1 / 22

เศรษฐศาสตร์และการเมือง

เศรษฐศาสตร์และการเมือง. โดย ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 23 กุมภาพันธ์ 2552. ประเด็นที่จะนำเสนอ. ความหมายและความเป็นมา ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมืองของประเทศ หนทางต่อไปในอนาคต.

Download Presentation

เศรษฐศาสตร์และการเมือง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐศาสตร์และการเมืองเศรษฐศาสตร์และการเมือง โดย ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ 23 กุมภาพันธ์ 2552

  2. ประเด็นที่จะนำเสนอ • ความหมายและความเป็นมา • ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมืองของประเทศ • หนทางต่อไปในอนาคต

  3. ความหมายและความเป็นมาความหมายและความเป็นมา • เศรษฐศาสตร์กับการเมือง คือ Economics and Politics ไม่ใช่ Economics and Political Science และไม่ใช่ Political Economy โดยที่การเมืองเป็นเรื่องของกิจกรรม (Action) ที่จะก้าวเข้าสู่อำนาจ หรือการใช้อำนาจ ดังนั้น ถ้าเศรษฐศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับการเมืองจะต้องมีกิจกรรมทางการเมืองประกอบด้วย

  4. ความหมายและความเป็นมา (ต่อ) • Conventional Wisdom ในวิชาเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า นักเศรษฐศาสตร์ไม่ควรมีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมือง ควรรักษาความเป็น “มืออาชีพ” เพราะไม่ได้รับ mandate ผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ให้มีหน้าที่ตัดสินใจทางการเมือง แต่ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ตลอดจนคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนถึงปี 2548 ไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้อย่างเด็ดขาด ถ้าหากต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์สร้างความเป็นธรรมในสังคมตามอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มต้น

  5. ความหมายและความเป็นมา (ต่อ) • ขณะที่ความเป็นธรรมในสังคมในความหมายทางเศรษฐศาสตร์มีแนวคิดใกล้เคียงกับสังคมนิยมที่พัฒนามาจากตะวันตก และสอดคล้องกับ ความจริงในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันที่มีช่องว่างระหว่างชนชั้นนำ และผู้คนเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ชนชั้นนำในระยะต้น (ก่อนปี พ.ศ. 2530) เห็นว่าประเทศไทยไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยเต็มใบได้ เพราะความไม่เท่าเทียมกันของความรู้ หรือมีปัญหาเรื่องการกระจายคุณภาพทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นอุดมการณ์ทางเศรษฐศาสตร์จึงขัดแย้งกิจกรรมทางการเมืองที่ดำรงอยู่ ประวัติศาสตร์ได้ให้คำตอบแล้วว่าในอดีตคณาจารย์ของคณะเศรษฐศาสตร์มีทางเลือกอย่างใด

  6. ความหมายและความเป็นมา (ต่อ) การบรรยายในครั้งนี้จึงเป็นไปในรูปของ Case Studies เพื่อแปรประสบการณ์มาเป็นบทเรียน เพื่อให้เป็นความรู้แก่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ใช้เป็นข้อมูลในการทำ ความเข้าใจ และวิเคราะห์เพื่อประกอบ การตัดสินใจว่าอยากจะเลือกเป็น นักเศรษฐศาสตร์มืออาชีพหรือ นักเศรษฐศาสตร์ที่มีความตระหนัก ทางการเมือง

  7. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมืองปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง • กรณีการตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ. 2476 และพันธกิจในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคม ความพยายามดังกล่าวขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่าคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศยังมีความเข้าใจความหมายของประชาธิปไตยค่อนข้างจะจำกัด อีกทั้งโอกาสทางการศึกษาก็น้อยมาก ชนชั้นปกครองที่มีอำนาจทางทหารไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยจะเป็นได้จริง ซึ่งหมายถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมก็จะต้องเป็นผลตามมา

