1 / 33

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. ประเด็นปัญหาและสาเหตุ. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้านขาดความชัดเจน

conan-keith
Download Presentation

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย นายอร่าม ก้อนสมบัติ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

  2. ประเด็นปัญหาและสาเหตุประเด็นปัญหาและสาเหตุ • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างไทยกับประเทศ เพื่อนบ้านขาดความชัดเจน • สาเหตุความต้องการของท้องถิ่น, การเมือง และประเทศเพื่อนบ้าน • ระบบโลจิสติกส์ และการขนส่งภายในประเทศขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ • สาเหตุขาดการจัดการเป็นระบบ, สถานีรวบรวมและกระจายสินค้าไม่เพียงพอ และขาดการประสาน/เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน • กฎระเบียบวิธีการการขนส่งข้ามแดน ตลอดจนกฎหมายของแต่ละประเทศแตกต่างกัน รวมทั้ง ขาดการประสานงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด • สาเหตุ ความแตกต่างด้านวิธีการ กฎระเบียบ และขาดการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิด

  3. ส่งเสริมยุทธศาสตร์หลักของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอินโดจีนส่งเสริมยุทธศาสตร์หลักของประเทศในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคอินโดจีน • จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน • ด้านโครงสร้างพื้นฐาน • ด้านการจัดการด้าน Logistics ภายในประเทศ • ด้านการแก้ไขปัญหาการขนส่งสินค้าข้ามแดน

  4. โครงสร้างพื้นฐานทางถนนโครงสร้างพื้นฐานทางถนน โครงข่ายทางหลวงของประเทศไทย มีความยาว ทั้งสิ้น 51,777กม.

  5. โครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ รางรถไฟในประเทศไทย มีความยาวประมาณ 4,180 กม. และเชื่อมต่อกับ 46 จังหวัด

  6. โครงสร้างพื้นฐานทางลำน้ำโครงสร้างพื้นฐานทางลำน้ำ โครงข่ายการขนส่งสินค้าทางลำน้ำระหว่างประเทศ โครงข่ายการขนส่งสินค้าทางลำน้ำภายในประเทศ

  7. โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ ระหว่างประเทศ

  8. โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศ

  9. ปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศ หน่วย: ล้านตัน-กม. ที่มา: สำนักแผนงาน สนข * ระยะทางที่ใช้ในการคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยที่ได้จากแบบจำลอง

  10. ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศปริมาณการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศ หน่วย: พันคน ที่มา: กระทรวงคมนาคม

  11. ข้อมูลการค้าชายแดน พ.ศ. 2548 ไทย - จีนตอนใต้ นำเข้า 1,058ลบ. ส่งออก 4,211ลบ. ไทย – ลาว นำเข้า 5,745ลบ. ส่งออก 32,802 ลบ. ไทย - พม่า นำเข้า 65,568 ลบ. ส่งออก 23,047 ลบ. ไทย - กัมพูชา นำเข้า 1,067 ลบ. ส่งออก 20,175 ลบ. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ หน่วย : ล้านบาท ไทย - มาเลเชีย นำเข้า 83,356 ลบ. ส่งออก 188,868 ลบ.

  12. ช่องทางการค้าระหว่าง ไทย – ประเทศเพื่อนบ้าน

  13. ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: ข้าว

  14. ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: มันสำปะหลัง

  15. ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: ยางพารา

  16. ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: น้ำตาล

  17. ข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้า: แผงวงจรไฟฟ้า

  18. Logistic Cost/GDP (%) Thailand19 % USA8.5 % Japan8.5 % West -EUR6.5 % Singapore 7 % เปรียบเทียบต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยกับประเทศต่างๆ ที่มา:สภาพัฒน์ฯ, 2548

  19. ต้นทุนบริหารคลังสินค้า 7% ต้นทุนค่าขนส่ง 7.5% ต้นทุนบริหารจัดการ 4% ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย 19% ของ GDP ที่มา:สภาพัฒน์ฯ, 2548

