1 / 213

บทที่ 5 Digital Media ทิศทางของสื่อดิจิตอล

บทที่ 5 Digital Media ทิศทางของสื่อดิจิตอล. เมื่อเราพูดถึงคำว่า “ สื่อสาร ” หลายคนคงคิดถึงอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ใกล้ตัวเช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ซึ่งคำนี้มาจาก “ สื่อ ” หมายถึงตัวกลาง (Media) ที่นำพา

eagan
Download Presentation

บทที่ 5 Digital Media ทิศทางของสื่อดิจิตอล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5Digital Media ทิศทางของสื่อดิจิตอล

  2. เมื่อเราพูดถึงคำว่า “สื่อสาร” หลายคนคงคิดถึงอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ใกล้ตัวเช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ซึ่งคำนี้มาจาก “สื่อ” หมายถึงตัวกลาง (Media) ที่นำพา • “สาร” หมายถึง ข้อความ ข่าวสาร (Information) ที่เกาะติดมากับ สื่อ ถ้ามองไปรอบตัวเรา “ตัวสื่อ” จะเป็นอุปกรณ์ และ “ตัวสาร” มักจะเป็นเนื้อหา หรือ “Contents” ที่อยู่ในสื่อนั้น เช่น เทปเพลง มีเทปเป็น “สื่อ” และเพลงเป็น “สาร” เป็นต้น

  3. สื่ออนาลอก • เนื่องจาก “สาร” อย่างเช่น เสียงเพลง โดยปกติแล้วเป็นสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลง แบบต่อเนื่อง (Analogue) ทำให้ “สื่อ” ที่จะนำ “สาร” ชนิดนี้ไปได้ ก็ต้องสามารถรองรับ การทำงานเหล่านี้ได้ เช่น เทปเพลง มีเพลงเป็นสัญญาณเสียง ที่มีการเปลี่ยนระดับความดังและความถี่แบบต่อเนื่อง การบรรจุเพลง ลงบนเนื้อเทป โดยการปรับความเข้มของสนามแม่เหล็กที่อยู่บนเนื้อเทป ให้เหมาะสมกับสัญญาณสียง การนำพาเทปเพลงไปในที่ต่าง ๆ เพื่อกิจกรรมการฟัง ก็เป็น การสื่อสาร รูปแบบหนึ่ง

  4. “สื่อ” (Media) ที่สามารถนำ “สาร” (contents) ที่เป็นสัญญาณทางธรรมชาติที่ต่อเนื่อง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สื่ออนาลอก” หรือ “Analogue Media” รูปที่ 1-1 ระบบสัญญาณแบบอนาล๊อก

  5. สื่อดิจิตอล • ระบบดิจิตอล มีพื้นฐานมาจากตัวเลข 1 และ 0 ในยุคแรกเริ่มเมื่อประมาณ 30-40 ปีมานี้เอง เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาตำแหน่งพื้นที่ และต่อมา ก็พัฒนาไปเป็นเครื่องมือ ในการนับจำนวนประชากร ของประเทศสหรัฐอเมริกา พื้นฐานการทำงานจะอาศัยตัวเลข และใช้ทฤษฎีทางด้านคณิตศาสตร์ ที่เรียกว่า “Discrete Math” และการประมวลผลสามารถทำได้เฉพาะข้อมูลที่เป็น ตัวเลข กับ ตัวอักษร เท่านั้น

  6. ความคล่องตัวของเทคโนโลยีดิจิตอลนี้ ทำให้เกิดความพยายามที่จะพัฒนา และเจริญเติบโตนี้ เช่น • Digital Electronics • Computation Technique • Digital Signal Processing (DSP) • Image Processing • Optical Processing • Information Transmission • และอื่น ๆ อีกมากมาย พื้นฐานเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ดิจิตอล สามารถนำมาใช้กับ “สาร” ที่เป็นสัญญาณที่ต่อเนื่องได้ ประกอบกับเทคโนโลยีของ สารกึ่งตัวนำที่ทำให้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ มีความเร็วสูง มีขนาดเล็กลง การทำงานมีรูปลักษณ์เป็นไปตามเวลาจริง (Real Time) การควบคุม ที่สามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ทำให้ผลงานเป็นที่ต้องการของผู้ใช้โดยทั่วไป

