1 / 10

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส. การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นช่วงหนึ่งของ ประวัติศาสตร์ยุโรป เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2332 - 2342 เป็นการปฏิวัติที่โค่นล้ม สถาบันกษัตริย์ ฝรั่งเศส และสถาปนา สาธารณรัฐ ขึ้น การปฏิวัตินี้มีความสำคัญ เพราะเป็นจุดหักเหใน ประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป.

Download Presentation

การปฏิวัติฝรั่งเศส

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิวัติฝรั่งเศส

  2. การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2332 - 2342 เป็นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์ฝรั่งเศส และสถาปนาสาธารณรัฐขึ้น การปฏิวัตินี้มีความสำคัญ เพราะเป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป

  3. การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งการพนันบ้าง

  4. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ในยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางความคิดในเรื่องของ สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ การฟังแล้วคิดวิเคราะห์ไม่ได้เชื่อใครง่ายเกินไป ซึ่งเมื่อก่อน ประชาชนในฝรั่งเศสต้องฟังข่าวสารจากพระ และขุนนาง และนักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น

  5. ที่ได้รับแนวคิดจากหนังสือที่ชื่อ เดอะปริ๊นต์ (เจ้าผู้ครองนคร) โดย นิโคโล แมคเคียววี่ ซึ่งเขียนใน ช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 15 และผลของการศึกษาวรรณกรรมนี้เอง ทำให้ประชาชนเริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะว่า มีแนวคิดที่ว่า อำนาจการเมืองซึ่งเคยเป็นของพระเจ้า ซึ่งส่งผ่านมาไว้ที่ พระสันตปาปา ตามด้วย กษัตริย์ สุดท้ายก็ตกมาอยู่กับประชาชน

  6. สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว 1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น 2.ภูมิอากาศในฝรั่งเศสในช่วงนั้นได้หนาวมาก จนกระทั่งชาวนาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยมาก

  7. 3.พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ได้ส่งกองกำลังทหารไปที่ทวีปอเมริกา เพื่อไปทำสงครามกับอังกฤษ เพื่อปลดปล่อยชาวอาณานิคมในสมัยนั้นให้เป็นเอกราช ทั้งนี้ก็เพราะว่าในสมัยพระหลุยส์ที่ 15 ได้ถูกกษัตริย์จอร์จแห่งอังกฤษ ได้ขับไล่กองทัพฝรั่งเศสออกไปจากอาณานิคมที่ทวีปอเมริกาจนหมดสิ้น ดังนั้นพอถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระองค์จึงต้องการทำสงครามปลดปล่อยอาณานิคมที่ทวีปอเมริกา เพื่อเป็นการแก้แค้น และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องออกค่าใช้จ่าย ไป 2000 ล้านลีฟว์ (ซึ่งเป็นเงินที่กู้มาจากต่างประเทศ) ในปี พ.ศ. 2319

  8. 4.การสร้างพระราชวังแวร์ซายในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อันเนื่องมาจากความกลัวว่าประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อีก ดังนั้น พระองค์จึงมีพระบรมราชองค์การให้สร้างพระราชวังแวร์ซาย ที่นอกเมืองปารีส 5.การทำสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศสไปทางสเปน ในปลายสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

  9. การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์ เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319 เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321

  10. ความขัดแย้งระหว่างสภา (ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les étatsgénérauxซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์

More Related