1 / 17

แนวคิดพื้นฐาน ทางเศรษฐศาสตร์

แนวคิดพื้นฐาน ทางเศรษฐศาสตร์. จัดทำโดย. นาย วุฒิ พงษ์ เผ่านิ่ม เลขที่ 9 นาย ศักดิ์สิทธิ์ อันท ชัย เลขที่ 24 นาย นพรัตน์ วิเศษ เลขที่ 4 นาย คมกริช อาวร รณดี เลขที่ 14 นาย ธีร พงษ์ พุกทอง เลขที่ 18 นาย วิทวัส ทะ รุมรัม เลขที่ 22

emi-boyer
Download Presentation

แนวคิดพื้นฐาน ทางเศรษฐศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวคิดพื้นฐาน ทางเศรษฐศาสตร์

  2. จัดทำโดย นาย วุฒิพงษ์ เผ่านิ่ม เลขที่ 9 นาย ศักดิ์สิทธิ์ อันทชัย เลขที่ 24 นาย นพรัตน์ วิเศษ เลขที่ 4 นาย คมกริช อาวรรณดี เลขที่ 14 นาย ธีรพงษ์ พุกทอง เลขที่ 18 นาย วิทวัส ทะรุมรัม เลขที่22 นาย สุรชัย ลันนัน เลขที่ 10 นาย ศราวุฒิ ฟองฤทธิ์ เลขที่ 23 นาย เกรียงไกร บัวไข เลขที่ 13 ชั้น ม. 5/2 เสนอ อาจารย์

  3. เศรษฐศาสตร์เป็นสาขา วิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ กิจกรรมการผลิต การกระจายสินค้าและบริการต่างๆที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ กิจกรรม ทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน เพราะเราต่างก็คือผู้ผลิตและ/หรือ ผู้บริโภค เศรษฐศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่อยู่ไกลตัว หากเราได้ศึกษาและทำความเข้าใจกฎเกณฑ์และเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ไปตาม ลำดับขั้น ก็ย่อมจะเกิดความเข้าใจในสาขาวิชานี้ได้ไม่ยากนัก

  4. ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ มีผู้รู้ได้ให้คำนิยามของวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้มากมายหลายท่าน อาทิ อัลเฟรดมาร์แชลล์(Alfred Marshall) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ พอล แซมมวลสัน (Pual Samuelson) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ประยูร เถลิงศรี แต่ถ้ากล่าวโดยสรุปแล้ว วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อ ผลิตสินค้าและบริการต่างๆสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งโดยทั่วไปมีความต้อง การไม่จำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  5. ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีการพัฒนามาเป็นลำดับขั้น กล่าวคือ • ลัทธิพาณิชย์นิยมคือพวกที่นิยมในการทำการค้านักพาณิชย์นิยมมีความเชื่อว่าประเทศจะมีความมั่งคั่งในทางเศรษฐกิจก็ต่อ เมื่อประเทศมีดุลการค้าที่เกินดุล โดยสนับสนุนให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการควบคุมและแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • สำนักคลาสสิกโดยการนำของอดัมสมิท (บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์) เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศจะมั่งคั่งก็ต่อเมื่อรัฐไม่เข้ามาแทรกแซงใน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยปล่อยให้กลไกตลาด (ราคา) เป็นกลไกในการจัดสรรทรัพยากร

  6. สำนักนีโอคลาสสิกคล้ายกับของกลุ่มคลาสสิก คือสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรี โดยเน้นให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด • สำนักเคนส์สนับสนุนให้รัฐเข้ามามีบทบาทในกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการเงินการคลังเข้ามาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวไปใน ทิศทางที่พึงประสงค์

  7. ความเป็นมาของวิชาเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย เชื่อกันว่าการดำเนินการ เกี่ยวกับเศรษฐกิจตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้น มาอาศัยแนวความคิดเศรษฐกิจแบบเสรี ดังจะเห็นได้จากหลักศิลาจารึกในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีใจความตอนหนึ่ง ว่า ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส อย่าง ไรก็ตาม ในสมัยนั้นยังไม่มีการรวบรวมความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไว้เป็นหลักเกณฑ์ ที่แน่นอน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 พระยาสุริยานุวัตรได้แต่งตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกขึ้นมีชื่อว่า ทรัพยศาสตร์ โดย มีสาระเกี่ยวกับการสร้างทรัพย์และผลตอบแทนในรูปต่างๆ ได้แก่ ค่าเช่า ค่าจ้าง กำไร ฯลฯ แต่ก็มิได้นำออกเผยแพร่ในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 จึงได้พิมพ์เผยแพร่โดยใช้ชื่อว่า เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคต้น เล่ม 1และในปี พ.ศ. 2459 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์(น.ม.ส.) ได้ ทรงแต่งตำราเรื่อง ตลาดเงินตรา ขึ้น แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก

  8. การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยเริ่มขึ้น อย่างจริงจังเมื่อมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์และการเมืองในปี พ.ศ. 2477 โดยได้มีการเปิดสอนวิชาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นได้มีผู้รู้ทางเศรษฐศาสตร์ของไทยแต่งตำราเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม จากเดิม ได้แก่ นายสหัสกาญจนพังคะ แปลตำราชื่อ หลักเศรษฐศาสตร์ของชาลส์จีด จาก ตำรา The Principles of Political Economy ของศาสตราจารย์ชาลส์จีด (Charles Gide) ในปี พ.ศ. 2479 พระสารสาส์นพลขันธ์ได้แต่งตำราชื่อ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการค้า และ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเงิน ในปี พ.ศ. 2480 และ 2481 ตามลำดับ