  7. ถึงอย่างไรก็ตาม ยังมีนักพัฒนาบางท่าน ให้ความเห็นว่า ปัญหาใหญ่ของอุปกรณ์ ที่นำมาใช้กับข้อมูลที่เป็นเสียงวีดิทัศน์ ที่ต้องการความเร็ว ในการคำนวณสูงมาก และใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำ จำนวนมาก จึงน่าจะมีเทคโนโลยีอื่น ที่ทำได้ดีกว่า เทคโนโลยีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เช่น การประมวลผลโดยใช้แสง เป็นต้น และระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน ที่มีต้นแบบมาจากเครื่องจักรคำนวณ ของนายนอยมาร์นน่าจะหมดอายุลงไปได้แล้ว เช่นเดียวกันกับ รถยนต์ที่มีต้นแบบเครื่องยนต์มากจากไม้ฟืน (ถ่าน) เป็นเชื้อเพลิง แต่ก็คงเป็นเรื่องของอนาคต ที่ยังหาคำตอบไม่ได้ในขณะนี้

  8. รูปที่ 1-2 สื่อดิจิตอลในปัจจุบัน

  9. การถ่ายภาพ • การถ่ายภาพ แต่เดิมนั้นเราใช้ฟิล์ม ในการรับภาพการปรับแสง และ โฟกัสของเลนส์ คุณภาพของเลนส์ และ คุณภาพของฟิล์มเป็นหลักประกันในการให้ได้ภาพที่คมชัด ตอมาระบบการปรับ Auto-Focus ทำให้การถ่ายภาพของคนที่ไม่ใช่มืออาชีพก็สามารถให้ภาพคมชัดได้

  10. กล้องถ่ายรูปดิจิตอล • กล้องถ่ายรูปดิจิตอล อุปกรณ์รับภาพเปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ที่เรียกกันว่า Charge Coupled Device (CCD) ความคมชัดขึ้นอยู่กับ แสง โฟกัส และ BIT Resolution ของ CCD เมื่อได้ภาพที่ต้องการ ภาพจะถูกเก็บลง หน่วยความจำ (Memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูทำได้โดยการถ่ายข้อมูล จากหน่วยความจำ ลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้มีขนาดตามที่ต้องการ สามารถ ย่อ/ขยาย แล้วแต่ความพอใจ แสง/เงา หรือ จะเพิ่มรูปแบบ ก็สามารถทำได้และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย ถ่ายภาพซ้ำได้เลยไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิล์มอีก

  11. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิตอลกล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิตอล • กล้องถ่ายวีดิทัศน์ แบบอนาลอกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ระบบโดยทั่วไป ก็คล้ายกับกล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอล โดยมีอุปกรณ์รับภาพ CCD ทำหน้าที่รับภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณภาพ (ไฟฟ้า) แล้วจึงบันทึกลงในตลับ ที่เรียกกันติดปากว่า “ม้วนวิดีโอเทป” คุณภาพของภาพ จึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของ เล็นซ์ ที่ใช้กับความสามารถของ CCD ในการแปลงภาพ ให้ออกมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า ความละเอียดของภาพจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของจุดรับภาพบน CCD มีหน่วยวัดเป็น จุด หรือ Pixel และเทคโนโลยีทีที่ใช้ทำ CCD

