1 / 39

นายวรวิทย์ สุระโคตร หัวหน้ากลุ่มงานวินัยและนิติการ

การดำเนินการทางวินัยข้าราชการ. นายวรวิทย์ สุระโคตร หัวหน้ากลุ่มงานวินัยและนิติการ. พนักงานราชการคือใคร ?. คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้าง โดยได้รับค่าตอบแทน จากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐ ในการปฏิบัติงาน ให้กับส่วนราชการนั้น. หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานราชการ.

Download Presentation

นายวรวิทย์ สุระโคตร หัวหน้ากลุ่มงานวินัยและนิติการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การดำเนินการทางวินัยข้าราชการการดำเนินการทางวินัยข้าราชการ นายวรวิทย์ สุระโคตร หัวหน้ากลุ่มงานวินัยและนิติการ

  2. พนักงานราชการคือใคร ? คือ บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้าง โดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ เพื่อเป็นพนักงานของรัฐ ในการปฏิบัติงาน ให้กับส่วนราชการนั้น

  3. หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานราชการหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานราชการ 1. ตำแหน่งนักจัดการงานทั่วไป ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานบริหาร ทั่วไป เช่น งานพิมพ์ งานธุรการ งานสารบรรณ งานร่าง- โต้ตอบ การติดต่อประสานงานทั่วไป งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งานบุคคล งานจัดระบบงาน งานรวบรวมข้อมูลสถิติ การจัด ประชุม อบรมสัมมนา การจดบันทึกรายงานการประชุม การปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  4. งานบุคคล กฎ ระเบียบ วินัย และการดำเนินการทางวินัย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการพัฒนามีความรู้ ความเข้าใจใน กฎ ระเบียบ และวินัยของข้าราชการที่พึงปฏิบัติอย่าง ถูกต้อง 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการพัฒนาเกิดจิตสำนึกในการเป็น ข้าราชการที่ดี

  5. เนื้อหา 1. กฎ ระเบียบ และวินัยข้าราชการที่จำเป็น 2. การดำเนินการทางวินัย 3. กรณีศึกษาการกระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง และการกระทำ ผิดวินัยอย่างร้ายแรง

  6. ลักษณะของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน กศน. 1) สถานศึกษาเช่น กศน. อำเภอ/เขต ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา (ยกเว้นศูนย์วิทย์ฯ เอกมัย) ศูนย์ฝึกฯ สถาบัน กศน. ภาค 2) หน่วยงานการศึกษา เช่น สำนักงาน กศน. จังหวัด ศูนย์วิทย์ฯ เอกมัย ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

  7. ลักษณะของบุคลากรภายในสถานศึกษาลักษณะของบุคลากรภายในสถานศึกษา และหน่วยงานการศึกษา ประกอบด้วย • ข้าราชการครู • บุคลากรทางการศึกษา • ลูกจ้างประจำ • พนักงานราชการ • ลูกจ้างชั่วคราว

  8. กฎหมายที่ใช้ในการดำเนินการทางวินัยกฎหมายที่ใช้ในการดำเนินการทางวินัย ต่อบุคลากรแต่ละประเภท 1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใช้ พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 2. ลูกจ้างประจำ ใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 กฎ ก.พ. ฉบับที่18 พ.ศ.2540 ว่าด้วยการสอบสวน

  9. กฎหมายที่ใช้ในการดำเนินการทางวินัยกฎหมายที่ใช้ในการดำเนินการทางวินัย 3. พนักงานราชการ ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 กฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 4. ลูกจ้างชั่วคราว ใช้วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

  10. การดำเนินการทางแพ่ง ต่อบุคลากรในสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษา ใช้ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539และใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การดำเนินการทางอาญา ใช้ตามกฏหมายอาญาทั่วไป

