1 / 54

โดย พญ.ญา นิศา โพธิ์ฐิติรัตน์ โรงพยาบาล ธัญญา รักษ์เชียงใหม่

การคัดกรองผู้ป่วยเสพยาและสารเสพติด ASSIST. โดย พญ.ญา นิศา โพธิ์ฐิติรัตน์ โรงพยาบาล ธัญญา รักษ์เชียงใหม่. หัวข้อในวันนี้. ASSIST คืออะไร เคล็ดลับการถามให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ใกล้เคียงความจริง ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ ?. Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test.

emmet
Download Presentation

โดย พญ.ญา นิศา โพธิ์ฐิติรัตน์ โรงพยาบาล ธัญญา รักษ์เชียงใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การคัดกรองผู้ป่วยเสพยาและสารเสพติดการคัดกรองผู้ป่วยเสพยาและสารเสพติด ASSIST โดย พญ.ญานิศา โพธิ์ฐิติรัตน์โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่

  2. หัวข้อในวันนี้ • ASSIST คืออะไร • เคล็ดลับการถามให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ใกล้เคียงความจริง • ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ?

  3. Alcohol, Smoking, Substance Involvement Screening Test ASSIST คืออะไร?? เนื้อหาจาก หลักสูตรการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน สำหรับบุคลากรสุขภาพปฐมภูมิโดย ผรส.

  4. ASSIST คืออะไร • เป็นเครื่องมือขององค์การอนามัยโลกที่พัฒนาโดยทีมนักวิชาการจากนานาประเทศ • เป็นแบบสอบถามที่ใช้คัดกรองการใช้สารเสพติดแบบเสี่ยงอันตราย ได้แก่ ยาสูบ สุรา กัญชา โคเคน ยาบ้า ยากล่อมประสาท/ยานอนหลับ ยาหลอนประสาท สารระเหย สารกลุ่มฝิ่น และสารอื่นๆ • ข้อคำถาม 8 ข้อถามโดยบุคลากรสุขภาพ ใช้เวลาประมาณ 10 นาที • เพื่อใช้ในสถานบริการระดับปฐมภูมิ • สามารถใช้ได้หลากหลายวัฒนธรรม

  5. วิธีการใช้แบบคัดกรอง ASSIST ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการสอบถามประวัติสุขภาพทั่วไป การประเมินความเสี่ยง หรือเป็นส่วนหนึ่งในประวัติความเจ็บป่วย เชื่อมโยงการคัดกรองเข้ากับอาการนำของผู้รับบริการที่มีความเกี่ยวข้องกัน จะช่วยให้ผู้รับบริการเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้สารเสพติดของตนและสุขภาพของตน ป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการและรับรองว่าคำตอบที่ให้จะเป็นความลับ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เลือกสภาพการณ์ที่เหมาะสมที่สุดในการทำแบบคัดกรอง ASSIST และควรยืดหยุ่นและไวต่อการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

  6. เนื้อหาโดยย่อของ ASSIST ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดทุกชนิด • ประวัติการเคยใช้สารแต่ละชนิดในชีวิต (Q1) • การใช้สารเสพติดนั้นใน 3 เดือนที่ผ่านมา Q2: ความถี่ของการใช้ Q3: ความต้องการที่จะใช้สาร Q4: ปัญหาสุขภาพ สังคม กฎหมาย และการเงิน Q5: การไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ • การใช้สารเสพติดนั้นในชีวิต Q6: ความเป็นห่วงของคนอื่นต่อการใช้สารเสพติด Q7: ความล้มเหลวในการควบคุมการใช้สาร Q8: การฉีดสารเสพติด

  7. ส่วนของผู้ถาม

  8. ส่วนของผู้ตอบ

  9. ปรับเลือกเฉพาะสารเสพติดปรับเลือกเฉพาะสารเสพติด กลุ่มแอมเฟตามีนเท่านั้น

  10. แนวปฏิบัติในการอธิบายให้ผู้รับบริการแนวปฏิบัติในการอธิบายให้ผู้รับบริการ • ก่อนถาม ให้ฉีกบัตรคำตอบ ASSIST-ATS ตามรอยปรุส่งให้ผู้รับบริการ • ถือแบบสอบถามเอาไว้ เพื่อไม่ให้ผู้รับบริการเห็นสิ่งที่ท่านกำลังเขียน • ทุกคำตอบจากทุกคำถาม ต้องวงกลมไว้ แม้ว่าจะเป็นคำตอบที่ได้ค่าคะแนนเป็นศูนย์ หรือคำตอบเป็นลบทั้งหมด • ท่านอาจจำเป็นต้องปรับคำพูดในบางคำถามกับผู้รับบริการบางคน หรือท่านอาจจำเป็นต้องยกตัวอย่างในบางคำถาม • คำตอบของผู้รับบริการที่ดูไม่สอดคล้อง ควรถามเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าท่านได้อธิบายข้อคำถามเพียงพอและผู้รับบริการเข้าใจคำถามอย่างชัดเจน • เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่บุคลากรสุขภาพจะต้องเข้าใจวิธีการให้คะแนนของ ASSIST ก่อนที่จะนำไปใช้

