1 / 74

วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน

วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน . Mixed Method Research and Evaluation. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน. ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน . วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน . Mixed Methodology. วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน. กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง.

danyl
Download Presentation

วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน Mixed MethodResearch and Evaluation

  2. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน Mixed Methodology วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน

  3. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน The Beginning of Mixed Method ความหมายและลักษณะสำคัญ ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการเชิงผสมผสาน

  4. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน แบบแผนวิจัยเชิงผสมผสาน วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน Mixed Method research ความหมาย ลักษณะเทคนิควิธีการ จุดแข็งและประเด็นโต้แย้ง

  5. วิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน แบบแผนประเมินเชิงผสมผสาน วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน Mixed Method Evaluation ความหมาย ลักษณะเทคนิควิธีการ จุดแข็งและประเด็นโต้แย้ง

  6. ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มแรก • กลุ่มสายเลือดบริสุทธิ์ (Purist) • กลุ่มของ Guba and Lincoln (1989) และ Smith (1983) • ไม่มีความเป็นไปได้ และไม่สมเหตุสมผลที่จะนำเอาวิธีการหาความรู้ความจริงที่มีกระบวนทัศน์ในการมองความจริงต่างกันมาร่วมหาความจริงด้วยกัน

  7. ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มสอง • กลุ่มรุดสู่การปฏิบัติ (Pragmatic) • กลุ่มของ Reichardt and Cook (1979) Miles and Huberman (1994) และ Patton (1988) • ควรที่จะใช้เทคนิควิธีการวิจัยหรือประเมินที่มีพื้นฐานทางปรัชญาต่างกัน มาร่วมทำการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ด้วยกัน เพื่อจะทำให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นแทนที่จะใช้วิธีการใด ๆ เพียงวิธีเดียว ซึ่งมีข้อจำกัดในการหาคำตอบ

  8. กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้งกลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง • สนับสนุนให้ใช้ทั้งวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัย ในเรื่องเดียวกัน และในขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัย หรือ ปฏิเสธความคิดหรือการดำเนินงานที่ไม่สมบูรณ์เลือกข้างวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว • ให้ความสำคัญกับปัญหาหรือคำถามของการวิจัย และการประเมินมากกว่าวิธีการ หรือกระบวนทัศน์ของปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังวิธีการแสวงหาคำตอบนั้น • ปฏิเสธตัวเลือกถูกระหว่างปรากฏการณ์นิยม และปฏิฐานนิยม ไม่ว่าจะเป็นด้านตรรกะ ญาณวิทยา หรืออื่น ๆ นั่นคือ ไม่เลือกจุดยืนใดจุดยืนหนึ่ง กลุ่ม 2: แนวคิด

  9. กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้งกลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง • การตัดสินใจเลือกใช้วิธีการผสมผสาน (หรือวิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ) ขึ้นอยู่กับปัญหา หรือคำถามการวิจัยและประเมิน หรือขึ้นอยู่กับขั้นตอนใด ๆ ในการดำเนินงานวิจัยและประเมินในขณะนั้นเป็นสำคัญ • หลีกเลี่ยงที่จะใช้มโนทัศน์หรือคำสำคัญ ๆ ทางปรัชญาบางคำ อาทิ คำว่า ความจริง และสิ่งที่เป็นจริง (“truth” or “reality”) ที่เป็นสาเหตุของการอภิปรายถกเถียงกันในเชิงปรัชญา • นำเสนอวิธีการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและการประยุกต์ปรัชญาทางการวิจัยและประเมิน กลุ่ม 2: แนวคิด

  10. ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มสาม • กลุ่มสร้างภาพชัดของการศึกษา (Dialectical or Situationalist) • กลุ่มของ Kidder and Fire (1987) ; Solomon (1991) และ Krantz (1995) • ไม่ควรมีการหลอมรวมผสมผสานระหว่างปรัชญาทั้งสองคือปรากฏการณ์นิยมและปฏิฐานนิยม เพราะเห็นว่าปรัชญาทั้งสองนี้ยังมีความสำคัญจำเป็นต่อการมองและค้นหาความจริง แต่ควรนำวิธีวิทยาการเชิงปริมาณและคุณภาพมาทำการศึกษาหาคำตอบในลักษณะเป็นการส่งเสริมเติมเต็มความรู้ซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้งานที่สมบูรณ์ชัดเจนของปรากฏการณ์หรือสิ่งที่ทำการศึกษานั้น

