1 / 59

PHP

PHP. อ.ปริญญา น้อยดอนไพร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ประวัติความเป็นมาของ PHP.

demi
Download Presentation

PHP

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. PHP อ.ปริญญา น้อยดอนไพร สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

  2. ประวัติความเป็นมาของ PHP • ผู้ให้กำเนิด PHP มีชื่อว่า RasmusLerdorf โดยเริ่มต้นเขียนสคริปต์ Perl CGI ใส่ไว้ในโฮมเพจประวัติส่วนตัว และเห็นว่าการเขียน CGI ด้วย Perl มีความยุ่งยาก จึงได้เขียนโปรแกรมขึ้นใหม่ด้วยภาษา C ที่สามารถแยกส่วนที่เป็นภาษา HTML ออกจากส่วนที่เป็นภาษา C เพื่อแยกประมวลผล แล้วทำการสร้างโค้ด HTML ขึ้นใหม่ โดยตั้งชื่อโปรแกรมนี้ว่า Personal Home Page Tools (PHP-Tools) และได้เริ่มแจกจ่ายโค้ดออกไปในลักษณะฟรีแวร์ ต่อมาจึงได้เริ่มเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมปรับปรุงและพัฒนา จนพัฒนาเป็น PHP/FI ปัจจุบัน PHP ย่อมาจาก PHP: Hypertext Preprocessor

  3. ประวัติความเป็นมาของ PHP (ต่อ) • จนกระทั่ง Zeev Suraski และ Andi Gutmans ได้ร่วมกันเขียนโค้ดขึ้นใหม่โดยได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเป็นอย่างมากในหลายๆ ด้าน เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล การสนับสนุนการโปรแกรมเชิงวัตถุ และในด้านอื่นๆ อีกหลายประการจนเกิดเป็น PHP3 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก • เมื่อมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก จึงมีการนำไปใช้ในงานที่ซับซ้อนขึ้น ด้วยเหตุนี้ Zeev Suraski และ Andi Gutmans ผู้พัฒนา PHP3 จึงตัดสินใจเขียนโค้ดขึ้นใหม่ทั้งหมด และได้ตั้งชื่อว่า Zend engine (มาจากชื่อ Zeev และ Andi) ซึ่งเป็นหัวใจของ PHP4

  4. ประวัติความเป็นมาของ PHP (ต่อ) • PHP5 (กรกฎาคม พ.ศ.2547) เป็นเวอร์ชั่นที่จัดได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย PHP เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) ที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น • PHP6 กำลังอยู่ในขั้นพัฒนาและปรับปรุงขณะนี้ยังเป็น Beta Version ยังคงใช้ Zend engine เป็นแกนหลัก การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ1. ไม่มีคุณสมบัติ register_global, magic_quote_gpc และ safe_mode 2. ยกเลิกตัวแปร HTTP_*_VARS ทั้งหมด เช่น HTTP_POST_VARS และ HTTP_COOKIE_VARS เป็นต้น3. สนับสนุนการทำงานกับสตริงแบบ Unicode4. เพิ่มชนิดข้อมูลเลขจำนวนเต็มขนาด 64 บิต

  5. ประวัติความเป็นมาของ PHP (ต่อ) • PHP เป็นภาษาสคริปต์แบบเซิร์ฟเวอร์ไซด์ (Server-side scripting language) หมายถึง การประมวลผลจะเกิดขึ้นบนเครื่องแม่ข่าย (Server) แล้วสร้างผลลัพธ์เป็นภาษา HTML ส่งให้กับเครื่องลูกข่าย (Client)เพื่อแสดงผล ซึ่งลดภาระการส่งถ่ายข้อมูลจำนวนมากเพื่อมาประมวลผลบนเครื่องลูกข่าย • การเขียนสามารถทำได้โดยการเขียนโค้ด PHP แทรกลงในโค้ด HTML ด้วยการเปิดแท็ก <?php และปิดด้วยแท็ก ?> (ในกรณีที่ไม่มีการใช้ร่วมกับสคริปต์ XML สามารถเปิด้วย <? ได้) • การบันทึกจะต้องกำหนดเป็นนามสกุล .php หรือ .phtml

