1 / 25

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง. เสนอ อาจารย์สุวิ สาข์ เหล่าเกิด. เพลง.

dea
Download Presentation

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง เสนอ อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด

  2. เพลง เพลง หมายถึง ถ้อยคำที่นักประพันธ์เรียงร้อยหรือเรียบเรียงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย เนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ ทำให้เกิดความไพเราะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง มีคุณค่าด้านวรรณศิลป์ทั้งด้านการเลือกสรรคำที่ใช้ในการแต่ง การเรียบเรียงประโยค และการใช้โวหาร เพลงนั้นอาจให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังในการดำเนินชีวิตด้วยสำเนียงขับร้อง ทำนองดนตรี กระบวนวิธีรำระบำ โดยเพลงสร้างสรรค์จากเครื่องดนตรีหรือการขับร้อง

  3. เพลงมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด เช่น เพลงกล่อมเด็ก นอกจากนี้ยังมีเพลงที่แต่งไว้สำหรับเด็กๆ ร้องเกี่ยวกับสัตว์บ้าง เกี่ยวกับสุขภาพอานามัยบ้าง เกี่ยวกับโอกาสและเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ วันเกิด วันคริสต์มาส เป็นต้น

  4. บทเพลงสำหรับเด็กส่วนใหญ่แล้ว เพลงเด็กจะเริ่มด้วยของการนักตัวเลข การนับจำนวนต่างๆ ที่เด็กได้ใช้อยู่ทุกๆ วัน การฝึกจำตัวอักษรและพยัญชนะต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การสื่อในเรื่องของสัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ที่ได้เห็นพบอยู่ทุกๆ วัน หรือเป็นบทเพลงที่บรรยายเรื่องของผลไม้ ต้นไม้ หรือธรรมชาติต่างๆที่อยู่รอบตัวนักเรียน ลักษณะบทเพลงที่ใช้สำหรับเด็ก จะต้องมีจังหวะสนุกสนาน ช่วงเสียงไม่กว้างจนเกินไปเพราะเด็กร้องเสียงสูงต่ำได้ไม่มากนัก จำนวนพยางค์ที่ใช้ไม่ยาวมากและยากเกินไป

  5. เพลงสามารถให้เด็กได้ใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายในการเคลื่อนไหว การพัฒนาความเจริญเติบโตของร่างกาย เพื่อการออกกำลังกาย และเพลงสำหรับเด็กจำเป็นอย่างยิ่ง ควรได้ใช้ท่าเต้นประกอบอย่างง่ายๆ ทั้งแขน ขา มือ เท้า หัว หรือทุกส่วนของร่างกาย

  6. เนื้อหาของเพลงสำหรับเด็ก จะต้องเป็นการพัฒนาระบบประสาทสัมผัสทั้งหมดของเด็ก ฝึกทักษะความจำเป็นหลัก เพราะเด็กเล็กไม่สามารถอ่าน เขียนได้ เด็กจะมีการรับรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น คือการมองเห็น การได้ยินและการจดจำ ต่อไปนี้ผู้เขียน จะนำเพลงเด็กที่ใช้ประกอบบทเรียนมาเป็นตัวอย่าง และให้ข้อคิดเห็นบางส่วนในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องเรียน ซึ่งกิจกรรมที่นำไปใช้ ครูผู้สอนสามารถสร้างสรรค์ กิจกรรมหลากหลายที่ไม่ซ้ำกันได้ เพื่อให้กิจกรรม มีความสอดคล้องกับบทเพลง

  7. ประโยชน์ของเพลงในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมีดังนี้ประโยชน์ของเพลงในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมีดังนี้ • 1.เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน ลดความ ตึงเครียดระหว่างครูกับนักเรียน หล่อหลอมลักษณะนิสัย จิตใจ ของนักเรียน • 2.เพลงช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์บุคลิกภาพและด้าน สังคมของเด็กนักเรียน • 3.การเข้าสู่บทเรียน สรุปบทเรียนหรือทบทวนบทเรียน เพลงช่วยย้ำสิ่งที่เรียนไปแล้วเช่น คำศัพท์ รูปประโยค กฎไวยากรณ์บางเรื่อง เช่น เกี่ยวกับกาล (tenes) ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ในเพลงจะมีคำที่แสลง (slang) เป็นสำนวน ( idioms )ซึ่งเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน

  8. 4.เพลงช่วยพัฒนาทางภาษาซึ่งเป็นการฝึกฟังให้เข้าใจ ข้อความในเนื้อเพลงพร้อมทั้งเป็นการฝึกการออกเสียง เชื่อมคำ และจังหวะไปในตัว ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ ที่สามารถร้องเพลงได้ จึงเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีทัศนคติ ที่ดีต่อการเรียนและช่วยส่งเสริมให้การเรียนดีขึ้น 5.เพลงให้ความรู้หลากหลายแก่นักเรียน เช่น วัฒนธรรม สถานที่สำคัญ วันสำคัญเป็นต้น โดยอาจใช้เพลงเป็น จุดเริ่มต้นในการสนทนา หรืออภิปรายเนื้อหาที่บรรจุใน เพลง

  9. แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ • กิจกรรมการใช้เพลงในการเรียนการสอน เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539: 52) ได้เสนอแนะให้ผู้สอนว่าควรใช้เพลงเป็น เครื่องมือเพิ่มพูนประสบการณ์ โดยจัดกิจกรรมต่างๆดังนี้ • 1.เล่าเรื่อง หรือเล่าเรื่องที่สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับเพลง • 2.เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเพลง • 3.ดัดแปลงเนื้อหาเป็นบทสนทนาสั้นๆ • 4.นำบทประโยคเนื้อเพลง หรือนำประโยคดีๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างทางไวยากรณ์

  10. 5.หาคำใหม่มาแทนในเพลง หรือนำประโยคดีๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างทางไวยากรณ์ • 6.แสดงท่าทางประกอบจังหวะ • 7.สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อเพลงเหมือนกับ ถาม- ตอบ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ • 8.เขียนเนื้อเพลงลงสมุด

  11. ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอนขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน • ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้ ( วราภรณ์วราธิพร.2543: 21 ) 1.ทบทวนหรือแนะนำโครงสร้างไวยากรณ์ที่ปรากฎอยู่ในเพลง 2.เปิดเพลง 1 รอบครั้งแรก เพื่อให้นักเรียนคุ้นเคย 3.หลังจากที่นักเรียนสามารถจับทำนองเนื้อเพลงได้แล้ว นักเรียนก็สามารถร้องไปกับดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะได้ 4.นำเนื้อร้องมาสร้างกิจกรรม เปิดโอกาสให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพลง

  12. เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย ( 2539: 105-106 ) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสอนเพลง มีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้ • 1.การเลือกเพลง การเลือกเพลงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเพลงที่ใช้ในการเรียนไม่เหมาะสม ผู้เรียนจะขาดความสนใจ ทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จ ในการเลือกเพลงจะต้องคำนึงถึง • 1.1 ระดับชั้น วัย และความสามารถของผู้เรียน • 1.2 ความไพเราะ จังหวะของเพลง ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป • 1.3 ภาษาไม่ยาก คำที่อยู่ในเพลงชัดเจน และมีความหมาย • 1.4 เป็นเพลงที่ผู้ฟังฟังแล้วเกิดความรู้สึกและจินตนาการใกล้เคียงกัน สามารถร้องตาได้

  13. 3. การประเมินผล • 3.1 เก็บเนื้อเพลงที่แจกไปครั้งแรกคืนมา แล้วแจกเนื้อเพลงที่ผู้สอน เตรียมเว้นคำที่เหมาะสมว่างไว้ เพื่อให้นักเรียนเติมในขณะที่เปิดเพลงให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง • 3.2 ถามคำถามจากเนื้อหาของเพลง คำถามนี้อาจเป็นคำตอบปากเปล่า หรือแบบให้เลือกตอบ (multiple choices) หรือแบบเติมคำหรือข้อความสมบูรณ์ (completion) • 3.3 อาจเป็นคำถามปรายเปิด (open-ended questions) เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น นักเรียนทุกคนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนโดยไม่มีการตัดสินว่าความคิดเห็นของนักเรียนคนใดผิดหรือของคนใดถูก และผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยควบคุมชั้นเรียนเท่านั้น

