1 / 33

การศึกษาในต่างประเทศ

การศึกษาในต่างประเทศ. โดย น.ท.พีร์ศร คงปั้น หน.การศึกษาต่างประเทศ กศษ.กพ.ทร. ประวัติการศึกษาที่สำคัญ โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนเตรียมทหาร 32 โรงเรียนนายเรือ 89 โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ 66. ประวัติการรับราชการ ผบ.ร.ล.หนองสาหร่าย กทบ.กร. ผบ.ร.ล.ลาดหญ้า กทบ.กร. หน.การศึกษาต่างประเทศ.

darcie
Download Presentation

การศึกษาในต่างประเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การศึกษาในต่างประเทศ โดย น.ท.พีร์ศร คงปั้น หน.การศึกษาต่างประเทศ กศษ.กพ.ทร.

  2. ประวัติการศึกษาที่สำคัญโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีโรงเรียนเตรียมทหาร 32โรงเรียนนายเรือ 89โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ 66 ประวัติการรับราชการ ผบ.ร.ล.หนองสาหร่าย กทบ.กร. ผบ.ร.ล.ลาดหญ้า กทบ.กร. หน.การศึกษาต่างประเทศ

  3. หัวข้อในการบรรยาย • วัตถุประสงค์ในการส่งกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศ • รายละเอียดการจัดกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศ • หลักเกณฑ์การไปศึกษาในต่างประเทศ • การคัดเลื อกกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศ • การดำเนินการของต้นสังกัด และผู้ได้รับทุน • หลักฐานสำคัญที่จะต้องใช้ในการดำเนินการ เพื่อไปต่างประเทศ • การปฏิบัติตนของผู้ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ • การปฏิบัติตนเมื่อกลับจากการศึกษา ณ ต่างประเทศ

  4. วัตถุประสงค์ในการส่งกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศวัตถุประสงค์ในการส่งกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศ • เพื่อเตรียมกำลังพลให้มีความรู้ในสาขาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์แก่ ทร. ซึ่งการเตรียมกำลังพลดังกล่าว ไม่สามารถกระทำภายในประเทศได้ ๒. เพื่อกลับมาเป็นครู อาจารย์ ในการถ่ายทอด และพัฒนาวิชาความรู้ ให้แก่กำลังพลของ ทร. ๓. เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับทหารเรือของมิตรประเทศ

  5. โครงการฝึก ศึกษา ประชุม สัมมนา และดูงาน ณ ต่างประเทศ ประจำปี งป.๕๑ • ทุน ทร. ประเภททุนผูกพัน (นนร. , ข้าราชการ) • ทุน ทร. ประเภททุนจัดส่งใหม่ (นนร. , ข้าราชการ) • ทุน ทร. ประเภทการฝึกอบรมและปฏิบัติงานตามโครงการจัดหาเรือ อากาศยาน และยุทโธปกรณ์ • ทุนตามโครงการความช่วยเหลือทางทหารจากต่างประเทศ รวม จำนวนหลักสูตร ๑๙๗ หลักสูตร กำลังพล ๒๖๕ นาย งป. ๑๔๙ ล้านบาท

  6. การจัดส่งกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศหลักสูตรและระดับการศึกษาการจัดส่งกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศหลักสูตรและระดับการศึกษา • หลักสูตร นนร. ต่างประเทศ • หลักสูตร วปอ. วทร. รร.สธ.ทหาร และ รร.สธ.ทร. ต่างประเทศ • หลักสูตรระดับปริญญาโท/ปริญญาโท-เอก ตามโครงการพัฒนาองค์บุคคลของ ทร. • การฝึกอบรมตามโครงการจัดหาเรือ อากาศยาน และยุทโธปกรณ์ • ทุนส่วนตัว