  11. การดำเนินการวินัย คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ 270/2551 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2551 เรื่องมอบอำนาจให้ ผอ. สำนักงาน กศน. จังหวัด/กทม. ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการในเรื่อง 1) ให้ดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรง และสั่งลงโทษวินัยไม่ร้ายแรงข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีวิทยฐานะชำนาญการ ครูผู้ช่วยพนักงานราชการและลูกจ้าง 2) ให้ดำเนินการทางวินัยอย่างร้ายแรงพนักงานราชการ

  12. การดำเนินการทางวินัยหมายถึงการดำเนินการทางวินัยหมายถึง การดำเนินการทางวินัย หมายถึงกระบวนการทั้งหมายที่กระทำเป็นพิธีการตามกฎหมาย เมื่อบุคลากรมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ซึ่งได้แก่ การตั้งเรื่องกล่าวหา การสืบสวน หรือการสอบสวน การพิจารณาความผิด และการกำหนดโทษ การสั่งลงโทษ หรือการงดโทษ รวมทั้งการดำเนินการต่างๆ ระหว่างการสอบสวนพิจารณา เช่น การสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอฟังผลการสอบสวน

  13. มูลเหตุแห่งการกระทำผิดวินัยมูลเหตุแห่งการกระทำผิดวินัย 1. ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ 2. ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ เกินกว่า 15 วัน ร้ายแรง ไม่เกิน 15 วัน ไม่ร้ายแรง 3. ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ 4. ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วย กฎหมาย 5. ดูหมิ่นเหยียดหยาม กดขี่ข่มเหงผู้เรียน หรือประชาชน

  14. มูลเหตุแห่งการกระทำผิดวินัยมูลเหตุแห่งการกระทำผิดวินัย 6. กลั่นแกล้งผู้อื่นโดยปราศจากความจริง 7. ลอกเลียนผลงานผู้อื่นโดยมิชอบ 8. กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก 9. กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ฯลฯ

  15. การดำเนินการทางวินัย เช่น เมื่อมีการร้องเรียน หรือพบการกระทำผิดเกิดขึ้นในสำนักงาน กศน. จังหวัด จะต้องดำเนินการอย่างไร 1. สืบสวนหาข้อเท็จจริง 2. ผลการสืบสวนไม่มีมูลให้ยุติเรื่อง (ถ้าเป็นเรื่องร้องเรียนเฉพาะ สำนักงาน กศน. จังหวัด ไม่ต้องรายงานสำนักงาน กศน. แต่ถ้า ผู้ร้องร้องไปยังสำนักงาน กศน. และหน่วยงานอื่นๆ ต้องรายงาน สำนักงาน กศน.

  16. การดำเนินการทางวินัย 3. ผลการสอบสวนถ้ามีมูลความผิดวินัยไม่ร้ายแรงให้สำนักงาน กศน. จังหวัด แต่งตั้งกรรมการสอบสวน และกำหนดโทษ สั่ง ลงโทษ และรายงานสำนักงาน กศน. 4. ผลการสืบสวนมีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้รายงาน สำนักงาน กศน. เพื่อดำเนินการต่อไป ยกเว้น พนักงานราชการ ให้สำนักงาน กศน. จังหวัดแต่งตั้งกรรมการสอบสวนได้เลย

  17. มูลเหตุแห่งการที่จะต้องดำเนินการสืบสวนมูลเหตุแห่งการที่จะต้องดำเนินการสืบสวน นอกเหนือจากมูลเหตุที่เกิดขึ้นในสำนักงาน กศน. จังหวัด 1. สำนักงาน กศน. แจ้งให้ดำเนินการ 2. หน่วยงานอื่นแจ้งให้ดำเนินการ เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน 3. มีบัตรสนเท่ห์ กล่าวหาว่า ข้าราชการในบังคับบัญชากระทำผิดวินัย โดย บัตรสนเท่ห์นั้น ระบุพยานหลักฐาน กรณีแวดล้อมชัดแจ้ง ตลอดจน ระบุพยานบุคคลแน่นอน

