1 / 25

Chapter 9

Chapter 9. ระบบย่อยของตัวแบบของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt. ตัวแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt. จากบทที่แล้ว ตัวแบบของ Marquardt ประกอบด้วยระบบย่อย 5 ระบบ คือ 1) การเรียนรู้ 2) องค์กร 3) คน 4) เทคโนโลยี 5) ความรู้. ระดับ ปัจเจกบุคคล กลุ่ม / ทีม องค์กร. ทักษะ

dmitri
Download Presentation

Chapter 9

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 9 ระบบย่อยของตัวแบบของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt

  2. ตัวแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt • จากบทที่แล้ว ตัวแบบของ Marquardt ประกอบด้วยระบบย่อย 5 ระบบ คือ • 1) การเรียนรู้ • 2) องค์กร • 3) คน • 4) เทคโนโลยี • 5) ความรู้

  3. ระดับ ปัจเจกบุคคล กลุ่ม/ทีม องค์กร ทักษะ การคิดเชิงระบบ รูปแบบความคิด การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง การเสวนา การเรียนรู้ ประเภท เชิงปรับตัว เชิงคาดการณ์ เชิงปฏิบัติ ระบบย่อยด้านการเรียนรู้ (Learning Subsystem)

  4. การเรียนรู้เป็นระบบย่อยหลักขององค์กรแห่งการเรียนรู้ เพราะเกิดขึ้นทั้งระบบบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร • ระดับของการเรียนรู้ • องค์กรแห่งการเรียนรู้จะมีระดับการเรียนรู้ 3 ระดับที่ไม่เหมือนกัน แต่สัมพันธ์กัน คือ • 1) การเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล (Individual learning)หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านทักษะ ความรู้ เจตคติและค่านิยมของแต่ละคน อันเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการสังเกต และศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย • 2) การเรียนรู้ของกลุ่มหรือทีม (Group/Team Learning)หมายถึง การเพิ่มขึ้นของความรู้ ทักษะ และสมรรถนะภายในกลุ่ม ซึ่งสำเร็จลงด้วยการกระทำของกลุ่มนั่นเอง เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ การแบ่งปันความรู้ในกลุ่ม เป็นต้น

  5. 3) การเรียนรู้ขององค์กร (Organizational Learning)เป็นการยกระดับความสามารถในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากการมุ่งมั่นในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร • ประเภทของการเรียนรู้ • วิธีการเรียนรู้ต่อไปนี้จะแตกต่างกัน แต่จะคาบเกี่ยวกันในเชิงเสริมซึ่งกันและกัน ได้แก่ • 1) การเรียนรู้เชิงปรับตัว (Adaptive Learning)จะเกิดขึ้นเมื่อมีการครุ่นคิดพิจารณาทบทวนถึงประสบการณ์ในอดีต จากนั้นก็ปรับแก้การกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น Lesson learned เป็นต้น

  6. 2) การเรียนรู้เชิงคาดการณ์ (Anticipatory Learning)คือกระบวนการแสวงหาความรู้โดยการคาดคิด จินตนาการเกี่ยวกับอนาคตในหลาย ๆ ลักษณะ เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ในทางลบที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้ลักษณะที่ดีที่สุดแล้ว จึงกำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อบรรลุผลในอนาคตที่คาดหวัง • 3) การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Action Learning) หมายถึง การสืบหาและพิจารณาไตร่ตรองเกี่ยวกับความเป็นจริง ณ. ปัจจุบันและนำเอาความรู้นั้นไปใช้พัฒนาบุคคล กลุ่ม และองค์กร • ทักษะสำหรับการเรียนรู้ในองค์กร • ทักษะ 5 ประการต่อไปนี้ คือสิ่งจำเป็นต่อการริเริ่มและขยายการเรียนรู้ในองค์กรให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วย