  7. หลักสูตรและระดับการศึกษา (ต่อ) • ทุนตามโครงการศึกษาทางราชการของรัฐบาลต่างประเทศ ประกอบด้วยทุน • IMETP (U.S.International Military Education and Training Program) โครงการฝึกอบรมทางทหารของรัฐบาลสหรัฐ ฯ ที่สนับสนุนและช่วยเหลือแบบให้เปล่า แก่ชาติต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐ ฯ • DCP (Defence Cooperation Program) ตามโครงการป้องกันร่วมกันทางทหารของรัฐบาลออสเตรเลีย • MAP (Mutual AssistanceProgram) โครงการความช่วยเหลือร่วมกับรัฐบาลนิวซีแลนด์ • MTAP (Military Training Assistance Program) โครงการความช่วยเหลือทางทหารของรัฐบาลแคนาดา

  8. หลักเกณฑ์การไปศึกษาต่างประเทศข้อบังคับ กห. ว่าด้วยการศึกษาในต่างประเทศพ.ศ.๒๕๒๗ และฉบับแก้ไขระเบียบ และหลักเกณฑ์ของ ทร.

  9. มีสัญชาติไทย และบิดามารดามีสัญชาติไทย โดยกำเนิด มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อยู่ในระหว่างเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย ในคดีอาญา มีความรู้ด้านภาษา เป็นอย่างดี มีความรู้พื้นฐานวิชา ที่จะไปศึกษาเป็นอย่างดี คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ที่ไปศึกษาในต่างประเทศ

  10. ข้าราชการทหาร ต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี เว้นแต่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก รร.ทหาร ตามข้อบังคับ กห.ว่าด้วยโรงเรียนทหาร ลูกจ้างประจำ ต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ได้รับค่าจ้างประจำ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี ถ้าเคยไปศึกษาต่างประเทศมาก่อน ไม่ว่าทุนใด ๆ เมื่อจะไปศึกษาอีกจะต้องอยู่ปฏิบัติงานตามกำหนดดังนี้ - ศึกษาตั้งแต่ ๓ เดือนขึ้นไป ต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี - ศึกษาน้อยกว่า ๓ เดือน ต้องกลับมาปฏิบัติงานแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑ ปี คุณสมบัติของผู้ที่ทางราชการส่งไปศึกษา

  11. ระยะเวลาในการศึกษา • ศึกษาหลักสูตรเฉพาะ ต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่ หลักสูตรกำหนดไว้ • ศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๔ ปี • ศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๒ ปี • ศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ไม่เกิน ๓ ปี

  12. การขยายระยะเวลาในการศึกษาการขยายระยะเวลาในการศึกษา • ผู้ที่ศึกษาในต่างประเทศ หากศึกษาไม่สำเร็จตามหลักสูตรภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้แล้ว อาจขอขยายระยะเวลาการศึกษาออกไปอีกได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ - ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก ซึ่งจะต้องมีเอกสารจากสถานศึกษา รายงานการพิจารณาของผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร และรายงานของคณะกรรมการส่วนราชการต้นสังกัด เสนอมากับรายงานที่ขออนุมัติ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  13. การขยายระยะเวลาในการศึกษาการขยายระยะเวลาในการศึกษา - ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย คือเหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะได้ผลพิบัติก็ดี ไม่มีใครจะอาจป้องกันได้ แม้บุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะเช่นนั้น - มีการเปลี่ยนแปลงและขยายระยะเวลาหลักสูตรการศึกษาใหม่ ซึ่งจะต้องมีเอกสารรับรองจากสถานศึกษาเสนอมาประกอบการพิจารณาด้วย - การขอขยายระยะเวลาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้างต้น ต้องใช้เวลาไม่เกินกึ่งหนึ่งของที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม และให้ใช้ทุนส่วนตัว

  14. เกณฑ์อายุและผลการศึกษาของผู้ที่ทางราชการส่งไปศึกษา (เว้นนักเรียนในสังกัด กห.) • ศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน ๒๕ ปี ผลการศึกษาสุดท้ายก่อนเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีต้องได้ ไม่น้อยกว่า ๒.๕ หรือเทียบเท่า • ศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน ๓๕ ปี ผลการศึกษาระดับปริญญาตรีต้องได้ไม่น้อยกว่า ๒.๘ หรือเทียบเท่า

