1 / 32

แนวคิดทางการบัญชี

แนวคิดทางการบัญชี. http://acct0310.wordpress.com. การบัญชี. ศิลปของการเก็บรวบรวม บันทึกจำแนก และทำสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลขั้นตอนสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการ. สมการทางการบัญชี.

elina
Download Presentation

แนวคิดทางการบัญชี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวคิดทางการบัญชี http://acct0310.wordpress.com

  2. การบัญชี • ศิลปของการเก็บรวบรวม บันทึกจำแนก และทำสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลขั้นตอนสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการ

  3. สมการทางการบัญชี • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + (รายได้-ค่าใช้จ่าย) • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ – ค่าใช้จ่าย • สินทรัพย์ + ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้

  4. การบัญชี • ขั้นตอนการจดบันทึก (Recording) • การวัดมูลค่า (Measuring) • การแปลความหมาย (Interpreting) • การรายงานข้อมูลทางการเงิน (Communicating)

  5. การต่อเชื่อมกลยุทธ์และมาตรฐานการบัญชีการต่อเชื่อมกลยุทธ์และมาตรฐานการบัญชี ทฤษฎีบัญชี กลยุทธิ์ทางธุรกิจ การดำเนินการ งบการเงิน การเปิดเผยข้อมูล การวิเคราะห์ งบการเงิน มาตรฐานการบัญชี การตรวจสอบและการควบคุม

  6. การพัฒนาการบัญชี • การบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting) • การบัญชีพฤติกรรม (Behavioral Accounting) • การบัญชีรัฐบาล (Governmental Accounting) • การบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental, Green Accounting) • การบัญชีสำหรับธุรกิจที่ไม่แสวงหากำไร (Not-for-profit Accounting)

  7. แนวคิดและข้อสมมติทางบัญชีแนวคิดและข้อสมมติทางบัญชี • Accounting Concept • เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินและเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้เพื่อกำหนดมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (GAAP) รวมทั้งนำไปใช้ในการกำหนดกฎเกณฑ์ ลักษณะ หน้าที่และข้อจำกัดของการบัญชี และการจัดทำรายงานทางการเงิน

  8. แนวคิดและข้อสมมติทางบัญชีแนวคิดและข้อสมมติทางบัญชี • ประกอบด้วย • ข้อสมมุติฐาน (Postulates) • เป็นข้อสมมติฐานขั้นมูลฐานที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ • หลักการ (Principles) • เป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายการและการวัดมูลค่ารายการทางบัญชี โดยหลักการสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท • Input-Oriented Principles • Output-Oriented Principles

  9. แนวคิดและข้อสมมติทางบัญชีแนวคิดและข้อสมมติทางบัญชี Input-Oriented การบันทึกข้อมูลรายงานบัญชี Output-Oriented การแสดงรายงานและข้อมูล ทางการบัญชี

  10. ข้อสมมติฐาน (Postulate) • หลักราคาทุน • การดำเนินงานต่อเนื่อง • หลักการรอบบัญชี • หลักความเป็นหน่วยงาน • หลักการใช้หน่วยเงินตรา

  11. หลักการ (Principles) • Input-Oriented Principles • หลักการที่เกี่ยวข้องกับดำเนินการ • หลักการรับรู้รายงาน • หลักการจัดคู่รายได้และค่าใช้จ่าย • หลักการเกี่ยวกับข้อจำกัด • หลักความระมัดระวัง • หลักการเปิดเผยอย่างเพียงพอ • หลักการมีนัยสำคัญ • หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม

  12. หลักการ (Principles) • Output-Oriented Principles • สำหรับผู้ใช้งบการเงิน • หลักการเปรียบเทียบกันได้ • สำหรับผู้จัดทำงบการเงิน • หลักความสม่ำเสมอ • หลักความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

  13. หลักราคาทุน • Historical Posting • หลักราคาทุนใช้วัดมูลค่าได้ทั้งสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งราคา ณ วันที่ได้มา (Acquisition Cost) ซึ่งเป็นราคาในอดีต

