1 / 49

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2553 ห้องประชุมกองแผนงาน 1

การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กรมการแพทย์ (พ.ศ. 2554 – 2557). วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2553 ห้องประชุมกองแผนงาน 1. ความเป็นมา. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 13 และ 14 กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี

Download Presentation

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2553 ห้องประชุมกองแผนงาน 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กรมการแพทย์ (พ.ศ. 2554 – 2557) วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2553 ห้องประชุมกองแผนงาน 1

  2. ความเป็นมา พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 13 และ 14 กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดินและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กรมการแพทย์ มีกลไกการดำเนินงาน โดย ตั้งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี กรมการแพทย์

  3. แผนการดำเนินการ รับฟังข้อคิดเห็น - จัดเวทีประชาพิจารณ์ - แบบสอบถามข้อคิดเห็น - สอบถามข้อคิดเห็นผ่าน Website • เผยแพร่ยุทธศาสตร์ • ต่อสาธารณะและ • ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ - Website - เอกสาร,วารสาร - การ์ด - บอร์ด - แทรกการอบรม • คณะกรรมการฯ • - วิเคราะห์สภาพแวดล้อม • - มองภาพในอนาคต - ร่างกรอบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กรมการแพทย์(54 - 57) กองแผนงานศึกษาและรวบรวมข้อมูล • - สถานภาพองค์กร - บริบทแวดล้อม - จัดทำสารสนเทศประกอบการวางแผน เสนอผลการทบทวนยุทธศาสตร์ ต่อผู้บริหาร กรมการแพทย์ ก.ย. 53 พ.ค. - ส.ค. 53 ส.ค. - ก.ย. 53 ครั้งที่ 1 : 16 ส.ค. พ.ย. 53 พ.ย. 53 - ก.ย. 54 กรอบแผนปฏิบัติราชการฯ กรมการแพทย์ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ยุทศาสตร์ กลวิธี/มาตรการ ผลผลิต กิจกรรม แผนงาน/โครงการ ตัวชี้วัด

  4. กรอบการวิเคราะห์ - วิเคราะห์ศักยภาพ • วิสัยทัศน์ พันธกิจ • ประเด็นยุทธศาสตร์ • เป้าประสงค์ • ยุทธศาสตร์ - กลวิธี/มาตรการ • ผลผลิต • กิจกรรม • แผนงาน/โครงการ - ตัวชี้วัด ปัจจัยภายนอก 1. รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. นโยบายรัฐบาล 3. นโยบายกสธ. 4. สถานการณ์และแนวโน้มปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง 5. ความต้องการ/ความพึงพอใจผู้รับบริการของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6. มุมมองของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัจจัยภายใน 1. ผลสัมฤทธิ์ยุทธศาสตร์ 2. ผลการประเมินการมีส่วนร่วมตามโครงการกรมการแพทย์พัฒนาคุณภาพชีวิตฯ 3. ผลการประเมินนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี 4. ผลการตรวจสอบวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ด้วย Scenario 5. สรุปประเด็นปัญหาการประเมิน PART 8. สรุปประเด็นปัญหาการประเมิน PMQAหมวด2 6. ข้อมูลรับ – ส่งต่อ ผู้ป่วย 7. ทิศทางการดำเนินงานของกรมการแพทย์ปี 2553

  5. แผนบริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 1. นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก 2. นโยบายความมั่นคงของรัฐ 3. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 3.3 นโยบายด้านสาธารณสุข 3.5 นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ 4. นโยบายเศรษฐกิจ 5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 6. นโยบายวิทยาศาสตจร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 7. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

  6. นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้กล่าวมอบนโยบายและแนวทางการในการดำเนินงานเพื่อนำ • นโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เน้น 12 เรื่องที่สำคัญ ดังนี้ • 1. เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นหลัก 2. เร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล และคุณภาพการบริการในทุกระดับ: Fast track (PPCI) ใน ส. โรคทรวงอก , การผ่าตัดทางกล้อง ในรพ.ราชวิถี , Stroke Unit Strock Fast Track ในส.ประสาทวิทยา 3. สร้างความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพและประสิทธิผลการควบคุมโรค 4. คุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างจริงจัง 5. สนับสนุนสมุนไพรไทยให้มีบทบาทในการบริการและมีความก้าวหน้ามากขึ้น 6. สนับสนุนการผลิตและพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รวมทั้งในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล 7. สนับสนุน อสม. มีบทบาทเชิงรุกมากขึ้น 8. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร 9. ผลักดันโครงการ Medical Hub ให้รุดหน้ามากยิ่งขึ้น 10.ผลักดันและพัฒนากฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ เช่น พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ร.บ. กองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการทางการแพทย์และ สาธารณสุข โดยให้ความสำคัญทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ 11. สุขภาพในพื้นที่ท่องเที่ยว 12. หนุ่วยตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ : โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุแบบเบ็เดเสร็จ ยึดหลักการ 3 ประการ คือ 1. ความโปร่งใส 2. ความสามัคคี 3. การมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายในสังคมสาธารณสุข

