1 / 25

วิจัยปรากฏการณ์วิทยา ( Phenomenology study )

วิจัยปรากฏการณ์วิทยา ( Phenomenology study ). คณะผู้จัดทำ ณรงค์ศักดิ์ พรมวัง ๑ ๕๓๓ JCe ๒๐๑ บุญเลิศ จันดีนุพาบ ๒ ๕๓๓ JCe ๒๐๔ พิเชษฐ เทบำรุง ๓ ๕๓๓ JCe ๒๐๕.

courtney
Download Presentation

วิจัยปรากฏการณ์วิทยา ( Phenomenology study )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิจัยปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenologystudy) คณะผู้จัดทำ ณรงค์ศักดิ์ พรมวัง๑ ๕๓๓JCe๒๐๑ บุญเลิศ จันดีนุพาบ๒ ๕๓๓JCe๒๐๔ พิเชษฐ เทบำรุง๓ ๕๓๓JCe๒๐๕ ๑รร.มัธยมวานรนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ๒วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สปป.ลาว ๓มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร อ.พังโคน จ.สกลนคร

  2. วิจัยปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenologystudy) เป็นแนวทางศึกษาโดยวิธีการให้บุคคลอธิบายเรื่องราว และ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ตนเองประสบมา • โดยมีฐานความคิดว่า มนุษย์จะรู้ดีในเรื่องที่ตนเองมีประสบการณ์มาก่อน • โดยการรับรู้และรู้ความหมายในขณะที่มีสติสัมปชัญญะ

  3. ปรัชญาการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยาปรัชญาการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา เนื่องจากวิธีการวิจัยนี้อาศัยแนวคิดและทัศนะจากจากปรัชญา ปรากฏการณ์วิทยา ซึ่งเป็นปรัชญาประเภทจิตนิยม (idealism) ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจปรัชญานี้เพื่อจะช่วยให้เข้าใจในการทำ วิจัยด้วยวิธีนี้ได้ดีขึ้น เช่น

  4. ปรัชญาการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (ต่อ) ๑. ปรากฏการณ์วิทยาแนวสัจนิยม (Realistic phenomenology) เน้นการค้นหาแก่นสารที่เป็นสากลของวัตถุ / สสารต่างๆ อย่างหลากหลาย รวมไปถึงกิจกรรมมากมายของมนุษย์ แรงกระตุ้น และตัวตนต่างๆ

  5. ปรัชญาการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (ต่อ) ๒. ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวะ (existential phenomenology) กล่าวเกี่ยวกับการนำเอาวิธีการวิเคราะห์มนุษย์มาใช้ในฐานะที่เป็นหนทางสู่ภววิทยารากฐาน (fundamental ontology) ซึ่งพ้นไปจากภววิทยาอาณาบริเวณต่างๆ

  6. ปรัชญาการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา (ต่อ) ๓. ปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรต (hermeneutic phenomenology) ตามแนวคิดของไฮเดกเกอร์ (Heidegger; 1889-1976) เป็นปรากฏการณ์ วิทยาการตีความ พยายามที่จะระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการของมัน นั่นคือ เป็นการอธิบายถึงระเบียบวิธีทางปรากฏการณ์วิทยา เพราะต้องการ ใส่ใจเกี่ยวกับการที่สิ่งทั้งหลายปรากฏตัวขึ้นมาอย่างไร ต้องการปล่อยให้ สิ่งต่างๆ พูดถึงตัวของตังเอง เป็นวิธีการตีความอย่างหนึ่ง เพราะอ้างได้ว่ “ไม่มีปรากฏการณ์อันใดที่ไม่ถูกตีความโดยเรา”

  7. การศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยาการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยา สามารถจำแนกได้ ๒แนวทางใหญ่ๆ ดังนี้ ๑. ประสบการณ์ของบุคคลคืออะไร และบุคคลนั้นให้ความหมาย ต่อโลก และประสบการณ์ของเขาอย่างไร ๒. เราจะสามารถรู้ได้ว่าประสบการณ์ของบุคคลอื่น เป็นประสบการณ์ที่เราไปรับรู้ได้อย่างไร

  8. วิธีการศึกษาปรากฏการณ์วิทยาวิธีการศึกษาปรากฏการณ์วิทยา แบ่งออกได้ ๓ประเภท ดังนี้ ๑. ปรากฏการณ์วิทยาในเชิงศาสตร์แห่งการตีความ เป็นการศึกษา ประสบการณ์ตรงของบุคคล ให้ความสนใจเกี่ยวกับความรู้สึก และสิ่งแวดล้อมของบุคคล ค้นหาประเด็นเนื้อหาทางด้านวัฒนธรรมของ มนุษย์ ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ จะสะท้อนความรู้สึกในเหตุการณ์นั้น ๆ ออกมา การวิเคราะห์ จะมุ่งเจาะหาความหมาย และความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์ นั้นเป็นการเฉพาะ