  11. ส่วนของผู้ตอบ

  12. เริ่มส่วนของผู้ถาม

  13. ส่วนของผู้ตอบ

  14. ส่วนของผู้ตอบ

  15. เคล็ดลับการถาม เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ใกล้เคียงความจริง

  16. ผู้สัมภาษณ์ที่มีลักษณะต่อไปนี้จะทำให้ได้คำตอบที่เป็นจริงผู้สัมภาษณ์ที่มีลักษณะต่อไปนี้จะทำให้ได้คำตอบที่เป็นจริง แสดงให้เห็นว่ากำลังตั้งใจฟัง มีท่าทีเป็นมิตรและไม่ตัดสินถูกผิด ไวต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ถูกสัมภาษณ์และเข้าใจเห็นใจ บอกให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบถึงการรักษาความลับ

  17. ....ทำความรู้จักคุ้นเคย........ทำความรู้จักคุ้นเคย.... • การจัดสิ่งแวดล้อม มีความมิดชิด เป็นสัดส่วน ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีคนเดินผ่านไปมา บรรยากาศสงบและเป็นกันเอง • ท่านั่งควรเป็นลักษณะตั้งฉากกัน ไม่ควรเผชิญหน้ากันตรงๆ เยื้องกันเล็กน้อย ใกล้กันพอที่จะแตะไหล่ได้ • เปิดการสนทนานำให้เกิดความผ่อนคลายเป็นกันเอง (small talk) • แนะนำตัวเองสถานที่ วัตถุประสงค์ของการคุยกันเวลาที่จะคุยกัน • การใช้ภาษาพูดน้ำเสียงการเน้นคำการใช้สรรพนามควรใช้ภาษาที่เข้าใจกันง่ายเป็นกันเอง • การใช้ภาษากาย การสัมผัส สีหน้า แววตาท่าทาง ให้เกิดความเป็นกันเอง อยากเข้าใจ อยากช่วยเหลือ ไม่ตัดสินความผิด หรือแสดงการไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมหรือสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษาเปิดเผย

  18. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี • เพื่อให้เกิดความคุ้นเคย อบอุ่นไว้วางใจกัน • เพื่อให้เปิดเผยความไม่สบายใจ • เชื่อมั่นว่าผู้ให้บริการไม่นำเอาเรื่องราวไปเปิดเผยที่ไหน

  19. การรักษาความลับ ก่อนการใช้แบบคัดกรอง ควรสังเกตท่าทีความร่วมมือการเปิดเผยข้อมูล ว่าผู้ตอบคำถามมีความไว้วางใจผู้ถามมากน้อยเพียงไรมีเรื่องใดที่ยังกังวล เช่น เรื่องการเก็บรักษาข้อมูลของผู้รับคำปรึกษา ควรให้ความมั่นใจเรื่องนี้ เช่น “เรื่องที่คุยกันนี้(พี่/ลุง/ผม) คงไม่นำไปบอกพ่อแม่หรือคนอื่นๆฟัง ถ้ามีเรื่องที่ (พี่/ลุง/ผม) จำเป็นต้องบอกพ่อแม่ (พี่/ลุง/ผม) จะขอ คุณ/น้อง/ชื่อ... ก่อน และเรื่องที่จะบอกคงเป็นเรื่องที่คุณยินยอมแล้ว”

  20. ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ?ประเมินแล้วทำอย่างไรต่อ?

