1 / 48

IS204 หลักการจัดการสารสนเทศ

IS204 หลักการจัดการสารสนเทศ. ความจำเป็นในการจัดการ. การจัดการทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็น การจัดการมีความจำเป็นสำหรับสิ่งต่าง ๆเนื่องจากต้องมีการเรียกคืนหรือค้นคืนสิ่งดังกล่าว. การจัดการสารสนเทศ.

damali
Download Presentation

IS204 หลักการจัดการสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. IS204 หลักการจัดการสารสนเทศ

  2. ความจำเป็นในการจัดการความจำเป็นในการจัดการ • การจัดการทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในตำแหน่งที่ควรจะเป็น • การจัดการมีความจำเป็นสำหรับสิ่งต่าง ๆเนื่องจากต้องมีการเรียกคืนหรือค้นคืนสิ่งดังกล่าว

  3. การจัดการสารสนเทศ • การจัดการสารสนเทศมีความจำเป็นสำหรับการค้นคืนสารสนเทศ ถ้าหากมีการจัดการที่ดีจะช่วยให้การค้นคืนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  4. การจัดการสารสนเทศจะช่วยถ่ายทอดและเก็บรักษาสื่อสารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคตการจัดการสารสนเทศจะช่วยถ่ายทอดและเก็บรักษาสื่อสารสนเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

  5. การจัดการสารสนเทศ/ความรู้Information/knowledge organization • ความรู้ (knowledge) เกิดขึ้นในใจของผู้คนที่ได้ทำการศึกษาปัญหา/ประเด็นแล้วทำความเข้าใจผ่านวิธีการศึกษาค้นคว้าวิจัยหรือวิธีการอื่น ๆ

  6. สารสนเทศ (Information) คือการสื่อสารความรู้โดยการบันทึกหรือผ่านช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ โดยการเขียน การพูด การเรียบเรียง การวาด การแกะสลัก และวิธีการอื่น ๆ ที่จำช่วยนำความรู้ไปยังผู้อื่น

  7. ขอบข่ายการจัดการสารสนเทศขอบข่ายการจัดการสารสนเทศ • การติดตามสารสนเทศทุกประเภท • การให้รายละเอียดของสื่อสารสนเทศแต่ละรายการ • การรวบรวมสื่อสารสนเทศเข้าไว้ด้วยกันในรูปของห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ ฯลฯ

  8. การจัดทำรายการและบรรยายลักษณะ (description) ของสื่อสารสนเทศ ในรูปของดัชนี บัตรรายการ การลงทะเบียนงานศิลปวัตถุและของโบราณ การทำรายการเว็บไซต์ • การจัดทำวิธีการค้นสื่อสารสนเทศ โดยการกำหนดชื่อเรื่อง หัวเรื่อง และคำสำคัญในการเข้าถึงสารสนเทศ

  9. การจัดการให้ผู้ใช้เข้าถึงสื่อสารสนเทศ โดยการจัดเตรียม การกำหนดวิธีการยืมคืน การจัดแสดง ฯลฯ

  10. การจัดการสื่อสารสนเทศการจัดการสื่อสารสนเทศ • ห้องสมุด • หอจดหมายเหตุ • พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ • อินเทอร์เน็ต • ห้องสมุดิจิทัล • แหล่งอื่น ๆ

  11. ห้องสมุด(library) ในยุคเริ่มห้องสมุดได้จัดการสารสนเทศเพื่อช่วยการค้นคืนสื่อสารสนเทศและเพื่อการถ่ายทอดและอนุรักษ์สารสนเทศ โดยมีบรรณารักษ์ (librarian) แต่ต่อมาขอบข่ายงานมีมากขึ้น คือ • การรวบรวมสื่อสารสนเทศ โดยการตรวจสอบ การคัดเลือก การจัดหาสื่อสารสนเทศ