  12. การตัดต่อวีดิทัศน์ ด้วยขบวนการตัดต่อวีดิทัศน์ อย่างไม่เป็นลำดับ (Non-Linear Video Editing) • สามารถทำได้ด้วยระบบดิจิตอลเท่านั้น ซึ่งเป็นขบวนการ ในการปรับแต่ง ภาพวีดิทัศน์ที่ถ่ายทำมาให้ดูดี มีคุณภาพ ตัดสิ่งที่ไม่ต้องการออก ใส่หัวเรื่อง เสียง ทำให้คุณภาพ ของการถ่ายทำน่าดูมากขึ้น การทำงานของขบวนการตัดต่อวีดิทัศน์แบบดิจิตอลนี้ จะต้องนำภาพทั้งหมดใส่ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Hard Disk แล้วจึงทำการตัดต่อด้วยโปรแกรมตัดต่อ (Video Editing Software) เมื่อตัดต่อเสร็จแล้ว อาจจะส่งภาพกลับมาอยู่ในม้วนเทปวีดิทัศน์ หรือ การทำเป็น Video-CD หรือ DVD

  13. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิตอลกล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิตอล

  14. ระบบเสียงดิจิตอล • อุปกรณ์ในการบันทึกเสียงแต่เดิมนั้นใช้ เทป แผ่นเสียง แต่อุปกรณ์เหล่านี้กำลังถูกเปลี่ยนไป การจัดเก็บ โดยแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิตอล จากนั้นจึงนำไปเข้ารหัสก่อน (เพื่อประหยัดเนื้อที่เป็นแฟ้มข้อมูลแบบ WAV แล้วจึงเก็บลงใน Hard Disk หรือ CD-ROM

  15. การตัดต่อ การนำไปปรับปรุง แต่งเติม ด้วยขบวนการอย่างไม่เป็นลำดับ (Non-Linear Audio Editing) • การนำเอาเสียงตนตรีที่มีรูปแบบแฟ้มข้อมูลแบบ MIDI การนำเสียงจากที่ต่าง ๆ มาผสมผสานใหม่ขบวนการจัดการกับเสียงแบบดิจิตอลนี้ ทำให้ ศิลปิน สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และตรงกับใจของตัวเองได้มากที่สุด รวมไปถึงขบวนการของระบบเสียงใหม่ ๆ อย่างเช่น Dolby Digital Stereo เป็นระบบเสียงสองช่องเสียง ที่บันทึกแบบดิจิตอล หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง อย่าง 5.1 Digital Surround Sound เป็นต้น

  16. นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการสื่อสารที่มาใหม่ ได้แก่ Webcast, Web-TV , วิทยุทางอินเตอร์เน็ต… ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณ ที่ความเร็วต่ำ มาทางสายโทรศัพท์ มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งข้อมูลเป็นแบบสารธาร (Streaming Data) ที่ทำให้การส่งทั้งภาพวีดิทัศน์ และเสียง สามารถส่งมาพร้อมกันได้

  17. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ดิจิตอล(Digital Television) • ความต้องการภาพที่คมชัดกว่าเดิม สัดส่วนจอภาพที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเดิมเป็นแรงผลักดันไปสู่การแพร่สัญญาณภาพ และการแสดงภาพที่หน้าจอวิทยุโทรทัศน์ในแบบดิจิตอลและทำให้ค้นพบว่า การส่งสัญญาณสื่อสารในระบบดิจิตอลนั้น เป็นการลดขนาดของช่องสื่อสารสัญญาณ (Bandwidth) ให้เล็กลง สัญญาณรบกวนต่ำกว่าแบบอนาลอก และให้ความคมชัดของภาพสูงมากขึ้น • จะเห็นได้ว่า สื่อดิจิตอล เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาทดแทนสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อทำให้ราคาถูกลงและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ สร้างประสิทธิภาพที่ดีกว่า เอื้อต่อประโยชน์ต่อการใช้สอย ที่มากกว่าเดิมมาก…

