1 / 11

ศักยภาพใหม่ของระบบโลจิสติกส์ในประเทศกัมพูชา

N. S. P. MD SAYS ความขัดแย้ง. อาฟตา 2010 กับการส่งออกกุ้งไทย. บุญรอดฯ คุมเหล้า 23 ธ . ค. ศักยภาพใหม่ของระบบโลจิสติกส์ในประเทศกัมพูชา. อายุของสูตรการผลิตและการจัดทำตารางโอนสิทธิ์. ใบขนสุทธินำกลับ หรือ ใบสุทธินำกลับ คืออะไร. ยุทธศาสตร์การทำ FTA ของไทย.

delu
Download Presentation

ศักยภาพใหม่ของระบบโลจิสติกส์ในประเทศกัมพูชา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. N S P MD SAYS ความขัดแย้ง อาฟตา 2010 กับการส่งออกกุ้งไทย บุญรอดฯ คุมเหล้า 23 ธ.ค. ศักยภาพใหม่ของระบบโลจิสติกส์ในประเทศกัมพูชา อายุของสูตรการผลิตและการจัดทำตารางโอนสิทธิ์ ใบขนสุทธินำกลับ หรือ ใบสุทธินำกลับ คืออะไร ยุทธศาสตร์การทำ FTA ของไทย เอฟทีเอ อียูกับไทย ใครได้ใครเสีย สมุนไพรไทย กับ ลู่ทางการค้าที่เสียเปรียบใน FTA

  2. ความขัดแย้ง ในที่สุด ปี พ.ศ. 2552 ก็กำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า ท่านผู้ประกอบการทุกท่านคงทราบดีว่า มันเป็นปีแห่งความขัดแย้งทางด้านสังคมและการเมืองอย่างแท้จริง โดยที่ผมไม่ต้องให้ข้อมูลซ้ำอีก แต่ท่านผู้ประกอบการทราบหรือไม่ว่า ในการประกอบการนำเข้า ส่งออก และการให้บริการโลจิสติกส์ที่ท่านและผมกำลังขะมักเขม้นกันทุกรูปแบบเพื่อผลทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่นี้ ก็มีความขัดแย้งที่ท่านผู้ประกอบการรู้เท่าไม่ถึงการณ์และเป็นผู้รับความเสียหายเอง กรมศุลกากรเริ่มใช้นโยบายรวมใจใสสะอาดมาหลายปี เป้าหมายคือความรวดเร็วและโปร่งใสโดยการลดขั้นตอนการทำงานและลดการคอรัปชั่นลง ซึ่งว่ากันจริง ๆ เงินเหล่านี้เป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยสูงขึ้น แต่จากการสำรวจของสำนักงานต่างประเทศ กลับประกาศว่าใน ปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีการคอรัปชั่นมากขึ้น จนเป็นภาพแห่งขัดแย้งและสวนทางกับนโยบายรวมใจใสสะอาดอย่างสิ้นเชิง จากความขัดแย้งนี้ก็นำมาสู่ความเสียหายต่อผู้ประกอบการ กล่าวคือ กรมศุลกากรไม่ได้ทุ่มเทการประชาสัมพันธ์ว่า ความรวดเร็วและความโปร่งใสที่ผู้ประกอบการจะได้รับนั้น ผู้ประกอบการต้องกระทำการภายใต้ความถูกต้องตามหลักกฎหมายที่กำหนดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านเอกสาร ด้านพิธีการ และด้านการปฏิบัติการทุกรูปแบบ ผู้ใดเดินได้อย่างถูกต้อง ผู้นั้นย่อมได้ช่องสัญญาณไฟสีเขียว ผ่านตลอด อะไรต่อมิอะไรก็จะรวดเร็วและโปร่งใส กรมศุลกากรไม่ได้ประชาสัมพันธ์อย่างหนักว่า หากผู้ใดเดินผิดพลาด คลุมเครือ หรือสุ่มตรวจพบความผิดพลาดภายหลัง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ช่องสัญญาณไฟสีเขียวจะดับ ช่องสัญญาณไฟแดงจะเกิดขึ้นแทนที่ ความล่าช้า ค่าปรับ และความวุ่นวายจะตามมาเป็นของขวัญให้แก่ผู้ประกอบการ S N P ต่อหน้า 2