  12. การจัดหมวดหมู่และทำรายการเพื่อช่วยให้การจัดเก็บและการค้นหาสื่อสารสนเทศ ซึ่งมีมาตรฐานการลงรายการที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก เช่น การจัดหมวดหมู่ระบบดิวอี้ (DC) ระบบการจัดหมวดหมู่หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LC) การลงรายการ AACR2 หรือ MARC • การกำหนดวิธีการเข้าถึงสื่อสารสนเทศ การจัดเตรียมสื่อ การยืมคืน และการดูแลสื่อสารสนเทศ

  13. การจัดหมวดหมู่และทำรายการเพื่อช่วยให้การจัดเก็บและการค้นหาสื่อสารสนเทศการจัดหมวดหมู่และทำรายการเพื่อช่วยให้การจัดเก็บและการค้นหาสื่อสารสนเทศ • การกำหนดวิธีการเข้าถึงสื่อสารสนเทศ การจัดเตรียมสื่อ การยืมคืน และการดูแลสื่อสารสนเทศ

  14. หอจดหมายเหตุ(Archives) • จดหมายเหตุ หรือเอกสารจดหมายเหตุ หมายถึงเอกสารที่ผ่านการใช้งานแล้ว และผ่านการพิจารณาว่ามีคุณค่า เพื่อการอ้างอิงและใช้ประโยชน์ในอนาคต

  15. เอกสารจดหมายเหตุอาจจะอยู่ในรูปจดหมาย บันทึกภายใน ประกาศ หนังสือเวียน รายงานประจำปี คู่มือปฏิบัติงาน บันทึกส่วนตัว ฯลฯ

  16. เอกสารจะถูกเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบไว้ในหอจดหมายเหตุ หรือสถานที่เก็บเอกสารย้อนหลังของหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานขององค์กร การอ้างอิงทางกฎหมาย การถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การใช้งานส่วนตัว ฯลฯ

  17. การจัดการเอกสารจดหมายเหตุ แตกต่างจากหนังสือของห้องสมุดทั่วไป • การทำรายการของหอจดหมายเหตุแตกต่างจากห้องสมุด ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานเหมือนห้องสมุด หอจดหมายเหตุแต่ละแห่งจะใช้วิธีการจัดการสื่อสารสนเทศหรือเอกสารเฉพาะ

  18. การทำรายการให้ความสำคัญกับแหล่งที่มา (provenance/originator) ของเอกสารหมายถึงที่ซึ่งทำการผลิต การจัดเก็บ และดูแลเอกสาร

  19. การบรรยายลักษณะ (description) ของเอกสารมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับประเภทของเอกสาร โดยให้รายละเอียดแหล่งที่มา และวิธีการได้รับหรือการจัดหาเอกสาร พร้อมกับให้ประวัติความเป็นมาและลักษณะของเอกสาร

  20. เอกสารบางชิ้นมีความบอบบางและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มาก เป็นเอกสารหายากทำให้ต้องมีการจัดบริการในลักษณะชั้นปิด โดยมีนักจดหมายเหตุ (Archivist) ทำหน้าที่จัดเก็บและค้นหาให้กับผู้รับบริการ

  21. พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์(Museums and Art galleries) • การจัดการสื่อสารสนเทศของพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จะคล้ายคลึงกัน เพราะจะรวบรวมทัศนวัสดุที่มี 2-3 มิติ โดยมีภัณฑารักษ์ (curator)

  22. การจัดการสารสนเทศจะแตกต่างจากห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ เพราะเน้นการแสดงและให้ใช้บริการภายในเท่านั้น

  23. พิพิธภัณฑ์จะทำรายการโดยการลงทะเบียนเพื่อให้รายละเอียดของวัสดุพิพิธภัณฑ์จะทำรายการโดยการลงทะเบียนเพื่อให้รายละเอียดของวัสดุ • การบรรยายลักษณะวัสดุจะยากกว่าสื่อสารสนเทศของห้องสมุด ซึ่งยังไม่มีมาตรฐาน การลงรายการขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของภัณฑารักษ์