  7. 1) การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)เป็นโครงร่างทางแนวคิดแบบหนึ่ง สำหรับทำให้แบบแผนต่าง ๆ สมบูรณ์ชัดเจนขึ้นและมันจะช่วยให้เรากำหนดได้ว่า ทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนแปลงแบบแผนพวกนั้นได้อย่างมีประสิทธิผล • 2) รูปแบบความคิด (Metal Models)คือ ข้อสันนิษฐานที่ฝังลึกอยู่ในความคิดของเราที่มีอิทธิพลต่อทรรศนะและการกระทำต่าง ๆ ของเรา ตัวอย่างเช่น รูปแบบความคิดหรือจินตนาการของเราที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ การทำงานหรือความรักในองค์กร จะมีอิทธิพลต่อปฏิสัมพันธ์และพฤติกรรมของเราในสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับแนวความคิดเหล่านั้น • 3) การมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery)จะแสดงถึงความชำนาญในระดับสูงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่นต่อการเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อนำไปสู่ความเชี่ยวชาญ หรือ ความชำนาญในงานที่ทำเป็นพิเศษ

  8. 4) การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง (Self-directed Learning)คือ การที่ทุกคนตระหนักถึงและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้เรียนคนหนึ่งที่มีความกระตือรือร้น การเรียนรู้แบบนี้ประกอบไปด้วย การรู้จักลักษณะในการเรียนรู้ของตนเอง ความสามารถในการประเมินความต้องการของตนเอง และสมรรถนะของตนเอง รวมไปถึงการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ทางธุรกิจเข้ากับความจำเป็นของการเรียนรู้ • 5) การเสวนา (Dialogue)หมายถึง การฟังและสื่อสารในระดับสูงระหว่างบุคคล ซึ่งต้องอาศัยการสำรวจประเด็นต่าง ๆ อย่างอิสระและสร้างสรรค์ และต้องอาศัยการครุ่นคิดพิจารณาเวลาผู้อื่นทักท้วงความเห็นของเรา นอกจากนั้นเราต้องมองให้ออกว่า แบบแผนต่าง ๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์ในทีมอาจส่งเสริมหรือทำลายการเรียนรู้ได้

  9. วิสัยทัศน์ การเรียนรู้ วัฒนธรรม โครงสร้าง กลยุทธ์ ระบบย่อยด้านองค์กร (Organization Subsystem) • ข้อสังเกต จะเห็นว่ามีการเรียนรู้อยู่ตรงกลาง นั่นหมายความว่า ระบบย่อยด้านการเรียนรู้ จะซึมเข้าไปอยู่ในทุกระบบย่อย

  10. ระบบย่อยด้านองค์กรคือ การกำหนดให้กลุ่มคนมาทำงานร่วมกันอย่างมีแบบแผน มีกระบวนการต่าง ๆ เกิดขึ้น ดำเนินต่อเนื่องกันไป ประกอบด้วย • 1) วิสัยทัศน์(Vision)เป็นการรวมเอาความหวัง เป้าหมายและทิศทางในอนาคตขององค์กรเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเหมือนการสร้างภาพในอนาคตขึ้นมาภายในองค์กรแล้วผลักดันส่งผ่านออกไปภายนอก วัฒนธรรมขององค์กรแห่งการเรียนรู้จะค้ำจุนวิสัยทัศน์ของบริษัท ส่วนการเรียนรู้และผู้เรียนในองค์กรจะสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา • ลองนึกถึงเรื่อง Core competency ขององค์กรที่คู่แข่งของเราเลียนแบบได้ยาก เราต้องการใช้ส่วนนี้ไปสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ขึ้นมา ดังนั้น วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้จะช่วยเรื่องนี้ได้มาก

