1 / 24

“เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก ผ่านแว่นตานักเศรษฐศาสตร์ ”

“เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก ผ่านแว่นตานักเศรษฐศาสตร์ ”. รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม 12 พฤศจิกายน 2550 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้าโลก : เหล็กและเหล็กกล้า. หน่วย : พันล้านดอลลาร์, ร้อยละ. ที่มา : WTO 2006. การค้าโลก : เหล็กและเหล็กกล้า ปี 2548. ที่มา : WTO 2006.

Download Presentation

“เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก ผ่านแว่นตานักเศรษฐศาสตร์ ”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก ผ่านแว่นตานักเศรษฐศาสตร์ ” รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม 12 พฤศจิกายน 2550 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  2. การค้าโลก: เหล็กและเหล็กกล้า หน่วย: พันล้านดอลลาร์, ร้อยละ ที่มา: WTO 2006

  3. การค้าโลก: เหล็กและเหล็กกล้า ปี 2548 ที่มา: WTO 2006

  4. ปริมาณการผลิตเหล็ก ที่มา: International Iron and Steel Institute

  5. ปริมาณการผลิตเหล็ก: จำแนกตามประเทศ ที่มา: International Iron and Steel Institute

  6. ประเทศผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก ปี 2548 หน่วย: ล้านตัน ที่มา: International Iron and Steel Institute หมายเหตุ: 1 Excluding intra-European Union (25) trade 2 Data for individual European Union (25) countries include intra-European trade

  7. Raw Material - อุตสาหกรรมก่อสร้าง - อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ - อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า - อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ - อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เหล็กแท่งยาว - ผลิตภัณฑ์รูปทรงยาว อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เหล็กถลุง การรีด /รีดซ้ำ /หล่อ เหล็กขั้นกลาง เหล็กขั้นปลาย การหลอมเหล็กและหล่อเหล็ก เหล็กขั้นต้น สินแร่เหล็ก การถลุง - ผลิตภัณฑ์รูปทรงแบน เหล็กแท่งแบน เหล็กพรุน - ผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขนาดใหญ่ เหล็กแท่งใหญ่ เศษเหล็ก - ผลิตภัณฑ์เหล็กหล่อ ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเหล็ก

  8. อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น • การผลิตเหล็กขั้นต้นเป็นการนำสินแร่เหล็ก (Iron Ore) มาผ่านกระบวนการถลุง (วิธี Blast Furnace และวิธี Direct Reduced)เหล็กที่ได้จากการถลุงเรียกว่า เหล็กถลุง (Pig Iron) และเหล็กพรุน (Sponge Iron) เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กทุกชนิด • เคยมีผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตเหล็กขั้นต้นจำนวน 9 ราย (ปี 2537: บริษัทนครไทยสตริปมิล จำกัด (มหาชน), บริษัทอุตสาหกรรมเหล็กกล้าไทย จำกัด (มหาชน) ปี 2538: บริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน), บริษัท Nippon Denro Ispat จำกัด, บริษัทร่วมทุนเหล็กไทย จำกัด, กลุ่มบริษัทอิตาเลียนไทย ปี 2547: บริษัทจีสตีลจำกัด (มหาชน) ปี 2550: บริษัทเหล็กสยามยามาโตะ จำกัดและบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)) แต่ปัจจุบันยังไม่มีรายใดเปิดดำเนินการผลิต บางรายชะลอโครงการออกไปเพื่อดูแนวโน้มตลาด ขณะที่บางรายประกาศยกเลิกโครงการ

  9. อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลายอุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย • เหล็กเส้น มีผู้ประกอบการที่มีเตาหลอม 12 ราย ไม่มีเตาหลอม 39 ราย • เหล็กลวด มีผู้ประกอบการที่มีเตาหลอม 5 ราย ไม่มีเตาหลอม 5 ราย • เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนขนาดเล็ก มีผู้ประกอบการที่มีเตาหลอม 2 ราย ไม่มีเตาหลอม 5 ราย • เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและโครเมียม มีผู้ประกอบการ 2 ราย • เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี มีผู้ประกอบการ 7 ราย • ท่อเหล็ก มีผู้ประกอบการ 7 ราย • เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น มีผู้ประกอบการ 6 ราย

