1 / 23

การพยากรณ์การเกิดโรคหัด โดยใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลา พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ.2556

การพยากรณ์การเกิดโรคหัด โดยใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลา พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ.2556. กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.10. คณะผู้จัดทำ. ภูมิพัฒน์ ภูวธนานนท์ เฉลิมพล เจนวิทยา อิ่นคำ อินทะขันธ์ รัตนา สันติอาภรณ์ พิษณุพร สายคำทอน. วัตถุประสงค์.

Download Presentation

การพยากรณ์การเกิดโรคหัด โดยใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลา พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ.2556

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพยากรณ์การเกิดโรคหัด โดยใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลาพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ.2556 กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.10

  2. คณะผู้จัดทำ • ภูมิพัฒน์ ภูวธนานนท์ • เฉลิมพล เจนวิทยา • อิ่นคำ อินทะขันธ์ • รัตนา สันติอาภรณ์ • พิษณุพร สายคำทอน

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาระบาดวิทยาการเกิด การกระจาย ของเกิดโรคหัด ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ระหว่างปี 2546 -2555 • เพื่อพยากรณ์การเกิดโรคหัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ. 2546

  4. ฐานข้อมูล • ข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรค R506 พ.ศ.2546 – 2555 • ข้อมูลประชากรกลางปี 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน • ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล

  5. วิธีการศึกษา • เป็นศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นสูง • การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติค่าความถี่ จำนวน ร้อยละ อัตราและอัตราส่วน โดยวิเคราะห์ข้อมูล • สถานการณ์การเกิดและการกระจายของโรคโดยใช้อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน • การพยากรณ์การเกิดโรคล่วงหน้า ใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ หรือเทคนิคการทำให้เรียบ • ยกกำลังสามของ วินเตอร์ (Winters model) • รวบรวมข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคหัด ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาค เหนือตอนบน • ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลในส่วนของลักษณะรูปแบบสถานการณ์การเกิดโรค การ • กระจายของโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ และปัจจัยการได้รับวัคซีน

  6. ผลการศึกษา • แนวโน้มทั่วไปของอัตราป่วย ปี 2546 - 2555

  7. 5 ปีแรก 2546 -2550 • มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2546 ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด ลำพูน ลำปาง และพะเยา และมีแนวโน้มขึ้นๆลงๆอยู่ในช่วง 2 ปี ตั้งแต่กลางปี2546 จนถึงสิ้นปี 2548 และโดยเฉพาะต้นปี2549มีรายงานผู้ป่วยสูงถึง 152ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 2.64 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และพะเยา

  8. ในช่วง 5 ปีหลัง(2551-2555) • มีรูปแบบอัตราป่วยในลักษณะมีจำนวนผู้ป่วยสูงตั้งแต่ต้นปี 2551 ถึงปลายปี 2552 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พะเยา และแพร่ ในช่วงตั้งแต่ต้นปี 2553 ถึงปัจจุบันมีการรายงานจำนวนผู้ป่วยขึ้นๆลงๆแต่ไม่มีจำนวนผู้ป่วยสูงเกินกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

  9. การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคหัด ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จากรายงาน 506 ปี 2555 (31 กรกฎาคม) - พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 320 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 5.25 ต่อประชากรแสนคน - ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต - พบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานอย่างชัดเจนตั้งแต่เมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม โดยพบจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในเดือนกรกฎาคม มีจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 70 ราย รองลงมได้แก่เดือน มิถุนายน 52 ราย มกราคม 45 ราย

  10. รูปแสดงอัตราป่วยต่อแสนประชากรในระดับอำเภอในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 – 31 กรกฎาคม 2555

  11. ผลการศึกษา อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดใน 3 อันดับแรก • อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน อัตราป่วย 142.50 ต่อประชากรแสนคน • อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อัตราป่วย 25.56 ต่อประชากรแสนคน • อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และ 23.32 ต่อประชากรแสนคน

  12. ผลการศึกษา (ต่อ) • พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นเพศชาย 159 ราย และเพศหญิง 143 ราย อัตราส่วนการป่วยเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.11 : 1 • กลุ่มอายุพบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ • กลุ่มอายุ 0-4 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 44.3 ต่อประชากรแสนคน • กลุ่มอายุ 5 - 9 ปีและ 10 - 14 ปีคิดเป็นอัตราป่วย 19.11 • 8.62 ต่อประชากรแสนคน

  13. รูปแสดงอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ด้วยโรคหัด จำแนกตามพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม -2555ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555

  14. ผลการศึกษา (ต่อ) • - จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อัตราป่วยเท่ากับ 13.46 ต่อประชากรแสนคน • จังหวัด เชียงรายอัตราป่วยเท่ากับ8.96 ต่อประชากรแสนคน • จังหวัด เชียงใหม่อัตราป่วยเท่ากับ6.53 ต่อประชากรแสนคน