  11. ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มกระบวนทัศน์โต้แย้ง กลุ่มสาม การศึกษาภายในเรื่องเดียวกันและแยกศึกษาต่างจากกัน แล้วนำความรู้ข้อค้นพบที่ได้มาตรวจสอบวิเคราะห์วิพากษ์ (dialectic) ซึ่งกันและกันว่ามีส่วนใดที่เหมือนและแตกต่างกันอันจะทำให้งานที่สมบูรณ์ครบถ้วนของปัญหาที่ทำการศึกษา การศึกษาข้ามกัน (across studies) นั่นคือ ศึกษาปัญหาวิจัยหรือประเด็นเรื่องเดียวกันแต่ต่างกันก็แยกทำการศึกษา แล้วนำผลที่ได้รับจากวิธีวิทยาการทั้งสองมาหลอมรวมอธิบายเพิ่มเติม ซึ่งอาจจะกระทำในลักษณะที่เริ่มด้วยวิธีวิทยาการเชิงคุณภาพก่อนแล้วตามด้วยวิธีวิทยาการเชิงปริมาณหรือกลับกัน และกระทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้ (กรณีที่เป็นทีมวิจัย)

  12. ปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสานปฐมบทแห่งวิธีเชิงผสมผสาน กลุ่มสร้างภาพชัดของการศึกษา (Dialectical or Situationalist) กลุ่มรุดสู่การปฏิบัติ (Pragmatic) แนวทางการประเมินผล การปฏิบัติงาน วิธีการเชิงผสมผสานการวิจัยและประเมิน

  13. วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน

  14. วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน

  15. วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน

  16. วิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสานวิวัฒนาการของวิธีการเชิงผสมผสาน

  17. ความหมาย “วิธีการเชิงผสมผสาน: Mixed Method” การวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน การผสมผสานในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งหรือระหว่างขั้นตอนภายในเรื่องเดียวกัน ในงานวิจัยและประเมินเรื่องหนึ่ง ๆ อาจใช้เทคนิควิธีการ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันดำเนินงานในขั้นตอนขั้นตอนหนึ่ง ๆ เช่น ขั้นตอนการเก็บข้อมูลต่างก็ใช้วิธีการและเครื่องมือเก็บข้อมูลที่เป็นแบบสอบถาม แบบทดสอบ (ซึ่งเป็นเครื่องมือเชิงปริมาณและใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ (ซึ่งเป็นวิธีการเชิงคุณภาพ) หรือใช้เทคนิควิธีเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพร่วมกันดำเนินงาน ในระหว่างขั้นตอน เช่น ในขั้นตอนการเก็บข้อมูลอาจเก็บข้อมูลมาด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ เมื่อถึงขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลก็ทำการจัดกลุ่มจำแนกข้อมูล แจงนับเป็นความถี่ แล้วใช้วิธีวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางสถิติ

  18. ความหมาย “วิธีการเชิงผสมผสาน: Mixed Method” การวิจัยและประเมินเชิงผสมผสาน การผสมผสานในเรื่องเดียวกันแต่กระทำในลักษณะต่อเนื่อง แยกจากกัน ในการดำเนินงานวิจัยหรือประเมินเรื่องหนึ่ง ๆ อาจจะใช้วิธีการเชิงปริมาณดำเนินงานก่อนจนกระทั่งแล้วเสร็จจึงใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานภายหลัง เพื่อเป็นการศึกษาหาคำตอบในกรณีเฉพาะ หรืออาจจะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานก่อน เพื่อหาคำตอบจากกรณีเฉพาะ หลังจากนั้นจึงใช้วิธีการเชิงปริมาณทำการศึกษาหาคำตอบในภาพกว้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลขนาดใหญ่ ถ้ากระทำลักษณะดังกล่าวนี้ก็เป็นการดำเนินงานแบบต่อเนื่องกันระหว่างวิธีการทั้งสอง แต่ถ้ากระทำในลักษณะคู่ขนานแยกจากกันก็คือ เริ่มต้นศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันระหว่างวิธีการทั้งสอง แล้วนำผลคำตอบที่ค้นหาได้มาสรุปตีความร่วมกัน