  8. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • ผลที่ตามมาคือ มหาวิทยาลัยถูกควบคุมโดยอำนาจรัฐ มหาวิทยาลัย ถูกเปลี่ยนชื่อ อาจารย์หลายคนถูกห้ามไม่ให้คณะฯ เชิญมาบรรยาย ตำราเรียนต้องเปลี่ยนไป เน้นลักษณะที่เป็นกลไกมากขึ้นจากสหรัฐอเมริกาแทนตำราที่แปลจากภาษาฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งบ่มเพาะเชื้อสังคมนิยม เพราะสามารถตอบคำถามเรื่องความเป็นธรรม ในสังคมได้ตรงประเด็นตามตรรกะจากตะวันตก • บทเรียน : อาจจะต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยมีระยะเวลานานพอสมควร แต่ถ้าไม่มีการจุดประกาย ความเปลี่ยนแปลง ที่อยากจะเห็นก็จะเนิ่นนานออกไป

  9. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • ผู้บริหารที่มีสายตาไกล เล็งเห็นถึงความไม่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เตือนให้นักศึกษาเน้นการศึกษาเล่าเรียนแทนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อรอโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถให้กับตัวเองไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นคำแนะนำที่มีคุณูปการต่ออดีตนักศึกษาเป็นจำนวนมากที่มีโอกาสได้รับการศึกษาสูงขึ้น และมีพลังทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น

  10. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • การสืบทอดภารกิจของศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ในฐานะคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์จากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติ ต่อจากท่านศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ มีผลทำให้ คณะเศรษฐศาสตร์ไม่เคยห่างจากการเมืองอย่างน้อยจนถึง พ.ศ. 2548 • บทเรียน :ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะทั้งสองท่านเป็นผู้ที่มาก่อนกาลเวลา แต่ก็ได้ทำหน้าที่จุดประกาย และเป็นการเตรียมไปสู่ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยมีต้นทุนที่ตนเองและครอบครัวต้องแบกรับภาระ

  11. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • การเคลื่อนไหวที่ไม่สำเร็จในการเรียกร้องให้รัฐบาลในยุคนั้นเลิกเก็บ ค่าพรีเมียมข้าว และการหันมาทำงานด้านพัฒนาชนบทของท่านศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ให้บทเรียนทางการเมืองที่น่าสนใจ แก่นักเศรษฐศาสตร์รุ่นหลัง เพียงแต่บทเรียนเหล่านั้นอาจมิได้รับ การซึมซับเท่าที่ควร

  12. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • สิ่งที่เป็นผลตามมาจากการเป็นคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ทำให้อาจารย์เป็นจำนวนมากในคณะฯ มีความตื่นตัวทางการเมือง ในฐานะที่เป็น กองหน้า กองกลาง และกองหลัง เกิดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในการใช้โอกาสทางวิชาการ และโอกาสต่างๆ เปิดประเด็นทางการเมืองเพื่อให้เกิดผลในระดับมหภาค

  13. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • ความสำเร็จและความล้มเหลวในการเป็นหัวหอก ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองในนามของวิชาการ ประสบความสำเร็จมากบ้างน้อยบ้าง และไม่ประสบความสำเร็จก็มีด้วยเช่นกัน แต่โดยภาพรวมแล้วประสบความสำเร็จมากกว่าไม่สำเร็จ เพราะสังคมมีความเห็นค่อนข้างจะคล้อยตาม เนื่องจากเห็นว่าเป็นพลังที่บริสุทธิ์ ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง

  14. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • ตัวอย่างที่น่าสนใจตัวอย่างหนึ่ง คือ ก่อนที่รัฐบาลไทยจะประกาศลอยตัว ค่าเงินบาทและขอให้ IMF เข้ามาช่วยเหลือในปี พ.ศ. 2540 ได้มีนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังมีตำแหน่งสูงในธนาคารใหญ่แห่งหนึ่งที่มีหนี้ต่างประเทศเป็นเงินดอลล่าร์มาก เรียกร้องให้เพิ่มค่าเงินบาทแทนลดค่าเงินบาท โดยอธิบายว่าประเทศ ยังมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี และเป็นการทำให้ต่างชาติเชื่อมั่น ในเศรษฐกิจของไทย

  15. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • คณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ตอบโต้นักเศรษฐศาสตร์ผู้นั้นบนพื้นฐาน ที่เป็นจริงว่าทุนสำรองของประเทศเกือบหมดไปแล้วเพราะ ความพยายามในการป้องกันค่าเงินบาทในยุคนั้นของธนาคารชาติ • ผลคือ รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และขอรับความช่วยเหลือจาก IMF เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 • บทเรียน :การใช้โอกาสทางการเมืองในยามที่สมควรจะนำหลักการ ที่ถูกต้องเป็นประเด็นขับเคลื่อนอาจช่วยให้เกิดความสำเร็จได้

