1 / 16

สถาบันการเงิน

สถาบันการเงิน. ความหมายของสถาบันการเงิน. สถาบัน การเงิน หมายถึง  สถาบันที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม  ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ  โดยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม  และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม 

Download Presentation

สถาบันการเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สถาบันการเงิน

  2. ความหมายของสถาบันการเงินความหมายของสถาบันการเงิน สถาบันการเงิน หมายถึง  สถาบันที่ทำหน้าที่ระดมเงินออม  ให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ต้องการเงินไปเพื่อการบริโภคหรือเพื่อการลงทุนดำเนินธุรกิจ  โดยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ออม  และคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืม  กิจกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคนเราประกอบอาชีพมีรายได้เกิดขึ้น เขาย่อมมีอิสระที่จะนำรายได้นั้นไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภคก็ได้  หรือจะเก็บออมไว้ในสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยงอกเงยก็ได้  และทางด้านการเงินของประเทศปกติก็จะมีอยู่ 2 กลุ่ม  คือ กลุ่มหนึ่งมีรายได้แล้วต้องการจะเก็บออมไว้  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งต้องการเงินทุนไปประกอบธุรกิจของตน  สถาบันการเงินจะเข้ามาเป็นตัวกลางให้บริการทางการเงินแก่คนทั้ง  2  กลุ่มนี้  สถาบันการเงินจะระดมเงินออกจากประชาชนในรูปแบบต่างๆ กัน  แล้วให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมไปลงทุนในกิจการของตน

  3. หน้าที่ของสถาบันการเงินหน้าที่ของสถาบันการเงิน 1. เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ 2. ให้ความปลอดภัยและมั่นใจแก่เงินของผู้ออม 3. ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยในท้องถิ่นต่างๆ ไม่แตกต่างกันมากนัก 4. จัดให้มีการกู้เงินประเภทต่างๆ 5. ช่วยให้การซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์มีสภาพคล่อง 8.2

  4. ประเภทของสถาบันการเงินประเภทของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร

  5. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร 1. ธนาคารพาณิชย์ คือ ธนาคารและสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทาง เช่น การให้สินเชื่อ การซื้อขายตั๋วแลกเงิน การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์จะจัดตั้งในรูปของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดก็ได้ แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องใส่คำว่า "บริษัท" ไว้ในชื่อธนาคาร

  6. การบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์การบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ 1. การรับฝากเงิน 2. การกู้ยืม 3. การบริการอื่นๆ เช่น การโอนเงิน การเรียกเก็บเงิน การให้เช่าตู้นิรภัย

  7. สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร 2. ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ 2.1 ธนาคารออมสิน 2.2 ธอส. 2.3 ธ.ก.ส. 2.4 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย 2.5 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 2.6 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

  8. สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำกัด มีวัตถุประสงค์คล้ายกับธนาคารพาณิชย์มากที่สุด คือ ระดมเงินออมโดยออกตราสารเครดิตหรือตั๋วแลกเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการกู้เงินจากประชาชน 2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมเอกชน 3. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมครัวเรือน

  9. สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อที่ดินสร้างบ้านหรือผ่อนส่ง 5. บริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต เป็นสถาบันทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้ สถาบันนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ และประชาชนไม่เห็นผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการนำเงินไปลงทุน ทำให้หลายบริษัทล้มเหลวและในที่สุดขาดความมั่นคงให้กับผู้ประกันภัย

  10. สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคารสถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 6. สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินที่ประชาชนเริ่มเห็นคุณค่าและเห็นประโยชน์ของการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือชุมชน หรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดในแนวเดียวกัน จัดทำขึ้นเพื่อออมทรัพย์และจัดทำหน่วยธุรกิจของกลุ่มตนเอง หรือชุมชน 7. โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินขนาดย่อม มี 3ประเภท คือ โรงรับจำนำเอกชน โรงรับจำนำของกรมประชาสงเคราะห์ โรงรับจำนำของเทศบาล ซึ่งได้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลทั่วไป โดยรับจำนำสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

  11. ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทย

  12. ประวัติความเป็นมาของธนาคารกลางประวัติความเป็นมาของธนาคารกลาง ธนาคารกลางเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในระยะแรกธนาคารกลางยังมีไม่มาก แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความยุ่งยากทางด้านการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจบทบาทของธนาคารกลางจึงได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยธนาคารกลางได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้ประเทศต่างๆ จัดตั้งธนาคารของตนเองขึ้นในหลายประเทศ ในประเทศไทยมีความคิดริเริ่มการจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 แต่กฎหมายจัดตั้งธนาคารกลางของไทยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2482 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น

  13. หน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยหน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย 1. ออกธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องรักษาทุนสำรองเพื่อดำรงเสถียรภาพแห่งเงินตรา 2. การเป็นนายธนาคารของรัฐบาลและตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล 3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ 4. การเป็นผู้รักษาเงินสำรองระหว่างประเทศ 5. การเป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้ายที่ธนาคารพาณิชย์จะพึ่งได้ทุกเวลา 6. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร 7. การเป็นผู้ควบคุมเครดิต 8. ดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 9. การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

  14. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจ

  15. หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร  หน่วยครัวเรือน เป็นผู้นำปัจจัยการผลิต  เช่น  ที่ดิน  แรงงาน  ทุน และผู้ประกอบการ  ไปให้หน่วยธุรกิจเพื่อนำไปสูกระบวนการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ  โดย หน่วยธุรกิจ จะให้ค่าตอบแทนแก่หน่วยครัวเรือนในรูปค่าเช่า  ค่าจ้าง  ดอกเบี้ย  และกำไร           เมื่อ หน่วยธุรกิจได้รับปัจจัยการผลิตมาก็จะทำการผลิตสินค้าและบริการ  แล้วจำหน่ายสินค้าและบริการไปให้หน่วยครัวเรือน   และรับเงินค่าขายสินค้าและบริการจากครัวเรือน หรืออาจกล่าวได้ว่า  เมื่อครัวเรือน ซื้อสินค้าและบริการ  สินค้าและบริการจะไหลไปสู่ ครัวเรือน  และรายได้จากการขายสินค้าจะไหลไปสู่หน่วยธุรกิจ  เมื่อคนงานทำการขายแรงงานให้แก่ หน่วยธุรกิจ  ปัจจัยการผลิตจะไหลไปสู่   หน่วยธุรกิจ  โดยได้รับค่าจ้างจาก หน่วยธุรกิจ ไหลเวียนกลับมาสู่หน่วยครัวเรือน

  16. หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หน่วยเศรษฐกิจในแต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์กันอย่างไร  ส่วนสถาบันการเงินจะเป็นตัวกลางในการระดมเงินออมจากผู้ที่มีเงินเหลือใช้ ได้แก่ ผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้วยการให้บริการรับฝากเงิน และเมื่อสถาบันการเงินระดมเงินออมได้แล้วก็จะนำเงินออมนั้นไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปจัดสรรให้แก่ผู้ที่ขาดเงินออมกู้ยืมเพื่อไปทำการค้าและประกอบธุรกิจ นั่นก็คือ เมื่อผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องการเงินไม่ว่าจะไปใช้จ่ายหรือลงทุน ทั้ง 2 หน่วยนี้ก็จะมาใช้บริการหน่วยเศรษฐกิจที่เรียกว่า สถาบันการเงิน นั่นเอง

More Related