  18. รูปที่ 1-4 เครื่องรับสัญญาณ วิทยุโทรทัศน์ดิจิตอล

  19. การทำงานของสื่อดิจิตอลการทำงานของสื่อดิจิตอล • กล้องถ่ายรูปแบบดิจิตอล มีระบบการทำงานอย่างไร? คุณภาพของภาพที่ออกมากจะสู้กล้องแบบเดิมได้หรือเปล่า? ใช้ฟิล์มของใครดีกว่ากัน? พื้นฐานการทำงานของ กล้องถ่ายรูปดิจิตอลกับกล้องวีดิทัศน์ดิจิตอลเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร? และถ้าจะซื้อไว้ใช้ส่วนตัว จะเลือกซื้อแบบธรรมดาหรือแบบดิจิตอล? แบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน? คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามที่พบอยู่เสมอในยุคสมัยที่อยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยนเช่นปัจจุบัน • แต่สำหรับอนาคต คำถามจะเปลี่ยนเป็น.. รูปภาพที่เรารับส่งกันทางสายโทรศัพท์ เป็นรูปแบบเดียวกันกับภาพ ที่ได้จาก กล้องถ่ายภาพดิจิตอลหรือเปล่า? ภาพขาว-ดำที่ โทรสาร (FAX) ส่งมานั้นดูไม่เข้าใจเลยกรุณา “FAX” ภาพสีมาให้ด้วย…

  20. หลักการพื้นฐานของสื่อดิจิตอล (Digital Media) • หลักการพื้นฐานของสื่อดิจิตอล (Digital Media) ก็คือ รูปแบบของข้อมูลต้องเป็นตัวเลข จากรูปแบบข่าวสาร อย่างเช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ เสียง เป็นต้น รูปแบบเหล่านี้เมื่อรับเข้ามาต้องถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลแบบตัวเลขฐานสอง (Binary Number) ที่สามารถเก็บลงใน ตัวกลางแบบดิจิตอล (Digital Media) และเมื่อต้องการนำกลับมาสู่รูปแบบเดิม (รูปภาพ วีดิทัศน์ เสียง) จะต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเลขเหล่านี้ ให้กลับไปเป็นรูปแบบเดิม (รูปภาพ วีดิทัศน์ เสียง)

  21. สัมผัสของธรรมชาติ • ข้อมูลข่าวสารโดยทั่วไปเป็นสิ่งที่เราสามารถสัมผัสได้ในรูป-รส-กลิ่น-เสียง-ความร้อน สัมผัสเหล่านี้เป็นเนื้อหา ที่เราต้องการนำมาเก็บเอาไว้ หรือส่งต่อให้ผู้อื่น และเป็นสัมผัสที่สามารถสังเคราะห์ด้วยขบวนการ ทางไฟฟ้า ได้เช่น ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อุณหภูมิ ร้อน-หนาว แต่ก็มีบางสัมผัสที่เราไม่สามารถสังเคราะห์ทางไฟฟ้าได้ เช่น กลิ่น รสชาติ จึงยังคงเป็นข้อจำกัด ที่ยังไม่สามารถ นำมาใช้กับสื่อดิจิตอล (Digital Media) ได้

  22. A/D Converter and ENCODER • ข่าวสาร ที่เป็นสัญญาณธรรมชาติ จะต้องระบบตรวจจับ (Transducer) สัญญาณเหล่านี้อย่างเช่น การถ่ายภาพ ที่กล้องถ่ายภาพจะมีแผงรับภาพ CCD ทำหน้าที่รับภาพ (แสง ประกอบมาจาก 3 สีคือ แดง-เขียว-น้ำเงิน หรือ Red-Green-Blue RGB) จากนั้น CCD จะทำหน้าที่ เปลี่ยนภาพที่รับได้มานั้น ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า จุดนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการ อนาลอก

  23. ต่อจากนั้น จึงนำเอาสัญญาณที่ได้มานี้ ส่งต่อมาที่ ขบวนการแปลงให้เป็นดิจิตอล (Digitized) โดยใช้อุปกรณ์เปลี่ยนสัญญาณที่เรียกว่า A/D (Analog to Digital Converter) เพื่อให้ได้มีรูปแบบข้อมูลเป็นเลขฐานสอง (Binary Number)