  7. นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน โครงการโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม วัตถุประสงค์ 1. จัดบริเวณและจัดกิจกรรมเพื่หใบริการรอคอยที่มีคุณค่า 2. พัฒนาบุคลิกภาพผู้ให้บริการที่สามารถให้บริการได้ตามความต้งอการผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม 3. พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถให้บริการที่ดี บริการประทับใจ หลักการดำเนินงาน 1. พัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล 2. พัฒนาคุณภาพการบริการ 3. การมีส่วนร่วม กิจกรรม 3 S 1. บรรยากาศ (Structure) 2. บริการ (Service) - บริการการแพทย์ (Medical Service) - บริการทั่วไป (General Service) 3. บริหารจัดการ (System)

  8. วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ของกระทรวงสาธารณสุข วิสัยทัศน์* กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเสมอภาค โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสังคมที่มีจิตสำนึกด้านสุขภาพ ให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี สู่เป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พันธกิจ* 1. กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ และระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 2. พัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมที่มีประสิทธิภาพ เสมอภาคทั้งในภาวะปกติและภาวะ ฉุกเฉิน โดยเน้นชุดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน บริการเฉพาะทางและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การสร้างระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยทางสุขภาพ 3. ส่งเสริมทุกภาคส่วนของสังคมในการมีส่วนร่วม สร้างจิตสำนึกทางสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพ 4. พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการด้านสุขภาพ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 5. กำหนดนโยบายทิศทางการวิจัย และการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านสุขภาพ • ค่านิยม* กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้องซื่อสัตย์มีความรับผิดชอบโปร่งใสตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

  9. แนวโน้มกลุ่มประชากร ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 6,070.6 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 7,851.4 ล้านคน ในอีก 25 ปีข้างหน้าคือ ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรไทยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันจาก 62.2 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 72.3 ล้านคนในปี 2568 จะเห็นได้ว่า โครงสร้างของประชากรโลกและประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายคลึงกันโดยที่ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 15.0 ในปี 2568 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 30.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 24.2 ในปี2568 แสดงให้เห็นว่า โครงสร้างของประชากรก ำลังเปลี่ยนจากโครงสร้างประชากรวัยเด็กในอดีตเป็นประชากรวัยสูงอายุ หรือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต

  10. สถานการณ์โรคและแนวโน้มสถานการณ์โรคและแนวโน้ม อัตราตายต่อประชากร 1 แสนคน สำหรับสาเหตุการตายสำคัญ 10 อันดับแรกของคนไทย พ.ศ. 2546 - 2550

  11. โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียปีสุขภาวะ (DALYs loss)

  12. ข้อมูลสถานการณ์ ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ ใน 4ประเด็น คือ 1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ : สังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม 2. ระบบบริการสุขภาพและการพัฒนา : โครงสร้างและระบบบริหารจัดการ ระบบบริการสุขภาพ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 3. ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านสุขภาพ : สถานการณ์และสถานะสุขภาพ : ระบาดวิทยา โรคอุบัติใหม่ และโรคระบาดซ้ำ : ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ : แบบแผนการดำเนินชีวิตและการบริโภค : ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านสุขภาพ 4. ระบบสนับสนุนทรัพยากร วิชาการ การวิจัย และระบบข้อมูลข่าวสาร : การเงินการคลังในระบบสุขภาพ : ระบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ และการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ : การวิจัยเพื่อการพัฒนาสุขภาพ

