1 / 30

พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ ออกกำลังกายในสถานประกอบการ

พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ ออกกำลังกายในสถานประกอบการ : กรณีศึกษา บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สำนักงานใหญ่. Development of Physical Activity Promotion Model for Workplace Personnel : A Case Study of Nestle (Thai) Company Limited. ดรุณี อ้นขวัญเมือง นักวิชาการสาธารณสุข 7

damali
Download Presentation

พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ ออกกำลังกายในสถานประกอบการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ ออกกำลังกายในสถานประกอบการ : กรณีศึกษา บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สำนักงานใหญ่ Development of Physical Activity Promotion Model for Workplace Personnel : A Case Study of Nestle (Thai) Company Limited. ดรุณี อ้นขวัญเมือง นักวิชาการสาธารณสุข 7 กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย

  2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • 70% ประชากรโลกเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น หัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ • ตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉลี่ย 30 คนต่อวัน และแนวโน้มตายสูงขึ้น • มากกว่า 10 ล้านคนมีภาวะความดันโลหิตสูง • ภาวะเบาหวาน 3.2 ล้านคน (แสดงอาการแล้ว) • ประมาณ 10 ล้านคนมีน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่แสดงอาการ • ประมาณ 15% มีภาวะไขมันในเลือดสูง • 15% มีรอบเอวเกินมาตรฐาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด • 60% คนวัยทำงานเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย น้อยหรือไม่เคลื่อนไหวฯ คนไทย สาเหตุ ขาดการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย บริโภคอาหาร ไม่เหมาะสม

  3. วัตถุประสงค์หลัก • พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในสถานประกอบการ • พัฒนาสถานประกอบการตัวอย่างในการดำเนินงานส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายสำหรับบุคลากร วัตถุประสงค์เฉพาะ • ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในสถานประกอบการ • ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพทางกาย สภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายของบุคลากรในสถานประกอบการ

  4. วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย:ใช้รูปแบบ Action Research กระบวนการวิจัย :2 กระบวนการ - การสำรวจ (Survey Research) - การทดลองเพื่อประเมินประสิทธิผลของการทดลองรูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดี่ยว ด้วยการวัดก่อน-หลังการทดลอง (Pre-Post test One Group Design) ประชากร:บุคลากรของบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สำนักงานใหญ่ จำนวน 608 คน กลุ่มตัวอย่าง:บุคลากรที่สมัครใจร่วมโครงการ จำนวน 166 คน

  5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ชุดที่ 1 เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ชุดที่ 2 เครื่องมือใช้ในการทดลอง 1. เครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ส่วน ก.แบบสำรวจสมรรถภาพทางกาย ด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย แบบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ส่วนสูง น้ำหนัก เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพก ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต อัตราเต้นหัวใจขณะพัก ความอดทนแข็งแรงของหัวใจ/ระบบไหลเวียนเลือด ความอดทนแข็งแรงของระบบกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ประเมินผลการทดสอบฯ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปที่พัฒนาโดย กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย

  6. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) ข. แบบสำรวจสภาวะสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ข้อ ได้แก่ การมีโรคประจำตัว พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการดื่มสุรา และพฤติกรรมการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows

  7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) ค. แบบสำรวจการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในวิถีชีวิตประจำวัน ข้อคำถาม 7 ข้อ ได้แก่ เวลาที่เคลื่อนไหวออกแรงทั้งวัน บริบทการทำงาน การทำงานที่ต้องออกแรงอย่างหนัก การทำงานที่ต้องออกแรงปานกลาง การเดินเท้าหรือถีบจักรยาน การปฏิบัติกิจกรรมเวลาว่างที่ต้องออกแรงอย่างหนัก การปฏิบัติกิจกรรมเวลาว่างที่ต้องออกแรงปานกลาง สร้างและพัฒนาจาก Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ตามแนวทางในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลของ GPAQ

  8. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (ต่อ) 2. เครื่องมือใช้ในการทดลอง โปรแกรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย • โปรแกรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ รูปแบบ วิธีการ การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย เป็นระยะ (ระดับบุคคล และระดับกลุ่ม) • โปรแกรมเสริมทักษะการออกกำลังกายทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น. ด้วยรูปแบบการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ แอโรบิก และ Body weight • สถานประกอบการสนับสนุนสถานที่เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายทุกวันเวลา 17.30 – 19.00 น. ด้วยรูปแบบ การเต้นแอโรบิก โยคะ ไทเก็ก ฯลฯ • - ภาครัฐสนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ VCD ส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย เช่น การเดิน เดินขึ้นบันได ออกกำลังสะสม ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และ 5A day ฯลฯ

  9. การเก็บรวบรวมข้อมูล และดำเนินการทดลอง พฤษภาคม 2549 ธันวาคม 2549 ทดลอง โปรแกรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย 6 เดือน • เก็บข้อมูลก่อนทดลอง • ทดสอบสมรรถภาพทางกาย • สำรวจสภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ • สำรวนการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในวิถีชีวิตประจำวัน • เก็บข้อมูลก่อนทดลอง • ทดสอบสมรรถภาพทางกาย • สำรวจสภาวะสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ • สำรวจการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายในวิถีชีวิตประจำวัน

  10. สรุปผลการวิจัย (ก่อน-หลังการทดลอง) การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ระดับสมรรถภาพหัวใจ ระดับสมรรถภาพความดันโลหิต

  11. ระดับดัชนีมวลกาย ระดับความอดทนแข็งแรงของหัวใจและปอด

  12. ระดับความอดทนแข็งแรงของกล้ามเนื้อระดับความอดทนแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ

  13. การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ สภาวะสุขภาพ

  14. การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

  15. การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ(ต่อ) พฤติกรรมการออกกำลังกาย ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วัน ๆ 30 นาที

  16. การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ(ต่อ) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยจำนวนวัน-เวลา ของการออกกำลังกาย

  17. การสำรวจการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายการสำรวจการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายของบุคลากร PAปานกลาง = กิจกรรมที่ออกแรงพอประมาณ รู้สึกค่อนข้างเหนื่อย หายใจกระชั้นขึ้น ขณะออกแรงสามารถพูดคุยได้จบประโยค เกณฑ์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที PAหนัก = กิจกรรมที่ออกแรงมาก รู้สึกเหนื่อย เหนื่อยมาก หายใจเร็ว แรง หอบ ขณะออกแรงไม่สามารถพูดคุยได้จบประโยค ต้องหยุดหายใจและพูดต่อ เกณฑ์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 20 นาที PA ครบเกณฑ์ภาพรวม ก่อนทดลอง = 42.10 หลังทดลอง = 60.30

  18. การสำรวจสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ(ต่อ) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เวลา ของPA หนัก ในช่วงเวลาว่าง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เวลา ของPA ปานกลาง ในช่วงเวลาว่าง

  19. สรุป ผลการศึกษา • ภายหลังการทดลอง • ระดับสมรรถภาพทางกายของบุคลากรเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น ทั้งสมรรถภาพความอดทนของหัวใจและปอด ความอดทนของกล้ามเนื้อ และความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ • ระดับสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรดีขึ้น • โรคประจำตัวของบุคลากรมีจำนวนลดลง ภาวการณ์ไม่มีโรคเพิ่มขึ้น • พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ผู้ไม่สูบบุหรี่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น •  พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์มีผู้ไม่ดื่มเพิ่มมากขึ้น • พฤติกรรมการออกกำลังกาย มีผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำเพิ่มขึ้น •  ค่าเฉลี่ยของจำนวนวัน และเวลาในการออกกำลังกาย • เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  20. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย ภายหลังการทดลอง ระดับพฤติกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายของบุคลากรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการปฏิบัติกิจกรรมช่วงเวลาว่างที่ต้องออกแรงระดับหนัก และระดับปานกลางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  21. อภิปรายผล • ผลการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา 6 เดือน เป็นตัวบ่งชี้ว่ารูปแบบที่พัฒนา เป็นรูปแบบที่สามารถส่งเสริมให้บุคลากรได้นำไปปฏิบัติในวิถีชีวิตประจำวัน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังที่เป็นรูปแบบยาก ใช้รูปแบบการออกแรงง่าย ๆ ในวิถีชีวิต เช่น การเดิน เดินขึ้นบันได ออกกำลังเป็นช่วง ๆ ฯลฯ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีได้ • ภาครัฐ ร่วมมือกับสถานประกอบการในการขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน โดยภาครัฐให้องค์ความรู้ แนวคิด ข้อแนะนำ สถานประกอบการ เห็นความสำคัญ ดำเนินการภายใต้แนวคิดและขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง • สถานประกอบการ ขับเคลื่อนกระบวนการได้เอง หรือจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญดำเนินการภายใต้แนวทางของภาครัฐร่วมกับสถานประกอบการเอง

  22. ข้อเสนอแนะ • ผู้บริหารองค์กร ควรให้ความสำคัญ สนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย ให้บุคลากร เช่น การส่งเสริมสนับสนุนสถานที่ เวลา วัสดุและอุปกรณ์ ฯลฯ โดยเฉพาะจัดตั้งทีมงานให้การสนับสนุน หรือเป็นผู้นำการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกาย หรือ จัดจ้างองค์กรที่มีความชำนาญเป็นผู้นำส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลัง • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ ควรให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลัง

  23. ข้อเสนอแนะ (ต่อ) • มีการขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายสำหรับบุคลากรในสถานประกอบการให้กว้างขวางและทั่วถึง โดยสามารถดำเนินการในรูปแบบของการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ถ่ายทอดกระบวนการ องค์ความรู้ ผ่านสื่อมวลชน เว็บไซด์ ฯลฯ ที่บุคลากรสามารถเข้าถึงได้ง่าย • ควรมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานส่งเสริมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อค้นหาปัญหาอุปสรรค์ และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  24. สวัสดี

More Related