1 / 110

กฎหมายฟอกเงิน

กฎหมายฟอกเงิน. พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒. ความเป็นมา ปัญหาและอุปสรรค. ความผิด มูล ฐาน ความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด เกี่ยวกับเพศหรือการค้าประเวณี เกี่ยวกับ การฉ้อโกงประชาชน เกี่ยวกับ การธนาคารพาณิชย์หรือ ตลาด หลักทรัพย์ ความผิด ต่อตำแหน่งหน้าที่ ราชการ

dawn-kemp
Download Presentation

กฎหมายฟอกเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายฟอกเงิน

  2. พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ • ความเป็นมา • ปัญหาและอุปสรรค

  3. ความผิดมูลฐาน • ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด • เกี่ยวกับเพศหรือการค้าประเวณี • เกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน • เกี่ยวกับการธนาคารพาณิชย์หรือตลาดหลักทรัพย์ • ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ • เกี่ยวกับการกรรโชกที่กระทำโดยอั้งยี่หรือซ่องโจร • เกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร • เกี่ยวกับการก่อการร้าย • เกี่ยวกับการพนัน

  4. เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ • เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.

  5. ความผิดมูลฐานที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ความผิดมูลฐานที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ • เกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำต่อทรัพย์สินของผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม ซึ่งกระทำโดยกรรมการ ผู้จัดการ ซึ่งรับผิดชอบหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรม • เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ • เกี่ยวกับการบุกรุกหรือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย • เกี่ยวกับการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน • เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ • เกี่ยวกับการค้าอาวุธ • เกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

  6. เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า • เกี่ยวกับโจรสลัด • เกี่ยวกับเงินตรา เอกสาร บัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือหนังสือเดินทาง • เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย • เกี่ยวกับเสรีภาพ • เกี่ยวกับทรัพย์ • เกี่ยวกับการรับของโจร

  7. มาตรา ๕ ผู้ใด (๑) โอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือ (๒) กระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริง การได้มา แหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดผู้นั้นกระทำความผิดฐานฟอกเงิน มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒

  8. เจตนาพิเศษ ไม่อาศัยผลหรือไม่ต้องการผลของการกระทำผิด • เทียบทางอาญาได้ใกล้เคียงกับความผิดฐานรับของโจร หรือการหลีกเลี่ยงภาษี ส่วนทางแพ่งใกล้เคียงการรับช่วงทรัพย์ • ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ รู้หรือไม่ มีเหตุอันควรรู้หรือไม่ • เปรียบเทียบกับยารักษาโรค เช่น ยาไทยกับยาฝรั่ง • เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้บังคับใช้กฎหมายต่างได้รับความคาดหวังให้เข้ามาป้องกัน ปราบปรามการฟอกเงิน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใด ๆ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ควรจะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย

  9. มาตรา ๑๐ เจ้าพนักงาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ กรรมการหรือผู้บริหารหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการของสถาบันการเงิน หรือ กรรมการขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ผู้ใดกระทำความผิดตามหมวดนี้ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น มาตรา ๖๐ ผู้ใดกระทำความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีหรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๖๑ นิติบุคคลเป็นผู้กระทำผิดได้ ฝากขังได้ ๗ ฝาก

  10. มีหลักการแตกต่างไปจากกฎหมายอาญา เช่น - ม.๖เขตอำนาจศาล นอกราชอาณาจักร - ม.๗ผู้สนับสนุนช่วยเหลือ - ม.๘พยายามกระทำความผิด - ม.๙สมคบ - ม.๖๑นิติบุคคล • พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเลขาธิการ ปปง.