  24. เนื่องจากข้อมูลที่นำเข้ามานี้ มีจำนวนมาก มากเกินกว่าที่จะจัดเก็บหรือนำไปใช้ ดังนั้น จึงต้องมีขบวนการลดทอนข้อมูล ที่เรียกว่า การเข้ารหัส (ENCODER) เป็นการทำให้ขนาดของข้อมูลเหมาะสมต่อการนำมาใช้งาน อย่างเช่น การส่งต่อไปยังช่องสื่อสาร การจัดเก็บ และรูปแบบของการเข้ารหัสจะมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะการนำมาใช้งาน เช่น MPEG เป็นมาตรฐานของการเข้ารหัส ภาพและเสียง มีระดับความเหมาะสมหลายระดับ หรือมาตรฐานอื่นเช่น AVI ก็เป็นมาตรฐานของการเข้ารหัส ภาพและเสียง เช่นกัน การเข้ารหัสของภาพเช่น BMP, J-PEG

  25. มาตรฐานของการเข้ารหัสแต่ละแบบ มีประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน บางแบบเน้นที่คุณภาพ ความต่อเนื่อง บางแบบจะเน้นที่ความประหยัดในการจัดเก็บ คุณภาพลดลง แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเนื้อหา มาตรฐานบางแบบเน้นไปที่การส่งผ่านไปตามระบบสื่อสาร เช่น INTERNET แต่ไม่มีระบบมาตรฐานใด ที่เหมาะสมสำหรับทุก ๆ ความต้องการ ที่จะใช้งาน… ข้อมูล (DATA) ที่อยู่ในมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง สามารถเปลี่ยนไปสู่มาตรฐานอื่นได้ แต่เนื้อหาของข้อมูลอาจจะลดลงไปบ้าง (Loss) ส่วนจะลดลงมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดเก็บ และการจัดเก็บในบางแบบอาจจะไม่มีการสูญเสียเลย

  26. ตัวกลาง (Media) • สัมผัสที่เราเปลี่ยนมาเป็นข้อมูล (Data) ที่คอมพิวเตอร์รู้จัก เราอาจจะจัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูล หรือส่งต่อไปในระบบสื่อสารข้อมูล (Computer Networking) เป็นระบบการสื่อสารที่เรียกกันว่า “Broadband Communication System” ที่มีการสื่อสารที่เป็น แฟ้มข้อมูล (DATA FILE) และแบบสารธารข้อมูล (STREAMING DATA) และจุดเด่นของ สื่อดิจิตอล (Digital Media) ก็คือ ค่าความสูญเสียของข้อมูลในระหว่างที่ทำการสื่อสารมีน้อยมาก เพราะระบบมีการชดเชยความสูญเสียเหล่านี้

  27. DECODER and D/A • ขบวนการถอดรหัส (Decoder) และการแปลงสัญญาณกลับสู่สัญญาณทางธรรมชาติ (Digital to Analog, D/A) นั้นเกิดขึ้นเมื่อเราต้องการนำข้อมูลที่เป็นดิจิตอลกลับมาใช้งาน เช่นต้องการดูวีดิทัศน์ที่เก็บไว้ในแผ่น CD โดยวิธการแล้วอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องเล่น CD จะทำหน้าที่อ่านข้อมูลที่อยู่ในแผ่น CD มาทำการถอดรหัส (Decode) และการสร้างรูปแบบสัมผัสให้กลับมาเหมือนเดิม (Digitized) ด้วยอุปกรณ์ “D/A Converter” ขบวนการเหล่านี้เป็นความพยายามที่จะให้ได้สัมผัส หรือ ภาพที่เหมือนเดิมให้มากที่สุด

  28. ข้อดีของสื่อดิจิตอล • 1. ความคงทน คุณภาพของสิ่งที่อยู่ใน “Digital Media” การเสื่อมสภาพจะใช้เวลานานกว่า เพราะรูปแบบของข้อมูลที่จัดเก็บแบบ .สองระดับ” (0 กับ 1) โอกาสที่จะผิดเพี้ยนจะเกิดขึ้นได้ยากกว่า ข้อมูลแบบต่อเนื่อง เช่น การบันทึกภาพลงในวีดิทัศน์แบบอนาลอก กับการบันทึกภาพลงวีดิทัศน์ ในระบบดิจิตอล เมื่อเส้นเทปยืด การอ่านข้อมูลกลับมาในแบบดิจิตอลนั้น จะทำได้ง่ายกว่า และสามารถทำให้ได้ข้อมูลกลับมาได้เหมือนเดิมได้ง่ายกว่า แต่สำหรับอนาลอก จะให้คุณภาพของภาพ ที่ลดลงโดยทันที

