1 / 40

ละเมิด

ละเมิด. การกระทำละเมิด. หมายถึง การทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีสิทธิ ดังที่ ป.พ.พ.มาตรา 420 บัญญัติว่า. การกระทำละเมิด.

Download Presentation

ละเมิด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ละเมิด

  2. การกระทำละเมิด • หมายถึง การทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีสิทธิ ดังที่ ป.พ.พ.มาตรา 420 บัญญัติว่า

  3. การกระทำละเมิด • ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงชีวิต แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

  4. 1.ลักษณะการกระทำละเมิด1.ลักษณะการกระทำละเมิด • มีการกระทำ • โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ • โดยผิดกฎหมาย • มีความเสียหาย • มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

  5. มีการกระทำ • การละเมิดต้องมีการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายด้วย

  6. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 240/2535 จำที่ 2 ดำเนินกิจการให้บริการสระว่ายน้ำโดยมีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไป จำเลยที่ 2 จึงจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและเพียงพอ ฯลฯ

  7. โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ • มีการกระทำโดยจงใจ คือ กระทำโดยสำนึกถึงการกระทำว่าจะเป็นผลเสียหายต่อบุคคลอื่น

  8. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 11404/2509 • จำเลยถูกาลพิพากษาลงโทษ ฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อผู้ตายแล้ว เพราะการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายก็เป็นการกระทำโดยจงใจทำร้ายโดยผิดกฎหมายอยู่ในตัวแล้วแม้ไม่ได้เจตนฆ่าก็ได้ชื่อว่าละเมิดฯลฯ

  9. กระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำโดยประมาทเลินเล่อ • คำพิพากษาฎีกาที่ 2342/2527 • การขับรถยนต์จะผ่านทางรถไฟ แม้ไม่มีป้ายสัญญาณ “หยุด” บอกไว้ แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างแสดงไว้ ซึ่งควรใช้ความระมัดระวังดูความปลอดภัยให้แน่เสียก่อนโดยชะลอความเร็วและหยุดรถมองซ้ายและขวา ต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่าได้ปฏิบัติดังกล่าวเมื่อรถยนต์ที่จำเลยขับชนกับรถไฟ จึงเป็นความประมาทของจำเลย

  10. กระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำโดยประมาทเลินเล่อ • คำพิพากษาฎีกาที่709/2510 • จำเลยเป็นหญิงอายุ 28 ปี ขับรถมาคนเดียวขณะหยุดรถรอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกา ได้มีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปทั้งคู่ และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป จำเลยตกใจขับรถฝ่าฝืนสัญญาณๆไฟออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่ได้เจตนาตามพฤติการณ์เช่นนี้จะว่าการชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยไม่ได้ฯลฯ

  11. กระทำโดยผิดกฎหมาย • การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อนั้นเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิหรือทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่ว่ากฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่ง

  12. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 2390/2529 • จำเลยว่าจ้างโจทย์เลี่ยมกรอบพระเครื่อง เมื่อไม่ไปรับและชำระค่าจ้าง โจทย์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากจำเลย แต่กลับเอาพระเครื่องไปขาย จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทย์ฐานยักยอกการตั้งข้อหา ควบคุมตัวดำเนินการสอบสวนฟ้องโจทย์ต่อศาลเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดต่อโจทย์

  13. ตัวอย่าง 1 • คำพิพากษาฎีกาที่ 1291/2517 • โจทย์ใช้น้ำจาลำเหมืองซึ่งไหลผ่านนาของจำเลยทำมามากว่า 10 ปีแล้ว ลำเหมืองตอนที่ไหลผ่านนาของจำเลยเพื่อมิให้โจทย์ได้ใช้น้ำเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นๆตามมาตรา 421 แห่ง ป.พ.พ.

  14. ตัวอย่าง 2 • คำพิพากษาฎีกาที่ 28/2534 • จำเลยสร้างถนนหน้าโรงแรมของจำเลยสูงกว่าถนนอื่นภายในบริเวณศูนย์การค้าของโจทย์และทำคันซีเมนต์เพื่อไม่ให้นำไหลเข้าไปที่หน้าโรงแรมจำเลยเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น โจทย์จึงได้รับความเสียหายจากกระทำของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทย์

  15. มีความเสียหาย • เมื่อมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายแล้ว ต้องปรากฏว่าเกิดความเสียหาย ด้วยจึงจะเป็นละเมิด • ความเสียหายได้แก่ เสียหายถึงชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้

  16. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 686/2512 • การที่โจทย์แบ่งนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและบุตรอื่นทำกิน มิได้ทำให้โจทย์หมดสิทธิหรือขาดประโยชน์ในที่พิพาท เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำนาพิพาท โจทย์ห้ามแต่จำเลยที่ 2ไม่ฟัง เป็นการกระทำให้โจทย์เสียหายไม่ได้ทำนา แม้โจทย์อายุมากทำนาเองไม่ได้ ก็ไม่เป็นเหตุอ้างได้ว่าโจทย์ไม่เสียหาย