  16. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • แต่ขณะเดียวกันก็มีบทสรุปที่ชวนให้มีการวิเคราะห์ต่อคือ นักเศรษฐศาสตร์ผู้เดียวกันนั้นออกมาแถลงว่าประเทศไทย GDP จะติดลบร้อยละ 4.5 เป็นการถดถอยที่รุนแรงมากที่สุดกว่าทุกประเทศ ในโลก ปัจจุบันข้อเท็จจริงได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เศรษฐกิจทรุดมากกว่าไทย แต่น่าแปลกใจ ไม่มีคณาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์มีปฏิกิริยาใดๆ ต่อการแถลงข่าวดังกล่าว • คำถาม :เพราะอะไร? เป็นเรื่องที่น่าวิเคราะห์และติดตาม

  17. ปฏิสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์กับการเมือง (ต่อ) • อาจจะกล่าวได้ว่าทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่ว่า 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519, 17 พฤษภาคม 2535 และล่าสุด ในปี พ.ศ. 2548 คณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มีส่วนในการเรียกร้อง จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง มีทั้งเสียงดังบ้าง แผ่วบ้าง แพ้บ้าง ชนะบ้าง • แต่ประเด็น คือ การมีส่วนร่วม แต่หลังจากปี พ.ศ. 2548 คณาจารย์มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะไม่สนใจการเมือง เพราะอะไร?

  18. หนทางต่อไปในอนาคต • จากการมองภาพของบุคคลภายนอกซึ่งอาจจะผิด ประเมินได้ว่า มีสาเหตุมาจาก 3 ประการ 1. ขาดตอนการสืบทอดประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น เพราะอาจารย์รุ่นปัจจุบันถูกทิ้งห่างมากขาดความต่อเนื่อง 2. อาจมีความแตกแยกทางอุดมการณ์ 3. ถูกครอบงำด้วยกรอบและโครงสร้างของทุนนิยมที่อยู่ภายใต้บริบทโลกาภิวัฒน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องเน้นความอยู่รอดในโลกวัตถุ ใช้กิจการทางวิชาการหารายได้เสริมแทนการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

  19. หนทางต่อไปในอนาคต (ต่อ) • จุดยืนดังกล่าวได้รับการรองรับจากคำอธิบายของการเป็น “มืออาชีพ” อีกทั้งมีตัวอย่างอยู่ในคณะเศรษฐศาสตร์เกือบทุกมหาวิทยาลัย ในประเทศไทยแล้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะรอดพ้นจากแนวโน้มนี้ไปได้หรือ

  20. หนทางต่อไปในอนาคต (ต่อ) • อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะหมดความสนใจที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง การที่จะช่วยให้วิชาการยังคงมีความหมายต่อโลกแห่งความเป็นจริง นักเศรษฐศาสตร์ควรติดตามตัวละครทางการเมืองที่สำคัญๆ เพราะตัวละครเหล่านี้ยังมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางให้คุณและโทษ ซึ่งมักจะเป็นโทษมากกว่าคุณ ติดตามพัฒนาการทางการเมืองเพื่อค้นหาแนวคานงัด และจังหวะที่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะช่วยให้สังคมมีความเป็นธรรมมากขึ้น เปิดใจให้กว้างในการหาความรู้ และรับฟังความคิดที่หลากหลาย

  21. หนทางต่อไปในอนาคต (ต่อ) • ที่กล่าวมาคือ สิ่งที่เคยเป็นจิตวิญญาณของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในอดีต ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องหวนกลับมาอีก แน่นอนว่าการเป็น “นักเศรษฐศาสตร์มืออาชีพ” จะช่วยให้ชีวิตของนักเศรษฐศาสตร์ง่ายกว่าการเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจหาจังหวะทางการเมือง เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่เกิดความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้นกว่าเดิม เพียงแต่ชีวิตดังกล่าวเป็นชีวิตที่ไม่ค่อยท้าทายเท่านั้น

  22. ขอบคุณและสวัสดี

More Related