  21. ASSIST-linked Brief intervention เป็นการพูดคุยกับผู้ป่วยแบบง่ายๆ และสั้นๆ เกี่ยวกับคะแนนของ ASSIST และความหมายของคะแนนที่บ่งบอกถึงความเสี่ยง ใช้เวลาน้อยมาก เพียง 3 นาทีเท่านั้น เหมาะสำหรับผู้มีความเสี่ยงและเสี่ยงสูงจากการใช้สารเสพติด ใช้ชักจูงและกระตุ้นให้ผู้เสพแบบเสี่ยงสูงมากหรือเสพแบบติดเข้าสู่การบำบัดรักษาที่เหมาะสมต่อไป อาจจะใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการรักษาต่อเนื่องหรือการรักษาอื่นๆ ที่ทำร่วมกัน

  22. คะแนนความเสี่ยง ASSIST

  23. ขั้นตอนการบำบัดแบบสั้นตามผล ASSIST 1. ASKING -ถาม 2. FEEDBACK – ให้ข้อมูลโดยใช้บัตรข้อมูล 3. ADVICE- ให้คำแนะนำ 4. RESPONSIBILITY- ย้ำความรับผิดชอบของผู้ป่วย 5. CONCERN ABOUT ASSIST SCORE- ถามความเป็นห่วงคะแนน 6. GOOD THINGS ABOUT USING- ข้อดีของการใช้สาร 7. LESS GOOD THINGS ABOUT USING- ข้อไม่ดีของการใช้สาร 8. SUMMARISE - สรุปความ 9. CONCERN ABOUT LESS GOOD THINGS– ความเป็นห่วง ต่อข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร 10. TAKE HOME INFORMATION&BOOKLET- ให้ข้อมูลและคู่มือ

  24. ขั้นตอนที่ 1 : ถาม ถามผู้รับบริการว่าอยากทราบคะแนนแบบสอบถามของตนหรือไม่ คำถามนี้จะเป็นประตูเปิดให้ผู้บำบัดสามารถให้การบำบัดแบบย่อได้ • ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสนใจคะแนนของตนเอง • การให้ผู้ป่วยเลือกว่าจะทำอะไรต่อไปจะช่วยลดแรงต่อต้านในการรักษาได้ • เป็นการอนุญาตให้ผู้บำบัดสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนและความเสี่ยง และวิธีการลดความเสี่ยงแก่ผู้ป่วย ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโดยตรงและเฉพาะตัว

  25. “คุณอยากรู้ผล/คะแนน แบบสอบถามที่ทำเสร็จแล้วหรือไม่?” • “คุณรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับฤทธิ์ของยาบ้าที่มีผลต่อสมอง/ต่ออารมณ์ของคุณ ?”

  26. ขั้นที่ 2: การให้ข้อมูลสะท้อนกลับ การบอกคะแนนเฉพาะตัวแก่ผู้รับบริการ โดยใช้บัตรรายงานผล ASSIST • เป็นองค์ประกอบสำคัญ ใช้บัตรรายงานข้อมูลสะท้อนกลับของ ASSIST เพื่อทั้งผู้ป่วยและผู้บำบัดจะได้มีจุดสนใจที่เป็นชิ้นเป็นอัน • บันทึกคะแนน ASSIST ของผู้ป่วย และกาที่ช่องความเสี่ยง • อธิบายความหมายของระดับความเสี่ยง ตามผลการประเมิน • อธิบายความหมายของการใช้สารแบบเสี่ยงสูงหรือสูงมากด้วย ถ้าจำเป็น • ถือบัตรรายงานในลักษณะที่ผู้ป่วยสามารถอ่านได้ง่าย

  27. ตัวอย่าง • “คะแนนการใช้ยาบ้าของคุณเท่ากับ 18 ซึ่งหมายถึง คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะมีปัญหาสุขภาพและปัญหาอื่นๆ จากการใช้ยาบ้าในระดับที่คุณใช้ในขณะนี้” • “ยาบ้าจะมีผลต่อสารเคมีในสมองที่ควบคุมการทำงานด้วยอารมณ์ และการใช้เป็นประจำจะทำให้คุณรู้สึกซึมเศร้า กังวล และในบางคนอาจรู้สึกโกรธ หงุดหงิด ก้าวร้าวได้”

  28. วิธีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่ได้ผลวิธีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับที่ได้ผล ควรคำนึงถึงสิ่งที่ผู้รับบริการทราบแล้ว และสิ่งที่สนใจอยากทราบ และยอมรับทางเลือกของผู้รับบริการว่าจะทำอะไรกับข้อมูลที่ได้รับ ประกอบด้วยสามขั้นตอน คือ 1. ค้นหาความพร้อมและความสนใจที่จะรับความรู้/ข้อมูลของผู้รับบริการ 2. ให้ข้อมูลสะท้อนกลับด้วยท่าทีที่เป็นกลางและไม่ตัดสินถูกผิด 3. ค้นหาความหมายเฉพาะตัว