  15. เกณฑ์อายุและผลการศึกษาของผู้ที่ทางราชการส่งไปศึกษา (เว้นนักเรียนในสังกัด กห.) (ต่อ) • ศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า อายุไม่เกิน ๔๐ ปี ผลการศึกษาระดับปริญญาโทต้องได้ไม่น้อยกว่า ๓.๕ หรือเทียบเท่า

  16. ผู้ที่ขออนุญาตลาไปศึกษา ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ • สาขาวิชาที่จะศึกษา ต้องเป็นสาขาวิชาที่ทางราชการทหารต้องการ และสถานที่ศึกษาที่จะไปศึกษาต้องได้รับความเห็นชอบจากทางราชการแล้ว

  17. สัญญาในการไปศึกษาต่างประเทศสัญญาในการไปศึกษาต่างประเทศ ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการศึกษาในต่างประเทศ พ.ศ.๒๕๒๗ กำหนดให้ ผู้ที่ไปศึกษาต่างประเทศทำหนังสือสัญญาเพื่อรับราชการชดใช้ ดังนี้ - ศึกษาไม่เกิน ๓ เดือน ต้องกลับมารับราชการชดใช้ ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่มาปฏิบัติหน้าที่หลังจากสำเร็จการศึกษา - ศึกษาเกิน ๓ เดือน แต่ไม่เกิน ๖ เดือน ต้องกลับมารับราชการชดใช้ ๒ ปี นับตั้งแต่วันที่มาปฏิบัติหน้าที่หลังจากสำเร็จการศึกษา - ศึกษาเกินกว่า ๖ เดือน ต้องกลับมารับราชการชดใช้ ๒ เท่าของเวลาที่ไปศึกษา แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรืออย่างสูงไม่เกิน ๑๐ ปี นับตั้งแต่วันที่มาปฏิบัติหน้าที่หลังจากสำเร็จการศึกษา

  18. การคัดเลือกกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศการคัดเลือกกำลังพลไปศึกษาในต่างประเทศ ตามอนุมัติ ทร.ท้ายบันทึก กพ.ทร.ที่ กห ๐๕๐๓/๑๑๐๘๑ ลง ๑๐ พ.ย.๔๑ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการ ทร. และ นนร.ไปศึกษา/อบรม ณ ต่างประเทศ ไว้ว่า - สอบภาควิชาการ ได้แก่ ความรู้พื้นฐาน/วิชาชีพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่จะไปศึกษา โดยหน่วยหัวหน้าสายวิทยาการ/หน่วยที่ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคล และสอบวิชาภาษาอังกฤษ (PT) โดย ศภษ.ยศ.ทร. - สอบสัมภาษณ์ โดยกรรมการสอบสัมภาษณ์จาก กพ.ทร. และหน่วยหัวหน้าสายวิทยาการ/หน่วยที่ทำหน้าที่คัดเลือกตัวบุคคล/หน่วยขอทุน รวมกันไม่ต่ำกว่า ๓ นาย (กรรมการสอบสัมภาษณ์ต้องมีชั้นยศ/อาวุโสมากกว่าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์)

  19. เกณฑ์ผ่านภาษาอังกฤษ (ECL)ที่ ทร.กำหนดไว้สำหรับผู้ที่ไปต่างประเทศ ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก โดย ทร.เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหรือออกค่าใช้จ่ายสมทบ ทุน IMET ถือเกณฑ์ ECLตามที่จัสแม็กไทยกำหนด

  20. หน่วยให้ทุน ได้รับแจ้งจากแหล่งทุน พิจาณาหลักการเหตุผล ความจำเป็น กำหนด คุณสมบัติ และข้อจำกัด ด้าน งป. กพ.ทร. + หน.สายวิทยาการ หลักการจัดส่ง (ในโครงการไม่ ต้องดำเนินการ เนื่องจาก ทร.อนุมัติ ไว้แล้ว) กง.ทร. กพ.ทร. ทร.

