1 / 29

ดนตรีกับ การ ฟัง

ดนตรีกับ การ ฟัง.

dawn-perry
Download Presentation

ดนตรีกับ การ ฟัง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ดนตรีกับการฟัง • ดนตรีเป็นศิลปะที่อาศัยเสียงเพื่อเป็นสื่อในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ไปสู่ผู้ฟัง เป็นศิลปะที่ง่ายต่อการสัมผัส ก่อให้เกิดความสุข ความปลื้มปิติพึงพอใจให้แก่มนุษย์ได้ นอกจากนี้ได้มีนักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ดนตรีเป็นภาษาสากลของมนุษยชาติเกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์ได้นำมาดัดแปลงแก้ไขให้ประณีตงดงามไพเราะเมื่อฟังดนตรีแล้วทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ” นั้นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราได้ทราบว่ามนุษย์ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดภาษาใดก็สามารถรับรู้อรรถรสของดนตรีได้โดยใช้เสียงเป็นสื่อได้

  2. องค์ประกอบของการฟัง • 1. สถานที่ ถ้าหากสถานที่ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้ไม่ได้รับอรรถรสเท่าที่ควร • 2. เวลาช่วงเวลาที่จัดให้มีการแสดงดนตรีนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสม เข้ากับบรรยากาศของการแสดงไม่ควรจัดให้เร็วเกินไปหรือดึกเกินไป • 3. ผู้ฟังตัวผู้ฟังเองต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการฟัง มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางดนตรีพร้อมที่จะรับกระแสเสียงที่ผู้ขับร้องและผู้บรรเลงเปล่งเสียงออกมา โดยผ่านขบวนการตีความหมายอย่างละเอียดจากบทเพลงที่คีตกวีได้เขียนไว้ ผู้ฟังเป็นผู้ที่พร้อมจะรับฟังบทเพลงด้วยความชื่นชอบ

  3. ระดับของการฟัง • 1. การฟังแบบผ่านหู (Passive Listening) • 2. การฟังด้วยความตั้งใจ (Sensuous Listening) • 3. การฟังอย่างเข้าถึงอารมณ์ (Emotional Listening) • 4. การฟังโดยรับรู้ความซาบซึ้ง (Perceptive Listening)

  4. องค์ประกอบของดนตรี • เสียง (Sound) • สีสันหรือคุณภาพของเสียง (Tone Color of Quality) • จังหวะ (Rhythm) • ตัวโน้ตดนตรีหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงดนตรี (Music Notation) • ทำนอง (Melody) • เสียงประสาน (Harmony) • คีตลักษณ์ หรือ รูปแบบ (Musical Forms)

  5. ประวัติดนตรีตะวันตก • 1.สมัยกรีก (Ancient Greek music) ในสมัยนี้ได้สูญหายไปในความลึกลับของศาสตร์แห่งเทพนิยายกรีก ดนตรีประเภทนี้ใช้ประกอบพิธีกรรมของลัทธิเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) ผู้เป็นเจ้าแห่งแสงสว่างซึ่งรวมถึงความมีเหตุผลและวินัยถือความถูกต้องชัดเจนและการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ พิณไลร่า (Lyre) ส่วนพิธีกรรมของเทพเจ้าไดโอนีซัส(Dionysus) นั้นถือว่าเป็นไปในทางตรงกันข้ามคือสื่อถึงความป่าเถื่อนอึกทึกครึกโครม สนุกสนาน ความลึกลับ และความมืด เทพนิยายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี คือบรรดาเทพ 9 องค์ เป็นธิดาของเทพเจ้าซีอุส ซึ่งเป็นเทพประจำสรรพวิทยาและศาสตร์แต่ละชนิด

  6. ประวัติดนตรีตะวันตก • 2.สมัยโรมัน (Roman) นักปราชญ์ทางดนตรีสมัยโรมันยึดทฤษฎีดนตรีของกรีกเป็นหลักแล้วนำมาผสมผสานกับทัศนะแบบเฮเลนิสติค เช่น โพลตินุส (Plotinus) และศิษย์ของเขาคนหนึ่งชื่อ พอร์ฟีรี (Porphyry)ก็ได้เผยแพร่สั่งสอนทฤษฎีแบบเพลโตนิคใหม(Neo-Platonic) โพลตินุสได้ย้ำถึงอำนาจที่ดนตรีมีต่อจิตใจและจรรยาธรรมของมนุษย์ มีอำนาจในการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์พาใจให้พบความสวยงามและความดีงาม และในทางตรงกันข้ามดนตรีอาจมีอำนาจทำลายหากใช้ไปในทางที่ผิด ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะอนุรักษ์และกวดขันดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีศาสนาและที่บรรเลงสำหรับการทหาร

