บันทึกผลการทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล

  22. 6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 7. ใช้โปรแกรมการฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พ 402 8. ทำการฝึกเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ๆ ละ 1 วัน ตามคาบเรียนของแต่ละห้องเรียน 9. ทำการทดสอบทักษะนักเรียนหลังการเรียน 10. นำผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการโยนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยน วิเคราะห์ ผลทางสถิติ 11. สรุปผลการวิจัยในชั้นเรียนและข้อเสนอแนะ

  23. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2. โปรแกรมการฝึกจินตภาพ ที่ฝึกให้นักเรียนจินตนาการถึงการจัดวางท่าทางการเริ่มต้น,การเคลื่อนไหวของแขนและการส่งแรงในการโยนตามระยะห่างและ ความสูงตามโปรแกรมการฝึกและกิจกรรมการเรียนรู้ 3. โปรแกรมการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโปรแกรมการอบอุ่นร่างกาย โปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำและนำเสนอ

  24. อุปกรณ์ 1. ลูกเปตอง 2. เชือกฟางและเทปวัดระยะ 3. สนามวิ่ง,เบาะยิมนาสติก,กล่องวัดความ อ่อนตัว,เครื่องวัดกำลังมือ TKK ,แผ่นยางสำหรับยืนกระโดดไกล,ท่อนไม้สำหรับทดสอบ การวิ่งเก็บของ,นาฬิกาจับเวลา,นกหวีด,ปูนขาว 4. แบบบันทึกต่าง ๆ

  25. สถิติที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล • วิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) • คำนวณค่าเฉลี่ย (mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) • ของผลสัมฤทธิ์ในการโยนเปตองและผลสัมฤทธิ่ • ของการปฏิบัติทักษะในการโยนลูกเปตอง • 2. ทดสอบค่าความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10 โดยใช้การทดสอบค่าเฉลี่ย (t – test ) • 3. ทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ • ที่ระดับ .05

  26. สถานที่ในการทำวิจัย สนามกีฬาเปตอง สนามกีฬาของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม ) ห้องศูนย์สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ระยะเวลาในการทำวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เดือนต.ค.46 – มี.ค.47

  27. ผลการวิจัย ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองของนักเรียนชาย แต่ละห้องและของนักเรียนชายทั้งหมด

  28. ผลการวิจัย ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองของนักเรียนหญิง แต่ละห้องและของนักเรียนหญิงทั้งหมด

  29. ผลการวิจัย ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง ของนักเรียนชายแต่ละห้องและของนักเรียนชายทั้งหมด

  30. ผลการวิจัย ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง ของนักเรียนหญิงแต่ละห้องและของนักเรียนหญิงทั้งหมด

  31. ผลการวิจัย * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองของนักเรียนชายแต่ละห้องและ ของนักเรียนชายทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/4 และ ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยน ลูกเปตองของนักเรียนหญิงแต่ละห้องและ ของนักเรียนหญิงทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง

  32. ผลการวิจัย * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฎิบัติทักษะการโยนลูกเปตองของนักเรียนชายแต่ละห้องและของ นักเรียนชายทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองของนักเรียนหญิงแต่ละห้องและของ นักเรียนหญิงทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง

  33. สรุปผลการวิจัย จากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา พ 402 โดยใช้โปรแกรมการฝึกจินตภาพร่วมกับโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 – 4/8 ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองและผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองภายหลังการเรียน,การฝึก ดีขึ้นจากก่อนการเรียน

More Related