  19. ทฤษฎี / กฎ วิเคราะห์สรุป เครื่องมือเก็บข้อมูล วิธีการเชิงปริมาณ นิยามตัวแปร สร้างสมมุติฐาน สร้างทฤษฎีฐานราก สร้างข้อสรุปอธิบายปรากฏการณ์ วิธีการเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล สังเกตปรากฏการณ์ ลักษณะกระบวนการเชิงผสมผสาน

  20. ลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัยลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัย

  21. ลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัยลักษณะสำคัญของวิธีการวิจัยและประเมินเชิงผสมผสานการวิจัย (ที่มา : Johnson and Christensen. 2004 : 31)

  22. การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสานการกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน สัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลักหรือวิธีการเด่น 1.QUAL วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักหรือวิธีการเด่น 2.QUAN วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรอง 3.qual วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการรอง 4.quan การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ดำเนินการตามลำดับต่อเนื่องกัน 5. การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน 6.+

  23. ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันทั้งสองกรณีโดยที่มีกรณีหนึ่งเป็นกรณีหลักหรือเป็นวิธีที่ใช้ศึกษาในภาพรวมทั้งหมดแต่เมื่อเจาะลึกศึกษาบางประเด็นก็ใช้วิธีการเชิงคุณภาพทำการศึกษาด้วยเช่นกัน ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบอย่างต่อเนื่องตามลำดับทั้งสองกรณี โดยที่มีวิธีการเชิงคุณภาพใช้ศึกษาหาคำตอบในกรณีแรกเป็นวิธีการหลัก และใช้วิธีการเชิงคุณภาพศึกษาหาคำตอบในกรณีหลังต่อเนื่องจากผลการศึกษาจากกรณีแรกซึ่งวิธีการเชิงคุณภาพที่ใช้ศึกษากรณีหลังจัดเป็นกรณีรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 1.QUAL+ qual 2.QUALqual

  24. ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันกับวิธีการเชิงปริมาณแต่มีวิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลักในการสรุปค้นหาคำตอบ ใช้วิธีการเชิงคุณภาพดำเนินงานศึกษาหาคำตอบก่อนแล้วจึงใช้วิธีการเชิงปริมาณศึกษาหาคำตอบต่อเนื่องภายหลัง โดยที่มีวิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลัก และใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 3. QUAL + quan 4. QUALquan

  25. ใช้วิธีการเชิงปริมาณดำเนินงานศึกษาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันทั้งสองกรณีโดยมีการใช้วิธีการเชิงปริมาณที่ทำการวิจัยหรือประเมินในกรณีหนึ่งเป็นวิธีการหลักและการใช้วิธีการเชิงปริมาณที่ทำการวิจัยหรือประเมินอีกกรณีหนึ่งเป็นวิธีการรอง ใช้วิธีการเชิงปริมาณดำเนินงานศึกษาหาคำตอบหรือดำเนินงานวิจัยหรือประเมินสองกรณีต่อเนื่องกันตามลำดับ โดยในกรณีแรกใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักในการดำเนินงาน เมื่อได้คำตอบแล้วก็ทำการศึกษาหาคำตอบอย่างต่อเนื่องโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณอีกเช่นกันแต่จัดให้เป็นวิธีการรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 5.QUAN+ quan 6.QUANquan

  26. การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพกระทำไปพร้อม ๆ กัน โดยใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักในการศึกษาหาคำตอบและใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรองในการศึกษาหาคำตอบเสริมจากวิธีการเชิงปริมาณ การดำเนินงานวิจัยหรือประเมินที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพทำการศึกษาหาคำตอบอย่างต่อเนื่องกัน โดยเริ่มจากการใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลัก และใช้วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรอง การกำหนดสัญลักษณ์ของวิธีการเชิงผสมผสาน กรณีที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลักหรือเป็นวิธีการขับเคลื่อนดำเนินงาน 7.QUAN+ qual 8.QUANqual