  13. 1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ 1) ปัจจัยแวดล้อมทางด้านสังคม 1.1โครงสร้างประชากร • ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 4.9 ในปี 2513 เป็น 11.9 ในปี 2552 • ภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ/ครัวเรือนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุสูงขึ้น 1.2กระแสทุนนิยม บริโภคนิยม และความเสื่อมโทรมทางจริยธรรม • เสพสุขจากการบริโภคโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์และคุณค่าของสินค้า • กระแสวัตถุนิยมทำให้ประชาชนกลายเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้และแสวงหากำไรจากผู้ประกอบการ ทำให้ครอบครัวต้องเพิ่มภาระหนี้สินมากขึ้น • การนำเรื่องของสุขภาพมาหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพสูงเกินความจำเป็น • การพัฒนาที่มุ่งเน้นการเติบโตทางวัตถุทำให้ปัญหาด้านสังคมและด้านจิตใจถูกละเลย เกิดภาวะเครียดและเจ็บป่วยทางจิตรุนแรง ส่งผลต่ออัตราการบริโภคสุราและยาเสพติดอื่นๆ สูง และนำไปสู่การแพร่ระบาดของความรุนแรง

  14. 1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ (ต่อ) 1.3การตื่นตัวเรื่องการแพทย์ไทย ภูมิปัญญาสุขภาพไทย • ประชาชนหันมาใช้สมุนไพรไทย ยาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทย • โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งมีบริการรักษาพยาบาลแบบแพทย์ทางเลือกให้บริการ • ต้องเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 1.4 ความรุนแรงในสังคม • ทำร้ายตนเอง หรือพยายามฆ่าตัวตายเฉลี่ยวันละ 12.93 คน และฆ่าตัวตายสำเร็จเฉลี่ย วันละ 1.61 คน • มีผู้เข้ารับบริการศูนย์พึ่งได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 19,068 ราย เป็น 26,565 ราย ในปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551

  15. 1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ (ต่อ) 2) ปัจจัยแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ 2.1 การเปิดเสรีบริการสุขภาพ • ทั่วโลกมีความต้องการสูงขึ้นในบริการด้านสุขภาพทั้งที่เป็นการรักษาพยาบาล และการส่งเสริมดูแลสุขภาพกายและจิตใจ • ธุรกิจบริการด้านสุขภาพของไทยสามารถเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสและมีศักยภาพออกสู่ตลาดต่างประเทศได้ดี • อาเซียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องการเปิดเสรีทางการค้าบริการซึ่งสาขาสุขภาพเป็นสาขาหนึ่งที่ถูกเร่งรัดให้มีการเปิดเสรี • ชาวต่างชาติที่เข้ามารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ พ.ศ. 2553 – 2557เน้นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากล การบริหารจัดการสมัยใหม่ การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์

  16. 1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ (ต่อ) 2.2ผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจต่อสุขภาพ • ส่งผลกระทบต่อสถานะสุขภาพของประชาชนโดยตรง : ผู้ว่างงาน ผู้ยากจน เด็ก ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่จำเป็นจะต้องได้รับยาต่อเนื่อง และต้องมีการโยกย้ายที่อยู่อาศัยกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมเนื่องจากตกงาน 2.3ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) • สนธิสัญญาการคุ้มครองสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิต คุ้มครองพันธุ์พืชตามกรอบการค้าเสรีไทย – สหรัฐอเมริกา ไทย – สิงคโปร์ มีผลกระทบต่อพันธุ์พืชสมุนไพร ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย • ประชาชนมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารตามแนวตะวันตกมากขึ้น ส่งผลถึงภาวะการเกิดโรคเรื้อรังหลายชนิด

  17. 1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ (ต่อ) 3) ปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง 3.1การกระจายอำนาจ ถ่ายโอนสถานีอนามัย 28 แห่ง จากที่กำหนดไว้ 35 แห่ง 3.2 การปฏิรูประบบสุขภาพ • โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพ ครอบคลุมประชาชน 62.3 ล้านคน (99.98%) ข้อมูลเดือน มิ.ย 2552 • พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 3.3 การสร้างเสริมสุขภาพ • “สร้างนำซ่อม” สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • การสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพซึ่งได้จากภาษีสุราและยาสูบ 3.4 การพัฒนาคุณภาพของระบบบริการ • โครงการไทยเข้มแข็ง