  24. รายละเอียดสำคัญของวัสดุคือ เนื้อหาของวัสดุ เทคนิค (งานศิลปะ) สถานที่ผลิตชิ้นงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต สีที่ใช้ ผ้าที่ใช้ การออกแบบ แหล่งที่มาของวัสดุ สถานที่ค้นพบ รายละเอียดดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ใช้ได้จิตนากรหรือนึกภาพของวัสดุได้ชัดเจน

  25. รายละเอียดจะต้องเป็นประโยชน์ต่อนักประวัติศาสตร์ สถาปนิก นักวิจัย นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ช่างภาพ จิตรกร

  26. การวิเคราะห์เนื้อหา (subject) ของวัสดุมีความยากมากเพราะภัณฑารักษ์หรือผู้วิเคราะห์เนื้อแต่ละคนจะจินตนาการแตกต่างกันทำให้การให้หัวเรื่องหรือแบ่งเนื้อหาของภาพหรือวัสดุแตกต่างกัน ทำให้มาตรฐานในการทำรายการหรือการร่วมมือกันระหว่างพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ไม่เป็นไปในแบบเดียวกัน

  27. การจัดการวัตถุโบราณและงานศิลปะอาจจะรวมถึงการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชิ้นงาน โดยใช้หลักการเดียวกันกับการจัดการสื่อสารสนเทศของห้องสมุดและเอกสารของหน่วยงาน เพื่อช่วยอธิบายวัตถุหรือชิ้นงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  28. อินเทอร์เน็ต(internet) • การเปลี่ยนแปลงและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้จัดการสารสนเทศ

  29. ห้องสมุดพยายามใช้วิธีการจัดการเดิมในการจัดการสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต โดยการทำบรรณานุกรม หรือการรวบรวมรายการสนเทศเฉพาะสาขาที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต • ผู้เชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมได้พัฒนา Search engine แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างแท้จริง

  30. Search engine ผู้เชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรมได้พัฒนา Search engine แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างแท้จริง • ปัญหาการเข้าถึงภาพถ่ายหรือภาพเขียนที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพราะเครื่องมือที่ใช้ยังไม่สามารถอ่านภาพหรือแปลความหมายของภาพได้ ยกเว้นผู้เผยแพร่ภาพได้มีการให้คำอธิบายภาพไว้ด้วย

  31. ปัญหาการวิเคราะห์วัตถุประสงค์และเป้าหมายของเว็บไซต์ปัญหาการวิเคราะห์วัตถุประสงค์และเป้าหมายของเว็บไซต์ • การจัดหมวดหมู่เว็บไซต์ของ Search engine ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

  32. ห้องสมุดดิจิทัลDigital Libraries • อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดห้องสมุดดิจิทัล ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นทศวรรษ 1990 โดยการรวบรวมสื่อดิจิทัลและการค้นและเข้าถึงสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ตให้มากที่สุด

  33. ห้องสมุด และแหล่งสารสนเทศ ดังเช่น พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์ข้อมูล แต่ละแห่งได้พยายามพัฒนาโครงการห้องสมุดดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ

  34. โครงสร้างสารสนเทศinformation architecture • ผู้จัดการสารสนเทศรุ่นใหม่ได้พัฒนากระบวนการออกแบบ ดำเนินงาน และการประเมินผลวิธีการในการจัดการสารสนเทศเพื่อช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  35. สถาปนิกสารสนเทศหรือผู้จัดการสารสนเทศยุคใหม่ได้ปฏิเสธวิธีการจัดการสารสนเทศแบบเก่าที่เคยใช้ในห้องสมุด หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ และศูนย์สารสนเทศอื่น ๆ ที่เน้นการรวบรวมและจัดระบบเพื่อช่วยผู้ใช้ให้เข้าถึงสารสนเทศ

  36. การจัดการข้อมูลdata administration • รูปแบบการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อการจัดการเอกสารสำนักงานอัตโนมัติในช่วงปี 2000 ที่ผ่านมา ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการของเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องถ่ายเอกสาร