  27. ข้อดี • ทำให้ได้คำตอบหรือสามารถที่จะตอบคำถามของการวิจัยหรือประเมินที่วิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพไม่สามารถตอบได้อย่างครอบคลุม • ทำให้ได้คำตอบที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษาอย่างกว้างขวางและลุ่มลึก • ทำให้นักวิจัยหรือนักประเมินมีโลกทัศน์ทางวิชาการกว้างขวางสอดคล้องกับความเป็นจริงของศาสตร์ทางสังคมหรือการศึกษามากกว่าการที่จะยึดมั่นถือมั่นเพียงโลกทัศน์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพียงค่ายเดียว • ช่วยให้นักวิจัยหรือนักประเมินตั้งคำถามและวัตถุประสงค์ของการศึกษาหาคำตอบได้อย่างหลากหลายและยังสามารถใช้เทคนิควิธีการอย่างหลากหลาย ในการหาคำตอบให้กับคำถามและวัตถุประสงค์การวิจัยข้อนั้น ๆ อีกด้วย ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการเชิงผสมผสาน

  28. ข้อจำกัด 1.ยากในการดำเนินงานวิจัยโดยเฉพาะนักวิจัยที่ถูกฝึกฝนมาในกระแสเดี่ยว 2. สิ้นเปลืองทรัพยากรในการดำเนินงานมากไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาและงบประมาณในการวิจัย 3.การเขียนรายงานไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ว่าควรจะเขียนอย่างไร 4.ผลการศึกษาหรือข้อค้นพบขัดแย้งกันทำให้ยากแก่การนำไปใช้และสร้างความเข้าใจต่อผู้อ่าน ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการเชิงผสมผสาน

  29. 1. วัตถุประสงค์ 2. กรอบความคิดการวิจัย 3. คำถามการวิจัย วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน องค์ประกอบหลักของการออกแบบแผนการวิจัย เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษาวิจัยครั้งนั้น ๆ คืออะไร ทฤษฎีหรือความเชื่อเกี่ยวกับการศึกษาปรากฏการณ์ ที่จะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยครั้งนั้น ๆ คืออะไร ต้องการสร้างความเข้าใจในประเด็นข้อสงสัยใด และอะไรคือคำถามสำคัญที่นักวิจัยมุ่งพยายามหาคำตอบ

  30. 4. วิธีการ 5. ความตรง วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน องค์ประกอบหลักของการออกแบบแผนการวิจัย ลักษณะความสัมพันธ์ของนักวิจัยที่จำเป็นต้องมีกับผู้ให้ข้อมูลหรือผู้เข้าร่วมการวิจัย การเลือกสถานการณ์ ผู้เข้าร่วมการวิจัย ระยะเวลา สถานที่การเก็บรวบรวมข้อมูล และแหล่งข้อมูลอื่น เทคนิควิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เทคนิควิธีการวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจะเลือกตีความสรุปอธิบายผลการวิจัยอย่างไร และถ้าหากสรุปตีความ เช่นนั้นแล้ว ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้คืออะไร ความตรงที่เกิดขึ้นนั้นมากน้อยเพียงไร

  31. วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักในการออกแบบแผนการวิจัย วัตถุประสงค์ กรอบความคิดการวิจัย คำถาม การวิจัย ความตรง วิธีการ

  32. วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ลักษณะสำคัญ ๆ ในแต่ละองค์ประกอบของวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ที่ทำให้เกิดขึ้นในวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน

  33. วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน

  34. วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน

  35. วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน ที่มา : ปรับปรุงจาก Maxwell and Loomis , 2003 : 252

  36. แบบแผนการวิจัยเชิงผสมผสานแบบแผนการวิจัยเชิงผสมผสาน Mixed Methods Design  Triangulation Design : แบบแผนสามเส้า  Embedded Design : แบบแผนรองรับภายใน  Explanatory Design : แบบแผนอธิบายความ  Exploratory Design : แบบแผนสำรวจบุกเบิก (Creswell , Clark, 2007 : 58-88)

  37. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า Triangulation Design : แบบแผนสามเส้า เป็นแบบแผนการวิจัยเชิงผสมผสานที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณในการดำเนินงานวิจัย หรือศึกษาหาคำตอบในเรื่องใด ๆ ในระยะเวลาเดียวกันเพียงระยะเดียว (one phase) และให้น้ำหนักความสำคัญเท่า ๆ กัน เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันแต่ส่งเสริมเติมเต็มซึ่งกันและกันแล้วนำคำตอบ ข้อค้นพบที่ได้มาสรุปตีความร่วมกันและถือว่าสิ้นสุดในการดำเนินงานวิจัยเรื่องนั้น ๆ