  20. ปัญหาการขนส่งข้ามแดน • กฎระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งที่แตกต่างกัน อาทิ มาตรฐานรถบรรทุก มาตรฐานน้ำหนักสูงสุดในการบรรทุก ใบอนุญาตผู้ขับขี่ หรือใบอนุญาตต่างๆ เป็นต้น • โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งยังไม่เพียงพอ • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศยังคงมีน้อยซึ่งในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้นกับระบบการขนส่งแบบครบวงจร • เงื่อนไขที่เข้มงวดเกี่ยวกับวีซ่าและการเข้าเมืองมักทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งระหว่างประเทศ • การปกป้องอุตสาหกรรมขนส่งภายในประเทศสร้างแนวปฏิบัติหรือกลไกทางกฎหมายเพื่อจำกัดปริมาณผู้ประกอบการหรือจำกัดปริมาณการขนส่ง

  21. ปัญหาการขนส่งข้ามแดน (ต่อ) • การประกันภัยทั้งกรณีที่เป็นประกันสินค้าหรือประกันภัยการขนส่งอาจมีราคาแพงและไม่มีระบบประกันภัยระหว่างประเทศในบางประเทศ • ขาดการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยบนเส้นทางขนส่งผ่านแดน • กรอบกฎหมายมีไม่เพียงพอและชัดเจน • ขาดระบบขนส่งผ่านแดนด้านศุลกากร • พิธีการและขั้นตอนในการข้ามแดนยุ่งยาก ซับซ้อนและล่าช้าทำให้การขนส่งล่าช้าไปด้วย • การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านแดนที่แตกต่างกัน • ความไม่ชัดเจนในเรื่องกฎระเบียบหรืออาจมีการแก้ไขกฎระเบียบบ่อยโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

  22. การวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งการวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน • ปริมาณสินค้าผ่านแดน • ความสำคัญของจุดผ่านแดนตามแผนพัฒนาของไทย • การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในประเทศเพื่อนบ้าน • ศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน • ศักยภาพการพัฒนาต่อเนื่องกับประเทศอื่นๆ การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization)

  23. การวิเคราะห์กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (ต่อ) ด้าน Logistics • พิจารณาจากการเคลื่อนไหวของสินค้า • การขนส่งในแต่ละรูปแบบและ การเชื่อมโยงผสมผสานกัน • การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การกำหนดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จุดเชื่อมการขนส่ง และ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน การกำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริม/ ปรับปรุงกิจกรรมการขนส่ง ผ่านชายแดน • วิเคราะห์ปัญหาในส่วนทวิภาคี • ประมวลผลโดยรวม

  24. กลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน กลยุทธ์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน • การจัดอันดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ทางหลวง ทางรถไฟ และทางน้ำ ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังต่อไปนี้ • ไทย – ลาว • ทางหลวง • 1. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 2 มุกดาหาร-สะหวันนะเขต • 2. โครงการทางหลวง R3 เชื่อมโยง เชียงของ (เชียงราย) – ห้วยทราย (บ่อแก้ว) - หลวงน้ำท่า –บ่อเต็น (รวมสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ) • 3.โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3 (นครพนม) –ท่าแขก • 4. โครงการการก่อสร้างถนนเชื่อมท่าเทียบเรือแขวงคำม่วน – ทางหลวงหมายเลข 13 (ใน สปป. ลาว) • 5. โครงการทางหลวงสายห้วยโก๋น (จ.น่าน) – ปากแบ่ง (สปป.ลาว) • ทางรถไฟ • 1. การก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายหนองคาย – ท่านาแล้ง – เวียงจันทน์ • 2. โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ เด่นชัย – เชียงราย - จีนตอนใต้ • ทางน้ำ • 1. โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชียงแสน แห่งที่ 2

