1 / 3

โครงการธนาคารอาหารชุมชน (เกษตรวิชญา) ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

โครงการธนาคารอาหารชุมชน (เกษตรวิชญา) ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ความเป็นมา.

Download Presentation

โครงการธนาคารอาหารชุมชน (เกษตรวิชญา) ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการธนาคารอาหารชุมชน (เกษตรวิชญา) ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นมา ปี 2544 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำริที่จะมอบที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่สวนบ้านกองแหะ หมู่ที่ 4 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยี การเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในรูปแบบของศูนย์บริการและถ่าย -ทอดเทคโนโลยีชุมชนรวมทั้งฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารธรรมชาติและมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และจากเหตุผลดังกล่าวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังพื้นที่สวนบ้านกองแหะ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2544 ทรงมีพระดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการสำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อให้ได้แนวทางที่เหมาะสมต่อการเกษตร ปี 2545 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับมอบพื้นที่ จำนวน 1,350 ไร่ โดยมอบให้หน่วยงานในสังกัดเข้าดำเนินการ ส.ป.ก. รับผิดชอบพื้นที่ 123 ไร่ ดำเนินงานโครงการธนาคารอาหารชุมชน โดยดำเนินการแบบกรมป่าไม้เช่นเดียวกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และกิจกรรมดังกล่าวอยู่ในแผนงานพัฒนาพื้นที่และถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นการสร้างแหล่งผลิตอาหารธรรมชาติ จำนวน 80 ไร่ (พื้นที่ธนาคารอาหารชุมชนมีเนื้อที่ 123 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำประมาณ 25 ไร่ พื้นที่ลำห้วย ถนน และอื่นๆ ประมาณ 18 ไร่ และพัฒนาเป็นพื้นที่ธนาคารอาหารชุมชนประมาณ 80 ไร่) ปี 2546 ส.ป.ก. เริ่มใช้ชื่อโครงการ “ธนาคารอาหารชุมชน ในโครงการเกษตรวิชญา” มีวัตถุ ประสงค์เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งรวบรวมพืชสมุนไพรและผลิตอาหารตามธรรมชาติ ปี 2547 คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการพระราชดำริ (กปร.) สนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรือนเพาะชำและเครื่องสูบน้ำ สำหรับกิจกรรมอื่นๆ ใช้งบประมาณ ส.ป.ก. ทิศทางการดำเนินงาน/การมีส่วนร่วมของ ส.ป.ก. - พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่และนอกพื้นที่โครงการฯ - ฟื้นฟูและอนุรักษ์เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน บริเวณรอบๆ โครงการ - เป็นสถานที่ศึกษา/ดูงาน สำหรับเกษตรกรและบุตร หลานในเขตปฏิรูปที่ดิน

  2. วัตถุประสงค์ • - เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม อนุรักษ์แหล่งน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกื้อกูลกันทั้งระบบ • - เป็นแหล่งรวบรวมพัฒนาพืชและสมุนไพรให้มีความหลากหลาย มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของ ชุมชน • พัฒนาระบบนิเวศของป่าไม้ให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ เกื้อกูลกับการเพาะพันธุ์สัตว์ธรรมชาติ • เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารตามธรรมชาติ ทั้งพืชผัก ผลไม้ พืชสมุนไพรสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรและยุวเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ดำเนินงาน บ้านกองแหะ หมู่ที่ 4 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ผลการดำเนินงาน (ปี 2546 - 2554) • ก่อสร้างอาคารเรือนเพาะชำ พร้อมเครื่องสูบน้ำและ • อุปกรณ์ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า (งบประมาณ กปร.) • ปลูกต้นไม้ต่างๆ ในพื้นที่ 80 ไร่ จำนวน 42,000 ต้น - เพาะพันธุ์พืชและพืชสมุนไพร เพื่อปลูกในพื้นที่ โครงการและแจกจ่ายแก่สมาชิก • ดูแลรักษาพื้นที่โครงการ จัดทำแนวกันไฟรอบพื้นที่ • ปลูกต้นไม้ทดแทน • - ฝึกอบรม ศึกษาดูงานของเกษตรกร และสนับสนุน • บุตรหลานในพื้นที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้และปลูกต้นไม้ จำนวน 861 ราย

  3. ผลที่ได้รับ/คาดว่าจะได้รับผลที่ได้รับ/คาดว่าจะได้รับ 1. เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้จากโครงการธนาคารอาหาร ชุมชนจากพันธุ์พืชและสมุนไพรในโครงการฯ2. เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ได้ศึกษา ดูงาน นำความรู้ ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง 3. ยุวเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินได้ศึกษา ดูงาน และปรับเปลี่ยนแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนในพื้นที่ของตนเองอย่างยั่งยืน แผนดำเนินงานปี 2555 งบประมาณ 413,900 บาท  พัฒนาองค์ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต - หลักสูตรสานฝันธนาคารอาหารชุมชนสู่ยุวเกษตรกร/ ครู จำนวน 50 ราย - หลักสูตรสานฝันธนาคารอาหารชุมชนสู่เกษตรกรใน เขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 50 ราย - สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรและยุวเกษตรกร ที่ผ่านการอบรม จำนวน 100 ราย

More Related