  21. กพ.ทร.+หน.สายวิทยาการ + ศภษ.ยศ.ทร. ประกาศรับสมัคร, คัดเลือก,เข้าอบรม ภาษา ที่ ศภษ.ยศ.ทร. ตัวบุคคล ทร.

  22. กพ.ทร. ตรวจสุขภาพ คำนวณค่าใช้จ่าย หนังสือรับรองความไว้วางใจ ทำ Passport , VISA จองตั๋วเครื่องบิน รพ.ทร., กง.ทร., ขว.ทร., การบินไทย เดินทาง สัญญา กพ.ทร. ในโครงการ/ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทร. บก.ทหารสูงสุด นอกโครงการมีค่าใช้จ่าย

  23. การดำเนินการของต้นสังกัด และผู้ได้รับทุน • ทำสัญญาการไปศึกษา ๓ ชุด • ไปตรวจสุขภาพที่ พร. • ติดต่อทำ PASSPORT ที่ กตท.ขว.ทร. • ติดต่อขอ SECURITY CLEARANCE ที่ กตท.ขว.ทร. • เมื่อได้ PASSPORT แล้ว ไปติดต่อทำ VISA ที่สถานฑูต ฯ • ไปบริษัทการบินไทยเพื่อสำรองตั๋วเครื่องบิน/กำหนดเที่ยวบิน • รับเงินตามที่ กง.ทร.คำนวณค่าใช้จ่ายไว้แล้ว ที่ ธ.ทหารไทย • แจ้งวัน เวลาเดินทาง และเที่ยวบินให้ กศษ.กพ.ทร.ทราบ

  24. ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปศึกษาค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปศึกษา (กง.ทร. เป็นผู้คำนวณ) - ค่าแต่งตัว - ค่าโดยสารเครื่องบิน - ค่าธรรมเนียมสนามบิน - ค่าธรรมเนียมศึกษาต่างๆ - ค่าใช้จ่ายประจำตัว - ค่าขนของกลับประเทศไทย

  25. หลักฐานสำคัญที่จะต้องใช้ในการดำเนินการเพื่อไปต่างประเทศหลักฐานสำคัญที่จะต้องใช้ในการดำเนินการเพื่อไปต่างประเทศ • ผลการตรวจสุขภาพจาก พร. • ใบรับรองความไว้วางใจ (รปภ.) และ SECURITY CLEARANCE จาก ขว.ทร. • บัญชีรายละเอียดค่าใช้จ่ายจาก กง.ทร. • I-20 หรือเอกสารแสดงการเข้ารับการศึกษา ณ สถาบันการศึกษานั้น

  26. หลักฐานสำคัญที่จะต้องใช้ในการดำเนินการเพื่อไปต่างประเทศ (ต่อ) • สำเนาทะเบียนบ้าน • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ • TRANSCRIPT ผลการศึกษาภายในประเทศ • สัญญาและสัญญาค้ำประกันผู้ที่ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ จำนวน ๓ ชุด • หนังสือรับรองสถานศึกษาจากสำนักงาน ก.พ. (กรณีศึกษาระดับปริญญา)

  27. การปกครองบังคับบัญชาระหว่างศึกษาในต่างประเทศการปกครองบังคับบัญชาระหว่างศึกษาในต่างประเทศ - ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหมที่ศึกษาในต่างประเทศ ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ต้องอยู่ในระเบียบวินัย และปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมทหารทุกประการ - ผู้ที่ศึกษาในต่างประเทศ ให้อยู่ในความปกครองบังคับบัญชาของผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารประจำประเทศนั้น หรือผู้ที่ กห.มอบอำนาจให้ปกครองบังคับบัญชา ตั้งแต่วันรายงานตัวเมื่อเดินทางไปถึงจนกระทั่งเดินทางกลับ