  6. ต้องการใช้ PHP ต้องมีอะไรบ้าง • เครื่องแม่ข่าย (หากไม่มีจะต้องจำลองเครื่องแม่ข่าย :: เช่น โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache หรือชุดสำเร็จ อย่างเช่น Appserv ประกอบไปด้วย Apache, PHP, MySQL และ PHPMyAdmin เป็นต้น) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.freebsd.sru.ac.th/web • เครื่องลูกข่าย ต้องมีเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เช่น IE หรือ FireFox เป็นต้น

  7. สิ่งที่ PHP สามารถทำได้ • CGI • Database-enable web page • Database Adabas D InterBase Solid DBase mSQL Sybase Empress MySQLVelocis FilePro Oracle Unix dbm Informix PostgreSQL

  8. ทำไม PHP จึงเป็นที่นิยม • Open source • No cost implementation – PHP เป็นของฟรี • Server side • Crossable Platform • HTML embedded • Simple language • Efficiency • XML parsing • Database module • File I/O • Text processing • Image processing

  9. การทำงานของ PHP • ทำงานบน Server • ทำงานร่วมกับเอกสาร HTML • สามารถแทรกคำสั่ง PHP ได้ตามที่ต้องการลงในเอกสาร HTML • ทำงานในส่วนที่เป็นคำสั่งของ PHP ก่อน เมื่อมีการเรียกใช้เอกสารนั้น ๆ • แสดงผลออกทาง Web Browsers

  10. โครงสร้างภาษา PHP • แบบที่ 1 XML style <?phpคำสั่งภาษา PHP ?> ตัวอย่าง <?php echo “Hello World ! <br>”; echo “I am PHP”; ?>

  11. โครงสร้างภาษา PHP (ต่อ) • แบบที่ 2 SGML style <?คำสั่งภาษา PHP ?> ตัวอย่าง <? echo “Hello World ! <br>”; echo “I am PHP”; ?>

  12. โครงสร้างภาษา PHP (ต่อ) • แบบที่ 3 Java Language style <script language=“php”> คำสั่งภาษา PHP </script> ตัวอย่าง <script language=“php”> echo “Hello World”; </script>

  13. โครงสร้างภาษา PHP (ต่อ) • แบบที่ 4 ASP Style <%คำสั่งภาษา PHP %> ตัวอย่าง <% echo “Hello World ! <br>”; echo “I am PHP”; %>

  14. โครงสร้างภาษา PHP (ต่อ) • แบบที่เป็นที่นิยม คือ แบบที่ 1 • ผลที่ได้เมื่อผ่านการทำงานแล้วจะได้ผลดังนี้ Hello World ! I am PHP • ข้อสังเกต - รูปแบบคล้ายกับภาษา C และ Perl - ใช้เครื่องหมาย ( ; ) คั่นระหว่างคำสั่งแต่ละคำสั่ง • File ที่ได้ต้อง save เป็นนามสกุล php

  15. Language Reference • Comments - เหมือนกับการ Comment ของภาษา C, C++ และ Unix • ตัวอย่าง <?php echo “Hello !”; // การ comment แบบ 1 บรรทัด /* แบบหลายบรรทัดตั้งแต่ 2 บรรทัดขึ้นไป */ echo “World”; # การ comment แบบ shell-style ?>

  16. คำสั่ง echo • เป็นคำสั่งสำหรับแสดงผลลัพธ์ไปที่โปรแกรม browser • รูปแบบ echo ข้อความ1 หรือตัวแปร1, ข้อความ2 หรือตัวแปร2, ข้อความ3 หรือตัวแปร3, … • ข้อความ เขียนภายใต้เครื่องหมาย double quote (“ “) หรือ single quote (‘ ‘) • ตัวแปรของภาษา PHP จะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย $ เสมอ คล้ายกับภาษา Perl