  7. ประวัติดนตรีตะวันตก • 3. สมัยกลาง (The Middle Ages) ดนตรีในสมัยกลางเป็นสิ่งที่ยากที่จะศึกษาเนื่องจากว่าดนตรีเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว เสียงตามท้องถนนของพ่อค้าเร่ เสียงร้องเพลงจากทุ่งหญ้าของกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การเต้นรำในงานรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงดนตรีบนเวที และแม้แต่บทเพลงจากกวีในภาคใต้ของฝรั่งเศส (ในศตวรรษที่ 11-13) ล้วนแล้วแต่มีอายุสั้น แม้แต่ดนตรีที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแฟชั่นเท่านั้น ซึ่งเหลือทิ้งไว้แต่คำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของมันประมาณ ค.ศ. 500 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเปลี่ยนจากยุคมืด (The Dark Ages) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ แวนดัล (Vandals, Huns) และ วิซิกอธ (Visigoths) เข้าไปทั่วยุโรป และนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิโรมัน เป็นเวลา 10 ศตวรรษต่อมา

  8. ประวัติดนตรีตะวันตก • 4. สมัยรีเนซองส์ (The Renaissance) ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี โดนาเต็ลโลเลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์เบสเริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวกแมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony) 

  9. ประวัติดนตรีตะวันตก • 5. สมัยบาโรก (The Baroque Age) ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด “ความตักัน” (Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การบรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ(Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้ เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่ ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต 

  10. ประวัติดนตรีตะวันตก • 6. สมัยคลาสสิก (The Classical Period) ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยมการสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน 

  11. ประวัติดนตรีตะวันตก • 7. สมัยโรแมนติก (The Romantic Period) คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน 

  12. ประวัติดนตรีตะวันตก • 8. สมัยอิมเพรชชั่นนิสติค (The Impressionistic) ดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไปกลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง (ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆและนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เพลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัดลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือ“คล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร

  13. ประวัติดนตรีตะวันตก • 9. สมัยศตวรรษที่ 20 และปัจจุบัน (The Twentieth century) ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเองดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลงลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ

  14. เครื่องดนตรีตะวันตก • 1. กลุ่มเครื่องสาย (String Instruments)

  15. เครื่องดนตรีตะวันตก • 2. กลุ่มเครื่องลมไม้ (Wood Wind Instruments)

  16. เครื่องดนตรีตะวันตก • 3. กลุ่มเครื่องเป่าประเภทโลหะ หรือเครื่องเป่าทองเหลือง(Brass Wind Instruments)

  17. เครื่องดนตรีตะวันตก • 4. กลุ่มเครื่องคีย์บอร์ด (Keyboard Instruments)

  18. เครื่องดนตรีตะวันตก • 5. กลุ่มเครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion Instruments)

  19. การประสมวงดนตรีตะวันตกการประสมวงดนตรีตะวันตก • 1. วงแชมเบอร์ (Chamber Ensembles) • 2. วงออร์เคสตรา (Orchestra) • 3. วงแบนด์ (Band) • 4. วงชาโดว์ (The Shadow) • 5. วงสตริงคอมโบ (String Combo) • 6. วงโฟล์คซอง (Folksong) • 7. วงแตรวงชาวบ้าน

  20. ประวัติดนตรีไทย • สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จากประวัติศาสตร์ชนชาติไทยเดิมที่ได้อพยพมาจากแถบภูเขาอัลไตและอพยพเรื่อยมาจนถึงแหลมทองในปัจจุบัน และได้ปรากฏหลักฐานเป็นจดหมายของอาจารย์ที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งอาจารย์มนตรี ตราโมท กล่าวว่า( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 3 อ้างใน มนตรี ตราโมท. 2507 : ไม่ปรากฏหน้า) ดังนี้ “ จดหมายของอาจารย์ผู้หนึ่ง ในโรงเรียนที่เซียงไฮ้ ซึ่งมีมาถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยเรา ลงในวันที่ 11 ตุลาคม 2484 กล่าวว่า เขาได้ทำการศึกษาค้นคว้าตำนานดึกดำบรรพ์ของชาติไทยในดินแดนจีน ได้หลักฐานไว้หลายอย่าง มีความในหนังสือฉบับนี้กล่าวว่า คนไทยมีอุปนิสัยทางศิลปะทางดนตรีมาแต่ดึกดำบรรพ์” จากข้อความในจดหมายที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า ดนตรีไทยมีมาควบคู่กับคนไทย มาตั้งแต่โบราณก่อนการอพยพลงมาสู่แหลมทองในปัจจุบัน และยังมีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับดนตรีไทย ซึ่ง อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นมาเกี่ยวกับดนตรีไทย