  28. การปฏิบัติตนของผู้ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ๑. เมื่อเดินทางไปถึงให้รายงานตัวต่อ ผชท.ทร.ประจำประเทศนั้น ๆ ๒. การปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา ดูงาน ฝึกงาน - รายงานการศึกษาตามระยะเวลาต่อ ผชท.ทร.ทุก ๓ เดือน - รายงานผลการศึกษาทุกครั้งที่ทราบผล พร้อมแสดงหลักฐาน - รายงานพิเศษทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น - รายงานตำบล ที่อยู่ ทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงใหม่ให้ ผชท.ทร.ทราบ ๓. เมื่อรายงานตัวเข้ารับการศึกษาแล้ว จะต้องเสนอแผนการศึกษาของแต่ละเทอมหรือภาคการศึกษาให้ ผชท.ทร.ประจำประเทศนั้นทราบ และหากมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังจะต้องแจ้งให้ ผชท.ทร.ทราบด้วย

  29. การปฏิบัติตนของผู้ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ (ต่อ) ๔. รายงานการศึกษาทุก ๆ ภาคการศึกษาต่อ ผชท.ทร. ๕. ควรศึกษาและทำความเข้าใจ ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการศึกษาในต่างประเทศ พ.ศ.๒๕๒๗ และฉบับแก้ไข ๖. ขณะอยู่ในต่างประเทศ ผชท.ทร.จะเป็นผู้ดูแลในด้านต่าง ๆ ๗. การลากลับมาเยี่ยมบ้าน ต้องขออนุมัติ ทร. (ผ่าน ผชท.ทร.) ๘. เมื่อเสร็จสิ้นการศึกษา ให้รายงานกำหนดการสำเร็จการศึกษา พร้อมกับกำหนดการเดินทางกลับให้ ผชท.ทร.ทราบทันที เพื่อติดต่อ กง.ทร. ให้จัดตั๋วเครื่องบินให้

  30. การปฏิบัติตนเมื่อกลับจากการศึกษา ณ ต่างประเทศ ๑. ผู้ไปศึกษาต้องมารายงานตัวที่ กศษ.กพ.ทร.ในโอกาสแรก ๒. รายงานตัวต่อหน่วยต้นสังกัดที่ผู้ไปศึกษาสังกัดอยู่ ๓. ทำรายงานการไปศึกษา ตามระเบียบ ทร.ที่ ๑๐๐ ว่าด้วย การถ่ายทอดวิชา ซึ่งระบุว่า เมื่อข้าราชการผู้ใดกลับจากการศึกษา ฝึกงาน หรือ ดูงานแล้ว ให้ข้าราชการผู้นั้น ทำรายงานตามหัวข้อที่ได้ศึกษาพร้อมด้วย รายการโดยย่อ และข้อคิดเห็นต่าง ๆ เสนอตามลำดับชั้นภายใน ๑ เดือน นับตั้งแต่วันที่เดินทางกลับประเทศไทย

  31. สิทธิในการลาหยุดพักผ่อนภายหลังกลับจากการศึกษา ณ ต่างประเทศ • ถ้าไปไม่เกิน ๓ เดือน พักผ่อนได้ ๕ วัน ตั้งแต่วันที่มาถึง • ถ้าไปตั้งแต่ ๓ เดือนขึ้นไป แต่ไม่เกิน ๑ ปี พักผ่อนได้ ๗ วัน ตั้งแต่วันมาถึง • ถ้าไปตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป พักผ่อนได้ ๑๐ วัน ตั้งแต่วันที่มาถึง

  32. ปัญหาที่พบ • หน่วยขอทุน แจ้งเปลี่ยนแปลงเวลา และค่าใช้จ่าย • สอบภาษาอังกฤษไม่ผ่านเกณฑ์ • สัญญาไม่เรียบร้อย • ได้รับแจ้งการให้ทุนกระชั้นชิด • ผู้ไปศึกษาไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในระหว่างศึกษา • การขยายระยะเวลาการศึกษา • การลาออก กรณีใช้ทุนยังไม่ครบ (ผิดสัญญา)

  33. จบการบรรยาย

More Related