  3. หน้า 2 การเปลี่ยนแปลงระบบการค้าเสรีในปัจจุบัน ทำให้มีกฎเกณฑ์ ระเบียบ และคำสั่งออกมามากมาย ในความเป็นจริงไม่มีผู้ประกอบการท่านใดที่ทราบรายละเอียดทั้งหมด ส่วนใหญ่ท่านก็ดำเนินการกันไปตามที่เคยทำกันมา อาจมีการปรับปรุงบ้างก็เท่าที่ทราบ ดังนั้น คำว่า “ต้องถูกประการเดียว” จึงดูเหมือนจะห่างไกลออกไปทุกที แล้วอะไรจะเกิดขึ้นครับ ผมไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเงินใต้โต๊ะนะครับ เพราะนโยบายศุลกากรโปร่งใสและผลการจัดลำดับการคอรัปชั่นที่ประเทศไทยได้รับ มันเป็นคำตอบอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวในที่นี้คือ ภาพของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และผู้ประกอบการต้องรับนอกเหนือจากความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง จนผมขอกล่าวว่า ปี พ.ศ. 2552 เป็นปีแห่งความขัดแย้งจริง ๆ สิ่งที่ผมต้องทำให้ดีที่สุด เพื่อลดความขัดแย้งนี้ก็คือการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานต้องรู้ ต้องเข้าใจ และต้องอธิบายในความเปลี่ยนแปลงให้ผู้ประกอบการทราบ เพื่อให้ท่านผู้ประกอบการได้ประโยชน์สูงสุดตามนโยบายที่กรมศุลกากรต้องการ ผมมักย้ำเตือนผู้ปฏิบัติงานของผมว่า “อาชีพอย่างเรา โง่ไม่ได้” เราต้องรู้ ให้มากกว่าที่ต้องรู้ มิฉะนั้น ภาพของความขัดแย้งนั้นจะทำให้เราทำงานลำบาก ปีหน้า พ.ศ. 2553 จึงเป็นปีที่ผมคิดว่า ท่านผู้ประกอบการประเภทต่าง ๆ และผม คงเหนื่อยอย่างที่สุด ผลการสำรวจชี้ว่า เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น แต่มันเป็นการดีขึ้นท่ามกลางความขัดแย้ง ผลก็คือเราต้องเหนื่อยมากขึ้นครับ สิ่งเดียวที่ผมภาวนาคือ ผมขอให้ท่านผู้ประกอบการทุกท่านออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ท่านจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง มีกำลังทำงานที่ต้องเหนื่อยมากขึ้นเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นครับ ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2553 นี้ ผมและผู้ปฏิบัติงานของ SNP ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดดลบันดาลให้ท่าน ให้ครอบครัวของท่าน และให้บุคลากรในองค์กรของท่าน มีกำลังใจในการออกกำลังกาย มีพลานามัยที่แข็งแรง มีสติปัญญาในการนำครอบครัว และนำองค์กร ให้มีความสุข และความสำเร็จตลอดไป สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. 2553 สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  4. S ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ที่จะถึงนี้ จะมีการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) โดยจะมีการลดภาษีสินค้ากุ้งเหลือ 0% ทำให้ผู้ส่งออกหลายๆท่านกังวลว่าจะมีกุ้งด้อยคุณภาพและราคาต่ำ จากประเทศในอาเซียนเข้ามาตีตลาดไทยและอาจมีการปลอมปนกับกุ้งไทยเพื่อการส่งออกไปประเทศที่สาม ส่งผลกระทบภาพลักษณ์กุ้งไทยได้ โดยระบบการค้ากุ้งขณะนี้ ผู้นำเข้าจากประเทศต่างๆให้ความสำคัญต่อการปนเปื้อนสารตกค้างและระบบการเลี้ยงที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก และมีการออกมาตรการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมากุ้งจากประเทศไทยได้รับการยอมรับจากตลาดโลกในด้านมาตรฐานและคุณภาพ จากความเป็นไปได้ดังกล่าว ผู้ประกอบการนำเข้าในไทยจึงได้ทำการเรียกร้องให้รัฐบาลวางมาตรการตรวจสอบการนำเข้าอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการนำกุ้งเข้ามาปลอมปนเพื่อการส่งออก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการส่งออกกุ้งของไทย ในปีนี้แม้ตลาดหลักของไทย เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐจะนำเข้ากุ้งจากประเทศต่างๆลดลง