  29. 2. รูปแบบของการนำไปใช้งานทำได้หลากหลายวิธี ข้อมูลที่จัดเก็บในแบบดิจิตอล ถือได้ว่า เป็นข้อมูลกลาง ที่สามารถแปลงไปสู่รูปแบบอื่นได้ง่ายเช่น ถ่ายรูปด้วยกล้องดิจิตอล เมื่อได้เป็น ข้อมูลภาพออกมาแล้ว จากนั้น สามารพิมพ์ภาพลงบนกระดาษหรือการแสดงภาพบนจอคอมพิวเตอร์ หรือแสดงภาพบนจอทีวี ก็ได้เช่นกัน

  30. 3. การนำไปผสมผสานกับสื่อรูปแบบอื่นเช่น ภาพถ่าย นำมารวมกับเสียง มีการแสดงแบบ Multi-Media

  31. 4. การปรับแต่ง(Edit)เป็นการปรับแต่งสื่อที่เป็นภาพถ่าย วิดีโอ เสียงนกร้อง… นำมาปรับแต่งให้ดีขึ้นกว่าเดิม การสอดแทรก สิ่งเหล่านี้ทำให้น่าดู น่าฟัง มากกว่าปกติ มีความวิจิตรพิสดาร

  32. ข้อเสียของสื่อดิจิตอลข้อเสียของสื่อดิจิตอล • เป็นสิ่งที่ง่ายต่อการกระทำผิดศิลธรรม การละเมิดในสิทธิของผู้อื่น เช่น การนำเอาภาพของบุคคลหนึ่ง มาตัดต่อกับภาพเปลือยกายของอีกคนหนึ่ง หรือ การทำซ้ำ (Copy) กับ งานสื่อ ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง เป็นต้น • ถึงอย่างไรก็ตาม จากข้อดี ที่มีคุณสมบัติเด่นมากมายเหล่านี้ ทำให้แนวโน้มของอุปกรณ์สื่อในอนาคต สามารถพัฒนาขึ้นเป็นสื่อดิจิตอล (Digital Media) และมีแนวทางของการพัฒนา ให้มีคุณภาพดีขึ้นทุกขณะ และราคาถูกลงอย่างเหลือเชื่อ…

  33. มาตรฐานของวีดิทัศน์ดิจิตอลมาตรฐานของวีดิทัศน์ดิจิตอล • การพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานกลางของ วีดิทัศน์ดิจิตอล ได้ก่อกำเนิดขึ้นจากความร่วมมือของบริษัทชั้นนำทางด้านวีดิทัศน์ดิจิตอล นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย และผู้สนใจอีกมาก เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานกลาง สำหรับนำไปใช้กับขบวนการ วีดิทัศน์ สื่อวีดิทัศน์ และรวมไปถึงการแพร่ภาพทางโทรทัศน์โดยเรียกชื่อมาตรฐานนี้ว่า “MPEG” ความร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อผลักดันมาตรฐานนี้ อาจจะไม่ใช้มาตรฐานที่ดีที่สุด แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรฐานที่มีคุณสมบัติแบบเปิด (Open System) ที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ตามมาตรฐานนี้สามารถใช้ทดแทนกันได้

  34. MPEG คืออะไร • MPEG มาจากคำว่า Moving Pictures Expers Group เป็นการทำงานของคณะบุคคลหลายสาขาอาชีพ ได้เข้ามากำหนดมาตรฐานสำหรับ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง โดยกำหนดเป็นมาตรฐานภายใต้ ISO (Internal Standards Organization) และ International Electrotechnical Commission (IEC) มาตรฐานนี้บางส่วนได้มีการประกาศและนำไปใช้งานแล้ว และบางส่วนยังอยู่ในระหว่าง กำหนดรายละเอียด