  17. ตัวอย่างที่ 1 intro.php <HTML> <HEAD> <TITLE>Example –1</TITLE> </HEAD> <BODY> <?php phpinfo() ; ?> <BODY> </HTML>

  18. การเรียกใช้งาน • เปิดโปรแกรม Web Browser • พิมพ์ URL Address • http://localhost/intro.php หรือ http://127.0.0.1/intro.php

  19. ตัวอย่างที่ 2(date.php) <HTML> <HEAD> <TITLE> Example –2</TITLE> </HEAD> <BODY> วันนี้ตรงกับวันที่ : <?phpecho date(“j F Y”); ?> ขณะนี้เวลา : <?php echo date(“H : i : s”);?> </BODY> </HTML>

  20. ตัวแปร ชนิดข้อมูล และค่าคงที่

  21. การใช้ตัวแปรในภาษา PHP • สำหรับการเขียนโปรแกรมสำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือ การกำหนดและใช้ตัวแปร (variable) ตัวแปรในภาษา PHP จะเหมือนกับในภาษา Perl คือเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย dollar ($) โดยเราไม่จำเป็นต้องกำหนดแบบของข้อมูล (data type) อย่างเจาะจงเหมือนในภาษาซี เพราะว่า ตัวแปลภาษาจะจำแนกเองโดยอัตโนมัติว่า ตัวแปรดังกล่าว ใช้ข้อมูลแบบใด ในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ข้อความ จำนวนเต็ม จำนวนที่มีเลขจุดทศนิยมตรรก เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน เช่น <?php $text = “Hello World”; $number = 123; ?>

  22. <?php $text = “Hello World”; $number = 123; echo $text.“<br>”; echo $number .“<br>”; echo “ค่าตัวอักษรในตัวแปร \$text คือ $text <br>”; echo “ค่าตัวเลขในตัวแปร \$number คือ $number” ?> • เมื่อต้องการแสดงค่าของตัวแปร สามารถใช้คำสั่ง echo ได้ ตัวอย่างเช่น • หมายเหตุ ในภาษา PHP ไม่ต้องประกาศตัวแปรก่อนใช้งาน สามารถกำหนดค่าให้กับตัวแปรได้เลยเมื่อต้องการใช้งาน

  23. คำสั่งใส่รูปภาพลงเว็บเพจคำสั่งใส่รูปภาพลงเว็บเพจ • เราสามารถใช้คำสั่งแสดงรูปภาพที่เราต้องให้ปรากฏบนเว็บเพจเราได้ด้วยการใช้คำสั่ง <IMG SRC=\"ชื่อไฟล์.gif หรือ.jpg\"> โดยจะต้องมีการใช้ \ ด้วย เช่น <?php echo “<center><imgsrc=\“folder/b.gif\” height=150 width=150></center>”; ?>

  24. โดยมีคำสั่งในเพิ่มเติมในการแสดงภาพ ดังนี้ • การกำหนดขนาดรูปภาพ ให้ตรงกับความต้องการ WIDTH หมายถึง ความกว้างของรูปภาพ และHEIGHT หมายถึง ความสูงของรูปภาพ <IMG SRC= \“b.gif\” WIDTH=number% | HEIGHT=number%> • การกำหนดกรอบให้กับรูปภาพ <BORDER=n> • การวางตำแหน่งรูปภาพ • แบบแนวนอน ประกอบด้วย LEFT | RIGHT • แบบแนวตั้ง ประกอบด้วย เสมอบน มี 2 คำสั่ง คือ TOP | TEXTTOP • กึ่งกลาง มี 2 คำสั่ง คือ MIDDLE | ABSMIDDLE เสมอล่าง มี 3 คำสั่ง คือ • BASELINE | BOTTOM | ABSBOTTOM