  14. 2. การดำเนินการสอน การดำเนินการสอนมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ให้เข้ากับบรรยากาศของชั้นเรียนได้ ดังนี้ • 2.1 แจกเนื้อเพลงแล้วอธิบายศัพท์ สำนวนหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่จำเป็น • 2.2 เปิดเพลงให้ฟังเป็นรอบที่ 2 ถ้าต้องการให้ผู้เรียนทำท่า ประกอบหรือร้องตาม • 2.3 ถามคำถามทั่วๆไปเพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะ ฟัง พูด เช่น • 2 3.1 รู้สึกอย่างไรกับเพลงนี้ ? ( มีความสุข โกรธ ว้าเหว่ เสียใจ ) • 2.3.2 เพลงนำเสนอเกี่ยวกับอะไร ? (ความรัก สงคราม ความเข้าใจผิด)

  15. เกร็ดความรู้ • เปลี่ยนคำพูดเป็นเพลงโดยใช้ทำนองที่คุ้นหู และมีการสอดใส่ชื่อของลูกลงในเนื้อร้อง คุณอาจเล่นกับลูกด้วยการนำเพลงที่ลูกร้องที่สถานรับเลี้ยงเด็กมาเปลี่ยนคำให้ขบขันมากขึ้น

  16. คำถาม • เพลง มีความหมายว่าอย่างไร ก. บทกลอน หรือคำคล้องจอง ข. ดนตรีที่ใช้ในด้านการบันเทิง ค. บทประพันธ์ที่มีทำนองใช้ขับร้องหรืออาจจะมีดนตรี ประกอบด้วยซึ่งเพลงเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของคนทุกชาติ ง. เป็นสิ่งจรรโลงใจทำให้บุคคลเกิดอารมณ์คล้อยตาม ตอบ . ค.

  17. องค์ประกอบของขั้นตอนการสอนเพลงมีกี่ประการ คืออะไรบ้าง ก. 3 ประการ คือ การเลือกเพลง การดำเนินการสอน การประเมิน ข. 3 ประการ คือ ระดับชั้น การเลือกเพลง การสอน ค. 2 ประการ คือ การเลือกเพลง การสอน ง 2 ประการ คือ การสอน การประเมิน • ตอบ . ก.

  18. 3.ในการเลือกเพลงต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง ก. ระดับชั้น ความไพเราะ ภาษาไม่ยาก เป็นเพลงที่ฟังแล้วเกิดความรู้สึกตาม ข. ระดับชั้น ภาษาไม่ยาก ความสอดคล้อง ค. อายุ คำคล้องจอง ร้องง่าย ง . อายุ วัย ความสามารถของผู้เรียน • ตอบ . ก.

  19. 4.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของเพลงในด้านการเรียนการสอน4.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของเพลงในด้านการเรียนการสอน • ก.ลดความตึงเครียดระหว่างครูกับนักเรียน • ข.สร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน • ค.พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ • ง.เพลงทำให้เกิดความสามัคคี • ตอบ ง

  20. 5. ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน • ก. เปิดเพลง 1 รอบครั้งแรก เพื่อให้นักเรียนคุ้นเคย • ข.แจกเนื้อเพลงให้กับนักเรียน • ค.ควรนำเสนอเพลงทีละบรรทัด • ง.เพลงมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด • ตอบ ง.

  21. จบการนำเสนอ

  22. ผู้จัดทำ • นางสาวมณฑิชา หลอดเงิน เลขที่ 3 สาขาการศึกษาปฐมวัย กลุ่ม 1 ปีที่ 3

  23. นางสาว จรรยา ทิพย์ทอง เลขที่ 25 สาขาการศึกษาปฐมวัย กลุ่ม 1 ปีที่ 3

  24. นางสาวจุฑามาศ ศรีปัญญา เลขที่ 34 สาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มที่ 1 ปีที่ 3

More Related