เนื่องจากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ประเทศไทยยังสามารถส่งออกในตลาดเหล่านี้ได้มากขึ้น เพราะกุ้งไทยมีคุณภาพ ประกอบกับกุ้งของอินโดนีเซียเสียหายมากถึง 20% จากการประสบภัยพิบัติของประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ทุกตลาดหันมาซื้อจากไทย จึงดึงราคากุ้งในประเทศให้สูงขึ้น หากรัฐบาลสามารถออกมามาตรการป้องกันการนำเข้ากุ้งคุณภาพต่ำมาปลอมปนในประเทศไทยได้ ก็เป็นการรับประกันว่าตลาดส่งออกกุ้งไทยในต่างประเทศจะยังเติบโตไปได้อีกเรื่อยๆเช่นกัน N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  5. S บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ทำหนังสือร้องเรียนกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งตามหลักแล้วขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายลูกในการควบคุมการโฆษณา ซึ่งมาตรา 32 ตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551กว้างเกินไป ดังนั้นการออกกฎหมายลูกตาม พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ กำหนดให้มีการประชุมวาระสำคัญที่ต้องหารือ คือ การออกกฎหมายลูก 4 ฉบับ คือ 1. มาตรการห้ามจำหน่ายเหล้าปั่น 2. การจัดโซนนิ่งร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา 3. การกำหนดสถานที่ หรือ บริเวณที่ห้ามดื่มแอลกอฮอล์บนยานพาหนะ 4. การติดภาพฉลากคำเตือนที่บรรจุภัณฑ์ คณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบตามร่างประกาศทั้ง 4 ฉบับ เพื่อนำส่งให้นายกรัฐมนตรีลงนาม ให้ผลบังคับใช้โดยเร็ว N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  6. S ในสัปดาห์นี้ อยากจะขอเสนอความคืบหน้าของระบบโลจิสติกส์ในต่างประเทศบ้าง ซึ่งในวันนี้จะขอเสนอถึงความเคลื่อนไหวของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างประเทศกัมพูชา ถึงแม้ว่าเราจะมองเขาว่าศักยภาพการแข่งขันน้อยกว่าประเทศไทย แต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่แล้วก็ได้ ท่าเรือสีหนุวิลล์ (PAS) ในจังหวัด สีหนุวิลล์ หรือในชื่อเดิม "กัมปงโสม" กำลังเป็นความหวังของภาคธุรกิจในกัมพูชาและเป้าหมายของรัฐบาล เพื่อพัฒนาให้เป็นท่าเรือและเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) โดยสมบูรณ์ภายในปี 2554 เพื่อให้มีความสามรถในการแข่งขันได้ในอนาคตทั้งในด้านการนำเข้าและส่งออก โดยที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์มีพื้นที่ทั้งหมด 70 เฮกตาร์โดยประกอบไปด้วยเขตส่งเสริมการส่งออกในปริมาณ 50% ที่เหลือจะเป็นสำนักงาน ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ แต่ก็ยังมีข้อเสียเปรียบอยู่คือระบบการจัดการศุลกากรยังไม่เป็นแบบ Single Windowตามข้อตกลงทางการค้ากับอาเซียน ทำให้อาจจะไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควรและก็ยังมีคู่แข่งที่เป็นประเทสเพื่อนบ้านอย่างเช่น ท่าเรือไก๋แม็บของเวียดนามที่ผู้ประกอบการของกัมพูชานิยมไปใช้บริการ แต่ในอนาคต เมื่อการก่อสร้างและเขตเศรษฐกิจพิเศษเปิดทำการเต็มรูปแบบ ผู้บริหารท่าเรือสีหนุวิลล์เชื่อมั่นว่าสินค้าที่ผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านและจากทั่วโลกจะเข้ามาที่กัมพูชามากขึ้น ขณะเดียวกัน