  25. การตั้งชื่อตัวแปร • ชื่อตัวแปรจะต้องประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายขีดล่าง (Underscore)เท่านั้น ห้ามตั้งชื่อตัวแปรด้วยตัวเลขเป็นตัวขึ้นต้น เช่น $name , $parinya_mrเป็นต้น • ไม่ควรตั้งชื่อสั้นๆ เช่น $a, $b, $x เป็นต้น เพราะเมื่อนานๆ ไปจะจำไม่ได้ว่าตัวแปรเหล่านั้นใช้ทำอะไร • ภาษา PHP ถือว่าตัวอักษรพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่แตกต่างกัน (Case Sensitive)เช่น $text หรือ $Text หรือ $TEXT เป็นคนละตัวแปรกัน

  26. ชนิดของข้อมูล (Data Type) ขั้นพื้นฐานในภาษา PHP ประกอบด้วย 1. ตรรกศาสตร์ (Boolean) 2. เลขจำนวนเต็ม (Integer) 3. เลขจำนวนทศนิยม (Float หรือ Double) 4. ข้อความ (String)

  27. การประกาศค่าคงที่ (Constant) • constant.php <?php define(“HELLO”, “สวัสดีครับ”); define (“VAT”, 7); $name = “Mr.Parinya”; echo HELLO.“คุณ $name<br>”; echo “ภาษามูลค่าเพิ่มขณะนี้คิดในอัตราร้อยละ”.VAT; ?> หมายเหตุ การตั้งชื่อค่าคงที่ นิยมใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพื่อให้สังเกตได้ง่าย ค่าคงที่ คือ ชื่อตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้นมา คล้ายๆกับตัวแปร แต่แก้ไขค่าไม่ได้

  28. การตรวจสอบชนิดข้อมูลของตัวแปรการตรวจสอบชนิดข้อมูลของตัวแปร • gettype.php<?php $number_int = -65535; //สร้างตัวแปร $number_intเก็บเลขจำนวนเต็ม$number_double = 3.44; //สร้างตัวแปร $number_doubleเก็บเลขทศนิยม $text = “PHP : Hypertext Preprocessor”; $test_boolean = FALSE; echo gettype($number_int).“<br>”; echo gettype($number_double).“<br>”; echo gettype($text).“<br>”; echo gettype($test_boolean).“<br>”; ?>

  29. รหัสควบคุมพิเศษต่างๆ

  30. ตัวดำเนินการ หรือ Operator • ในภาษา PHP มี Operator ต่างๆ ให้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นโอเปอเรเตอร์ทางคณิตศาสตร์ โอเปอเรเตอร์เชิงตรรกะ เช่นเดียวดับภาษาอื่นดังนี้

  31. การใช้เงื่อนไข(condition) เพื่อการตัดสินใจ • การใช้ IF...ELSE Conditionเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ธรรมดาที่สุด คือกำหนดเงื่อนไข แล้วโปรแกรมตรวจสอบเงื่อนไขนั้น ถ้าเงื่อนไขนั้นเป็นจริงก็จะทำตามคำสั่งที่กำหนด ถ้าเป็นเท็จก็จะไม่ทำ • ผลที่ได้ : Summation = 10

  32. การใช้ Switch…Caseในบางครั้งในการกำหนดทางเลือกของโปรแกรมโดยการใช้ If…Else อาจจะทำให้เขียนโปรแกรมยาวและทำความเข้าใจยาก ดังนั้นเราอาจใช้ Switch แทนซึ่งเขียนโปรแกรมง่ายกว่าและมีความกระชับมากกว่า • ผลที่ได้ : i equals 2

  33. การวนลูป • การใช้ While Loopคำสั่ง while จะทำงานโดยการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะทำตามคำสั่ง • ผลที่ได้ : 12345