  17. เรื่องความเสียหายมีหลักประการหนึ่งว่า“ความยินยอมไม่เป็นการละเมิด”เรื่องความเสียหายมีหลักประการหนึ่งว่า“ความยินยอมไม่เป็นการละเมิด” มาจากสุภาษิตกฎหมายที่ว่า ความยินยอมไม่ถือว่ามีความเสียหาย การให้ความยินยอมต้องมีก่อนหรือขณะกระทำ อีกทั้งต้องสมัครใจ และมีขอบเขต หากกระทำเลยขอบเขตเป็นการละเมิด

  18. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 576/2488 • การที่หญิงยินยอมร่วมประเวณีกับชายโดยถูกหลอกลวงว่าจะรับเลี้ยงดูและจดทะเบียนนั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิด (เป็นการจูงใจให้ร่วมประเวณีแล้วหญิงยินยอม ไม่ใช่หลอกลวง)

  19. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 74/2517 • โจทย์ จำเลยสมรสกันตามประเพณี โดยตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทย์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษา ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทย์ ดังนี้การที่โจทย์ต้องสูเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจ

  20. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 673/2510 • การที่โจทย์ท้าจำเลยฟันเพื่อทดลองคาถาอาคม ซึ่งตนเชื่อถือ เป็นการที่โจทย์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกาย เป็นการยอมรับผลเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทย์ได้รับความเสียหาย โจทย์จึงฟ้องจำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทย์ไม่ได้

  21. มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลมีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล • การกระทำอันเป็นละเมิดนั้น แม้จะได้ข้อเท็จจริงครบทุกประการ แต่หากไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าผลเสียหายทีเกิดขึ้น เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยแล้ว ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดไม่ได้ • ความเสียหายเป็นผลโดยตรงและไม่ไกลเกินกว่าเหตุ

  22. ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 400/2534 • การที่จำเลยที่1 ละเลยต่อหน้าที่โดยไม่บอกกล่าว ให้จำเลยที่ 2 จัดเวรยามแทนในเมื่อตนจะต้องไปราชการตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่อาจอยู่เวรยามตามกำหนด ทำไม่มีเวรยามอยู่ดูแล เป็นโอกาสให้คนร้ายเอาทรัพย์สินที่เก็บไว้ในคลังพัสดุไป ดังนี้ การละเลยต่อหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเหตุโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทย์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทย์ด้วย

  23. ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1358/2506 การที่คนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในโรงเรียนที่จำเลยเป็นครูไม่ได้อยู่เวรตามหน้าที่ แม้จะเป็นการผิดวินัย แต่ถือว่าเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้โรงเรียนถูกลักทรัพย์ขึ้นไม่ได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่เป็นคนยามคอยตรวจตราเฝ้าขโมย แต่มีภารโรงทำหน้าที่เป็นยมเฝ้าขโมยอยู่แล้ว

  24. 2.การละเมิดโดยหมิ่นประมาท2.การละเมิดโดยหมิ่นประมาท • ป.พ.พ. มาตรา 423 • ผู้ใด กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาประการอื่นก็ดี ท่านว่านั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายใดๆอันเกิดจากการนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ข้อความนั้นไม่จริงแต่หาควรจะได้รู้ได้ • ผู้ใดส่วนข่าวสาสน์อันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับสาสน์นั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นแล้ว ท่านว่าเพียงที่สงสาสน์เช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

  25. การไขข่าว คือ การพูดหรือการกระทำด้วยประการใดๆที่ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของผู้กล่าวหรือไขข่าวนั้น

  26. คำพิพากษาฎีกาที่ 3023/2533การที่จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งไม่เป็นความจริงที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทย์ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกลั่นแกล้งบริษัท ม. มิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตหรือติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของบุคคลในฐานะเยี่ยงจำเลยพึงกระทำ แต่เป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ. 423

  27. 3. การกระทำละเมิดร่วมกัน • คือ มีการร่วมกันก่อให้เกิดความเสียหาย ตลอดจนการยุยงส่งเสริมช่วยเหลือในการทำละเมิดด้วย ทั้งกฎหมายให้ผู้กระทำละเมิดร่วมต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหาบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดุจดังเป็นหนี้ร่วมต่อผู้ถูกทำละเมิด

  28. คำพิพากษาฎีกาที่ 1188/2502สมคบหลอกลวงเจ้าของรถยนต์ว่าขอเช่ารถยนต์ไปเล่นการพันใกล้ๆ (ในจังหวัดเชียงใหม่) แต่กลับนำรถยนต์ไปถึงกรุงเทพฯ โดยเจาของรถมิได้ยินยอมเมื่อรถไปชนโคเกิดเสียหายขึ้นย่อมถือว่าพวกหลอกลวงเอารถไปร่วมกันทำละเมิดต่อเจ้าของรถ จึงต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถยนต์