  11. 2) วัฒนธรรม (Culture)หมายถึง ค่านิยม ความเชื่อ วิธีปฏิบัติ พิธีการและประเพณีขององค์กร ซึ่งมีส่วนช่วยในการวางรูปแบบของพฤติกรรมและการรับรู้ตามสมัยนิยมของคนในองค์กร • วัฒนธรรมองค์กรขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ก็คือวัฒนธรรมที่ยอมรับว่า การเรียนรู้มีความสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจอย่างแท้จริง และการเรียนรู้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่การงานทุกอย่างในองค์กร • วัฒนธรรมที่มีคุณค่าและปรับเปลี่ยนได้ง่ายนี้ จะสร้างความสัมพันธ์และเพิ่มพูนการเรียนรู้ โดยการสนับสนุนค่านิยมต่าง ๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการตนเอง การเอื้ออำนาจแลการแบ่งปันซึ่งกันและกัน เป็นต้น

  12. 3) กลยุทธ์ (Strategy)จะสัมพันธ์กับแผนปฏิบัติการ วิธีการ กลวิธี และขั้นตอนที่จะทำให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์ต่าง ๆ จะทำให้เกิดทั้งการเรียนรู้ การถ่ายโอน และการนำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในทุก ๆ การปฏิบัติงานของบริษัท • 4) โครงสร้าง (Structure)จะประกอบด้วย แผนก ฝ่าย ระดับและองค์ประกอบต่าง ๆ ของบริษัท โครงสร้างขององค์กรแห่งการเรียนรู้จะเป็นแบบระนาบ (Flat) มีความคล่องตัวสูง ทำให้ การติดต่อประสานงาน การไหลเวียนของข้อมูล ความรับผิดชอบแต่ละหน่วยงาน และความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กรเป็นไปด้วยดี

  13. ผู้จัดการ และผู้นำ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน หุ้นส่วนและ พันธมิตรธุรกิจ ซัพพลายเออร์ และผู้ขาย ระบบย่อยด้านคน (People Subsystem) คน

  14. 1) ผู้จัดการและผู้นำ (Managers & Leaders)ต้องเป็นผู้ฝึกสอน เป็นพี่เลี้ยง และ เป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องสร้างและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้คนรอบข้าง • 2) พนักงาน (Employee)ต้องได้รับการเอื้ออำนาจและคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้ อีกทั้งยังมีการวางแผนเกี่ยวกับสมรรถนะในอนาคต กล้าที่จะเสี่ยงและลงมือปฏิบัติการ รวมถึงต้องแก้ปัญหาเป็น • 3) ลูกค้า (Customer)จะมีส่วนร่วมในการระบุความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการฝึกอบรม ถือได้ว่า มีส่วนในการเชื่อมต่อการเรียนรู้ขององค์กร • 4) หุ้นส่วนและพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partners & Alliances)จะได้รับประโยชน์จากการแบ่งปันสมรรถนะและความรู้ต่าง ๆ

  15. 5) ซัพพลายเออร์และผู้ขาย (Supplier & Vendors)จะได้รับการฝึกอบรมและมีบทบาทร่วมในโปรแกรมการสอนต่าง ๆ • 6) ชุมชน (Community)อันได้แก่ กลุ่มต่าง ๆ ทางสังคม ทางเศรษฐกิจและการศึกษา ซึ่งมีส่วนในการให้และรับการเรียนรู้ • จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราจะเห็นว่า เรื่องสมรรถนะและการฝึกอบรม/พัฒนาที่เราเรียนผ่านกันมาแล้ว จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบย่อยตัวนี้ค่อนข้างมาก

  16. การสร้างความรู้ การแสวงหาข้อมูล และสารสนเทศ การประยุกต์ใช้และ การทำให้ถูกต้อง การจัดเก็บ ความรู้ ความรู้ การถ่ายโอนและ เผยแพร่ความรู้ การวิเคราะห์และ ทำเหมืองข้อมูล ระบบย่อยด้านความรู้ (Knowledge Subsystem)