สินค้าจากกัมพูชาจะสามารถส่งออกไปในต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  7. S อายุของสูตรการผลิต ผู้ประกอบการทราบหรือไม่ว่า กรมศุลกากรได้ประกาศวันหมดอายุของสูตรการผลิตเพิ่มขึ้นแล้ว จากเดิมสูตรการผลิตจะมีอายุ 3 ปี ให้เพิ่มเป็น 5 ปี นับจากวันที่กำหนดให้ใช้ตัดบัญชีวัตถุดิบ (ไม่รวมสูตรมาตรฐาน) และเมื่อสูตรการผลิตหมดอายุ สามารถต่ออายุได้อีกคราวละ 5 ปี ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 66/2551 การจัดทำตารางโอนสิทธิ์ ผู้ประกอบการหลายราย ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ 19 ทวิ และได้ขายสินค้าให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เป็นผู้ส่งออกแทน และ มีการโอนสิทธิการคืนอากรวัตถุดิบ และ อาจยังคุ้นเคยกับระบบเดิมๆ คือ การจัดทำจดหมายขอโอนสิทธิ์ และ รับโอนสิทธิวัตถุดิบ แต่ในปัจจุบันนี้ เมื่อกรมศุลกากรได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Paperless แล้ว การทำจดหมายจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ท่านต้องใช้วิธีการจัดการจัดทำตารางโอนสิทธิ์แทน โดยการจัดทำตารางโอนสิทธิ์นั้น จะใช้แบบ กศก. 96/6 และ บันทึกข้อมูลลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ยื่นต่อกรมศุลกากร ก่อนการส่งออก N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  8. ใบสุทธินำกลับ หมายถึง สำเนาใบขน สินค้าขาออก (ในระบบ paperless) ที่ผู้ส่งออกจัดทำขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร รับรองก่อนส่งสินค้าออกนอกประเทศไทย เพื่อรับรองว่า เป็นสินค้ารายการเดียวกัน กับที่ส่งออกจากประเทศไทย ซึ่งจะนำกลับเข้ามาภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งจะได้รับยกเว้นอากร ตาม ภาค 4 ประเภท 1 และ 2 แห่ง พรก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ขั้นตอนการดำเนินการจัดทำใบสุทธินำกลับ 1. จัดทำใบขนสินค้าขาออกระบบไร้เอกสาร (หรือ paperless) ประเภท 224 ใช้สิทธิประโยชน์ พร้อม ประทับตรายางบริษัท ผู้ส่งออก 2. Invoice & Packing list พร้อมประทับตรายางบริษัท 3. รูปถ่าย ของสินค้าที่จะส่งออก โดยจะต้องให้เห็น หมายเลขเครื่อง หรือ serial number ของ สินค้า ซึ่งจะเป็นหลักฐานสำคัญที่จะบ่งบอกว่าเป็นสินค้า รายการเดียวกันเมือ นำกลับเข้ามาใน ประเทศ 4. นำเอกสารทั้งหมด ยื่นต่อ หน่วยงานศุลกากร ณ ท่าที่ส่งออก และให้เจ้าหน้าที่ตรวจปล่อยสินค้า ลงนามพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 1 ของที่ส่งออก รวมทั้งของที่ส่งกลับออกไป ซึ่งนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปี โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปแต่ประการใด และในเวลาที่ส่งออกนั้นได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาแล้ว ภาค 4 ประเภท 2 ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว และภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปีหลังจากที่ได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาซึ่งได้ออกให้ในขณะที่ได้ส่งออกแล้ว S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  9. ในหลายฉบับที่ผ่านมา ทางทีมงาน FTA ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว และความคืบหน้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับ การเจรจาเงื่อนไข และข้อตกลง FTA ระหว่างประเทศไทย ภูมิภาคและ นานาประเทศเกือบทั่วโลก แต่ยังไม่มีฉบับไหนกล่าวถึงเป้าหมาย และยุทธศาสตร์สำคัญในการเจรจา FTA ของประเทศไทยเลย ฉบับนี้ เราจึงอยากนำเสนอเนื้อหาหลักๆ FTA ของประเทศไทย เป้าหมายของการเจรจา FTA คืออะไร? เพื่อสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพิ่มโอกาสในการส่งออก และปรับโครงสร้างการผลิตในประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อะไรคือยุทธศาสตร์การเจรจา FTA ? เพื่อรักษาตลาดเดิมที่เป็นตลาดหลักของไทย เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น และและขยายตลาดใหม่ทั้งในแนวกว้างและเจาะลึกในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น จีน อินเดีย ตลาดที่เป็นประตูการค้าในภูมิภาคอื่นๆ เช่นบาห์เรนในตะวันออกกลาง เปรู ในทวีปเอมริกาใต้ เป็นต้น และพิจารณาเตรียมความพร้อมในการ FTA ก้าวต่อไป กับ สหภาพยุโรป แคนาดา แอฟริการใต้ ชิลี เม็กซิโก เกาหลี กลุ่ม Mercosure และ EFTA เป็นต้น ยุทธศาสตร์รายสาขา 1. เกษตร 2. อุตสาหกรรม 3. บริการ 4. ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า แนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไป...? ศึกษาความเป็นไปได้และเวลาที่เหมาะสมในการทาบทามสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ รองจาก สหรัฐฯ และญี่ปุ่น สำหรับประเทศที่มีศักยภายในการเป็นประตูการค้าในภูมิภาคอื่น เช่น แอฟริกาใต้ แคนาดา ชิลี เม็กซิโก กลุ่ม Mercosur และกลุ่ม EFTA (นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และ ลิกเตน- สไตน์) อาจพิจารณาในลำดับต่อไปหลังจากที่เจรจาสรุปผล FTA ที่กำลังเจรจาอยู่ในปัจจุบัน ในระหว่างนี้ ให้มีความร่วมมือในการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด (Closer Economic Relationship: CEP) เพื่อเป็นฐานในการเชื่อมความสัมพันธ์ไว้ก่อน S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  10. เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มาเลเซียได้ประกาศคุมเข้มคุณภาพการนำเข้าสมุนไพรที่มาจากประเทศต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคภายในประเทศ จากการค้นหาข้อมูลจึงพบว่า ความต้องการของตลาดในสินค้าอุปโภคเเละ บริโภคที่เกี่ยวกับสมุนไพรยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยก็ได้ชื่อว่ามีสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพคุณดีๆอยู่หลายอย่าง เเต่กลับเสียดุลการค้า เเละพื้นที่ในตลาดโลกไปให้กับกลุ่มมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์อยู่เรื่อยมา สาเหตุเพราะขาดเเรงจูงใจ เทคโนโลยีที่ทันสมัย เเละการลงทุนที่จริงจังนอกจากนี้ธุรกิจยาของไทยกำลังถูกคุกคามจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA จะยิ่งทำให้มียาจากต่างชาติ ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานมากกว่าเข้ามาตีตลาดในประเทศ ดังนั้น เพื่อเตรียมตัวรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า จึงมีหลายหน่วยงานของภาครัฐ อาทิ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข ร่วมจัดทำโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 10 ตัว ได้แก่ ขมิ้นชัน ขิง ชุมเห็ดเทศ ฟ้าทลายโจร บัวบก พญายอ พริก ไพล มะแว้ง และกะเพราแดง ทั้งนี้ก็เพื่อลดอุปสรรคและสร้างโอกาสในการผลักดันภูมิปัญญาไทยเรื่องสมุนไพร ทั้งนี้หากไม่ทำอะไรเลย คาดการณ์ว่า ผู้ประกอบการภายในประเทศจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดมูลค่า 8,000-10,000 ล้านบาท ภายในปีแรก ละหลังจากข้อตกลงการค้าเสรี ASEAN มีผลบังคับใช้ในปลายปี 2010 (พ.ศ. 2553) ซึ่งในเวลานั้นมูลค่าตลาดภายในประเทศ ปี พ.ศ. 2553 อาจเป็นมูลค่ากว่า 50,000-60,000 ล้านบาท และผลกระทบต่อเนื่องต่ออุตสาหกรรมสมุนไพรไทยอีกปีละไม่ต่ำกว่า 8-10% ในปีต่อ ๆ ไป S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

  11. เมื่อปลายเดือน ตุลาคม ที่ผ่านมาที่ประชุมคณะมนตรียุโรป เป็นที่ประชุมของรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศ โดยได้ไฟเขียวให้คณะกรรมมาธิการฯเจรจาเอฟทีเอ กับประเทศสมาชิกอาเชียนในนามทุกสมาชิกอียูได้ โดยระบุระยะเวลาเวลาไม่เกิน 2 ปี ก่อนหน้านี้ คณะกรรมมาธิการได้รับอำนาจให้เจรจากับทางกลุ่มอาเซียนมาแล้วแต่ไม่สามารถทำเอฟทีเอ กับทางกลุ่มอาเซียนได้เนื่องจากความไม่เป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนโดยไม่สามารถตกลงกับอียูในลักษณะเป็นกลุ่มได้ โดยทางอียูได้เปลี่ยนมาทำ เอฟทีเอแบบรายประเทศที่มีความพร้อม โดยมองมาที่สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เริ่มแรกเลยฝ่ายอียูไม่เคยสนใจหรือเห็นดีกับการทำเอฟทีเอ ไม่ว่าจะเป็นแบบใด เพราะมุ่งมั่นที่จะเจรจาในกรอบองค์การค้าโลกหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า การเจรจารอบโดฮาเป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อเห็นว่าการเจรจารอบโดฮามีความชะงักงันลง และคู่ค้าอื่นๆเริ่มทำ เอฟทีเอกันมากขึ้น อียูจึงหันกลับมาทำเอฟทีเอระหว่างกันมาขึ้น เวียดนาม เป็นเป้าหมายที่สำคัญพอๆ กับไทย แต่ทางอียูได้เรียกเก็บภาษีเอดี หรือ ภาษีป้องกันการทุ่มตลาด (Anti-Dumping) รองเท้า ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม และออกกฏเกณ์ใหม่ๆในเรื่องมาตรฐานและสุขอนามัยและที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรอยู่เป็นประจำ ทำให้เวียดนามต้องคิดหนัก หากทำ เอฟทีเอกับอียูแล้วจะสามารถแก้ปัญหาไม่ให้อียูเก็บภาษี เอดีตามอำเภอใจหรือการแก้ปัญหามาตรฐาน สุขอนามัยของอียูได้มากน้อยเพียงใด ไทยอยู่ในสถานะที่ไม่ต่างจากเวียดนามเลยเพราะไทยต้องการเปิดตลาดลดภาษี นำเข้าในอียู โดยเฉพาะรถยนต์สินค้าเกษตรและประมงที่เคยได้รับจีเอสพีกำลังจะหมดไปแต่ในอีกด้านหนึ่งก็ต้องเผชิญกับข้อเรียกร้องของอียูในการจัดทำเอฟทีเอ แบบ “ศตวรรษที่ 21” คือการเปิดเสรีขนาดใหญ่ในด้านการค้า ฯลฯ ข้างต้น จริงอยู่สิ่งที่ทางอียูเรียกร้อง อาจเป็นประโยชน์ต่อไทยในการยกระดับมาตรฐานต่างๆให้เทียบเท่าสากล แต่ภาคส่วนไทนต้องมีการเตรียมพร้อมที่ปรับตัวหรือมีมาตรการเยียวยาผลกระทบ อนึ่ง ภายใต้ข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญและสภาพการเมืองปัจจุบันที่เป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลพอสมควร S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก

More Related