  11. ความแตกต่างระหว่างกฎหมาย ป.ป.ส.กับ ปปง. • มีผลย้อนหลังได้ • มีทั้งทางอาญาและทางแพ่ง • ไม่ผูกติดกับคดีมูลฐาน • เทคนิครูปแบบการดำเนินคดี • หน้าที่นำสืบ กับ ภาระการพิสูจน์

  12. การจับกุม • การจับกุมตามหมายจับ หรือ ตาม ปวิอ.มาตรา ๗๘ จับโดยไม่มีหมายจับ • ถ้าผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ดำเนินไปตามปกติ • ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ควรเน้นเรื่องถ้อยคำอื่นที่มิใช่คำรับสารภาพตาม ปวิอ.ม.๘๔ปวิอ.ม.๗๘ และ พรบ.ยาเสพติดฯ ม.๑๐๐/๒ - ให้รายงานไปยัง ปปง.ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงาน ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ปปง. พ.ศ.๒๕๔๒ พ.ศ.๒๕๔๔

  13. ผู้สืบสวนหรือผู้จับกุม ผู้สืบสวนหรือผู้จับกุม - เกี่ยวกับการรับราชการ ตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลา - ความเกี่ยวข้องกับคดีนี้ - รายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ บุคคล สิ่งของ การตรวจค้นจับกุม - สอบปากคำไปตามปกติ ทำนองเดียวกับคดียาเสพติด หรือคดีอาญาทั่วไป • ขั้นตอนที่เริ่มการสืบสวนเป็นต้นไปจนกระทั่งนำไปสู่การออกหมายจับหรือจับกุมผู้ต้องหาได้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ บางคดีชนะหรือแพ้กันที่ขั้นตอนนี้ เช่น คดียาเสพติด การก่อการร้าย คดีพยายามฆ่า ฯลฯ

  14. การสืบสวนในประเด็นความผิดมูลฐาน การสืบสวนในประเด็นความผิดมูลฐาน • ความเป็นมา ช่วงเวลา การวางแผน การเตรียมตัว การหาข่าว หาข้อเท็จจริง • แหล่งที่มาของข้อมูล เช่น การสืบทราบเอง สายลับ ผู้ต้องหาคดีอื่น หน่วยงานของรัฐ หรือเหตุบังเอิญ • การเก็บข้อมูลที่ต่อเนื่องและเป็นระบบ วิธีเก็บและรวบรวมข้อมูล • ประวัติผู้ต้องหา ความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ • รายงานการสืบสวน • รายงานข่าวสาร จากแหล่งข่าว สายลับ หรือการใช้เทคนิคพิเศษ • การหาแหล่งข่าว

  15. การเฝ้าติดตามพฤติการณ์การเฝ้าติดตามพฤติการณ์ • การอำพรางแฝงตัว • การสืบสวนทางอิเล็คทรอนิคส์ • การล่อซื้อ (Entrapment) • การล่อจับ (Undercover Operation) • การชะลอการจับและการควบคุมการขนย้าย (Controlled Delivery)

  16. ภาพถ่ายบุคคล ยานพาหนะ สถานที่เกี่ยวข้อง อาวุธที่ใช้ • โทรศัพท์หรือหลักฐานในการติดต่อระหว่างกัน และหลักฐานทางการเงิน ทรัพย์สิน • การสะกดรอย การเฝ้าจุด ติดตามพฤติกรรม ลักษณะการกระทำผิดเป็นอย่างไร • เริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่เมื่อใด • ใครเข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย ทั้งการช่วยเหลือหรือการสนับสนุน • เครือข่ายอย่างไร เป็นผู้ผลิตเองหรือรับมาจากคนอื่น พื้นที่บริเวณไหน • วิธีการติดต่อซื้อขาย นัดหมายส่งมอบ ปริมาณ การชำระเงิน ครั้งละ

  17. พฤติการณ์ทั่วไป • การเงิน • การใช้โทรศัพท์ การติดต่อสื่อสาร • ความสัมพันธ์กับผู้อื่น • การสืบสวนหาข่าวผู้ต้องหาทั้งก่อน ขณะ และหลังเกิดเหตุ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการดำเนินคดี โดยให้ชัดเจนเกี่ยวกับตัวบุคคล

  18. ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา คู่สมรส บุตร พี่น้อง ญาติ เพื่อน บริวาร เพื่อนบ้าน • ประวัติการกระทำความผิด • สถานที่พักอาศัย • การประกอบธุรกิจการค้า • การติดต่อพบปะกับบุคคลภายนอก ความถี่ และรูปแบบ • วิธีการติดต่อสื่อสารสั่งการระหว่างกันเป็นอย่างไร

