1 / 10

สำนักพิมพ์ บรรลือสาส์น

สำนักพิมพ์ บรรลือสาส์น. ประวัติ. รูปแบบหนังสือ. หนังสือขายดี. นักเขียน. สมาชิก 1.ด.ช.ชีวิน เขียวหวาน เลขที่ 3 2.ด.ช. ธีรวัฒน์ วงศ์ขัน เลขที่ 5 ชั้น ม.2/9. ประวัติ , ความเป็นมา.

Download Presentation

สำนักพิมพ์ บรรลือสาส์น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ประวัติ รูปแบบหนังสือ หนังสือขายดี นักเขียน สมาชิก 1.ด.ช.ชีวิน เขียวหวาน เลขที่ 3 2.ด.ช.ธีรวัฒน์ วงศ์ขัน เลขที่ 5 ชั้น ม.2/9

  2. ประวัติ,ความเป็นมา • สำนักพิมพ์บรรลือสาสน์ก่อตั้งโดยบันลือ อุตสาหจิต เมื่อปี พ.ศ. 2498 ที่ถนนนครสวรรค์ ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศจังหวัดพระนคร ในระยะแรกสำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายนวนิยายของทมยันตี,แก้วเก้า หนังสือเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง และหนังสือการ์ตูนชุดต่างๆ เช่น สิงห์เชิ้ตดำ, หนูป้อม - ลุงเป๋อ, หนูจ๋า, เบบี้, หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน และอื่นๆ โดยทางสำนักพิมพ์ได้ทาบทามให้ เสถียร หาญคุณตุละ เจ้าของนามปากกา "จิงโจ้" มาเป็นนักเขียนภาพประกอบและนักเขียนการ์ตูนรายแรกของสำนักพิมพ์ หลังจากนั้นจึงมีนักเขีบนคนอื่นๆ ได้แก่ เศก ดุสิต, จำนูญ เล็กสมทิศ (จุ๋มจิ๋ม), วัฒนา เพชรสุวรรณ (วัฒนา, อาวัฒน์, ตาโต) เข้ามาร่วมงานด้วยกัน ส่วนด้านการตลาดนั้น บันลือ อุตสาหจิตได้ลงทุนเป็นผู้บุกเบิกการตลาดด้วยตัวเอง เดินทางสำรวจและเยี่ยมเยียนลูกค้าตามจังหวัดต่างๆ ทำให้สำนักพิมพ์จึงประสบความสำเร็จ ทั้งด้านคุณภาพการจัดทำและการจัดจำหน่ายในระยะเวลาไม่นานนัก • ในปี พ.ศ. 2516วิธิตอุตสาหจิต บุตรชายคนโตของบันลือ (ขณะนั้นอายุได้ 18 ปี) ในฐานะบรรณาธิการ ได้ให้กำเนิดนิตยสารการ์ตูนชื่อ "ขายหัวเราะ" ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนตลกรูปแบบการ์ตูนแก๊กแบบ 3 ช่องจบ โดยรวบรวมผลงานจากนักเขียนการ์ตูนหลายคนไว้ในเล่มเดียว นิตยสารดังกล่าวได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง

  3. ทำให้ในปี พ.ศ. 2518วิธิตจึงได้ออกนิตยสารการ์ตูนอีกเล่มหนึ่งชื่อ "มหาสนุก" ซึ่งมีรูปแบบเนื้อหาที่คล้ายกันกับขายหัวเราะ แต่ได้มีการเพิ่มการ์ตูนเรื่องสั้นไว้ในนิตยสารฉบับนี้ด้วย นิตยสารทั้งสองเล่มได้กลายเป็นแหล่งสร้างสรรค์นักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่ เช่น นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ (นิค), ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย), ผดุง ไกรศรี (เอ๊าะ) ฯลฯ และการ์ตูนยอดนิยมชุดต่างๆ เช่น ปังปอนด์, สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่, หนูหิ่นอินเตอร์ และยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน • ปัจจุบันสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นใช้ชื่อว่า "บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด" ในเครือบรรลือกรุ๊ป มีที่ตั้งปัจจุบันอยู่ที่ 959 ซอยสุทธิพร ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดงกรุงเทพมหานคร

  4. รูปแบบหนังสือ • ขายหัวเราะ และหนังสืออื่นๆในบรรลือสาส์น เป็นนิตยสารที่นำเสนอการ์ตูนตลกสามช่องจบ ภายในลงพิมพ์เรื่องขำขันแทรกเป็นช่วงๆ และเรื่องสั้นสามเรื่องในแต่ละฉบับ ซึ่งไอเดียในการเขียนการ์ตูนแก๊ก ขำขัน และเรื่องสั้นเหล่านี้ ผู้อ่านสามารถเขียนเพื่อนำเสนอให้ทางนิตยสารตีพิมพ์ได้ โดยต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการก่อน นักเขียนเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนก็เคยมีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับนี้ เช่น อธิชัย บุญประสิทธิ์, ดำรง อารีกุล, น้ำอบ, นอติลุส, เพชรน้ำเอก เป็นต้น • ส่วนขนาดรูปเล่มของขายหัวเราะ ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือขายหัวเราะในปัจจุบัน ส่วนขายหัวเราะฉบับเดิมก็ยังคงพิมพ์ต่อไป จนกระทั่งมีการยกเลิกในเวลาต่อมา เหลือเพียงขายหัวเราะฉบับกระเป๋าเท่านั้น

  5. หนังสือขายดี 1.ขายหัวเราะ • ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิตอุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 • ราคาขายของขายหัวเราะในสมัยเล่มใหญ่นั้นอยู่ที่ 7 บาท ต่อมาเมื่อมีการปรับขนาดลงมาเป็นฉบับกระเป๋า จึงมีการปรับราคาหนังสือใหม่เป็น 10 บาท ภายหลังจึงขึ้นราคาเป็น 12 บาท และ 15 บาท (ราคาปัจจุบัน ปรับขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549) ตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น • กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสัปดาห์พร้อมกับมหาสนุก โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ

  6. หนังสือขายดี 2.มหาสนุก • มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิตอุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ • รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจการเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) • เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด "มหกรรมมินิซีรีส์" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด "บ้าครบสูตร" และ "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม

  7. หนังสือขายดี 3.ปังปอนด์ • ปังปอนด์ เป็นชื่อชุดการ์ตูนไทยซึ่งเป็นผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย ขายหัวเราะ) เดิมใช้ชื่อการ์ตูนชุดนี้ว่า ไอ้ตัวเล็ก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารมหาสนุกในเครือสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ต่อมาจึงได้พิมพ์รวมเล่มในชื่อ "ไอ้ตัวเล็ก" โดยทยอยออกเป็นรายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมพ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อหัวหนังสือเสียใหม่เป็น "ปังปอนด์" ตามชื่อตัวละครเอกของการ์ตูนชุดนี้ และยังคงตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน • การ์ตูนชุดปังปอนด์ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 โดยบริษัท วิธิตา แอนิเมชัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบันลือกรุ๊ป (เครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในชื่อ "ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชัน ตอน ตะลุยโลกอนาคต" ออกฉายครั้งแรกเป็นตอน ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างท้วมท้น จากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในดาราการ์ตูนชั้นนำของไทย และได้มีการตัดต่อใหม่สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี การ์ตูนชุดปังปอนด์ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างด้วยภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติตลอดทั้งเรื่อง เนื่องจากที่ผ่านมาภาพยนตร์แอนิเมชันในประเทศไทยล้วนแต่เป็นภาพแบบ 2 มิติทั้งสิ้น และยังเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยเรื่องแรก ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ Imax Theater หลังจากนั้นบริษัท วิธิตายังได้สร้างการ์ตูนแอนิเมชันชุด ปังปอนด์ ต่อเนื่องออกมาหลายชุดจนถึงปัจจุบัน โดยการ์ตูนแอนิเมชันชุดล่าสุดคือ "ปังปอนด์ ตัวจิ๋ว หัวใจฮีโร่"