  17. 1) การแสวงหาความรู้ (Acquisition)คือการสะสมข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร • 2) การสร้างความรู้ (Creation)ความรู้ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยกระบวนการมากมายที่แตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งแต่นวัตกรรมไปจนถึงการวิจัยที่สลับซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยความวิริยะอุตสาหะ นอกจากนี้มันยังอาจเกิดจากความสามารถในการมองเห็นการเชื่อมโยงรูปแบบใหม่ ๆ และ/หรือ ผนวกองค์ประกอบของความรู้เดิมที่มีอยู่ สร้างเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมา • 3) การจัดเก็บองค์ความรู้ (Storage)หมายถึง การจัดกลุ่มเพื่อเก็บรักษาองค์ความรู้ ที่มีค่าขององค์กร เพื่อให้พนักงานเข้าถึงได้ง่าย ทุกเวลา ทุกสถานที่

  18. 4) การวิเคราะห์และการทำเหมืองข้อมูล (Analysis & Data Mining)จะเกี่ยวข้องกับเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล การปรับโครงสร้าง การสร้างคลังจัดเก็บความรู้และการดูแลความรู้ให้ถูกต้อง ทันสมัย ส่วนการทำเหมืองข้อมูลจะทำให้องค์กรสามารถค้นหาความหมายหรือรูปแบบของข้อมูลที่มีอยู่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น • 5) การถ่ายโอนและเผยแพร่ความรู้ (Transfer & Dissemination)คือ การเคลื่อนย้ายข้อมูลและความรู้ เพื่อให้กระจายออกไปทั่วทั้งองค์กร • 6) การประยุกต์ใช้และการทำให้ถูกต้อง (Application & Validation)เป็นการนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้และทำการประเมินผลถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  19. ระบบย่อยด้านเทคโนโลยี (Technology Subsystem) • ระบบย่อยทางด้านเทคโนโลยีจะประกอบด้วย เครือข่ายเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้คนในองค์กรเข้าถึงความรู้และมีการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจะรวมไปถึงตัวระบบและกระบวนการทางเทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างของความร่วมมือที่จะทำให้เกิดทักษะในการประสานงาน การสอนงาน และทักษะเกี่ยวกับความรู้ด้านอื่น ๆ • ระบบย่อยนี้ยังครอบคลุมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์และวิธีการในการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าไปมาก ๆ เช่น การจำลองแบบ การประชุมทางไกล การเรียนโดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น

  20. เทคโนโลยี การจัดการความรู้ การเพิ่มพูนความรู้

  21. 1) เทคโนโลยีสำหรับจัดการความรู้ (Technology for Managing Knowledge)หมายถึง เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่รวบรวม แบ่งกลุ่ม จัดเก็บและถ่ายโอนข้อมูลไปทั่วทั้งองค์กร • 2) เทคโนโลยีสำหรับเพิ่มพูนการเรียนรู้ (Technology for Enhancing Knowledge)เช่น การใช้วิดีโอ การใช้ E-Learning เป็นต้น

  22. องค์กรที่สามารถประสานระบบย่อยทั้ง 5 เข้าด้วยกัน จะ • 1) คาดการณ์และปรับตัวให้เข้ากับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น • 2) เร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการบริการใหม่ ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น • 3) มีความชำนาญในการเรียนรู้จากคู่แข่งและผู้ร่วมงานมากขึ้น • 4) ทำให้การถ่ายโอนความรู้จากส่วนหนึ่งขององค์กรไปยังอีกส่วนหนึ่งได้รวดเร็วกว่าเดิม • 5) เรียนรู้จากความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น • 6) ใช้พนักงานทุกระดับให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ • 7) ลดเวลาในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ลง

  23. 8) กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องได้ทั่วทั้งองค์กร • 9) ดึงดูดพนักงานที่ดีที่สุดให้ทำงานกับองค์กร • 10) เพิ่มความผูกพันและความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน

  24. จบหัวข้อ9 • คำถาม ………..

More Related