  29. 4. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของผู้อื่น • 1. นายจ้างต้องร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้างกระทำในทางการจ้าง • 2. ตัวการร่วมรับผิดในละเมิดที่ตัวแทนในทางการที่ทำแทน • 3. บิดา มารดา หรือผู้อุบาลร่วมกันรับผิดในละเมิดผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถหรือวิกลจริตทำ • 4. ผู้ดูแลบุคคลไร้ความสามารถต้องร่วมรับผิดในละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถทำ

  30. 4.1 นายจ้าง ลูกจ้าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 1716-1717/2503 • นายจ้างใช้ลูกจ้างซึ่งเป็นคนขับรถไปรับหัวหน้าคนงานที่ถนนลาดพร้าวมาปฏิบัติงานที่ถนนราชวิถี ลูกจ้างขับรถออกไปแล้วได้เอารถรถไปเอากางเกงที่ตัดไว้ที่ตลาดบางแคเสียก่อน ระหว่างทางไปชนคนตายและบาดเจ็บดังนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการจ้าง นายจ้างจึงต้องรับผิดร่วมกับนายจ้าง

  31. 4.1 นายจ้าง ลูกจ้าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 1484/2499 • นายจ้างให้ลูกจ้างนำมะพร้าวไปส่งให้ผู้ซื้อ ในระหว่างส่งมะพร้าวแก่กันนั้น ผู้ซื้อโต้เถียงด่าว่าลูกจ้าง ลูกจ้างโกรธจึงชกต่อยผู้ซื้อบาดเจ็บ ถือว่าเป็นเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กิจการที่นายจ้างมอบให้ลูกจ้างไปทำ นายจ้างไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดร่วม

  32. 4.2 ตัวตาย ตัวแทน • ตัวการต้องรับผิดในละเมิดที่ตัวแทนกระทำขึ้นในทางการที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทน โดยเมื่อตัวการได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกแล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากตัวแทน

  33. คำพิพากษาฎีกาที่ 1049/2505 • มารดาเป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้มอบหมายให้บุตร (อายุ 27 ปี)เป็นตัวแทนในการรับส่งผู้โยสารเก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดา แม้มารดาจะไม่ใช่นายจ้างบุตร แต่เมื่อบุตรขับรถโดยประมาททำให้รถคว่ำและผู้โดยสารบาดเจ็บ ก็เป็นการทำละเมิดในการเป็นตัวแทนมารดา มารดาจึงต้องรับผิดร่วมด้วย

  34. 4.3 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในละเมิดของผู้เยาว์หรือวิกลจริตกระทำ • มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริต ก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นนี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น

  35. คำพิพากษาฎีกาที่ 1788/2499 • บิดา มารดา ซึ่งเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์รู้เห็นยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์มาช้านานมิได้ห้ามปรามตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล เมื่อผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ชนรถผู้อื่นเสียหายอันเป็นละเมิด บิดามารดาต้องรับผิดร่วมด้วย

  36. 4.4 ความรับผิดของครู อาจารย์ นายจ้าง หรือผู้ดูแลบุคคลไร้ความสามารถ • มาตรา 430 ครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร

  37. คำพิพากษาฎีกาที่ 356/2511 • มารดาปล่อยให้บุตรผู้เยาว์เล่นไม้กระบอกพลุที่บ้านและโรงเรียนมาก่อน จนบุตรมีความสามารถทำหบุคคลอื่นแล่นได้และนำไปเล่นที่โรงเรียนเป็นเหตุให้เด็กนักเรียนผู้หนึ่งตาบอด เช่นนี้ มารดาต้องรับผิดกับบุตรในผลการทำละเมิดนั้นด้วยแต่ครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิด ซึ่งในตอนเช้าเด็กนักเรียนเอากระบอกพรุมาเล่นกันเกรงจะเกิดอันตรายได้เก็บไปทำลาย และห้ามมิให้เล่นต่อ แต่เด็กใช้พลุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวัน และนอกห้องเรียนถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วม

  38. คำพิพากษาฎีกาที่ 1488/2515 • ครูใหญ่ให้ครูรองควบคุมเด็กนักเรียน บันไดโหนของโรงเรียนสำหรับเด็กอนุบาลอยู่ในสภาพเรียบร้อยและห้ามเด็กชั้นโตเข้าไปเล่น เด็กอายุ 10 ปีเข้าไปเล่นอย่างผาดโผน ครูรองเห็นก็ห้าม พอดีบันไดล้มทับโจทย์เด็กอายุ 12 ปี ครูใหญ่ไม่ต้องรับผิด

  39. Transitional

  40. Elements

More Related