  19. วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะที่ใช้ในการสืบสวน • ทำแผนผังภูมิข้อมูลแสดงความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ ของผู้ต้องหาและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง

  20. ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน - เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มามีจำนวนเท่าใด ที่ไหน อะไรบ้าง • ควรมีการสืบสวนหาข่าวทรัพย์สินเพื่อทราบถึงชนิด ประเภท รายละเอียด • วิธีการได้มา ระยะเวลาการได้มา การชำระเงิน จำนวน • ที่ตั้งหรือที่เก็บรักษา มูลค่าทรัพย์สิน • รวมทั้งการจำหน่ายจ่ายโอน การเปลี่ยนสภาพ การปิดปังอำพรางทรัพย์สิน ของผู้ต้องหาไปยังบุคคลอื่น • ทำแผนผังแสดงข้อมูลทรัพย์สินของผู้ต้องหาและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง

  21. ไม่ควรสอบปากคำโดยลอย ๆ แต่ควรมีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุน เช่น รายงานการสืบสวน บันทึกการตรวจค้นจับกุม และคำให้การของผู้ต้องหา คดีอื่น ๆ ที่ให้การพาดพิงถึง บันทึกคำรับสารภาพเบื้องต้น บันทึกการตรวจสอบทรัพย์สิน เอกสารทางการเงินอื่น ภาพถ่าย บันทึกส่วนตัวของผู้ต้องหาที่ตรวจค้น ยึดได้ เช่น ไดอารี่ นามบัตร เบอร์โทรศัพท์ในเครื่อง หลักฐานอื่นที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ฯลฯ พยานโดยตรง เช่น มีบุคคลยืนยันชัดเจน พยานโดยอ้อม เช่น การหาหลักฐานว่าเพื่อแสดงว่าในช่วงเวลาหนึ่งผู้ต้องหามีรายได้ซึ่งไม่ปรากฏแหล่งที่มาและนำไปซื้อทรัพย์สิน ข้อควรระวัง การลงวันที่ย้อนหลัง

  22. อำนาจในการยึดทรัพย์สินอำนาจในการยึดทรัพย์สิน • ตามกฎหมาย ป.ป.ส. มาตรา ๑๔ • กฎหมาย ปปง. มาตรา ๓๘ • ตามปวิอ. มาตรา ๖๙, ๘๕, ๙๒, ๙๘, ๑๐๒, ๑๓๒ • คำสั่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน • ให้ทำบันทึกให้ความยินยอมในการยึดไว้เพื่อตรวจสอบ

  23. ทรัพย์สินที่มีเหตุอันควรสงสัยทรัพย์สินที่มีเหตุอันควรสงสัย • ทรัพย์สินส่วนตัว • ทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิดในครั้งก่อน ๆ • ทรัพย์สินที่เปลี่ยนสภาพมาแล้ว • ทรัพย์สินที่เป็นของบุคคลที่สาม

  24. การสอบสวน • การสอบสวน เริ่มจากผู้จับกุม หรือ พงส.คดีแรกเป็นผู้กล่าวหาในคดีที่สอง หรือ พจท.ปปง.มาร้องทุกข์กล่าวโทษ • อำนาจสอบสวน ได้แก่ พงส.ท้องที่ บช.ปส. กองปราบฯ ดีเอสไอ • อำนาจสอบสวนคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน • คดีความผิดมูลฐานบางข้อหา เช่น ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ ความผิดนอกราชอาณาจักร การส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะเกี่ยวพันกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สตช. ป.ป.ช. ป.ป.ท. ดีเอสไอ และอัยการ

  25. สภาพปัญหา คือ • ระยะเวลาฝากขัง • ของกลางในคดีฟอกเงินอาญา กับการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ในคดีมูลฐาน • ความผิดนอกราชอาณาจักรขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ • คดีเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต • รอยต่อหรือจุดเชื่อมโยง ขณะที่มีการเปลี่ยนสภาพไปเป็นทรัพย์สินอื่น • ทรัพย์สินที่ฟอกปะปนกันทรัพย์สินส่วนตัว • พรบ.ปปง. เสมือนเป็นข้อยกเว้นของกฎหมาย ป.ป.ช. ปวิอ. • พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามปวิอ. เน้นท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อน