  38. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบลู่เข้า (Triangulation Design: Convergence Model) QUAN Compare and contrast results Interpret QUAN + QUAL + QUAL ทำการศึกษาปัญหาและหรือปรากฏการณ์เดียวกันแต่แยกวิธีการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลต่างกัน นำผลที่ได้จากการศึกษาทั้งสองวิธีการมาเปรียบเทียบและ เปรียบต่างร่วมตีความปรากฏการณ์ที่ศึกษานั้น ใช้สำหรับต้องการตรวจสอบยืนยันความตรงหรือเพิ่มเติมเสริมแต่ง ผลการวิจัยที่ศึกษาปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง

  39. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบการแปลงข้อมูล (แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพสู่ข้อมูลเชิงปริมาณ)Triangulation Design: Data Transformation Model Transforming QUAL data into QUAN QUAN Transform QUAL into QUAN data and analysis Compare interrelate two QUAN data sets Interpret QUAN +QUAL + QUAL • ทำการศึกษาปัญหาและหรือปรากฏการณ์เดียวกันแต่แยกกันเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล • หลังจากวิเคราะห์ข้อมูล(ขั้นแรก) แล้วก็นำข้อมูลที่ได้จากวิธีหนึ่งแปลงไปสู่ลักษณะ ข้อมูลจากอีกวิธีหนึ่ง (ในที่นี้แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพไปสู่ข้อมูลเชิงปริมาณ) • เปรียบเทียบและตีความข้อมูลที่แปลงแล้วร่วมกับข้อมูลเดิม • ตีความผลการวิจัยเชิงวิธีการทั้งสองร่วมกัน

  40. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบการตรวจสอบความตรงของข้อมูลเชิงปริมาณ Triangulation Design: Validating Quantitative DataModel QUAN Close-ended survey Validate QUAN results with QUAL results Interpret QUAN +QUAL + QUAL Close-ended survey • ใช้เมื่อต้องการตรวจสอบความถูกต้องและขยายผลวิจัย • ทำการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามฉบับเดียวกันแต่เพิ่มส่วนที่เป็นปลายเปิด • เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งสองส่วน • นำผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ(ปลายเปิด)มาเพิ่มเติมหรือตรวจสอบ ความถูกต้องของผลเชิงปริมาณ • ตีความผลการวิจัยทั้งสองส่วน

  41. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี : แบบแผนสามเส้า รูปแบบพหุระดับ (Triangulation Design : MultilevelModel ) • ใช้วิธีการต่างกันศึกษาปรากฏการณ์/ข้อมูลเดียวกันไปพร้อมๆกัน • ผู้ให้ข้อมูลจะเป็นบุคคลที่อยู่หรือเกี่ยวข้องในหน่วยงานหรือองค์กรลดหลั่นไปตามระดับต่าง ๆ ของการปฏิบัติงาน นำผลที่ได้รับในแต่ละระดับรวมเข้าด้วยกันแล้วตีความ

  42. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน The Embedded Design : แบบแผนรองรับภายใน เป็นแบบแผนทั้งที่เป็นการศึกษาระยะเดียว (one-phase study)และสองระยะ (two-phase study) ต่อเนื่องกัน ที่มีการจัดให้วิธีการวิจัยแบบหนึ่งทำหน้าที่เป็นวิธีการ หลักและให้วิธีการวิจัยอีกแบบหนึ่งทำหน้าที่เป็นวิธีการรองและ ทำการศึกษาหาคำตอบต่างประเด็นกันในระยะเวลาเดียวกัน โดย หวังว่าคำตอบที่ได้จากการศึกษาด้วยวิธีการรองสามารถนำไปช่วย เพิ่มเติมความสมบูรณ์ของผลที่ได้จากวิธีการหลักอีกด้วย

  43. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน Embedded Design : Traditional Model QUAN + Interpret. results base on QUAL(quan) Interpret. results base on QUAN(qual) QUAL + or (qual) (quan) a b • ในรูป a ทำการศึกษาคำตอบโดยมีวิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักและวิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการรอง • ในรูป b เป็นตรงกันข้างกับรูป a (วิธีการเชิงคุณภาพเป็นวิธีการหลักและวิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการรอง) • ทั้งรูป a และ b จะตีความผลวิจัยโดยใช้ผลที่ได้จากวิธีการวิจัยทั้งสองวิธี