  25. กลยุทธ์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ต่อ) • ไทย –พม่า • ทางหลวง • 1. โครงการก่อสร้างถนนสายแม่สอด - เมียวดี – เมาะละแหม่ง - ย่างกุ้ง • 2. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 (อ. แม่สาย จ. เชียงราย) • 3. โครงการก่อสร้างถนนสายกาญจนบุรี – ทวาย • ทางน้ำ • 1. โครงการพัฒนาท่าเรือเอนกประสงค์ จังหวัดระนอง • ไทย – กัมพูชา • ทางหลวง • 1. โครงการก่อสร้างทางสายอรัญประเทศ – ศรีโสภณ – เสียมราฐ • 2. โครงการก่อสร้างทางสายอรัญประเทศ – ศรีโสภณ – พระตะบอง – พนมเปญ • 3. โครงการเส้นทางถนนเลียบชายฝั่งทะเลไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ตอนตราด-บ้านหาดเล็ก – เกาะกง - สะแรอัมเปิล – ฮาเตียน – คาเมา • 4. โครงการก่อสร้างถนนสาย 67 ช่องสะงำ – อัลลองเวง – เสียมราฐ • 5. โครงการก่อสร้างทางสายสุรินทร์ – ช่องจอม – กระลัน (เสียมราฐ) • 6. โครงการก่อสร้างทางสายบุรีรีมย์ – บ้านกรวด – บันเตียร์ชะมา - ศรีโสภณ • ทางรถไฟ • 1. โครงการทางรถไฟอรัญประเทศ – ศรีโสภณ (กัมพูชา)

  26. กลยุทธ์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ต่อ) • ไทย – มาเลเซีย • ทางหลวง • 1. โครงการปรับปรุงทางสายหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ • 2. โครงการบูรณะและปรับปรุงทาง อ. หาดใหญ่ – ชายแดนมาเลเชีย (คลองพรวน) • 3. โครงการก่อสร้างถนนบ้านนาทวี-บ้านประกอบ-อลอสตาร์ • 4. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโกลก เชื่อมโยงระหว่าง บ. บูเก๊ะตา อ. แว้ง จ. นราธิวาส กับ บ.บูเก๊ะบุหงา รัฐกลันตัน • 5. โครงการก่อสร้างถนนยะลา-เบตง-ปีนัง • 6. โครงการก่อสร้างทางสายสตูล-รัฐเปอร์ลิส • ทางรถไฟ • 1. โครงการทางรถไฟสายหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์

  27. กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ การพัฒนาโครงข่ายถนน • - การพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) • การก่อสร้างถนนถนนเชื่อมเข้าสู่ท่าข้าวกำนันทรง (Int’l Rice hub) โดยตรง เพื่อสนับสนุนให้ท่าข้าวกำนันทรงเป็นศูนย์กลางการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบนานาชาติ • การก่อสร้างถนนเชื่อมเข้าสู่สถานีสินค้าอื่นๆ ทั่วประเทศ • การปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญที่เชื่อมโยงกับประตูการค้าสำคัญให้เป็น 4 ช่องจราจรขึ้นไป • การปรับปรุงถนนช่วงชุมพร – ระนอง เชื่อมท่าเรือระนองให้เป็น 4 ช่องจราจร • การปรับปรุงถนน ทางหลวงหมายเลข 404 และทางหลวงหมายเลข 416 เชื่อมท่าเรือปากบาราให้เป็น 4 ช่องจราจร • การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเส้นทางพิเศษสำหรับรถบรรทุก

  28. กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟ • การจัดหาหัวรถจักรและแคร่รถไฟโดยการระดมทุน ตลอดจน การพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อลดปัญหาความล่าช้าในการขนส่ง • การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย • การพัฒนารถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกและสายใต้ เพื่อเชื่อมโยงไปยังท่าเรือแหลมฉบัง • - การก่อสร้างทางรถไฟรางเดี่ยวแนวใหม่เชื่อมเข้าท่าเรือปากบารา สายตรัง – อ. ละงู • - การขยายโครงข่ายทางรถไฟเชื่อมโยงกับจีนทางตอนใต้เป็นโครงการ ความร่วมมือระหว่างจีน พม่า และลาว