  18. 1. ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ (ต่อ) 4) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม - การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ - โรคที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศน์ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค สารพิษในระบบห่วงโซ่อาหาร - ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น น้ำฝนปนเปื้อนมลพิษ ประชาชนในเขตนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุดได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ ผลกระทบต่อสุขภาพจา โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง น้ำเสียจากนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ประชาชนได้รับผลกระทบจากบ่อกำจัดขยะจากอุตสาหกรรม จังหวัดสระบุรี รวมถึงการปนเปื้อนสารพิษในลำห้วยคลิตี้ จังหวัดกาญจนบุรี - ปัญหาการขาดความใส่ใจด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม (EIA : Environment Impact Assessment) ไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ

  19. 2. ระบบบริการสุขภาพและการพัฒนา 1) โครงสร้างและระบบบริหารจัดการ - ระดับประเทศ • มีกลไก/องค์กรต่าง ๆ ดำเนินการด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก • กระทรวงสาธารณสุขทำหน้าที่เชื่อมโยงทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อระดมศักยภาพเข้ามาร่วมกันดำเนินงานด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม - ระดับกระทรวง • มี 3 กลุ่มภารกิจ ทำหน้าที่หลักทางด้านการพัฒนาวิชาการ และสำนักงานปลัดฯ ทำหน้าที่ทางด้านบริหาร สนับสนุน และมีหน่วยงานในกำกับ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ที่กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ดูแลการดำเนินงาน • มีการวางแผนดำเนินงานทั้งในระดับแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ

  20. 2. ระบบบริการสุขภาพและการพัฒนา (ต่อ) 2) ระบบบริการสุขภาพ - การจัดบริการสุขภาพ • การบริการปฐมภูมิ • การบริการทุติยภูมิ • การบริการตติยภูมิและศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง • ระบบส่งต่อผู้ป่วย • บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย และแพทย์ทางเลือก • การสาธารณสุขมูลฐาน

  21. 2. ระบบบริการสุขภาพและการพัฒนา (ต่อ) 3) การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เช่น - จัดหาครุภัณฑ์ ที่ดินสิ่งก่อสร้างตามโครงการไทยเข้มแข็ง - นโยบายการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล - การใช้บัตรประชาชนในการเข้ารับบริการสุขภาพแทนบัตรทอง 4) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร - ขับเคลื่อนและผลักดันในการดำเนินงานตามแผนทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ในระยะ 10 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2550 - 2559 - ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่

  22. 3. ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านสุขภาพ 1) สถานการณ์และสถานะสุขภาพ : ระบาดวิทยา โรคอุบัติใหม่ และ โรคระบาดซ้ำ • โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) ผู้ป่วยสะสม 28,057 ราย เสียชีวิต 176 ราย (17 ต.ต 52) • โรคไข้หวัดนกในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2547 – 2551 มีผู้ป่วย 25 รายเสียชีวิต 17 ราย • วัณโรคมีแนวโน้มของอัตราป่วยเพิ่มขึ้นจาก 49.97 ต่อแสน ประชากรในปี 2545 เพิ่มเป็น 54.30 ต่อแสน ประชากรในปี พ.ศ.2551 • โรคเอดส์ยังเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก ในปี 2550 มีจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกประมาณ 33 ล้านคน สำหรับประเทศไทย อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์สูงสุดในปี พ.ศ. 2547 เท่ากับ 46.37 ต่อประชากรแสนคน และในปี พ.ศ. 2550 มีผู้ป่วยเอดส์จำนวน 10,375 ราย อัตราป่วย 16.57 ต่อประชากรแสนคน สำหรับในปี 2552 ในรอบ 8 เดือน ( ม.ค. – ส.ค.) นี้มีรายงานป่วย 1,980 ราย มีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์สะสมในประเทศไทยประมาณ 1,250,000 คน

  23. 3. ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านสุขภาพ (ต่อ) 2) ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ : แบบแผนการดำเนินชีวิตและการบริโภค - ภัยคุกคามต่อสุขภาพจากพฤติกรรมเสี่ยง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา สิ่งมึนเมา สารเสพติด\ความเครียดและการขาดการออกกำลังกาย ในปี 2551 พบอัตราผู้ป่วยไร้เชื้อ โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง = 749.5 675.7 134.2 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ - ความเสี่ยงจากการบริโภค จากอาหารเป็นพิษการปนเปื้อนของ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง รวมทั้งพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง - การขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดปัญหาโภชนาการเกิน

  24. 3. ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านสุขภาพ (ต่อ) 3) ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านสุขภาพ - ระบบสุขภาพ • มีการลงทุนมาก แต่ได้รับผลตอบแทนทางสุขภาพน้อย ตัวเลขค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ประชาชนยังเจ็บป่วยล้มตายโดยไม่จำเป็นมีจำนวนมากขึ้น เนื่องมาจาก 3 สาเหตุ คือ อุบัติเหตุ  โรคหัวใจ โรคมะเร็ง  • การดำเนินการเชิงรุก “สร้างนำซ่อม” ยังไม่เข้มแข็ง ทั่วถึง - ระบบเฝ้าระวัง ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อบอกระดับความรุนแรงของปัญหาและการกระจายตัวของปัญหา จำเป็นต้องพัฒนาระบบและบุคลากรเพื่อการเฝ้าระวังให้เข้มแข็งจริงจังยิ่งขึ้น

  25. 3. ปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดในการดำเนินงานด้านสุขภาพ (ต่อ) - การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับมาตรฐานทางความรู้และวิชาการให้เป็นที่ยอมรับ ผลการวิจัยส่วนใหญ่ขาดการเชื่อมโยงและ บูรณาการให้ครอบคลุมครบวงจรของปัญหา - ความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ จากการสำรวจความคิดเห็นตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ ความรู้สึกที่ไม่เท่าเทียมกันของผู้ป่วยที่ไม่ใช้บัตรทอง รองลงมา คือ คุณภาพยา รวมทั้งการปรับปรุงเรื่องการรอคอยนาน และคุณภาพการรักษาในขณะที่ผู้ให้บริการถูกฟ้องร้องจากผู้รับบริการทางการแพทย์ นำไปสู่ปัญหาการเสียขวัญกำลังใจและความรู้สึกมั่นคงในวิชาชีพ

  26. 4. ระบบสนับสนุนทรัพยากร วิชาการ การวิจัย และระบบข้อมูลข่าวสาร 1) การเงินการคลังในระบบสุขภาพ แนวโน้มภาระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในอนาคตจะเพิ่มมากขึ้นจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ (1) การบีบคั้นจากการค้าเสรีที่จะบังคับใช้ข้อตกลงทางการค้าที่ทำให้ต้องซื้อยาในราคาที่แพงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตวัตถุดิบด้านยาได้ (2) การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคกระดูกและข้อ โรคต้อกระจก และทันตอนามัย (3) พฤติกรรมการสั่งจ่ายยาของแพทย์ที่มีแนวโน้มใช้ยาราคาแพงและเทคโนโลยีชั้นสูงมากขึ้น (4) การฟ้องร้องแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้แพทย์สั่งการรักษาและการตรวจที่มากเกินจำเป็นเพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง (5) การแพทย์แนวพาณิชย์ที่ใช้เทคโนโลยีการแพทย์ที่ฟุ่มเฟือยและไม่มีความจำเป็น

  27. 4. ระบบสนับสนุนทรัพยากร วิชาการ การวิจัย และระบบข้อมูลข่าวสาร (ต่อ) 2) ระบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ และการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน สุขภาพ มีการกำหนดและประกาศให้มีการนำเอามาตรฐานโครงสร้างข้อมูลและรหัสต่างๆ มาใช้ในระบบงานบริการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทุกสถานบริการ 12 แฟ้ม และ18 แฟ้ม สำหรับสถานีอนามัย พบปัญหาจากการติดตั้งระบบงานโปรแกรมของแต่ละสถานบริการแตกต่างกันออกไปทำให้เกิดลักษณะการใช้งานรหัสและโครงสร้างข้อมูลแตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขเคยกำหนด ทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งขณะนี้อยู่ ในระหว่างการแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพต่อไป

  28. 4. ระบบสนับสนุนทรัพยากร วิชาการ การวิจัย และระบบข้อมูลข่าวสาร (ต่อ) 3) การวิจัยเพื่อการพัฒนาสุขภาพ - การพัฒนาระบบสุขภาพและบริการด้านสาธารณสุข จำเป็นต้องมี พื้นฐานหลักฐาน จากงานวิจัย - ระบบวิจัยสุขภาพของประเทศไทยกำลังประสบปัญหาหลายด้าน ได้แก่ ขาดองค์กรนำ ที่ชัดเจน ขาดทรัพยากรที่เพียงพอและขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ - ควรพัฒนาระบบการวิจัยเพื่อการพัฒนาสุขภาพ ทั้งในเรื่อง การจัดทำกฎหมายสำหรับ การวิจัยสุขภาพเฉพาะ การสนับสนุนทรัพยากรทุกด้าน การจัดตั้งองค์กรอิสรt บริหารงานวิจัย เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการงานวิจัย

  29. สถานการณ์คนพิการ รายงานการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พบว่าประเทศไทยมีคนพิการทั้งสิ้นประมาณ 1.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชากรไทยทั้งประเทศไทย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 3.0 และ 2.7 ตามลำดับ) โดยแบ่งความพิการเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ทางการมองเห็น ทางการได้ยิน ทางกาย ทางจิตใจ ทางสติปัญญา ความพิการซ้ำซ้อน ไม่ระบุความพิการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความพิการทางกายจำนวน 414,096 คน คิดเป็นร้อยละ 48.39 รองลงมาได้แก่การได้ยิน 117,907 คน คิดเป็นร้อยละ 13.67 ของ คนพิการทั้งหมดที่จดทะเบียน 855,973 คน อีกทั้งพบว่าส่วนใหญ่อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 191,394 คน รองลงมาได้แก่ภาคกลางและภาคตะวันออกจำนวน 114,776 คน

  30. สถานการณ์ผู้สูงอายุ ปัจจุบันประเทศมีประชากรผู้สูงอายุทั่วประเทศ 7,020,700 คน คิดเป็นร้อยละ 10.7 ของประชากร รวมทั้งประเทศ จากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 50 มีโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรค ที่พบบ่อย เป็นอันดับ 1 คือ โรคความดันโลหิตสูง รองลงมาเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคอัมพาตอัมพฤกษ์ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย - โรคความดันโลหิตสูง - โรคเบาหวาน - โรคหัวใจ - โรคมะเร็ง - โรคหลอดเลือดสมอง - โรคอัมพาตอัมพฤกษ์ ชาย 26.7 9.5 5.0 0.4 1.5 2.7 หญิง 35.7 16.4 5.0 0.6 1.6 2.3

  31. สถานการณ์ปัญหายาเสพติดสถานการณ์ปัญหายาเสพติด สถานการณ์ปัญหายาเสพติดยังคงเพิ่มสูงขึ้น จากการสำรวจเพื่อประมาณการจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในปี 2551 มีจำนวน 605,095 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีจำนวน 575,312 คน โดยผู้เข้ารับการรักษาใน ปี 2550 มีจำนวน 59,691 คน ปี 2551 มีจำนวน 84,841 คน ซึ่งสาเหตุของสถานการณ์ยาเสพติดมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น เนื่องจาก 1. ปริมาณยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยาบ้า เฮโรอีน และไอซ์ มีจำนวนมาก 2. มีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง 3. กลุ่มนักค้าเก่าที่เป็นรายสำคัญ กลุ่มนักค้าที่ถูกจับกุมและได้รับการประกันตัวหรือพักการลงโทษ กลับมาเคลื่อนไหว 4. กลุ่มนักค้ารายใหม่ (ประมาณร้อยละ 70) 5. นักค้าชาวต่างชาติมากกว่า 54 สัญชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาเกี่ยวข้องกว่าร้อยละ78.9 ในปี 2553 ประมาณว่าจะมีต้องหาถูกจับกุม 260,000 คน และมีผู้เข้ารับการบำบัดรักษาประมาณ 120,000 คน

  32. การแบ่งกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกรมการแพทย์การแบ่งกลุ่มผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกรมการแพทย์ กลุ่มผู้รับบริการของกรมการแพทย์ คือ 1 บุคคลกรทางการแพทย์ 2 ผู้ป่วยและญาติ 3 ประชาชน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกรมการแพทย์ คือ 1 องค์กรอื่นๆ ภาครัฐทั้งในและต่างประเทศ 2 องค์กรอื่นๆ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ (คณะทำงานดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 3)

  33. ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวทาง/วิธีการสื่อสาร (คณะทำงานดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 3)

  34. ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแนวทาง/วิธีการสื่อสารความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแนวทาง/วิธีการสื่อสาร (คณะทำงานดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 3)

  35. ความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแนวทาง/วิธีการสื่อสารความต้องการและความคาดหวังที่สำคัญของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแนวทาง/วิธีการสื่อสาร (คณะทำงานดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 3)