  26. - ถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพให้เน้นการแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำ ความผิด ป้องกันการกลับคำให้การหรือการยกข้อบกพร่องขึ้นต่อสู้ในชั้นศาล • แพ้ชนะกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ ย่อมถูกต้องและเป็นธรรมกว่าการแพ้ชนะกันในกฎหมายสารบัญญัติ • ถ้าผู้ต้องหาให้การปฏิเสธให้พยายามสอบถามเรื่องแวดล้อมแทน เช่น อาชีพ รายได้ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน - มิฉะนั้น อาจต้องใช้เรื่องดังกล่าวไปถามค้านในชั้นศาลแทน

  27. ข้อสับสนระหว่างกฎหมายสาระบัญญัติกับกฎหมายวิธีสบัญญัติ ? • ศาลพิพากษายกฟ้องคดีมูลฐาน แล้วจะถือว่าทรัพย์สินนั้น ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือไม่ ? • เป็นกฎหมายที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูง มีพลัง และมีผลที่รุนแรงเด็ดขาด

  28. การสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดโดยเจ้าพนักงานของรัฐ มีความมุ่งหมายเพื่อจะหาพยานหลักฐานและหาตัวผู้กระทำผิด • แต่ในทางปฏิบัติงานจริงนั้น มีความผิดหลายอย่างซึ่งยากที่จะหาพยานหลักฐานมาใช้พิสูจน์ความผิด เว้นแต่จะใช้วิธีการชักจูงหรือใช้อุบายหรือ ใช้เทคนิคเพื่อให้ผู้ที่คิดจะกระทำความผิดอยู่แล้วแสดงพฤติกรรม หรือลงมือกระทำผิด หรือนำสิ่งของที่ผิดออกมาจากที่ซ่อนจนถูกจับกุม

  29. การที่จะเข้าถึงตัวผู้กระทำหรือข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดหรือของกลางนั้น บางครั้งเจ้าพนักงานต้องปลอมตัวหรือใช้วิธีปฏิบัติราชการไปอย่างลับ ๆ เพื่อประโยชน์ของทางราชการ การใช้วิธีการลับดังกล่าวอาจนั้นอาจมีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษเพราะฝ่ายตรงข้ามอาจจะหยิกยกความผิดพลาดนี้มาใช้เป็นประโยชน์ในการทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานที่ดีได้

  30. ของกลางหรือทรัพย์สินที่ฟอกถ้ามีหลายรายการควรแยกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น บ้าน รถ เงินสด เงินฝาก ทอง ตราสาร ฯลฯ • ทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานใด ฟอกเงินอย่างไร ผลคดี • ถ้าหลายกรรมต่างกัน ควรแยกให้ชัดเจนในแต่ละรายการ เมื่อใด อย่างไร • หรือแยกเป็นรายสำนวนไป

  31. ผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงินเป็นคนละคนกับผู้กระทำความผิดมูลฐานก็ได้ • การฟอกเงินมีอยู่หลายส่วนประกอบกัน ผู้ที่เกี่ยวข้องแม้แต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการกระทำด้วยกันทั้งสิ้นโดยแบ่งหน้าที่กันทำ • ทรัพย์สินที่ฟอกเงินจะซ้อนกันอยู่หลายมิติ เช่น เป็นของกลางในคดีอาญา ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องฯ (ป.ป.ส.) หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับฯ (ปปง.) และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องฯ (ป.ป.ช.)

  32. การแบ่งกลุ่มพยาน • พยานที่เกี่ยวความผิดมูลฐาน เช่น ผู้สืบสวนจับกุม พงส. พจท.ป.ป.ส. และ ปปง. • พยานที่เกี่ยวข้องกับวิธีการฟอกเงิน เช่น ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้รับโอน ฯลฯ • พยานเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน เช่น ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้รับโอน เจ้าหน้าที่ธนาคาร • พยานของผู้ต้องหา เช่น บิดามารดา คู่สมรส บุตร พี่น้อง ญาติ เพื่อน • พยานที่เกี่ยวกับรายได้หรือการทำงาน เช่น นายจ้าง เพื่อนร่วมงาน • พยานผู้เชี่ยวชาญ เช่น ผู้ตรวจพิสูจน์ ผู้วิเคราะห์การใช้โทรศัพท์ อินเตอร์เน๊ต • พยานที่เป็นล่ามภาษา