  21. ประวัติดนตรีไทย • สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี การดนตรีในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เพราะว่า เรื่องราวชนชาติไทยปรากฏหลักฐานเด่นชัดขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในศิลา และจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยนี้ ทำให้ทราบประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างดี ( เฉลิม พงศ์อาจารย์. 2529 : 90)เพราะในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่จารึกเป็นคำสั้นๆ ว่า “ เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540: 9 อ้างใน ณรงค์ชัย ปิฎกรัชน์. 2528 : 17) ทำให้เราทราบถึงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดีมีความกว้างขวางมากมาย เสียงพาทย์ หมายถึง การบรรเลงวงปี่พาทย์ เสียงพิณ หมายถึง วงเครื่องสาย เป็นต้นทวีสิทธิ์ ไทยวิจิตร ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย โดยสันนิษฐานว่า เครื่องดนตรีไทย มีกลองสองหน้า แตรงอน (คล้ายเขาสัตว์ทำด้วยโลหะ ) แตรสังข์ (ทำจากหอยสังข์) ตะโพน ฆ้อง กลองทัด ฉิ่ง บัณเฑาะ กรับ กังสดาล มโหระทึก ซอสามสาย ระนาด ปี่ไฉน (สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 9)สรุปได้ว่า เครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น เครื่องดนตรีมีครบทั้ง 4 ประเภท อย่างเช่นสมัยปัจจุบัน คือเครื่องดีด ได้แก่ พิณ เป็นต้น เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ ขลุ่ย เป็นต้นเครื่องตี ได้แก่ ระนาด ฆ้อง กลอง เป็นต้นเครื่องสี ได้แก่ ซอ เป็นต้น

  22. ประวัติดนตรีไทย • สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี การดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนับได้ว่า มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เพราะประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันมาก ซึ่งเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่ได้รับมาจากกรุงสุโขทัย แต่ก็ได้มีการปรับปรุงรูปร่าง ตลอดจนการประสมวงดนตรี และได้มีการพัฒนาคิดค้นเรื่องดนตรีเพิ่มเติม เช่น จะเข้ เป็นต้นด้วยความเจริญรุ่งเรืองในการดนตรีไทย มีประชาชนนิยมเล่นดนตรีไทยกันอย่างกว้างขวางจะเล่นดนตรีกันจนเกินขอบเขต จนต้องออกกฏมณเฑียรบาล ในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนารถ ( พ.ศ.1991 - 2031 ) ว่า “…ห้ามขับร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน”

  23. ประวัติดนตรีไทย • สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยนี้ เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงคราม และได้มีการก่อสร้างเมืองให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เกิดความ สงบร่มเย็น โดยทั่วไปแล้ว ศิลป วัฒนธรรม ของชาติ ก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะ ทางด้าน ดนตรีไทย การดนตรีในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์ทรงโปรดการดนตรีทุกประเภท จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญจากชาวโลก ทั้งในและต่างประเทศอย่างท่วมท้น พระองค์ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้อีกมากมาย อีกทั้งสมเด็จพระเพทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้ทรงโปรดปรานดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง ทรงบรรเลงดนตรีไทยได้ทุกชนิด ทรงใฝ่พระราชหฤทัยอย่างจริงจัง ดังที่ เสรี หวังในธรรม กล่าวว่า “ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้ว เพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่”

  24. เครื่องดนตรีไทย • ๑ เครื่องดีด

  25. เครื่องดนตรีไทย • ๒ เครื่องสี

  26. เครื่องดนตรีไทย • ๓ เครื่องตี

  27. เครื่องดนตรีไทย • ๔ เครื่องเป่า

  28. การประสมวงดนตรีไทย • 1. วงมโหรี • 2. วงปี่พาทย์ • 3. วงเครื่องสาย

More Related