  36. มุมมองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมุมมองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 1. ด้านการศึกษาวิจัย : ควรดำเนินการวิจัยคลินิกร่วมกับมหาวิทยาลัย 2. การกำหนดคุณภาพการรักษา : เสนอให้ทำ CPG ที่มีมาตรฐานในภาพของประเทศ 3. Technology Assessment (TA) : ให้ทำร่วมกับสปสช. สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง 4. การรับส่งต่อ : เสนอให้จัดระบบรับส่งต่อให้มีคุณภาพ 5. การเป็น Comprehensive Center หรือ National Center : เสนอให้กรมการแพทย์เป้นผู้ชี้แนะนโยบาย และต้องมี ข้อมูลพื้นฐานในภาพรวมของประเทศ 6. การที่กรมการแพทย์จะเป็น Tertiary Care ต้องปรับลด Primary Care และ Secondary Care สมาคมโรงพยาบาลเอกชน 1. ควรทำ CPG ที่เหมาะสมกับคนไทยในระดับประเทศ และจัดทำการวิจัยคลินิกร่วมกับหน่วยงานภายนอก 2. จัดหน่วยงานให้ชัดเจนว่าจะดำเนินงานในระดับ PrimaryCare Secondary Care หรือ Tertiary Care 3. Resource Management การผลิตแพทย์ประจำบ้านของให้เปิดกว้างรับแพทย์จากภาคเอกชนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งภาคเอกชนยินดีให้การสนับสนุน โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 1. กรมการแพทย์ควรดูแลมาตรฐานการผลิตแพทย์ให้มี มาตรฐานการผลิตให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 2. จัดระบบการรับการส่งต่อให้เป็นรูปธรรม 3. จัดทำ CPG ในภาพของประเทศให้เป็นรูปธรรมสำหรับ โรงพยาบาลทุกระดับไปรับใช้ได้ ข้อมูลจากงานประชุมวิชาการกรมการแพทย์ประจำปีงบประมาณ 2553 วันที่ 10 สิงหาคม 2553

  37. ค่าเฉลี่ยความพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเภทผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียค่าเฉลี่ยความพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเภทผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  38. ค่าเฉลี่ยความพอใจ/ไม่พอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเภทหน่วยงานผู้ให้บริการค่าเฉลี่ยความพอใจ/ไม่พอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเภทหน่วยงานผู้ให้บริการ เฉลี่ย 83.33 ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  39. ค่าเฉลี่ยความพอใจ/ไม่พอใจ ของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ (ภาพรวม)แยกตามประเด็นคุณภาพการให้บริการ เฉลี่ย 83.33 ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  40. ค่าเฉลี่ยความพอใจ/ไม่พอใจของผู้รับบริการด้านการรักษาพยาบาลที่มีต่อสถานพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเด็นคุณภาพการให้บริการค่าเฉลี่ยความพอใจ/ไม่พอใจของผู้รับบริการด้านการรักษาพยาบาลที่มีต่อสถานพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเด็นคุณภาพการให้บริการ เฉลี่ย 83.67 ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  41. ค่าเฉลี่ยความพอใจ/ไม่พอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานริการในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเด็นคุณภาพการให้บริการค่าเฉลี่ยความพอใจ/ไม่พอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานริการในสังกัดกรมการแพทย์แยกตามประเด็นคุณภาพการให้บริการ เฉลี่ย 82.33 ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  42. ค่าเฉลี่ยความพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ค่าเฉลี่ยความพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีต่อการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  43. ร้อยละของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานสังกัดกรมการแพทย์ที่รู้จักกรมการแพทย์ร้อยละของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานสังกัดกรมการแพทย์ที่รู้จักกรมการแพทย์ ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  44. ข้อมูลแสดงความไม่พอใจ 5 อันดับแรก ต่อการรักษาพยาบาล ข้อมูลแสดงความพอใจ 5 อันดับแรก ต่อการรักษาพยาบาล • 1. บริการช้าคนเยอะมาก • 2. ไม่มีเก้าอี้นั่งรอ • 3. ห้องน้ำไม่สะอาด • 4. ป้ายบอกทางไม่ชัดเจน วกวน • 5. การประสานงานต่างๆช้า • 6. รอคิวนาน (การจ่ายเงิน/การรับยา/การ • ติดต่อต่างๆ) • 7. เจ้าหน้าที่พูดจาไม่สุภาพ • 8. ไม่ได้รับข้อมุลเกี่ยวกับโรค และ • การปฏิบัติตน • 9. วันเสาร์ อาทิตย์ หยุดปฏิบัติงานในส่วนที • สำคัญ • 10. แพทย์แต่งกายไม่สุภาพ 1. ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ 2. บุคลากรอัธยาศัยดี/บริการดี 3. ความสะอาดของสถานที่ 4. มาตรฐานทางการแพทย์ ห้องพัก/ อาหาร 5. การให้คำแนะนำของแพทย์ รายงานการปะเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ ปีงบประมาณ 2552ข้อมูลกลุ่มติดตามประเมินผล กองแผนงาน กรมการแพทย์