  18. วิธีการสืบสวนทำได้ 2 วิธี 1) สืบสวนโดยทางลับ 2) สืบสวนโดยเปิดเผย

  19. การสอบสวน การสอบสวน หมายถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลาย เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ หรือพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวหา ให้ได้ความจริงและความยุติธรรมและเพื่อพิจารณาว่าผู้ถูกกล่าวงหาได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ การสอบสวนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง และสอบสวนวินัยอย่าง ร้างแรง ดังนี้ 1) การตั้งเรื่องกล่าวหา เป็นการตั้งเรื่องกล่าวหา แก่ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีมูล กระทำผิดวินัยในกรณีใด 2) การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน โดยผู้มีอำนาจแต่งตั้ง

  20. การสอบสวน 3) องค์ประกอบของคณะกรรมการสอบสวน 3.1 ประธานกรรมการและกรรมการต้องเป็นข้าราชการ 3.2 ประธานคณะกรรมการสอบสวนต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ผู้ถูกสอบสวน ส่วนกรรมการอื่นดำรงตำแหน่งระดับใดก็ได้ 3.3 กรรมการและเลขานุการต้องเป็นนิติกรหรือเป็นผู้มีวุฒิ นิติศาสตร์ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมการดำเนินการทางวินัย หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ทางวินัย 3.4 องค์คณะกรรมการควรตั้งจำนวนเป็นเลขคี่ เช่น 3 คน 5 คน

  21. การสอบสวน 4) สิทธิของผู้ถูกสอบสวน 4.1 มีสิทธิคัดค้านกรรมการสอบสวน 4.2 มีสิทธิรับทราบข้อกล่าวหาตลอดจนพยานที่สนับสนุนข้อกล่าวหา และนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ข้อกล่าวหาได้ 4.3 สามารถนำทนายความหรือบุคคลที่ไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวน ได้

  22. มูลเหตุแห่งการคัดค้านกรรมการสอบสวนมูลเหตุแห่งการคัดค้านกรรมการสอบสวน • เป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ในขณะกระทำการตามเรื่องที่กล่าวหา • เป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน • เป็นผู้มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหา • เป็นผู้กล่าวหา หรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดาและมารดา ร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้ถูกกล่าวหา • เป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ของผู้ถูกกล่าวหา • มีเหตุอื่นซึ่งอาจทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม

  23. การดำเนินการสอบสวน • ถ้าผู้ถูกสอบสวนเป็นลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการให้ดำเนินการตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2540) ว่าด้วยการสอบสวนและพิจารณา • ถ้าผู้ถูกสอบสวนเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดำเนินการตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณาพ.ศ. 2550

  24. การสอบพยาน • พยานมี 2 ประเภท คือ • ประจักษ์พยาน หมายถึง พยานที่ได้รู้เห็นข้อเท็จจริงนั้นมาด้วยตนเอง • พยานบอกเล่า หมายถึง พยานที่มิได้รู้เห็นข้อเท็จจริงนั้นมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินได้ฟังผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง • ลักษณะของพยาน เช่นพยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ

  25. การทำรายงานการสอบสวน • สรุปข้อเท็จจริง และพยานหลักฐาน • นำข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยุติมาพิจารณาและปรับบทให้เข้ากับข้อกฎหมายว่ากระทำผิดตามมาตราใด • ถ้าไม่มีมูลความผิดให้ยุติเรื่อง ถ้ามีความผิดให้กำหนดโทษว่าควรได้รับโทษสถานใด

  26. การกำหนดโทษทางวินัย • ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีโทษ 5 สถาน • 1.1 ภาคทัณฑ์ • 1.2 ตัดเงินเดือน • 1.3 ลดขั้นเงินเดือน • 1.4 ปลดออก • 1.5 ไล่ออก