  15. จากสถานการณ์การเกิดโรคหัดในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึง2554

  16. การพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2557 โมเดลของวินเตอร์ : Yt = [ß0 + ß1t] (S t) (C t) (I) เมื่อ t = ช่วงเวลาที่มีระยะห่างเท่ากัน ๆ กัน (ต่อเนื่องกัน) Yt= ค่าจริงเมื่อเวลา t (จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน) ß0= ระยะตัดแกน (ส่วนประกอบถาวร) ß1t = ค่าความชันของแนวโน้ม (ของข้อมูลชุดนี้) S t= ค่าดัชนีฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เมื่อเวลา t (1 – 12 เดือน) I = ค่าความไม่แน่นอน (ให้ค่าเท่ากับ 1)

  17. ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วย 10 ปีย้อนหลัง(ปี2546 – 2555) ประมวลผลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จะได้ ß0= 54.34 ß1t = 0.35 Alpha = 0. 7000000 Gamma = 0.0000000 Delta = .0000000 และ SSE= 71097.85299

  18. ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 (ต่อ) จะได้จำนวนผู้ป่วยโรคหัดในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้ Y1 = [ 54.34 + (0.35) (1) ] (1.11) = 61 ราย Y2 = [ 54.34 + (0.35) (2) ] (1.50)= 82 ราย Y3 = [ 54.34 + (0.35) (3) ] (1.51)= 83 ราย Y4 = [ 54.34 + (0.35) (4) ] (1.04)= 57 ราย Y5 = [ 54.34 + (0.35) (5) ] (0.85)= 47 ราย Y6 = [ 54.34 + (0.35) (6) ] (1.09)= 60 ราย Y7 = [ 54.34+ (0.35) (7) ] (1.28)= 70 ราย Y8 = [ 54.34 + (0.35) (8) ] (1.08)= 56 ราย Y9 = [ 54.34 + (0.35) (9) ] (0.79)= 43 ราย Y10 = [ 54.34 + (0.35) (10) ] (0.67)= 37 ราย Y11 = [ 54.34 + (0.35) (11) ] (0.53)= 29 ราย Y12 = [ 54.34 + (0.35) (12) ] (0.53)= 29 ราย ปี 2556 คาดว่าน่าจะมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดประมาณ 657 ราย โดยเดือน มีนาคม มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด เท่ากับ 83 ราย

  19. ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2557 จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วย 11 ปีย้อนหลัง(ปี2546 – 2556) ประมวลผลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จะได้ ß0= 52.13 ß1t = 0.02 Alpha = 0. 8000000 Gamma = 0.0000000 Delta = .0000000 และ SSE= 76520.97027

  20. ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 (ต่อ) จะได้จำนวนผู้ป่วยโรคหัดในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้ Y1 = [ 52.13 + (0.02) (1) ] (1.17) = 61 ราย Y2 = [52.13 + (0.02) (2) ] (1.55)= 81 ราย Y3 = [52.13 + (0.02) (3) ] (1.51)= 79 ราย Y4 = [52.13 + (0.02) (4) ] (1.08)= 56 ราย Y5 = [52.13 + (0.02) (5) ] (0.91)= 48 ราย Y6 = [52.13 + (0.02) (6) ] (1.21)= 63 ราย Y7 = [52.13 + (0.02) (7) ] (1.29)= 67 ราย Y8 = [52.13 + (0.02) (8) ] (1)= 52 ราย Y9 = [52.13 + (0.02) (9) ] (0.73)= 38 ราย Y10 = [52.13 + (0.02) (10) ] (0.60)= 31 ราย Y11 = [52.13 + (0.02) (11) ] (0.47)= 25 ราย Y12 = [52.13 + (0.02) (12) ] (0.47)= 25 ราย ปี 2557 คาดว่าน่าจะมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดประมาณ 626 ราย โดยเดือน กุมภาพันธ์ มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด เท่ากับ 81 ราย

  21. การคาดการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 - 2557

  22. ข้อควรคำนึงถึง - ในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายกำจัดโรคหัดให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2563 อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น - การเปิดเขตกาค้าเสรีอาเซียนในปี 2558 ก็อาจส่งผลให้พบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งแรงงานเหล่านี้ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด

  23. ข้อเสนอแนะ - นำผลการพยากรณ์โรคมาช่วยวางแผนและกำหนดทิศทางการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคในปีถัดไป - นำข้อมูลไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของพื้นที่ และนำวิธีการไปศึกษาในพื้นที่ที่แคบลงเพื่อจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์โรคในพื้นที่นั้นๆได้ดียิ่งขึ้น

More Related