  29. กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางลำน้ำและชายฝั่ง • การพัฒนาท่าเรือสาธารณะริมแม่น้ำให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทาง ลำน้ำเชื่อมโยงการขนส่งกับการขนส่งทางบก • การจัดหาเครื่องมือยกขนที่มีประสิทธิภาพ • การพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพฝั่งอ่าวไทยเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ • การพัฒนาท่าเรือเชียงแสน 2 หรือ ท่าเรือเชียงของ • - การพัฒนาและการให้บริการท่าเรือชายฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบังเพื่อเชื่อมโยงกับการขนส่งทางลำน้ำในภาคกลางและการขนส่งชายฝั่งในภาคใต้ • - การพัฒนาท่าเรือปากบารา พร้อมกิจกรรมหลังท่า เช่น นิคมอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการเป็นประตูการค้าสู่อันดามัน • - การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอกชนให้บริการเรือ Roll on – Roll off ในเส้นทางแหลมฉบัง –สุราษฎร์ธานี หรือ แหลมฉบัง – สุราษฎร์ธานี – สงขลา หรือ แหลมฉบัง – สงขลา

  30. กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางอากาศ • การสนับสนุนการใช้สนามบินสุวรรณภูมิในเชิงพาณิชย์เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคเอเชีย • การพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่และภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค • การขยายพื้นที่ระวางบรรทุกสินค้าไปยังเมืองสำคัญทั่วโลก • - การจัดหาเครื่องบินบรรทุกเช่าเหมาลำ และการจัดให้มีเครื่องบินขนส่งสินค้า • - การจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าการเกษตรของเอเชีย • - การก่อสร้างคลังสินค้าในเขตปลอดอากรที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ • - การจัดตั้ง Express Logistics Center

  31. สถานีขนส่งสินค้า อ. เชียงของ จ. เชียงราย สถานีขนส่งสินค้าอ. เมือง จ. หนองคาย สถานีขนส่งสินค้าอ. แม่สอด จ. ตาก สถานีขนส่งสินค้า อ. เมือง จ. มุกดาหาร สถานีรถไฟท่าพระ สถานีรถไฟกุดจิก สถานีรถไฟวิสัย สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ สถานีขนส่งสินค้า ย่านกองเก็บตู้สินค้า กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการด้านระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ (ต่อ) การพัฒนาจุดเชื่อมโยงการขนส่ง • การพัฒนาย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) บริเวณที่สถานีรถไฟกุดจิก จ. นครราชสีมา, สถานีรถไฟท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น, สถานีรถไฟวิสัย จ.ชุมพร, สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จ.สุราษฎร์ธานี • การพัฒนาท่าข้าวกำนันทรงเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าเกษตรของภาคเหนือตอนล่าง • - การพัฒนาพื้นที่ อ. ท่าเรือ อ. นครหลวง หรือ อ. บางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยา และ อ.เมือง หรือ อ. ป่าโมก จ. อ่างทอง • - การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าชายแดนที่ อ. แม่สอด จ. ตาก, อ. เมือง จ. หนองคาย, อ. เมือง จ. มุกดาหาร และอ. เชียงของ จ.เชียงราย

  32. กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาด้านการขนส่งข้ามแดนระหว่างประเทศ • ผลักดันโครงการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Services: OSS ) • เพิ่มมาตรฐานงานที่เกี่ยวกับการขนส่งทางถนนระหว่างประเทศ ให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ ได้แก่ • - มาตรฐานโครงสร้างทางหลวง • - มาตรฐานของรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ • - มาตรฐานของสิ่งอำนวยความสะดวก • - มาตรฐานการตรวจสภาพรถยนต์และรถบรรทุก • - กำหนดจำนวนและประเภทของสินค้าที่สามารถขนส่งข้ามแดนกัน • ปรับปรุงระบบการควบคุมกำกับดูแลด้านความสามารถทางวิชาชีพ ความมั่นคงทางการเงิน การทำประกันภัยและการชดเชยค่าเสียหายของบริษัทผู้ประกอบการขนส่ง • - พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติงาน • - ฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ • - ประชาสัมพันธ์และอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับ ความปลอดภัยในการใช้ถนน

  33. สรุป • พิจารณานำกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน (ด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ด้าน Logistics และด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน) ไปกำหนดเป็นแผนงาน/ โครงการ ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง • กลยุทธ์ทั้ง 3 ด้านใช้เป็นกรอบแนวคิดในการเจรจาด้านคมนาคมขนส่งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

More Related