  34. Do whileเป็นคำสั่งที่คล้ายกับ While Loop แต่ต่างกันที่ Do while นั้นจะทำงานโดยการตรวจสอบเงื่อนไขภายหลังจากการทำงานไปแล้วแต่ While นั้นจะตรวจสอบเงื่อนไขก่อนการทำงาน • ผลที่ได้ : 5 • กรณีที่ใช้ While...Loop จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อน แล้วจึงค่อยทำในลูป • กรณีที่ใช้ Do...Loop จะทำคำสั่งในลูปก่อน แล้วจึงค่อยตรวจสอบเงื่อนไข

  35. For Loopคำสั่งนี้จะทำหน้าที่สั่งให้โปรแกรมทำงานวนรอบตามต้องการ ซึ่งกำหนดเป็นเงื่อนไข โดยจะทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และจะมีลักษณะการวนรอบที่รู้จำนวนรอบที่แน่นอน • ผลที่ได้ : 12345

  36. Foreachเป็นการทำงานในลักษณะวนรอบที่ทำงานกับตัวแปรอาร์เรย์ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลทั่วไป โดย $Value เป็นตัวกำหนดค่าให้กับ array expression โดยพอยน์เตอร์จะเลื่อนไปตามสมาชิดถัดไปของอาร์เรย์ตามการเปลี่ยนแปลงรอบที่เปลี่ยนไป

  37. การใช้ break และ continue ภายในลูป • คำสั่ง break เป็นคำสั่งจะใช้เพื่อให้หยุดการทำงาน จากการใช้คำสั่งเพื่อวนรอบที่ผ่านมาจะเห็นว่าจะออกจากการวนรอบเมื่อสิ้นสุดการทำงานแล้วเท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้หยุดทำงานกะทันหัน สามารถใช้คำสั่ง break ก็ได้ • คำสั่ง continue เป็นคำสั่งที่ทำงานตรงข้ามกับคำสั่ง break คือ จะสั่งให้โปรแกรมทำงานต่อไป ถ้าใช้คำสั่ง Continue กับ For เมื่อพบคำสั่งนี้จะเป็นการสั่งให้กลับไปเพิ่มค่าให้กับตัวแปรทันที หรือถ้าใช้กับคำสั่ง While เมื่อพบคำสั่งนี้จะเป็นการสั่งให้กลับไปทดสอบเงื่อนไขใหม่ทันที

  38. ผลที่ได้ :Blue • คำสั่ง continue บังคับให้ไปเริ่มต้นทำขั้นตอนในการวนลูปครั้งต่อไป ส่วน break นั้นส่งผลให้หยุดการทำงานของลูป

  39. การใช้คำสั่ง include และ require • คำสั่งทั้งสองเอาไว้แทรกเนื้อหาจากไฟล์อื่นที่ต้องการ ข้อแตกต่างระหว่าง include และ require อยู่ตรงที่ว่า ในกรณีของการแทรกไฟล์ใช้ชื่อต่างๆ กันมากกว่าหนึ่งครั้งโดยใช้ลูปคำสั่ง require จะอ่านเพียงแค่ครั้งเดียว คือไฟล์แรก และจะแทรกไฟล์นี้เท่านั้นไปตามจำนวนครั้งที่วนลูป ในขณะที่ include สามารถอ่านได้ไฟล์ต่างๆ กันตามจำนวนครั้งที่ต้องการ

  40. การใช้งาน MySQL • การสร้างฐานข้อมูล • ในการสร้างฐานข้อมูลของ MySQL สามารถสร้างผ่าน phpMyAdmin ได้เลย โดยการเลือก Internet Explorer ขึ้นมาพิมพ์ 127.0.0.1 ที่ address bar จะได้หน้าต่างดังนี้