  8. นักเขียนในปัจจุบัน • วัฒนา (วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ, นามปากกาอื่น: ตาโต) - แฟนการ์ตูนนิยมเรียกว่า "อาวัฒน์" ปัจจุบันดูแลนิตยสาร "เบบี้" เขียนปกนิตยสาร "ขายหัวเราะ" และมีผลงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ • จุ๋มจิ๋ม (จำนูญ เล็กสมทิศ) - ปัจจุบันรับผิดชอบดูแลนิตยสารหนูจ๋าเพียงฉบับเดียวเท่านั้น แต่ยังปรากฏรายชื่อนักเขียนอยู่ในขายหัวเราะและมหาสนุก • ต่าย (ภักดี แสนทวีสุข) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "ปังปอนด์" • นิค (นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "คนอลเวง" • ต้อม (สุพล เมนาคม) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "แก๊งจอมป่วน" • เฟน (อารีเฟน ฮะซานี) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" และ "รามาวตาร" • หมู (สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "กระบี่หยามยุทธภพ" และ "สามก๊ก มหาสนุก" • ปุ๋ย (ศุภมิตร จันทร์แจ่ม) • ขวด (ณรงค์ จรุงธรรมโชติ) - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวัน และมีผลงานให้กับมหาสนุก • เอ๊าะ (ผดุง ไกรศรี) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุดหนูหิ่น อินเตอร์ • โย่ง (อัครเดช มณีพันธุ์) • ช่วง (ช่วง ชุ่มวงศ์

  9. ก๊อก (พิชิต สรรพพันธ์) • น็อต (พรพล สำหรับสุข) - ปัจจุบันมีผลงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ • ดั๊มพ์ (พนัส คุ้มคำมี) • ป้อม (ศุภชัย ลัทธิรมย์) • โดด (สมพงษ์ สุวรรณดี) • เอ๊ะ (ภูวดล ปุณยประยูร) • จ๊ะโอ๋ (นิวัฒน์ ทองสุข) • ไก่ (ธรรมรัตน์ รมย์นุกูล) - ปกติทำหน้าที่ในกอง บก. ขายหัวเราะและมหาสนุก ตำแหน่งบรรณาธิการที่ปรึกษา • เด่น (จักรพงศ์ กว้างขวาง) • วุ่น (พิรุณ บุญประเสริฐ) • ก้าง (พรพิทักษ์ ประเสริฐ) • วิรัตน์ (วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ) • มังกร (มังกร สรพล) • ยุง (จีรพงษ์ ศรนคร) • น้อยหน่า (สุริยา อุทัยรัศมี) • เดอะดวง (วีระชัย ดวงพลา) • ต้น (จักรพันธ์ ห้วยเพชร) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุดสตรีทบอลสะท้านฟ้า (ตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุก) • บอย (นามปากกาอื่น : ไอ้บอย) - นักเขียนหน้าใหม่และเป็นนักเขียนวัยรุ่นคนแรกของขายหัวเราะกับมหาสนุก • ม่อน - นักเขียนหน้าใหม่และเป็นนักเขียนวัยเยาว์คนแรกของขายหัวเราะ-มหาสนุก

  10. นักเขียนในอดีต • ปิยะดา (นาวาอากาศเอกประเวส สุขสมจิตร) • พลังกร - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ • พล (พล พิทยาสกุล) - ปัจจุบันเป็นนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ • อ้อ อ่อนน้อม - ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2532 • แอ๊ด (อรรณพ กิติชัยวรรณ) - ปัจจุบันมีผลงานล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ • เดี่ยว (ธรรรักษ์ แสงสุวรรณ) - ฉายา "มะเดี่ยวศรีหลานยายปริก" ยุติการเขียนการ์ตูนเมื่อพ .ศ. 2547 ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ • ต่อ (โพชฌงค์ ทองอนันต์) - เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2547 จากอุบัติเหตุรถชน • สัญ (สัญญา พูลศรี) - ปัจจุบันเปิดบริษัทของตัวเอง • เอ๋ (ศิรินันท์ วิชาตรง) - นักเขียนการ์ตูนหญิงคนแรกของขายหัวเราะ ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ • อ๋อน (วีระเดช ไกรศรี) - น้องชายของผดุง ไกรศรี (เอ๊าะ) ปัจจุบันเป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่ง • กุ่ย (ชัยวัฒน์สุวัฒนรัตน์) - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก • เชษฐา - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ • บัฟ (เศวต อติยศพงศ์) - เลิกเขียนการ์ตูนให้กับบรรลือสาส์นแล้ว ปัจจุบันเปิดสำนักพิมพ์ใหม่ของตัวเอง • เดช (รณเดช ส่องศิริ) - ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2538 • รินทร์ (จักรนรินทร์ พรหมอินทร์) - เลิกเขียนการ์ตูนให้กับบรรลือสาส์นแล้ว • จิ๋ว - ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2538 • เดีย (ทวิรัชต์ เตียนสำรวย) - ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่เขตจอมทอง กทม. • อ่อน (อนุวัฒน์ ชัยเมือง; นามปากกาอื่น:แก๊ก; ใช้นามปากกานี้ในสวนเด็ก)

More Related