  14. การดำเนินงานต่อเนื่องการดำเนินงานต่อเนื่อง • Going Concern • หลักการดำรงอยู่ของกิจการ • กิจการทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อการดำรงอยู่ตลอดไปให้บรรลุวัตถุประสงค์และภาระผูกผันที่กิจการมีอยู่ โดยสมมติว่ากิจการไม่มีความจำเป็นที่จะเลิกกิจการหรือลดขนาดของการดำเนินงานอย่างมีสาระสำคัญ

  15. หลักรอบเวลา • Time Period • เป็นหลักของการแบ่งรอบบัญชีเป็นช่วงๆ เพื่อการเสนอรายงานการเงิน โดยแบ่งเวลาเป็นช่วงสั้นๆ เช่น เป็นไตรมาส เป็นเดือน หรือ เป็นปี โดยการแบ่งเป็นช่วงเวลานั้นจะทำให้การนำเสนองบการเงินเพื่อรายงานผลการดำเนินงานและรายงานฐานะการเงินของกิจการตามระยะเวลานั้น

  16. หลักความเป็นหน่วยงาน • Entity • เป็นหลักการที่กำหนดว่าข้อมูลทางการบัญชีเป็นข้อมูลของหน่วยงานหรือกิจการ ดังนั้นข้อมูลทางบัญชีของกิจการจึงควรแยกต่างหากออกจากผู้เป็นเจ้าของและแยกออกจากกิจการอื่นๆ รวมทั้งเมื่อแยกออกจากเจ้าของและกิจการอื่นแล้วจึงควรระบุหน่วยงานไว้ในงบการเงินด้วย

  17. หลักการใช้หน่วยเงินตราหลักการใช้หน่วยเงินตรา • Monetary Unit • เป็นหลักการที่กำหนดว่าหน่วยเงินตราจะเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนซึ่งแสดงถึงราคาของรายการนั้นๆ ดังนั้นในการนำเสนอข้อมูลรายงานทางการเงินนั้นจึงต้องกำหนดหน่วยเงินตราให้ชัดเจนจะใช้หน่วยใดในการนำเสนอข้อมูลชัดเจนเพื่อช่วยในการวิเคราะห์และนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้อย่างดี รวมทั้งสอดคล้องกับหลักการเปรียบเทียบกันได้

  18. หลักการรับรู้รายงาน • Recognition • หลักการเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาในการรับรู้รายการและการรับรู้จำนวนเงินในการบันทึกรายการของกิจการ • หลักการพิจารณา • มีความเป็นไปได้ค้อนข้างแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของกิจการจะเข้าหรือออกจากกิจการ เช่น การซื้อหรือขายสินทรัพย์ • สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้อย่างน่าเชื่อถือ เช่น ราคาซื้อหรือขายสินทรัพย์

  19. หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายหลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย • Matching Concept • หลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่ายเป็นการบันทึกและรายงานค่าใช้จ่ายในงวดคู่กับหลักการเกิดขึ้นรายได้ โดยเป็นการวัดความพยายามกับความสำเร็จ

  20. หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายหลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย • ประกอบด้วย 4 ประเภท • การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดทั้ง 2 รายการ เช่น ต้นทุนขายกับรายได้จากการขาย • การจับคู่ต้นทุนที่เกิดประโยชน์กับงวดเวลาที่เกิด เช่น เงินเดือน • การจัดสรรต้นทุนตลอดเวลาที่เกิดประโยชน์ เช่น ค่าเสื่อมราคา • การบันทึกค้าใช้จ่ายในงวดเวลาที่เกิด แต่ประโยชน์เกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่าโฆษณา ค่าวิจัยและพัฒนา