  41. ชนิดของข้อมูลใน MySQL • ชนิดของข้อมูลพื้นฐาน มี 3 ชนิด คือ ตัวเลข, วันที่เวลา และตัวอักษร แต่ละชนิดจะมีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้น เมื่อกำหนดคอลัมน์หรือฟิลด์ข้อมูลในตารางบนฐานข้อมูล จะต้องคำนึงถึงชนิดของข้อมูลด้วย เพื่อความเหมาะสมของข้อมูล โดยข้อมูลแต่ละชนิดมีรายละเอียดดังนี้ • ชนิดตัวเลข แบ่งได้เป็น เลขจำนวนเต็มและเลขจำนวนจริง • ตารางแสดงชนิดของตัวเลขจำนวนเต็ม

  42. ตารางแสดงชนิดของเลขจำนวนจริงตารางแสดงชนิดของเลขจำนวนจริง • ชนิดวันที่และวันเวลา • ตารางแสดงชนิดวันที่และเวลา

  43. ชนิดตัวอักษร • ตารางแสดงชนิดของสตริง

  44. ฟังก์ชันในการจัดการฐานข้อมูลใน MySQL • การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล • ในการติดต่อกับฐานข้อมูลจะต้องทำหารเปิดการติดต่อดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ก่อน โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้ • mysql_connect(hostname, username, password); • hostname คือ ชื่อของดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ในการที่ติดตั้ง MySQL ไว้ในเครื่องเดียวกับเว็บเซิร์เวอร์ ก็สามารถระบุเป็น localhost แทนชื่อจริงได้เลย • username คือ ชื่อผู้ใช้ที่ถูกกำหนดให้สามารถทำงานกับ MySQL ได้ • password คือ รหัสผ่านของผู้ใช้ หรือจะระบุหรือไม่ก็ได้

  45. ค่าที่คืนออกมาจากการเรียกใช้ฟังก์ชันนี้จะได้ค่าเป็นจริงหากสามารถติดต่อกับ MySQL ได้สำเร็จแต่ถ้าไม่สามารถติดต่อได้หรือติดต่อไม่สำเร็จจะมีค่าเป็นเท็จ เช่น

  46. การยกเลิกการเชื่อมต่อการยกเลิกการเชื่อมต่อ • ฟังก์ชันที่ใช้ในการยกเลิกหรือปิดการติดต่อดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ • mysql_close(database_connect); • โดยผลลัพธ์ที่คืนออกมาจากฟังก์ชันนี้ ถ้าปิดการติดต่อกับ MySQL ได้สำเร็จก็จะมีค่าเป็นจริง ถ้าไม่สำเร็จจะมีค่าเป็นเท็จ เช่น

  47. การเรียกใช้ฐานข้อมูลผ่านเว็บการเรียกใช้ฐานข้อมูลผ่านเว็บ • ก่อนการเรียกใช้ฟังก์ชันนี้ จะต้องมีการเรียกใช้ฟังก์ชัน mysql_connectเพื่อกำหนดฐานข้อมูลที่จะเชื่อมต่อเสียก่อน • mysql_select_db(string databasename); • Databasename คือ ชื่อของฐานข้อมูล เช่น

  48. การนำภาษา SQL มาใช้ในฐานข้อมูล MySQL • ฟังก์ชัน mysql_query() • เป็นฟังก์ชันสำหรับสั่งงาน MySQL ด้วยภาษา SQL เพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล เช่น การเพิ่ม การลบ เป็นต้น ต้องใช้กับฟังก์ชัน mysql_select_db() • mysql_query(string query, [database_connect]); • query หมายถึง คิวรีที่เรียกใช้ฐานข้อมูล • database_connect หมายถึง ตัวแปรที่ใช้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูล จะกำหนดหรือไม่ก็ได้ เช่น

  49. ฟังก์ชัน mysql_db_query() • เป็นฟังก์ชันสำหรับสั่งงาน MySQL ด้วยภาษา SQL เพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลเหมือนกับฟังก์ชัน mysql_query แต่ไม่ต้องใช้ร่วมกับฟังก์ชัน mysql_select_db()เพราะสามารถกำหนดชื่อฐานข้อมูลไว้ในฟังก์ชันได้เลย • mysql_db_query(string databasename, string query); • เช่น

More Related