  9. วิธีการศึกษาปรากฏการณ์วิทยา (ต่อ) ๒. ปรากฏการณ์วิทยาเชิงประจักษ์ เป็นการศึกษาแนวคิดและกระบวนการในด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ การสะท้อนความรู้สึก ความคิด และประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา เป็นการค้นหาพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมาโดยตรง

  10. วิธีการศึกษาปรากฏการณ์วิทยา (ต่อ) ๓. ปรากฏการณ์วิทยาแนวการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นการศึกษาเพื่อหาความหมายในปัญหาที่น่าสนใจ เพื่ออธิบายว่าทำไมมนุษย์จึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น หรือทำไมจึงเกิดปัญหาเช่นนั้น โดยทั่วไปผู้วิจัยจะต้องมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับประสบการณ์ของบุคคลเหล่านั้น

  11. แนวทางของการศึกษาในแนวทางของปรากฏการณ์วิทยาแนวทางของการศึกษาในแนวทางของปรากฏการณ์วิทยา มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การค้นหาประเด็นปัญหาและการให้ความหมาย จาก ประสบการณ์ตรงของบุคคลผู้ให้ข้อมูล หรือผู้มีส่วนร่วมใน การวิจัยเพื่อค้นหาสิ่งที่ยังไม่มีใครเคยตอบมาก่อน

  12. แนวทางของการศึกษาในแนวทางของปรากฏการณ์วิทยา (ต่อ) ไม่ใช่การอธิบายสาเหตุ หรือความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ผู้วิจัยต้องมีการศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องจะทำให้การสัมภาษณ์ ครอบคลุมประเด็น ต่าง ๆ มากที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูลจะทำการจัดหมวดหมู่ของ ข้อมูลเพื่อหาความหมายและคำตอบของสิ่งที่ต้องการศึกษา

  13. วิธีดำเนินการวิจัย Moustakas (1994) กล่าวถึงวิธีดำเนินการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา เป็น 7 ขั้นตอน ๑. กำหนดหัวข้อ และคำถามในการวิจัยที่เหมาะสมกับวิธีการศึกษาแนว ปรากฏการณ์วิทยา ๒. ทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา ๓. กำหนดเกณฑ์สำหรับเลือกบุคคลปละปรากฏการณ์สำหรับศึกษา ๔. ให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ที่ถูกเลือกมาศึกษา รวมทั้งจัดการกับประเด็นที่เกี่ยวกับ จริยธรรมในการวิจัย ๕. กำหนดประเด็นหรือแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ๖. ทำการสัมภาษณ์และบันทึกการสัมภาษณ์อย่างละเอียด อาจจำเป็นต้องทำการ สัมภาษณ์ซ้ำ หลายครั้ง ๗. เตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ และดำเนินการวิเคราะห์

  14. ปรากฏการณ์และตัวอย่างการงานวิจัยปรากฏการณ์และตัวอย่างการงานวิจัย • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับคนไข้ • การกระทำของพยาบาลที่จัดว่าเป็นหรือไม่เป็นการดูแลรักษาในทัศนะคนไข้ • การเป็นผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น เบาหวาน มะเร็ง • การเป็นผู้ติดเชื้อ HIV • การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ • การเป็นหญิง/ชายขายบริการทางเพศ

  15. ปรากฏการณ์และตัวอย่างการงานวิจัย (ต่อ) โดยในการเลือกตัวอย่างนั้นจุดสำคัญอยู่ที่การเลือกเพื่อให้ ได้ผู้ที่เหมาะสมนั่นคือ ต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ หรือได้รับ ประสบการณ์ที่นักวิจัยเจาะจงศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มากพอสมควร อาจเป็นผู้ที่มี ประสบการณ์ในระดับใกล้เคียงกันหรือแตกต่างกันก็ได้

  16. ปรากฏการณ์และตัวอย่างการงานวิจัย (ต่อ) การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา ก็ไม่แตกต่างจากวิธีการในการวิจัยเชิงคุณภาพทั่วๆ ไปนั่นคือ นักวิจัยจะ เลือกแบบเจาะจง เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เหมาะสมกับ เป้าหมายและลักษณะของการวิจัยเป็นหลัก

  17. การเก็บข้อมูล นักวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลของการวิจัยได้แก่  การสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง เน้นให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด  การสังเกต ใช้ร่วมในการเก็บข้อมูลได้