  33. การสอบสวนควรร่วมกัน ๒ คน โดยคนหนึ่งซักถามอีกคนหนึ่งบันทึก • การแจ้งข้อกล่าวหา ตามปวิอ.มาตรา ๑๓๔ เช่น • เมื่อวันที่............เวลา....ผู้ต้องหากับพวกได้ร่วมกันขนย้ายเงินสดประมาณ หนึ่งร้อยล้านบาท ของนายแดง บ่อพลอย ที่ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติด โดยใช้กระเป๋าใส่เสื้อผ้าขนาดใหญ่ จำนวนสิบกว่าใบจากห้องเช่าเลขที่....อาคารชุดธนาทาวเวอร์ ซอยจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มาใส่ในรถยนต์ยี่ห้อ.....แล้วขับไปจอดไว้ที่สถานรับฝากรถ เลขที่....แขวงบางลำพูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ผู้ต้องหายังได้นำเงินสดในกระเป๋า จำนวนหนึ่งใบที่อยู่ในรถยนต์ดังกล่าวติดตัวกลับไปด้วย อันเป็นการกระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฟอกเงิน”

  34. ในประเด็นเกี่ยวกับความผิดมูลฐาน ในประเด็นเกี่ยวกับความผิดมูลฐาน • พงส.ควรทำการสอบปากคำพยาน คือ • เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้สืบสวน ผู้จับกุม พงส.คดีมูลฐาน พร้อมสำเนาสำนวนคดี มูลฐาน • พจท.ป.ป.ส. และ ปปง.พร้อมสำนวนการตรวจสอบทรัพย์สินหรือเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง • ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้าไปเชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้ลำเลียง ผู้ค้ากับเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์ ผู้ช่วยเหลือ ผู้สนับสนุน เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มในคดี ฟอกเงินและเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบทรัพย์สินของ ป.ป.ส.และ ปปง.

  35. ในประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สินในประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน • ควรสอบปากคำพยานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบว่าผู้ต้องหามีทรัพย์สินอะไรบ้าง • โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท การได้มา วันที่ได้มา การชำระเงิน ที่ตั้ง จำนวน มูลค่า วิธีการเปลี่ยนสภาพหรือการปิดปังอำพราง • สอบปากคำบิดามารดา สามีภรรยาคู่สมรส พี่น้อง ญาติ เพื่อน บริวาร • ผู้ต้องหาอื่นที่ให้การซัดทอด ควรให้ชี้ตัว หรือชี้ภาพถ่าย พร้อมบันทึกภาพและเสียงไว้เป็นหลักฐาน

  36. พยานสำคัญอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏอยู่ในสำนวนการสอบสวนคดียาเสพติด เช่น • ลูกจ้างหรือคนงาน • เพื่อนบ้าน • กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน • ผู้ที่ค้าขายหรือประกอบธุรกิจร่วมกัน • ผู้ที่ค้าขายหรือประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกัน

  37. ผู้ซื้อหรือผู้ขายทรัพย์สินผู้ซื้อหรือผู้ขายทรัพย์สิน • ผู้มีชื่อในทรัพย์สิน • เจ้าหน้าที่ธนาคารหรือสมุห์บัญชี • ผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชี (กรณีเป็นนิติบุคคล) • ผู้ให้บริการต่าง ๆ เช่น บริษัทสินเชื่อ ศูนย์รถยนต์ • เจ้าหน้าที่บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์ อินเตอร์เน๊ต • ผู้วิเคราะห์โปรแกรมไอทู • เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ กรมวิชาการเกษตร ฝ่ายปกครอง

  38. การสอบปากคำผู้ต้องหาผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในประเด็นเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ครอบครัว การศึกษาการทำงาน การกระทำผิด รายได้ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน

  39. ประวัติส่วนตัว ชื่อ ที่อยู่ภูมิลำเนา ชื่อเล่นหรือฉายา อายุ อาชีพหรือธุรกิจการค้า ระดับการศึกษา ฐานะทางการเงินหรือทางสังคม การสมรส การหย่า การเปลี่ยนชื่อนามสกุล โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ โรคประจำตัว อาการทางจิต การเมืองท้องถิ่น

