1 / 8

ชื่อผลงานวิจัย คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี

ชื่อผลงานวิจัย คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นาย นิรัญ จันทร์ส่ง. ปัญหาการวิจัย

Download Presentation

ชื่อผลงานวิจัย คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชื่อผลงานวิจัยคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ชื่อผู้วิจัย นายนิรัญ จันทร์ส่ง

  2. ปัญหาการวิจัย สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลและส่งเสริมให้การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรและคณาจารย์ผู้สอนในระดับนี้ประสบผลสำเร็จได้นั้นคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและคณาจารย์ผู้สอน มีคุณภาพชีวิตดีผลการปฏิบัติงานนั้นย่อมมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อคุณภาพของนักศึกษาได้ ดังที่ฮิวส์และคัมมิงส์(Huse &Cummings. 1985:198-199) กล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคคลในองค์กรนั้นซึ่งมีองค์ประกอบ 8 ด้าน ได้แก่ ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย การพัฒนาความสามารถของบุคคล ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน บูรณาการทางสังคม ระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงาน

  3. ปัญหาการวิจัย (ต่อ) ความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตนกับการทำงาน ความภูมิใจในองค์กร นอกจากนี้ทฤษฏีลำดับความต้องการของ มาสโลว์(Maslow) จากพื้นฐานแนวคิดของฮิวส์และคัมมิงส์(Hues & Cummings) ผนวกกับทฤษฏีลำดับความต้องการของมาสโลว์(Maslow) ผู้วิจัยพิจารณาแล้วเห็นว่ามีองค์ประกอบบางอย่างที่คล้ายคลึงกันจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาสังเคราะห์ จัดเป็นด้านที่จะดำเนินเป็นการศึกษา 5 ด้านคือ 1.ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม 2.ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่สะดวกและปลอดภัย 3.ด้านโอกาสความก้าวหน้าและการพัฒนาความสามารถ 4.ด้านการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน 5.ด้านความสมดุลระหว่างภาระงานกับชีวิตส่วนตัว

  4. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ขอบเขตของการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี จำนวน 120 คน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการนำไปปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของบุคลากรในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี

  5. กรอบแนวคิดในการวิจัย

  6. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

  7. สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 51.70 และเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 48.30 อายุ 26-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.80 รองลงมา คืออายุ 45 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 29.20 อายุ 18-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.00 และอายุ 36 – 45 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.00 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 54.20 รองลงมา สูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 30.80 และต่ำกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 15.00 รายได้ 15,001 – 25,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาคือ น้อยกว่า 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 29.20 รายได้ 25,001-30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.20 และมากว่า 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ6.60 ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 72.50 รองลงมาคือ มากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 10.90 ประสบการณ์การทำงาน 10 -15 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.30 ซึ่งมีจำนวนเท่ากับ 16-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.30

  8. สรุปผลการวิจัย(ต่อ) คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านโอกาสก้าวหน้าและพัฒนาความสามารถและด้านสภาพแวดล้อมการทำงานสะดวกและปลอดภัย ตามลำดับ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความสมดุลระหว่างภาระงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมตามลำดับ

More Related