1 / 24

มาตรการทางภาษี เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Certification Committee Secretariat). มาตรการทางภาษี เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี. ยื่นขอรับรองวันนี้...ยกเว้นภาษีได้ 200%. บริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล. ค่าใช้จ่าย R&D. ร่วมดำเนินการปี 2544.

dean-brock
Download Presentation

มาตรการทางภาษี เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Certification Committee Secretariat) มาตรการทางภาษีเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ยื่นขอรับรองวันนี้...ยกเว้นภาษีได้ 200%

  2. บริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าใช้จ่าย R&D ร่วมดำเนินการปี 2544 หน่วยงานภายใน(ฝ่ายวิจัยและพัฒนา) หน่วยงานภายนอก(บริษัท/สถาบันวิจัย) หนังสือรับรองโครงการ เริ่มดำเนินการปี 2539 การร่วมดำเนินงานมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี คณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา และ

  3. สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ • ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาหรือ สามารถหักค่าใช้จ่ายสำหรับการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีได้เป็น 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายจริง

  4. กรณีขอการรับรอง 15,000,000 8,000,000 1,000,000 6,000,000 0 หักค่าใช้จ่ายงานวิจัยและพัฒนา ต่อที่ 2 1,000,000 5,000,000 1,500,000 สิทธิประโยชน์ที่ได้จากมาตรการทางภาษี กรณีไม่ขอการรับรอง 15,000,000 รายได้ รายจ่าย - ต้นทุนการขาย 8,000,000 - ค่าใช้จ่ายงานวิจัยและพัฒนา 1,000,000 กำไรสุทธิ 6,000,000 ยอดเงินเพื่อคำนวณภาษี 6,000,000 ประหยัด 300,000 ภาษีที่ต้องนำจ่ายให้รัฐ ( 30% ) 1,800,000

  5. องค์ประกอบหลักของการใช้สิทธิประโยชน์องค์ประกอบหลักของการใช้สิทธิประโยชน์ • ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ผู้ได้สิทธิประโยชน์) • มีรายจ่ายในการทำวิจัยและพัฒนา โดยอาจดำเนินการทำวิจัยด้วยหน่วยงานภายในเอง หรือว่าจ้างหน่วยงานอื่นดำเนินการวิจัย • มีผู้รับจ้างทำวิจัยที่ได้รับการอนุมัติหน่วยงานจากกรมสรรพากรและได้ประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา

  6. เงื่อนไขการขอยกเว้นภาษีเงินได้จากงานวิจัยและพัฒนาเงื่อนไขการขอยกเว้นภาษีเงินได้จากงานวิจัยและพัฒนา • ผู้รับจ้างทำวิจัยต้องมีรายชื่อที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร การยื่นขออนุมัติเป็นผู้รับจ้างทำวิจัย:- ติดต่อขอรับแบบคำขอฯ (วพ.01) ได้ที่ กรมสรรพากร หรือ www.rd.go.th เวบไซด์กรมสรรพากร ยื่นคำขอฯ ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สำนักงานตรวจสอบภาษี (ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่) กรมสรรพากร หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่

  7. เงื่อนไขการขอยกเว้นภาษีเงินได้จากงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) • เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การยื่นโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อขอรับการรับรองฯ:- ติดต่อขอรับและยื่นแบบคำขอรับรองโครงการฯ ได้ที่ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา www.tmc.nstda.or.th/rdcRDC

  8. ขอบเขตของงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอใช้สิทธิ์ขอบเขตของงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอใช้สิทธิ์ • เป็นงานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น • พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ • โลหะและวัสดุ • คอมพิวเตอร์และอิเล็คทรอนิคส์ • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงอื่นๆ • ไม่รวมถึงโครงการวิจัยที่เฉพาะเจาะจงทางด้านการตลาด, สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์

  9. ลักษณะการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีลักษณะการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยี • การวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน • การวิจัยเชิงประยุกต์

  10. งานวิจัยเชิงประยุกต์ งานวิจัยขั้นพื้นฐาน สิ่งที่เป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (R&D Criteria) 8. การออกแบบ การก่อสร้าง และการทดสอบชิ้นงานต้นแบบ หุ่นจำลอง และชุดพัฒนา 1. การดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ เชิงทฤษฎี หรือการดำเนินงานใดๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ค้นหาความรู้ใหม่ หรือเพื่อความก้าวหน้าจากความรู้เดิมที่มีอยู่ 2. การค้นคว้าหาการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้พื้นฐาน 5. การออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การบริการ หรือระบบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่หรือเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงของเดิมอย่างเป็นสาระสำคัญ 9. กิจกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ใหม่/กระบวนการผลิตใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง 3. การคิดค้นสูตรหรือการออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์ 6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) 4. การทดสอบเพื่อค้นหาหรือประเมินทางเลือกต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ การบริการและกระบวนการ 10. งานวิศวกรรมอุตสาหการและงานตั้งเครื่องใหม่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง 7. การสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง 11. การออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการผลิตใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง

  11. รายละเอียดข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนาที่ยื่นต่อ สวทช. • ส่วนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของเจ้าของโครงการ  ชื่อเจ้าของโครงการ  เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  ประกอบกิจการ  ทุนจดทะเบียน  สถานที่ติดต่อ  ชื่อผู้ติดต่อ  ชื่อผู้มีอำนาจผูกพัน  ผู้รับทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