  40. ประวัติครอบครัว พ่อแม่ ภรรยาหรือคู่สมรส บุตรธิดา พี่น้อง ญาติ เพื่อน บริวาร ผู้ที่อาศัยอยู่ด้วยและความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ การศึกษา ฐานะรายได้ ทรัพย์สิน หนี้สิน ของผู้นั้น สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

  41. ประวัติการศึกษา จบการศึกษาระดับชั้นไหน ฟังพูดอ่านเขียนได้ การฝึกอบรม ความสามารถพิเศษ

  42. ประวัติการทำงานหรือธุรกิจประวัติการทำงานหรือธุรกิจ • การประกอบอาชีพ • งานประจำ • งานพิเศษ • งานอดิเรก • ที่ไหน เมื่อไร กับใครอย่างไร • ประสบการณ์ • สถานที่ทำงาน • นายจ้างหรือเพื่อนร่วมงานที่สามารถติดต่อได้ • เพื่อนที่ทำธุรกิจร่วมกัน หลักฐานประกอบการทำงานหรือภาพถ่าย

  43. เป็นรายได้ที่ได้แจ้งต่อสรรพากรหรือไม่ • หลักฐานเกี่ยวกับการทำงานหรือประกอบอาชีพ

  44. ประวัติการกระทำผิดมูลฐานประวัติการกระทำผิดมูลฐาน • ทำมานานแค่ไหน กี่ครั้ง ได้เงินไปเท่าไร • สิ่งของหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด • ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำผิดคนอื่น • พฤติการณ์การค้าหรือการใช้ยาเสพติด • หมายจับ การตรวจค้นจับกุม • การถูกดำเนินคดี

  45. ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลประวัติความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล • ผู้ต้องหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับใครบ้าง • ทั้งความสัมพันธ์ส่วนตัว • การประกอบธุรกิจการค้า • การซื้อการขายทรัพย์สิน

  46. รายได้(สำคัญ) • เงินเดือน • เงินพิเศษ • เงินชดเชย • เงินโบนัส • เงินสะสม • ผลประกอบการ • ผลกำไร • เงินปันผล ดอกเบี้ย • มรดก

  47. ของขวัญ ของกำนัล ของหมั้น • ค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น • เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน หรือจากการให้กู้ยืม • เงินได้จากการขายของในกิจการหรือทรัพย์สิน • รายได้เฉลี่ย และสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ • โดยแบ่งออกเป็นแต่ละช่วงเวลาด้วย เนื่องจากผู้ต้องหาอาจมีรายได้ไม่แน่นอน รายได้แบ่งเป็นรายได้ที่เชื่อว่าผู้ต้องหาได้มาจริง กับรายได้ที่ผู้ต้องหายกขึ้นอ้าง

  48. รายได้ที่ผิดกฎหมาย(ถ้ารับสารภาพ)รายได้ที่ผิดกฎหมาย(ถ้ารับสารภาพ) • ได้มากี่ครั้ง เท่าไร วิธีการได้มา คงเหลือเท่าไร ใช้จ่ายอะไรบ้าง • เพราะเงินที่ผิดกฎหมายมักจะปะปนกันกับเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย • รายจ่าย คือ เงินที่ใช้จ่ายไปเพื่อได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือได้รับการบริการ โดยไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้อีก

  49. รายจ่ายส่วนตัวเช่น • ค่าอาหาร • ค่าเสื้อผ้า • เครื่องสำอาง • ค่าผ่อนรถ • ค่าน้ำมัน • ค่าผ่อนสินค้า เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า • ค่าใช้จ่ายในการเดินท่องเที่ยวพักผ่อน • ค่าภาษีต่าง ๆ

  50. ค่าเบี้ยประกันชีวิต • ดอกเบี้ยเงินกู้หรือบัตรเครดิต • ค่ารักษาพยาบาล • ค่าสาธารณูปโภค • เงินบริจาค • เงินช่วยเหลือ • ภาระทางการเงินอื่น

More Related