  9. ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ ผู้ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมายดังนี้ -ในฐานะผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ทำให้ตนได้รับความพอใจ สูงสุดภายใต้ระดับรายได้ที่มีอยู่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์มากที่สุด -ในฐานะผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิต สินค้าและบริการอย่างคุ้มค่า ประหยัด ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้ธุรกิจได้รับกำไรเพิ่มขึ้น และใน ทำนองเดียวกับผู้บริโภคคือทำให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น -ในฐานะรัฐบาล การที่รัฐบาลมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะทำให้เข้าใจลักษณะและโครงสร้างทาง เศรษฐกิจของประเทศ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและหาแนวทาง แก้ไข โดยกำหนดออกมาเป็นแผนและนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาให้เกิด ประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ

  10. เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ 1.เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจใน การเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง 2.เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินและการคลังของประเทศ ฯลฯ

  11. ความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ใน ด้านต่างๆ เช่น การเลือกการผลิต การบริโภค การดำรงชีพ และการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆที่อยู่ในสังคมเดียวกันหรือต่างกัน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ ที่มี ผลมาจากการอยู่รวมกันในสังคมและมีการดำเนิน กิจกรรมต่างๆร่วมกัน ซึ่งในการศึกษาและการแก้ไขปัญหา ต่างๆ ตลอดจนการจัดระเบียบวิธีที่เกี่ยวกับมนุษย์จำเป็น ที่วิชาเศรษฐศาสตร์ต้องไป เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับวิชา อื่นๆในสังคมศาสตร์ เช่น การบริหารธุรกิจรัฐศาสตร์ จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์และอื่นๆ

  12. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เนื่องจากความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไปมีอยู่ไม่ จำกัด (unlimited wants) แต่ทรัพยากร ของโลกมีอยู่อย่างจำกัด (limited resources) หรือเป็นของหายากและใช้หมด (scarce) จึงเกิดปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะจัดสรรหรือใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นั้นไปในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุดและเกิดประโยชน์สูงสุด ปัญหานี้ก็คือปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจซึ่งทุกๆประเทศในโลกไม่ว่าจะมีระบบ เศรษฐกิจแบบใดก็ตามต่างต้องประสบกับปัญหาดังกล่าวทั้งสิ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัญหา คือ ผลิตอะไร (what to produce) เนื่องจากทรัพยากรทางเศรษฐกิจของโลกมีจำกัดและไม่สามารถตอบสนองความต้องการ ทั้งหมดของมนุษย์ได้ จึงจำเป็นต้องมีการเลือกว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไรบ้าง ผลิตในจำนวนเท่าใด ลำดับของการผลิตควรเป็นอย่างไร อะไรควรผลิตก่อน อะไรควรผลิตหลัง

  13. ผลิตอย่างไร (how to produce)เมื่อทราบแล้วว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าใด ปัญหาต่อมาก็คือจะเลือกใช้เทคนิคการผลิตอย่างไรจึงจะทำให้การผลิตสินค้าและ บริการนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำที่สุด โดยให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ ผลิตเพื่อใคร (for whom to produce) ปัญหาสุดท้ายคือ สินค้าและบริการที่ผลิตขึ้น มาได้แล้วนั้นจะจำหน่ายจ่ายแจกหรือกระจายไปยังบุคคลต่างๆในสังคมอย่างไร (ให้แก่ใคร จำนวนเท่าใด) จึงจะเหมาะสมและเกิดความยุติธรรม เพื่อแต่ละบุคคลจะได้ประโยชน์สูงสุดจากสินค้าและบริการนั้น

  14. แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใดต่างก็ประสบกับ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจดังกล่าวทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบต่างก็มีวิธีการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตก ต่างกันไปดังนี้ 1.ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม (capitalism)จะใช้กลไกตลาด (ราคา) หรือที่มักเรียกว่า มือที่มองไม่เห็น เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กล่าวคือ ราคา จะเป็นตัวช่วยตอบปัญหาต่างๆตั้งแต่เริ่มผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร ปกติสินค้าและบริการใดที่เป็นที่ต้องการผู้บริโภคก็จะเสนอราคาซื้อสูง

  15. 2.ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะถูกกำหนดมาจากส่วนกลางหรือรัฐบาล กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนดำเนินการสั่งการแต่เพียง ผู้เดียว เอกชนมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ 3.ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจนี้จึงใช้กลไกรัฐเป็นกลไกสำคัญใน การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม มีการใช้กลไกราคาอยู่บ้าง แต่ยังมีบทบาทค่อนข้างจำกัด 4.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม แนวทางการแก้ไขปัญหาจะใช้ทั้งกลไกราคาและกลไกรัฐร่วมกันไป กล่าวคือ กิจการที่เป็นกิจการที่มีความสำคัญต่อประชาชนโดยส่วนรวม

  16. THE END

  17. สวัสดีครับ

More Related