  10. นโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของรัฐบาลไทยนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของรัฐบาลไทย • การส่งเสริมโดย BOI • การคุ้มครองโดยภาษีนำเข้า • การคุ้มครองโดยมาตรการ Surcharge (ในปี 2545) • การคุ้มครองโดยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด • นโยบายเอฟทีเอ :JTEPA • ข้อเสนอของสถาบันเหล็ก

  11. นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมนโยบายของรัฐที่ส่งเสริม • ส่งเสริมโดย BOI

  12. นโยบายของรัฐ: การคุ้มครอง • ภาษีนำเข้า ที่มา: กรมศุลกากร

  13. นโยบายของรัฐ : การคุ้มครอง • ตัวอย่างมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดที่ไทยใช้กับประเทศคู่ค้า หมายเหตุ : * ยกเว้นการใช้มาตรการกรณีนำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกภายใต้การนิคมฯ , BOI และ กรมศุลกากร ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ

  14. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด • นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า การตอบโต้การทุ่มตลาดควรใช้ในกรณีที่เป็นการทุ่มตลาดเพื่อทำลายคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยหลายชิ้นศึกษาพบว่า การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดไม่ใช่เพื่อป้องกันหรือตอบโต้การทุ่มตลาดแบบทำลายคู่แข่ง หากแต่เป็นการคุ้มครองกลุ่มผู้ผลิตที่ครอบงำตลาดในประเทศ และมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเป็นเพียงมาตรการกีดกันทางการค้า • นักเศรษฐศาสตร์พบว่า การตอบโต้การทุ่มตลาดมีผลทำให้ (1) สวัสดิการโดยรวมของประเทศลดลง (2) บริษัทที่ยื่นคำร้องขอให้มีการตอบโต้การทุ่มตลาดมีผลตอบแทนต่อหุ้นสูงกว่าปกติ (3) อุตสาหกรรมภายในได้รับความเสียหายจากการทุ่มตลาดค่อนข้างน้อย (4) มีการนำเข้าสินค้าชนิดนั้นลดลงและมีการผลิตในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกัน มีการนำเข้าจากแหล่งที่ไม่ถูกตอบโต้การทุ่มตลาดเพิ่มขึ้น (5)ราคาสินค้าที่ถูกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสูงขึ้นมากกว่าอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด และ (6) ทำให้มีการลงทุนโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (เอกสารวิชาการ“มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด : ข้อตกลงและประสบการณ์” ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม)

  15. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด • อุตสาหกรรมที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองด้วยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตเพียงรายเดียว (Monopoly) และอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตน้อยราย (Oligopoly) เนื่องจากเหตุผลดังนี้ • ประการแรก พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซื้อสินค้าของต่างประเทศ พ.ศ. 2542 กำหนดว่า ในการเริ่มดำเนินกระบวนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด การยื่นคำขอให้พิจารณา ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันในประเทศที่มีการผลิตรวมเกินกึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั้งประเทศ • ประการที่สอง การยื่นคำขอให้พิจารณาการตอบโต้การทุ่มตลาด การเข้าร่วมไต่สวน ตลอดจนการล็อบบี้ผู้มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินคำขอ ล้วนแต่ต้องการข้อมูลด้านต้นทุนและระบบบัญชีที่มีมาตรฐาน มีบุคลากรที่มีความสามารถ และในบางกรณีอาจต้องมีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้มีอำนาจ • อุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตน้อยรายและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ย่อมมีความพร้อมทั้งระบบบัญชี มีข้อมูลด้านต่างๆ มีบุคลากรที่มีความสามารถและกำลังทรัพย์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ตามที่กำหนดไว้

  16. นโยบายเอฟทีเอ :JTEPA • ไทยยอมยกเลิกภาษีการนำเข้าเหล็กรีดร้อนทันทีสำหรับรายการที่ไม่มีการผลิตในประเทศหรือมีภาษีต่ำอยู่แล้ว • ไทยให้โควตาปลอดภาษีแก่ญี่ปุ่นสำหรับ • เหล็กกัดกรดเคลือบน้ำมัน 440,000 ตัน ในปีแรก • เหล็กแผ่นหน้ากว้าง 230,000 ตัน ในปีแรก • เหล็กที่นำเข้าเพื่อผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 280,000 ตัน ในปีแรก ไทยจะกำหนดปริมาณโควตาเหล็กสำหรับแต่ละปีตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป จนกว่าจะยกเลิกในปีที่ 11 สำหรับภาษีนอกโควตา คงภาษีไว้ 10 ปีและยกเลิกภาษีในปีที่ 11

