1 / 23

ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี รถจักรยานยนต์จากชิ้นส่วนเก่าหรือ อุปกรณ์ที่ใช้แล้ว

ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี รถจักรยานยนต์จากชิ้นส่วนเก่าหรือ อุปกรณ์ที่ใช้แล้ว. ความหมาย.

edolie
Download Presentation

ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี รถจักรยานยนต์จากชิ้นส่วนเก่าหรือ อุปกรณ์ที่ใช้แล้ว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี รถจักรยานยนต์จากชิ้นส่วนเก่าหรือ อุปกรณ์ที่ใช้แล้ว

  2. ความหมาย รถจักรยานยนต์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้จำกัดความว่า “รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า และพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน 2 ล้อ ถ้ามีพวงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกิน 1 ล้อ

  3. ลักษณะการประกอบอุตสาหกรรมลักษณะการประกอบอุตสาหกรรม การประกอบกิจการของผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่จะมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นผู้ผลิตจักรยานยนต์ โดยผลิตชิ้นส่วน ผลิตเครื่องยนต์ และประกอบเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป เพื่อจำหน่าย และมีการผลิตชิ้นส่วนอะไรจำหน่าย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบอุสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ไทย ฮอนด้าเมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด บริษัท ไทยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ฯลฯ

  4. 2. เป็นผู้ผลิตจักรยานยนต์ เป็นผู้ประกอบรถจักรยานยนต์ ซื้อเครื่องยนต์ชิ้นส่วนอะไหล่ มาเพื่อใช้ในการประกอบรถจักรยานยนต์ โดยการซื้อวัตถุดิบในประเทศหรือการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาใช้ในการประกอบ เช่น บริษัท ธนสารยนต์ จำกัด ฯลฯ 3. เป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ โดยการจ้างให้บริษัทอื่นเป็นผู้ประกอบรถจักยานยนต์และเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบทั้งหมด ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ซื้อจากภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น บริษัท ไทยเกอร์ มอเตอร์ จำกัด ฯลฯ 4. เป็นผู้รับจ้างผลิตรถจักรยายนต์ โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบทั้งหมด เช่น บริษัท มิลเลนเนี่ยมมอเตอร์ จำกัด 5. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรายย่อย เช่น ร้านรับซ่อมมอเตอร์ไซค์ทั่วไป ฯลฯ

  5. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ 1. พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 2. พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 3. พระราชบัญญัติจัดสรรภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 4. หนังสือเวียนกรมสรรพสามิต 4.1 หนังสือกรมสรรพสามิต ที่ กค 0616/ว44 ลงวันที่ 20 มกราคม 2552 เรื่อง รถจักรยานยนต์ประกอบจากชิ้นส่วนเก่านำเข้า มีสาระสำคัญดังนี้

  6. 4.1.1 ผู้นำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศ (ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์ได้ยกเลิกการนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์) ต้องชำระภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สำนักงานศุลกากร และด่านศุลกากรที่นำเข้า 4.1.2 หากมีการนำชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์เก่ามาประกอบเป็นรถจักรยานยนต์ผู้ประกอบอุตสาหกรรม (จดทะเบียน) ต้องทำหนังสือแจ้งก่อนนำรถออกจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยยื่นหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานการนำเข้า ชิ้นส่วนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อกำหนดมูลค่า และต้องยื่นแบบรายการชำระภาษี ภษ.01-12 4.1.3 เมื่อผู้ประกอบอุตสาหกรรม(จดทะเบียน) ชำระภาษีแล้วให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่รับชำระภาษี มีหนังสือราชการรับรองการชำระภาษีของรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปยังกรมการขนส่งทางบทเพื่อทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

  7. 4.2 หนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมากที่ กค 0616/ว175 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว มีสาระสำคัญดังนี้ 4.2.1 ยกเลิกหนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว341 ลงวันที่ 7 เมษายน 2552 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว หากมีการยื่นขอชำระภาษีรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือ ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว ขอให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กรมสรรพสามิตเพื่อประกอบพิจารณา

  8. 4.2.2 กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนสรรพสามิตสินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว 4.2.3 กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจแบบแจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม สินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว 4.3 หนังสือกรรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว160 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว มีสาระดังนี้

  9. กรมสรรพสามิตได้รวบรวมรายการรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ รุ่นต่างๆ ที่ได้มีการอนุมัติมูลค่าเพื่อใช้เกณฑ์ในการคำนวณภาษี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารการจัดเก็บภาษี กรณีที่ไม่ปรากฏตามรายการในบัญชี ขอให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กรมสรรพสามิตพิจารณากำหนดมูลค่าเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีต่อไป ทั้งนี้ เมื่อมีการกำหนดมูลค่าเพิ่มเติม สามารถติดตามบัญชีมูลค้าได้จาก website กรมสรรพสามิต http://www.excise.go.th 4.4 หนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว685 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เรื่อง การจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว มีสาระสำคัญดังนี้

  10. เพื่อให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ ใช้แล้วเป็นมาตรฐานเดียวกัน ให้สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่รับชำระภาษีรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว ส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กรมสรรพสามิตพิจารณากำหนดมูลค่าเพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีก่อนรับชำระภาษี 4.5 หนังสือกรมสรรพสามิต ด่วนมาก ที่ กค 0616/ว265 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2555 เรื่องการจัดเก็บภาษีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ผลิตหรือประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว

  11. อัตราภาษี 1. อัตราภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 30 2. อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตรายกเว้นภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 104 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2555 (ไม่ใช้บังคับสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ผลิตรถจักรยานยนต์จากอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่ใช้แล้ว) 2.1 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 150 ลูกบาศก์เวนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 3 2.2 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยล่ะ 5

  12. 2.3 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 10 2.4 ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 20 2.5 อื่นๆ ได้รับการยกเว้นภาษี

  13. มูลค่าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี 1. กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วย 2. กรณีสินค้าที่นำเข้า ให้ถือตามราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้า บวกด้วยอากร ขาเข้าค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดในพระราชกฤษฎีกา โดยรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วย (แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  14. ความรับผิดในการชำระภาษีความรับผิดในการชำระภาษี 1. กรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร เกิดขึ้นในเวลา 1.1 นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือนำสินค้าไปใช้ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือเป็นการนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม 1.2 นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่การนำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนไปเก็บไว้ที่คลังสินค้าทัณฑ์บนอื่น 1.3 กรรีการซื้อขายหรือให้เช่าสินค้าก่อนนำส่งออกจากโรงอุตสาหกรรม (ซึ่งทำให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

  15. 2. กรณีสินค้านำเข้า ให้ถือว่าความรับผิดในอันต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากร สำหรับกรณีนำเข้าสินค้าตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร

  16. สถานที่ยื่นชำระภาษี ผู้ประกอบอุตสาหกรรม รถจักรยานยนต์ สามารถยื่นชำระภาษีได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้ 1. สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หรือ ถ้ามีหลายให้ยื่นคำร้องขอยื่นแบบและชำระภาษีรวม ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ 2. กรณีนำเข้า ให้ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี ณ กรมศุลกากร หรือ ด่านศุลกากร หรือ ที่ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดให้มีการผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า

  17. วิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิตวิธีการคำนวณภาษีสรรพสามิต แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ 1. กรณีที่ผลิตในประเทศ 2. กรณีนำเข้าจากต่างประเทศ กรณีที่ผลิตในประเทศ

  18. ตัวอย่างการคำนวณภาษี กรณีที่ผลิตในราชอาณาจักร บริษัท ฮอนด้า จำกัด ผลิตรถจักรยานยนต์ ออกจากโรงงานอุสาหกรรม จำนวน 5 คัน ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม (รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต 3,000 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี 300 บาท รวมภาษีต้องชำระ 3,300

  19. กรณีนำเข้าจากต่างประเทศกรณีนำเข้าจากต่างประเทศ ตัวอย่างการคำนวณภาษี บริษัทผู้นำเข้ารายหนึ่ง นำเข้ารถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ จำนวน 1 คัน ราคา ซี.ไอ.เอฟ. 123,622.08 บาท (คือ ราคา + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 89,008.00 บาท และอัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 3

  20. จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต 6,079 บาท พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทยร้อยละ 10 ของค่าภาษี = 607.9 บาท รวมภาษีต้องชำระ = 6,668.90 บาท

  21. ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิตขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการชำระภาษีสรรพสามิต 1. หนังสือแสดงความจำนงขอชำระภาษีหรือหนังสือมอบอำนาจจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม 2. เอกสารการนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ เช่น อะไหล่ตัวรถ (Frame)ฯลฯ 3. ใบเสร็จรับเงินค่าประกอบรถจักรยานยนต์ 4. รูปถ่ายรถจักรยานยนต์ด้านหน้าและด้านข้าง 5. ใช้กระดาษลอกลายหมายเลขตัวรถ หมายเลขเครื่องยนต์ให้เห็นชัดเจน 6.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือทะเบียนบ้านเจ้าของรถจักรยานยนต์

  22. ปัญหาการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้วปัญหาการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้ว 1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจดทะเบียนสรรพสามิต - แจ้งราคา ณ โรงอุตสาหกรรม ต่ำกว่าเป็นจริง 2. การรับชำระภาษีของพื้นที่ - ตรวจแบบแจ้งฯไม่เป็นตามหนังสือสั่งการของกรมสรรพสามิต (ที่ กค 0616/ว175 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554) - รับชำระตามแบบแจ้งฯ โดยไม่รอกรมฯ กำหนดมูลค่า - เป็นกรมฯ กำหนดมูลค่าฯ ออกไป พื้นที่ ไม่ได้ดำเนินการ

  23. 3. การดำเนินการตรวจสอบภาษีของพื้นที่ไม่เป็นตามกรอบของกฏหมายและระเบียบของกรมสรรพสามิต 4. มีการตรวจสอบการชำระภาษีของผู้ประกอบอุตสาหกรรมจดทะเบียนโดยหน่วยงานอื่น หรือพื้นที่อื่น - ไม่ตรวจสอบข้อมูลการเสียภาษีให้ชัดเจนก่อนออกหนังสือรับรอง หมายเลขเครื่องยนต์ไม่ตรงกับเสียภาษีไว้ 5. กรณีรับชำระภาษีจากผู้ประกอบฯ รายคัน โดยไม่ตรวจสอบรายละเอียดของรถจักรยานยนต์ ซึ่งรับชำระภาษีจักรยานยนต์คันที่ถูกเจ้าพนักงานยึดหรืออายัดไว้เพื่อดำเนินคดี

More Related