  18. การเก็บข้อมูล (ต่อ) การสัมภาษณ์แนวปรากฏการณ์วิทยานั้น มีคำถาม 3 ประเภท ต่อไปนี้เป็นคำถามที่มีประโยชน์ ๑. คำถามเพื่อทราบรายละเอียดของปรากฏการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น จากคำพูดของผู้ให้สัมภาษณ์เอง ๒. คำถามถึงเหตุการณ์ที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับปรากฏการณ์ที่ ศึกษา เพื่อทำความเข้าใจว่าผู้ตอบได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างจาก ปรากฏการณ์ที่เขาได้ประสบ ๓. คำถามที่จะให้ข้อมูลในรายละเอียดว่า ชีวิตประจำวันของผู้ที่ ถูกศึกษานั้นเป็นอย่างไร

  19. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา ในสาระสำคัญแล้วไม่ได้ต่างไปจากการวิเคราะห์ในการวิจัย เชิงคุณภาพทั่วไป ทั้งในเรื่องการเตรียมข้อมูล และการวิเคราะห์ เนื้อหา แต่สิ่งที่ปรากฏการณ์วิทยาเน้นเป็นพิเศษในการวิเคราะห์ คือการ “กลั่น” เอาความหมายของปรากฏการณ์จากข้อมูล ไม่เพียงแต่ความหมายในทัศนะของผู้ให้ข้อมูลแต่ละรายเท่านั้น แต่ความหมายโดยทั่วไปของปรากฏการณ์นั้นๆ ด้วย

  20. การวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ)การวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ) หลังจากเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะวิเคราะห์แล้ว ๑. ขั้นแรกของการวิเคราะห์ จะเริ่มด้วยให้นักวิจัยสำรวจ ภายในตัวเอง ว่าตนเองมีอคติ หรือมีข้อสรุปที่คิดไว้ก่อนเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ที่ศึกษานั่นหรือไม่ ถ้ามีต้องขจัดออกไปเสียก่อน ก่อนที่จะเริ่มต้นวิเคราะห์ข้อมูล

  21. การวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ)การวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ) ๒. ขั้นที่สองของการวิเคราะห์ เป็นการแตกข้อมูลหรือข้อความทั้งหมด ออกเป็นส่วนย่อย ๆ ตามความหมายที่ปรากฏอยู่ในแต่ละส่วน เพื่อให้ สะดวกในการคัดแยกข้อมูลออกเป็นเรื่อง ๆ แต่ละส่วนของข้อมูลที่ชำแหละ ออกมานั่นจะถูกนิยามหรือให้ความหมาย ต่อจากนั้นส่วนต่างๆ จะถูกคัด รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ หรือเป็นเรื่อง ๆ ตามความหมายที่เชื่อมโยงกับของส่วน เหล่านั้น แต่ละกลุ่มก็จะประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกันอย่างแท้จริง นักวิจัยจะมองหา และให้ความสำคัญแก่เรื่องที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ศึกษาเป็น พิเศษ

  22. การวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ)การวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ) ๓. ขั้นสุดท้ายเป็นการสังเคราะห์โครงสร้าง ในขั้นนี้นักวิจัยจะ พยายาม “กลั่น” เอาความหมายของปรากฏการณ์ออกมาจาก ประสบการณ์ของตัวอย่างที่ศึกษาทุกราย นักวิจัยจะต้องมองทะลุ ผ่านสิ่งที่ปรากฏลงไปยังความหมายที่อยู่เบื้องหลังของสิ่งนั้น เพื่อหาแก่นของประสบการณ์ชนิดนั้นทั้งหมดตามจุดมุ่งหมาย ที่นักวิจัยจะต้องไปให้ถึง

  23. ข้อจำกัดวิธีการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยาข้อจำกัดวิธีการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา Creswell (1998) กล่าวถึงสิ่งต่อไปนี้ว่าเป็นข้อจำกัดและเป็นสิ่ง ท้าทายความสามารถของนักวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการศึกษาแนว ปรากฏการณ์วิทยา คือ ๑. แนวคิดทางปรัชญาของปรากฏการณ์วิทยา ๒. การเลือกตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับศึกษา และ ๓. การขจัดความคิดและอคติส่วนตัวของนักวิจัย

  24. สรุปการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยาสรุปการวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยา การวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาเป็นการตีความสิ่งที่ ปรากฏให้ได้ความหมายที่แฝงซ่อนอยู่เบื้องลึกภายใน จิตใจของผู้ประสบกับปรากฏการณ์นั้น 

  25. จบการนำเสนอ ขอบคุณครับ 

More Related