  45. ผลการประเมินนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดีผลการประเมินนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี

  46. ผลการประเมินนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดีผลการประเมินนโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี

  47. รายงานผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณรายงานผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จในการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ ผลผลิต องค์ความรู้ด้านสุขภาพได้รับการศึกษา วิจัย และถ่ายทอด ผลผลิต ผู้เสพ ผู้ติดยาและสารเสพติดได้รับการบำบัดรักษา และฟื้นฟู คะแนนที่ได้ คะแนนเต็ม ปัญหาที่พบจากผลการดำเนินงาน 1.เป้าหมายของการให้บริการของกรมการแพทย์ไม่ได้แสดงถึงสัดส่วนความสัมพันธ์ต่อค่าเป้าหมายการให้บริการกระทรวง/เป้าหมายระดับชาติ 2. กรมการแพทย์ไม่ได้สำรวจถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดผลผลิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับกระทรวง/เป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติ 3. การกำหนดตัวชี้วัดของกรมการแพทย์ยังไม่ครอบคลุมทุกระดับ โดยเฉพาะตัวชี้วัดในระดับกิจกรรมหลัก เพื่อติดตามผลความก้าวหน้าตามระยะเวลาที่กำหนด 4. กรมการแพทย์ไม่ได้นำผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา มาใช้พิจารณาเพื่อปรับเป้าหมายตัวชี้วัดผลผลิต 5. หน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์ไม่ได้แสดงการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและปรับปรุงการดำเนินงาน

  48. การรับส่งต่อผู้ป่วย การรับ – ส่งต่อผู้ป่วยระดับติติยภูมิ เฉพาะโรคหรือเฉพาะทาง เป็นภารกิจในการให้บริการของ กรมการแพทย์ โดยในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2552 – มีนาคม 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,339 ราย จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่รับการส่งต่อในสถานพยาบาลกรมการแพทย์ จำนวน 7 แห่ง โดยผู้ป่วยที่ ส่งต่อมามีปัญหาความเจ็บป่วยมากที่สุดได้แก่ 1. โรคเนื้องอก ร้อยละ 8.9 2. โรคของระบบไหลเวียนโลหิต ร้อยละ 8.3 3. โรครูปร่างผิดปกติแต่กำเนิดการพิการจนผิดรูป ร้อยละ 3.5 โดยโรงพยาบาลชุมชนมีการส่งต่อมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.6 รองลงมาได้แก่โรงพยาบาล ทั่วไป ร้อยละ 29.7 และโรงพยาบาลเอกชน ร้อยละ 14.0 ทั้งนี้ สาเหตุของการส่งต่อที่สำคัญ มีดังนี้ 1. เพื่อการรักษา ร้อยละ 71.4 2. แพทย์นัด ร้อยละ 41.6 3. เกินความสามารถ ร้อยละ 16.1

  49. การเตรียมการรองรับการพัฒนาหน่วยงานกรมการแพทย์ปีงบประมาณ 2554 1. จัดตั้งกองทุนสนับสนุนงานวิชาการ ให้การสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยที่สอดคล้องกับ นโยบายขององค์กร และสนับสนุนการพัฒนางานวิชาการด้านอื่นๆ 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัยทางคลินิก และการประเมิน เทคโนโลยีทางการแพทย์ พร้อมทั้งกองทุนสนับสนุนทางวิชาการจะให้งบประมาณ สำหรับดำเนินการวิจัยโครงการละไม่เกิน 1 แสนบาท 3. งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในต้างประเทศระยะยาว – ระยะกลาง 21,9432 ล้านบาท 4. งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในต่างประเทศระยะสั้น 7 ล้านบาท 5. งบประมาณสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในประเทศ 1.8425 ล้านบาท

More Related