1 / 29

แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล. Individualized Education Program (IEP). ความหมาย. แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ( special needs) ของคนพิการตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา. ลักษณะทั่วไปของ IEP.

dior
Download Presentation

แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล Individualized EducationProgram (IEP)

  2. ความหมาย • แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ (special needs) ของคนพิการตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

  3. ลักษณะทั่วไปของ IEP • IEP เป็นแผนการจัดการศึกษาที่เขียนขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยครู หมอ พ่อแม่ ฯลฯ • IEP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการ ตรวจสอบการสอนทั้งหมด

  4. การเตรียมการจัดทำ IEP 1. การรวบรวมข้อมูล - ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพ / ความบกพร่อง ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลสวัสดิการและสังคมสังเคราะห์

  5. 2. การประเมินความสามารถ ข้อมูลความสามารถในปัจจุบัน (จุดเด่น จุดอ่อน) จากการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมิน พัฒนาการ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์

  6. คณะผู้จัดทำ IEP • คณะกรรมการการจัดทำ IEP มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน คือ 1. ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 2. บิดา มารดาหรือ ผู้ปกครอง 3. ครูประจำชั้น / อาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการอื่นๆ เช่น ครูการศึกษาพิเศษ นักวิชาการ / นักวิชาชีพ ผู้เรียน

  7. ขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการจัดทำ IEP 1.หน้าที่ของคณะกรรมการจัดทำ IEP จะต้องจัดทำดังต่อไปนี้ - ประเมินระดับความสามารถในปัจจุบันและความต้องการจำเป็นพิเศษ - วางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล - ประเมิน ทบทวน ปรับแผน รายงานผลการประเมิน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

  8. - ประเมิน ทบทวน ปรับแผน รายงานผลการประเมิน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2. ประชุมเพื่อจัดทำ IEP 3. คณะกรรมการลงนามใน IEP 4. บิดา มารดา / ผู้ปกครอง หรือผู้เรียนลงนาม

  9. ส่วนประกอบของ IEP 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ข้อมูลด้านการศึกษา 3. การวางแผนการจัดการศึกษา - ระดับความสามารถ (จุดเด่น จุดอ่อน)

  10. - เป้าหมายระยะยาว 1 ปี • จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • การประเมินผล - ผู้รับผิดชอบ

  11. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • คำอธิบายถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะเป็นหรือทำได้เพิ่มมากขึ้นหลังจากกิจกรรมการเรียนการสอน • ระบุกิจกรรมการเรียนการสอน

  12. ส่วนประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมส่วนประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • สถานการณ์ : เหตุการณ์ที่ระบุสภาพแวดล้อม สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เงื่อนไข ความช่วยเหลือ (เมื่อ/ขณะ/หลังจาก...) • พฤติกรรม : ระบุตัวบุคคลและพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจน (นักเรียน(ชื่อ)จะ.......)

  13. เกณฑ์การประเมินผล : ระดับความสามารถที่กำหนดว่าผู้เรียนเกิดทักษะ โดยระบุความถี่และปริมาณที่แสดงความถูกต้อง เมื่อ/หลังจาก.....น.ร.(ชื่อ) จะ.............ได้..................

  14. ปัจจัยสำคัญของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมปัจจัยสำคัญของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • การพิจารณาเป้าหมายว่าผู้เรียนควรจะมีทักษะ/พฤติกรรมดีขึ้นเท่าไร • ความถี่ของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะ • ผู้เรียนควรใช้เวลานานเท่าไรในการแสดงพฤติกรรมที่ประสบผลสำเร็จ (ระยะเวลาควรมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน)

  15. ข้อควรพิจารณาในการตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อควรพิจารณาในการตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • ความถี่ : จำนวนครั้งที่แสดงพฤติกรรม • การนำไปใช้ : เมื่ออยู่ในสถานการณ์อื่น ๆ กับบุคลอื่น ๆ จะแสดงพฤติกรรมเป้าหมาย • ความคงที่ : ความต่อเนื่องของการแสดงพฤติกรรมหลังจากจบกิจกรรมการเรียนการสอน

  16. ลักษณะที่ดีของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมลักษณะที่ดีของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • มีความชัดเจน • สามารถวัดได้ • มีเกณฑ์ที่ผู้เรียนสามารถทำได้จริง • มีความเหมาะสมกับผู้เรียน • มีกำหนดเวลาที่แน่นอน

  17. ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • เมื่อนำภาพแผนที่ประเทศไทยมาแสดง ด.ช.น่าน น่าจะบอกชื่อจังหวัดที่อยู่ชายแดนของแต่ละภาคได้ถูกต้องทั้งหมดทุกครั้งภายในเวลา 1 เดือน • หลังจากจบบทเรียนเรื่องสัญญาณไฟจราจร ด.ญ.ปุ๊น่าจะบอกความหมายของสีแต่ละสีของสัญญาณไฟจราจรได้ถูกต้องอย่างน้อย 4 ใน 5 ครั้งในเวลา 3 นาที ภายใน 1 สัปดาห์

  18. 4. ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 5. คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 6. ความเห็นของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง

  19. สิ่งอำนวยความสะดวก • เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณื เครื่องมือ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องาการจำเป็นพิเศษสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร อาคารสถานที่ เช่น แว่นขยาย เครื่องช่วยฟัง ทางลาด

  20. สื่อ • วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เกิดความเข้าใจดีขึ้น และรวดเร็วขึ้น เช่น เครื่องพิมพ์ดีดเบรลล์ หนังสือ แถบเสียง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  21. บริการ/ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาบริการ/ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา • บริการ : บริการเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ บริการบำบัดฟื้นฟู บริการฝึกอบรม เช่น กายภาพบำบัด การแก้ไขการพูด ล่ามภาษามือ • ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา : การปรับเนื้อหา / สื่อการสอน / เทคนิคการสอน

  22. ประโยชน์ของ IEP • ผู้เกี่ยวข้องทุกคนตระหนักและรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาและผลงานของการจัดการศึกษา • ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจว่าเด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการต้องการการศึกษาเฉพาะบุคคล • พ่อแม่หรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา

  23. IEP ช่วยให้ทางโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางในการจัดหาหรือจัดบริการเสริมได้อย่างเหมาะสม • IEP นับได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้ที่มีประสิทธิภาพ

  24. แผนการสอนเฉพาะบุคคล Individual Implementation Plan (IIP)

  25. ความหมายของ IIP แผนการสอนที่จัดขึ้นเป็นเฉพาะบุคคลสำหรับ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์และ เป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล

  26. กระบวนการจัดทำ IIP • กำหนดทักษะที่จะสอนโดยการตรวจสอบ(สอนอะไร) • กำหนดองค์ประกอบและสถานการณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ (สอนอย่างไร) • วางแผนการสอน (จัดทำ IIP) • เริ่มต้นการสอน : (สอน ทดสอบ สอน)

  27. ส่วนประกอบของ IIP • ชื่อผู้เรียน • เนื้อหา / ทักษะที่สอน - สาระที่จะสอนผู้เรียน เพียง 1 เรื่อง/ ทักษะ • จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม - ลำดับขั้นของทักษะหรือจุดประสงค์ย่อย ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและเป้าหมายระยะยาวที่ระบุไว้ใน IEP

  28. วิธีสอน / สื่อ - วิธีการดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสื่อประกอบการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพตรงตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้ใน IEP

  29. สิ่งเสริมแรงที่ใช้ - สิ่งเสริมแรงและเงื่อนไขการเสริมแรงที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นเฉพาะบุคคล การประเมินผล

More Related