  21. หลักความระมัดระวัง • Conservatism Concept • เป็นการใช้ดุลยพินิจในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเพื่อไม่ให้สินทรัพย์หรือรายได้แสดงจำนวนสูงเกินไป และไม่แสดงรายการหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายต่ำเกินไป หรือ การบันทึกสินทรัพย์และกำไรด้วยจำนวนขั้นต่ำที่คาดว่าจะได้รับ และบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินสูงสุดที่คาดว่าจะเกิดขึ้น • เช่น การรับรู้มูลค่าสินค้าคงเหลือตามราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า

  22. หลักการเปิดเผยอย่างเพียงพอหลักการเปิดเผยอย่างเพียงพอ • Disclosure • เป็นการกำหนดว่ากิจการควรเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วน โดยในการเปิดเผยข้อมูลให้ครบถ้วนนั้นอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำรายการบางรายได้โดยข้อมูลที่จะเปิดเผยอย่างเพียงพอนั้นต้องคำนึงถึงต้นทุนด้วยค่าคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับหรือไม่ มากเกินไป ไม่เพียงพอ

  23. หลักการมีนัยสำคัญ • Materiality • งบการเงินควรเปิดเผยข้อมูลที่มีความสำคัญในเชิงตัวเลข โดยถ้าไม่นำเสนอรายการนั้นจะทำให้รายงานทางการเงินนั้นผิดพลาดซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินได้ • ประมาณ 5-10 % ของกำไรสุทธิ

  24. หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรมหลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม • Objectivity • เป็นการบันทึกรายการบัญชีโดยจัดทำภายใต้หลักฐานและข้อเท็จจริงอันเที่ยงธรรมที่บุคคลทั่วไปยอมรับและเชื่อถือโดยปราศจากความลำเอียงและสามารถพิสูจน์และยืนยันได้

  25. หลักการเปรียบเทียบกันได้หลักการเปรียบเทียบกันได้ • Comparability • เป็นหลักการที่กำหนดว่างบการเงินที่มีคุณภาพควรจะเปรียบเทียบกันได้โดยในการเปรียบเทียบในเรื่องของการแสดงมูลค่า การเปรียบเทียบนั้นอาจเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างปีปัจจุบันกับอดีตของบริษัท หรือ การเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมในปีปัจจุบันนั้น

  26. หลักความสม่ำเสมอ • Consistency • กิจการควรเลือกวิธีปฎิบัติทางการบัญชีใดแล้ว ควรกำหนดให้ใช้วิธีปฎิบัติดังกล่าวตลอดไป ยกเว้นเมื่อกิจการเห็นว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีปฎับัติใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

  27. ข้อสมมติฐานทางการบัญชีเพิ่มเติมข้อสมมติฐานทางการบัญชีเพิ่มเติม • หลักโดยประมาณ (Estimate Principle) • หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance Over Form) • หลักเกณฑ์เงินค้าง (Accrual Basis)

  28. หลักโดยประมาณ • Estimate Principle • เป็นหลักการประมาณการที่กิจการใช้ในการบันทึกบัญชี เช่น การประมาณการราคาซาก การประมาณอายุการใช้งาน การประมาณหนี้ที่เก็บไม่ได้ ซึ่งกิจการจำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

  29. หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบหลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ • Substance Over Form • เป็นหลักที่ใช้ในการบันทึกบัญชีโดยอิงเนี้อหาทางเศรษฐกิจมากกว่าทางกฎหมาย เช่นการเช่าซื้อ

  30. หลักเงินค้าง • Accrual Basis • หลักการที่ใช้บันทีกบัญชีโดยไม่อาศัยการพิจารณาว่าจะมีการรับหรือจ่ายเงินสดหรือสิ่งเทียบเท่าเงินสดเมื่อไร

  31. การบ้านและแบบฝึกหัด • เลือกงบการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และจงบอกแนวคิดทางการบัญชีที่บริษัทนั้นๆใช้ และเพราะอะไร?

  32. สัปดาห์หน้า • แม่บททางการบัญชี • นำเสนอแบบฝึกหัด

More Related