  35. โดยแบ่งออกเป็น

  36. MPEG-1 • ประกาศเป็นมาตรฐานที่ ISO/IEC-11172 เริ่มในปี 1992 เป็นวีดิทัศน์ดิจิตอล ที่มีทั้งภาพและเสียงที่คุณภาพในระดับใช้งานทั่วไป พบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ Video CD ได้แก่ VCD, SVCD, DVCD

  37. MPEG-1 เป็นจุดเริ่มต้นในความชัดเจนของมาตรฐานที่ให้คำตอบว่า “Digital Video” สามารถเข้ามาทดแทนระบบ Analog แบบเดิมได้ ผลิตผลที่ออกมาในรูปของ Video-CD ที่กำลังเข้ามาแทนที่เทปวีดิทัศน์ (Video Tape) เพราะให้คุณภาพที่ทัดเทียมกันการใช้งานการจัดเก็บการผลิตที่ดีกว่าและราคามีแนวโน้มที่ทัดเทียมกัน

  38. MPEG-2 • ประกาศเป็นมาตรฐานที่ IOS/IEC-13818 เริ่มในปี 1995 ใช้เทคโนโลยีที่ปรับปรุงมาจาก MPEG-1 แต่เน้นไปที่คุณภาพที่ดีกว่า พบเห็นได้ในระบบ DVD และ Digital TV

  39. จากความสำเร็จของ MPEG-1 จึงได้สร้างมาตรฐานใหม่โดยเน้นไปที่คุณภาพของภาพโดยให้ชื่อว่า MPEG-2 .ในปัจจุบันนับได้ว่ามาตรฐานนี้นิ่งแล้วไม่มีการปรับเปลี่ยนอีกแล้ว… ถึงแม้ว่า MPEG-2 จะมีการกำหนดรายละเอียดย่อยออกเป็นหลายประเภท (Profile) แต่ละประเภท ยังมีข้อปลีกย่อยออกไปอีกเป็นระดับ (Level)

  40. กิจกรรมของขบวนการสื่อจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น ในขั้นตอน Post-Production ควรเป็น P@MLมีการจัดเก็บที่ยังคงนำไปตัดต่อได้ แต่เมื่อผ่านพ้นขบวนการนี้ไปแล้ว ควรเก็บไว้แบบMP@MLเพราะใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บน้อยกว่ากันมาก และง่ายต่อการนำไปเผยแพร่ หรือการทำเป็นแผ่น DVD… ผลิตผลที่ออกมาในรูปของ DVD จึงเป็นชนิดหนึ่ง (Profile) ของ MPEG-2 ที่ใช้สำหรับเผยแพร่ออกเป็นแผ่น DVD ทำให้ภาพของ Digital Video มีความชัดเจนอย่างแท้จริง ด้วยคุณภาพที่ทัดเทียมกับ Laser Disk (LD) แต่ค่าใช้จ่ายในการผลิตที่ต่ำกว่ากันมาก

  41. MPEG-3 • เป็นการเน้นไปที่ HDTV (Hi-Definition TV) แต่ปรากฎว่า สามารถใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ MPEG-2 ได้ ดังนั้น มาตรฐานนี้ให้ไปรวมอยู่ใน MPEG-2

  42. MPEG-4 • ประกาศเป็นมาตรฐานที่ IOS/IEC-14496 เริ่มในปี 1998 (ver. 1) โดยมีแนวทางในการจัดส่งภาพและเสียง การตอบสนอง และการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้ความเร็วต่ำให้ที่สุด เพื่อให้การส่งข้อมูลในลักษณะนี้ผ่านทางระบบ Interner ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  43. MPEG-4 เป็นอีกมาตรฐาน ที่กำลังเป็นคู่แข่งในขบวนการเผยแพร่บน ระบบอินเตอร์เน็ตกันอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเรียกได้ว่ามาตรฐานนี้ยังไม่นิ่ง แต่ก็มีความชัดเจนออกมามากที่เดียวเป็นความพยายามที่จะลดขนาดข้อมูล คล้ายกับ MPEG-1, MPEG-2 โดยทำให้มีขนาดข้อมูลที่เล็กกว่า