  17. JTEPA • เหล็กรีดร้อนอื่นๆ คงภาษีไว้ 10 ปี และยกเลิกภาษีในปีที่ 11 • เหล็กอื่นๆ และผลิตภัณฑ์เหล็ก • ยกเลิกภาษีทันที • คงภาษีไว้ 6 ปีและยกเลิกภาษีในปีที่ 7 • คงภาษีไว้ 8 ปีเริ่มลดในปีที่ 9 และยกเลิกในปีที่ 10

  18. โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่นโครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น • การเสริมสร้างรากฐานเทคโนโลยีให้กับอุตสาหกรรมเหล็กไทย • การเสริมสร้างเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น • การพัฒนาความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญภาคสนามที่โรงงานเหล็กไทย • การสนับสนุนการศึกษาสำหรับและการพัฒนาความเชี่ยวชาญของวิศวกรด้านเหล็ก

  19. นโยบายของรัฐ : ข้อเสนอของสถาบันเหล็ก • เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน ที่ประชุมคณะกรรมการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยมีมติให้ทำหนังสือถึงนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลให้เปลี่ยนท่าทีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ หรือโรงถลุงเหล็กในประเทศ จากเดิมที่รัฐประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สูงสุด เป็นมาช่วยลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งท่าเรือและถนนให้ หรือเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่ารัฐบาลหนุนให้โครงการนี้เกิดโดยเร็ว (มติชน, 23 มิถุนายน 2550)

  20. นโยบายอุตสาหกรรม : เศรษฐศาสตร์การเมือง • นโยบายอุตสาหกรรมเป็นสินค้าสาธารณะ (Public Good) • นโยบายอุตสาหกรรมเป็นสินค้าที่ให้อรรถประโยชน์เชิงบวก (Positive Utility) แก่ประชาชนบางกลุ่มในสังคม แต่ให้อรรถประโยชน์เชิงลบ (Negative Utility) แก่ประชาชนกลุ่มอื่นๆ • นโยบายอุตสาหกรรมมีต้นทุนที่ต้องจ่าย โดยทั่วไป ประชาชนผู้เสียภาษีอากรเป็นผู้แบกภาระรายจ่ายในการดำเนินนโยบาย • (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ “กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย” 2546)

  21. นโยบายอุตสาหกรรม : เศรษฐศาสตร์การเมือง ปัจจัยที่มีบทบาทต่อนโยบายอุตสาหกรรมไทย • อุปทานของนโยบาย (ครม. และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย) • อุปสงค์ของนโยบาย (ผู้ผลิตเหล็ก ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผู้บริโภค ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม)

  22. สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (สลท.) เป็นสถาบันอิสระ ที่จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ภายใต้ "อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ" ซึ่งเกิดจากความต้องการของรัฐบาลและเอกชนที่ต้องการให้มีหน่วยงานอิสระที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบของความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศให้มีความเข้มแข็ง.

  23. สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ภารกิจหลัก • เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล็ก • ประสานงานและร่วมมือในการจัดทำแผนแม่บทแนวทางการพัฒนา และการนำแผนงานไปปฏิบัติ • รวบรวมและประมวลข้อมูล เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม การค้าและการกำหนดนโยบายของรัฐ • สร้างสมดุลให้กับการผลิต และความต้องการ • ส่งเสริมให้เกิดการประสานงานและร่วมมือกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล็ก ภาครัฐและต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนา • ให้บริการแก่อุตสาหกรรมเหล็กในด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการตลาด ด้านข้อมูล การฝึกอบรม การบริการด้านเทคนิค และการทดสอบผลิตภัณฑ์ • ส่งเสริมให้สมาชิกประกอบธุรกิจอย่างโปร่งใส และมีจรรยาบรรณ

  24. คำถาม • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้-เสียในกระบวนการกำหนดนโยบายเป็นอย่างไร? • ไทยควรมีนโยบายอุตสาหกรรมนี้แบบใด? • อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นในไทยจะมีอนาคตอย่างไร? • บทบาทของบรรษัทข้ามชาติและการลงทุนจากต่างชาติในอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างไร? • หลังจากที่มีข้อตกลง JTEPA อุตสาหกรรมเหล็กจะมีอนาคตอย่างไร? • มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ?? (ผลกระทบ)

More Related