  37. การจัดการข้อมูลมีความสัมพันธ์กับการจัดการเอกสาร (record management) โดยเฉพาะการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ (Archives) ซึ่งเป็นข้อมูลไม่ได้ใช้งานแล้วและพิจารณาแล้วมีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บเพื่อการอ้างอิงในอนาคต

  38. การจัดการข้อมูลเคยเกี่ยวข้องกับการเก็บ การจัดระบบ และการดูแลเอกสาร (แฟ้มเอกสารสิ่งพิมพ์) และได้พัฒนาสู่ระบบการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้จัดการและผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง • การพัฒนาโปรแกรมในการจัดการข้อมูลงานบัญชี งานขาย งานผลิต และอื่น ๆ

  39. การบูรณาการข้อมูลของทุกฝ่ายเข้าด้วยกันช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในรูปแบบการจัดการฐานข้อมูลขององค์กรซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดเก็บและการเรียกคืนข้อมูลได้อย่างทันท่วงทีในเวลาที่ต้องการการบูรณาการข้อมูลของทุกฝ่ายเข้าด้วยกันช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในรูปแบบการจัดการฐานข้อมูลขององค์กรซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดเก็บและการเรียกคืนข้อมูลได้อย่างทันท่วงทีในเวลาที่ต้องการ

  40. การจัดการความรู้Knowledge management • Knowledge is power ความรู้คือพลังอำนาจ หมายถึง การที่ผู้คนได้เรียนรู้และเพิ่มพูนความรู้จะทำให้มีอำนาจเพิ่มขึ้น

  41. การลดขนาดองค์กรในช่วงทศวรรษ 1980 ทำให้มีการลดจำนวนบุคลากร ซึ่งเป็นการสูญเสียความรู้ขององค์กรไปพร้อมกับผู้ที่ถูกเลิกจ้าง โดยการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาทดแทน

  42. ความรู้ไม่สามารถทดแทนด้วยเครื่องจักร เพื่อความอยู่รอดขององค์กร จึงได้นำแนวคิดเรื่องการจัดการความรู้เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มความรู้และอำนาจขององค์กร

  43. ความรู้ไม่สามารถทดแทนด้วยเครื่องจักร เพื่อความอยู่รอดขององค์กร จึงได้นำแนวคิดเรื่องการจัดการความรู้เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มความรู้และอำนาจขององค์กร • การจัดการความรู้คือการรวบรวมความรู้ของพนักงานด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อช่วยให้การจัดเก็บและการแบ่งปันความรู้ได้ง่ายขึ้น

  44. การเพิ่มหรือขยายตัวของเทคโนโลยีทำให้สารสนเทศมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (information explosion) ทำให้ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

  45. ความรู้ (Knowledge) คือสิ่งที่อยู่ในตัวผู้คนมากกว่าสิ่งที่ถูกบันทึกลงบนสื่อซึ่งสัมพันธ์กับสารสนเทศ ประสบการณ์ และบริบทแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกัน • ความรู้จะถูกแลกเปลี่ยน แบ่งปันในกลุ่มและในสังคมเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสิน

  46. 1995 Ikujiro Nonaka & Hirotaka Takeuchi ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ที่ซ่อนเร้น (tacit knowledge) และความรู้ที่ประจักษ์ (explicit knowledge)

  47. Tacit knowledge คือความรู้ที่ซ่อนเร้นในสมองของมนุษย์ต้องได้รับการจัดการและนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการสนับสนุนให้มีการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้

  48. การพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการความรู้มีอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่สามารถจัดการได้ทั้งหมด ได้แต่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บ การเข้าถึง และสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ และการจัดการความรู้ให้เป็นสินทรัพย์ขององค์กร • การจัดการความรู้เชิงประจักษ์จัดการได้ง่ายกว่าการจัดการความรู้ที่ซ่อนเร้น

More Related