  44. ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่เป็น MPEG-4 ส่วนมากจะใช้ Software CODEC อย่างเช่น Windows Media Technology ของ Microsoft และคาดว่าจะมีการผลิตออกมาเป็นอุปกรณ์เฉพาะ (Integrated Circuits หรือ IC) ที่มีทั้งการ Encode และ Decode และการทำออกมาเป็น Set Top Box…

  45. ขบวนการเหล่านี้จะเป็นข้อพิสูจน์ของ MPEG-4 ที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นมาตรฐานของการเผยแพร่แบบความเร็วต่ำ (Low bit rate) ไปบนระบบสื่อสารอินเตอร์เน็ต และรวมไปถึงการแพร่ในแบบ Hi-Bitrate ไปบนระบบเครือข่ายที่เรียกว่า “Broadband Communication”

  46. ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายราย อย่างเช่น PHILIPS, Optibase… ได้ประกาศแนวทางของอุปกรณ์ที่เป็น MPEG-4 ที่มีทั้ง Encode และ Decode ที่ประกอบลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และที่เป็น “Set Top Box” และมีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งก็คือ อุปกรณ์เหล่านี้จะทำงานได้ทั้ง MPEG-1, MPEG-2 และ MPEG-4

  47. MPEG-7 • เป็นการจัดเก็บและค้นหาส่วนประกอบของข้อมูลเราได้อะไรจากแนวทางของ MPEG

  48. แนวทางวีดิทัศน์ดิจิตอล นั้นมีมาหลายปีแล้ว สำหรับบ้านเรายังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และเป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนในขบวนการจากระบบเดิม (อนาลอก) ไปสู่ระบบดิจิตอล การเลือกใช้มาตรฐานกลาง ที่มีขบวนการพัฒนามาอย่างมีระบบ มีการเปิดเผยรายละเอียด ที่ผู้ผลิตสามารถนำไปผลิตได้ เป็นแนวทางที่ไม่หยุดนิ่ง มีแนวทางที่ครอบคลุมไปสู่อนาคตอย่างทั่วถึง ดังนั้น “MPEG” จึงเป็นการป้องกันการผูกขาดจากผู้ผลิตอุปกรณ์ ความเข้ากันได้ด้วยระบบมาตรฐานกลางจะทำให้ทั้งขบวนการจัดทำไปจนถึงการเผยแพร่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ถูกผูกขาดจากผู้ผลิตและอยู่ภายใต้ราคาที่สมเหตุสมผล…

  49. MPEG-2 Technology • ถ้าลองย้อนมามองดูมาตรฐานของระบบโทรทัศน์ในปัจจุบัน NTSC 525 เส้น 60Hz กับ PAL 625 เส้น 50Hz เป็นมาตรฐานที่เป็นไปตาม ITU-RBT.601 เมื่อนำเอามาตรฐานนี้มาทำการส่งแบบดิจิตอลจะต้องใช้ Bandwidth 6MHz หรือความเร็วในการสื่อสาร 270Mbit/s

  50. ในโลกของการสื่อสารแบบอนลอก ที่นำเอา NTSC/PAL ใช้การ Modulate แบบ AM-VSB ที่ได้ใช้กันมานานกว่า 60 ปีระบบนี้เมื่อนำมาเข้ารหัสแล้วส่งออกไปในรูปของ SDTV (Standard Digital TV) ก็คงทำได้ทันที แต่ด้วยความต้องการภาพที่ดีกว่าในระบบ HDTV (Hi-Definition TV) ทำให้ต้องใช้ Bandwidth สูงขึ้นกว่า 5 เท่าหรือความเร็วสื่อสารมากถึง 1.485Gbit/s จะเห็นได้ว่าแนวทางนี้ ถ้าไม่มีการบีบอัดข้อมูลแล้ว นับได้ว่าไม่มีทาง เป็นไปได้อย่างแน่นอน

More Related