  27. การกำหนดโทษทางวินัย 2) ลูกจ้างประจำโทษทางวินัย มี 5 สถาน 1.1 ภาคทัณฑ์ 1.2 ตัดค่าจ้าง 1.3 ลดขั้นค่าจ้าง 1.4 ปลดออก 1.5 ไล่ออก

  28. การกำหนดโทษทางวินัย 3) พนักงานราชการ โทษทางวินัย มี 4 สถาน 1.1 ภาคทัณฑ์ 1.2 ตัดเงินค่าตอบแทน 1.3 ลดขั้นเงินค่าตอบแทน 1.4 ไล่ออก (กรณีทำผิดร้ายแรง)

  29. ขั้นตอนการรายงานการสอบสวนขั้นตอนการรายงานการสอบสวน คณะกรรมการพิจารณากำหนดโทษ ผอ.กศน.จังหวัด สำนักงาน กศน. แล้วแต่กรณี

  30. การอุทธรณ์ การอุทธรณ์ คือ การขอให้ทบทวนคำสั่งใหม่ มี 2 ลักษณะคือ 1. อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ 2. อุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง

  31. การอุทธรณ์ 1. อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ 1.1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา - ต้องอุทธรณ์ตาม พรบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2550 - ต้องอุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดฯ โดยยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น - ต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบ - เนื้อหาของอุทธรณ์ต้องแจ้งว่าการลงโทษไม่ถูกต้องอย่างไร

  32. การอุทธรณ์ 1. อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ 1.2 ลูกจ้างประจำ - ต้องอุทธรณ์ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 และกฎ ก.พ. ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2540) ออกตามความใน พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 หนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0527.6/ว 50 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 - ต้องอุทธรณ์ต่อ อ.ก.พ.กระทรวง โดยยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น - ต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบ - เนื้อหาของอุทธรณ์ ต้องแจ้งว่าการลงโทษไม่ถูกต้องอย่างไร

  33. การอุทธรณ์ 1. อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ 1.3 พนักงานราชการ - ต้องอุทธรณ์ตาม พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 - ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่ง - ต้องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบ - เนื้อหาของอุทธรณ์ ต้องแจ้งว่าการลงโทษไม่ถูกต้องอย่างไร - เจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งต้องพิจารณาอีกครั้ง หากเห็นด้วยกับอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งได้ หากไม่เห็นด้วยให้เสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

  34. การอุทธรณ์ 2. อุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง คำสั่งทางปกครอง คือ การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย อุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน

  35. การอุทธรณ์ 2. อุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง • ต้องอุทธรณ์ตาม พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 • ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่ง • ต้องอุทธรณ์ภายใน 90 วัน นับแต่รับทราบ • เนื้อหาของอุทธรณ์ต้องแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร • - เจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งต้องพิจารณาอีกครั้ง หากเห็นด้วยกับอุทธรณ์แก้ไขคำสั่งได้ หากไม่เห็นด้วยให้เสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

  36. การร้องทุกข์ 1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา - กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ พรบ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ พ.ศ. 2551 - ต้องร้องทุกข์ต่อ อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดฯ โดยยื่นผ่านผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น - ต้องร้องทุกข์ภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบ - เนื้อหาของร้องทุกข์ ต้องแจ้งว่าได้รับทุกข์ร้อนหรือคับข้องใจอย่างไร

  37. การร้องทุกข์ 2. ลูกจ้างประจำ - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระเบียบระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 และหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0527.6/ว 51 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 - ต้องร้องทุกข์ภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบ - เนื้อหาของร้องทุกข์ ต้องแจ้งว่าได้รับทุกข์ร้อนหรือคับข้องใจอย่างไร

  38. การร้องทุกข์ 3. พนักงานราชการ - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 - ต้องร้องทุกข์ภายใน 30 วัน นับแต่รับทราบ - เนื้อหาของร้องทุกข์ ต้องแจ้งว่าได้รับทุกข์ร้อนหรือคับข้องใจอย่างไร

  39. สวัสดี

More Related