  44. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองระยะเดียว วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก (One-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant) qual QUAN QUAN qual Interpret result base on QUAN(qual) treatment qual

  45. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน One-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant • เป็นแบบแผนวิจัยที่ใช้ในงานวิจัยเชิงทดลอง • ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลัก • ทำการทดสอบข้อมูลตัวแปรตามที่ต้องการศึกษาก่อน (ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ/ทดลอง) • ให้เงื่อนไขการทดลองแก่กลุ่มเป้าหมาย • สังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย(โดยใช้วิธีการ เชิงคุณภาพเป็นรอง) • ทำการทดสอบหลังการทดลอง (ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ) • นำข้อมูลทดสอบก่อนและหลังมาวิเคราะห์เปรียบเทียบผล • ตีความผลการวิจัยที่เกิดขึ้นโดยใช้ผลที่ได้จากการสังเกตขณะทำการทดลองร่วมสรุปด้วย

  46. QUAL Interpret result base on QUAL (quan) quan treatment quan QUAL QUAL วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะ วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Qualitative Dominant)

  47. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะ วิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Qualitative Dominant) • สังเกตซักถามกลุ่มเป้าหมายการทดลองเป็นรายบุคคลอย่างลุ่มลึกโดยวิธีการเชิงคุณภาพ • ใช้เครื่องมือทำการทดสอบวัดเก็บข้อมูลบางส่วนที่ยังไม่ได้เก็บโดยวิธีการเชิงคุณภาพ(การเก็บข้อมูลในลักษณะของวิธีการเชิงปริมาณ) • ให้เงื่อนไขการทดลองแก่กลุ่มเป้าหมาย • ในขณะที่ทำการทดลองนี้ก็จะทำการสังเกตซักถามกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล • สิ้นสุดการทดลองตามเงื่อนไขที่กำหนดแล้วก็ทำการทดสอบวัดเก็บข้อมูลส่วนเดียวกับการสอบวัดก่อน • ติดตามศึกษากลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคลอีกระยะหนึ่งเพื่อพิจารณาความคงทนของพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลง • สรุปผลการวิจัยโดยใช้ผลจากวิธีการเชิงคุณภาพเป็นหลักในการพรรณนานำเสนอตามหลักของวิธีการเชิงคุณภาพ และอาศัยผลในเชิงปริมาณมาร่วมอธิบายตีความสรุปผลการวิจัย

  48. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะวิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant) Interpret Results Base On QUAN (quan) QUAN Follow up qual QUAN pretest treatment QUAN posttest qual

  49. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบการทดลองสองระยะวิธีการเชิงปริมาณเป็นหลัก (Two-Phase Embedded Design : Experimental Model by Quantitative Dominant) • สังเกตปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายการทดลองเพื่อจะทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเป้าหมาย • ทำการสอบวัดพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาโดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการเชิงปริมาณ (อาทิแบบทดสอบชนิดต่างๆ) • ให้เงื่อนไขการทดลองตามที่กำหนด และในขณะให้เงื่อนไขการทดลอง สังเกตพฤติกรรมต่างๆของกลุ่มเป้าหมายที่เกิดขึ้น • สิ้นสุดระยะเวลาการให้เงื่อนไขการทดลองแล้วจึงสอบวัดพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์เดิมกับที่สอบวัดก่อนอีกครั้ง • ทิ้งช่วงระยะเวลาไว้ระยะหนึ่ง (ประมาณ 1-3 สัปดาห์) สอบวัดพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์เดิมอีกครั้ง • วิเคราะห์สรุปตีความผลการดำเนินงานวิจัยก็นำข้อมูลที่ได้จากการสอบวัดก่อน สอบวัดหลังและสอบวัดติดตามมาทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบสรุปผลว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นไรบ้าง โดยอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพที่สังเกตได้ ก่อนให้เงื่อนไขการทดลองและขณะให้เงื่อนไขการทดลองมาร่วมเสริมการสรุปตีความด้วย

  50. วิจัยเชิงผสมผสานวิธี :แบบแผนรองรับภายใน รูปแบบสหสัมพันธ์ (Embedded Design : Embedded Correlational Model) QUAN Predictor 1 QUAN (predicted) Interpret. based on QUAN (qual) results QUAN Predictor 2 QUAN Predictor 3 qual process

More Related