  12. รายละเอียดข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนาที่ยื่นต่อ สวทช. • ส่วนที่ 2 ข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนา  วัตถุประสงค์ของโครงการ  ที่มาของปัญหา/รายละเอียด/การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  แนวทางการแก้ไขปัญหา (ขอบเขตการวิจัย)  แผนการดำเนินงาน  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  สถานที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา  ค่าใช้จ่ายของโครงการ (มีทั้งหมด 9 หมวด)

  13. การแยกหมวดค่าใช้จ่ายโครงการวิจัยและพัฒนาการแยกหมวดค่าใช้จ่ายโครงการวิจัยและพัฒนา 1. ค่าจ้างบุคลากร 2. เครื่องมือ/อุปกรณ์ 3. ที่ปรึกษาโครงการ 4. ค่าฝึกอบรม 5. ค่าใช้ห้องปฏิบัติการทดสอบ 6. ค่าวัตถุดิบการวิจัย 7. ค่าปรับปรุง/ซ่อมแซม 8. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Indirect Cost) 9. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Direct Cost)

  14. เอกสารประกอบการขอรับรองเอกสารประกอบการขอรับรอง • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลหรือหน่วยงาน • ประวัติของนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ • แคตตาล็อค, รายละเอียดคุณสมบัติ และใบเสนอราคาของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะมีการจัดซื้อ • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับงานวิจัย (ถ้ามี)

  15. โครงการประเภทใดบ้างที่สามารถยื่นขอการรับรองได้ ? 1. โครงการที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว • ทราบข้อมูลต่างๆชัดเจน ทั้งด้านเทคนิคและค่าใช้จ่าย 2. โครงการที่ดำเนินการไปแล้วบางส่วน • ทราบข้อมูลด้านเทคนิคและค่าใช้จ่ายชัดเจนในส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องประมาณการค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังไม่เกิดจริง 3. โครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ (ยังเป็นแผนงานอยู่) • ต้องใช้ความชำนาญในการเสนอข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านเทคนิคและงบประมาณค่าใช้จ่าย

  16. เจ้าของโครงการ ยื่นแบบคำขอรับการรับรองโครงการ สำนักงานเลขานุการฯ ตรวจสอบข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญประเมินโครงการ เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณา เป็นงานวิจัยและพัฒนา ออกหนังสือรับรอง แจ้งเจ้าของโครงการ และกรมสรรพากร ไม่เป็นงานวิจัยและพัฒนา แจ้งเจ้าของโครงการ และกรมสรรพากร ขั้นตอนการพิจารณารับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

  17. ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนาสูตรตำรับและวิธีการผลิตยา ให้มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเทียบเท่ากับยาต้นแบบ โดยศึกษาทั้ง Appearance, Content ของตัวยา และ Dissolution ให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน และศึกษาชีวสมมูลของอาสาสมัครในห้องปฏิบัติการ

  18. ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • ศึกษาวิจัยวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ทดแทน Phthalate Plasticizer ที่ใช้ในสายไฟและผลิตภัณฑ์ของเล่น โดยให้มีคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆ เทียบเท่ากัน เพื่อรองรับมาตรการในอนาคตที่อาจมีการยกเลิกการใช้สาร Plasticizer ประเภท Phthalate ตามมติของ EU

  19. ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้ง มีความต้านทานต่อโรคแมลงศัตรู และทนต่อสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นในประเทศที่แตกต่างกัน

  20. ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนารูปแบบ และวัสดุมีดที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนเนื้อวัสดุ รวมไปถึงปรับปรุงสูตรของเนื้อยางที่ใช้หุ้มด้ามมีด เพื่อแก้ปัญหามีดบิ่น ความคมหมดเร็ว และด้ามเป็นเหลี่ยมทำให้จับไม่ถนัด

  21. ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนาและปรับปรุงกระดาษพิมพ์ที่ใช้ในงานพิมพ์หนังสือนิตยสาร ที่มีปัญหาการพิมพ์ทะลุหลัง ซึ่งมักจะเกิดจากกระดาษที่ไม่ได้เคลือบผิว จึงต้องศึกษาเกี่ยวกับระบบการพิมพ์กระดาษ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพกระดาษ เตรียมตัวอย่างกระดาษและวิธีการทดสอบคุณภาพกระดาษในห้องปฏิบัติการ ศึกษาหาชนิดสารเคมี ปริมาณการใช้สารเคมี ที่เหมาะสม ทดสอบคุณภาพแผ่นกระดาษที่เตรียมได้

  22. ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การเตรียมสารสกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยเลือกหรือปรับสูตรวัตถุดิบที่ใช้ให้เหมาะสม อีกทั้งสารสกัดจากพืชสมุนไพรต้องมีความคงตัวเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพ

  23. ผลการดำเนินงาน สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา ปีงบประมาณ 2545-2550 (ตุลาคม 2544 - มิถุนายน 2550)

  24. สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ : 0-2564-7000 ต่อ 1328 - 1332 โทรสาร : 0-2564-7081 http://www.tmc.nstda.or.th/rdc E-mail : rdc@tmc.nstda.or.th

More Related