  29. ขั้นที่ 3. การให้คำแนะนำ เป็นการสร้างตัวเชื่อมระหว่างการลดการใช้สารกับการลดอันตราย การแนะนำเป็นการบอกผู้ป่วยว่าการลดหรือการหยุดใช้สารจะลดปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผู้ป่วยมักจะไม่ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารของเขากับปัญหาที่เกิดขึ้นหรือกำลังจะเกิดขึ้น ไม่ควรแนะนำว่า “คุณจำเป็นต้องทำอะไรอย่างจริงจังเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดของคุณหรือ ผม/ดิฉันเป็นห่วงการใช้ยาบ้าของคุณ ควรให้คำแนะนำง่ายๆ““วิธีที่ดีที่สุดที่คุณจะลดความเสี่ยง (หรืออันตราย) ที่จะเกิดขึ้นกับคุณก็คือการลดหรือการเลิกใช้สารเสพติด”

  30. ขั้นที่ 4.ย้ำความรับผิดชอบของผู้ป่วย • การรักษาความสามารถในการควบคุมตนเองได้เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง • ผู้ป่วยเป็นคนรับผิดชอบการตัดสินใจของตนเอง –ผู้บำบัดต้องยอมรับและเคารพ • คุณจะทำอะไรกับข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาบ้าที่ดิฉัน/ผมเพิ่งบอกให้ ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองเป็นหลัก... ดิฉัน/ผมเพียงแต่บอกให้คุณทราบว่าอาจจะเกิดอันตรายหรือความเสี่ยงอะไรได้บ้างหากคุณยังใช้ยาบ้าในลักษณะนี้ต่อไป”

  31. ขั้นที่ 5:ถามความเป็นห่วงคะแนน • การถามคำถามปลายเปิด จะช่วยให้ผู้ป่วยคิด และพูดความรู้สึกกังวลของตนเองออกมา • ครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่ผู้ป่วยเคยพูดความกังวลเกี่ยวกับการใช้สารของตนเอง • การพูดความรู้สึกกังวลของตนเองออกมาจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมได้ • เราจะเชื่อสิ่งที่เราเป็นคนพูดออกมาเอง “คุณรู้สึกกังวลกับคะแนนของคุณมากไหม”

  32. ตัวอย่าง • “คุณรู้สึกกังวลกับคะแนนของคุณมากไหม” • “คุณกังวลกับคะแนนการใช้ยาบ้าของคุณเพียงไร” • “คุณกังวลกับผลของยาบ้าที่มีผลต่ออารมณ์และต่อสุขภาพจิตของคุณเพียงไร” • “คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับสิ่ง/เรื่องนี้” • “เราจะทำอย่างไรต่อไปจากจุดนี้” • “คุณต้องการจะทำอะไรเกี่ยวกับสิ่ง/เรื่องนี้” • “อะไรที่ทำให้คุณกังวลที่สุด”

  33. ขั้นที่ 6 และ 7 ข้อดี / ข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร ถามเกี่ยวกับข้อดีของการใช้สาร “คุณชอบอะไรบ้างในการใช้ยาบ้าของคุณ” หลังจากที่ผู้ป่วยพูดข้อดีของการใช้สารหมดแล้ว ก็ถามด้านลบบ้าง “แล้วมีอะไรที่ไม่ค่อยดีบ้างไหมในการใช้ยาบ้าของคุณ” • เป็นการทำให้ผู้ป่วยเกิดความขัดแย้งทางความคิดของตนเอง ระหว่างสิ่งที่เขากำลังทำอยู่กับสิ่งที่เขาต้องการจะเป็น • ให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีกับข้อไม่ค่อยดีเกี่ยวกับการใช้สารของเขา - เป็นขั้นตอนแรกของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม • ครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งแรกที่ผู้ป่วยได้พิจารณาและพูดเกี่ยวกับข้อดี และข้อไม่ดีของการใช้สารของตนเอง

  34. ผลทางลบของการใช้สารเสพติดผลทางลบของการใช้สารเสพติด ถ้าผู้ป่วยนึกข้อไม่ค่อยดีไม่ออก ผู้บำบัดอาจจะช่วยแนะให้ • ด้านสุขภาพ – ร่างกาย หรือ จิตใจ • ด้านสังคม – สัมพันธภาพกับคู่ครอง ครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน • ด้านกฎหมาย – ขับรถหลังใช้สาร อุบัติเหตุ ถูกจับ • ด้านการเงิน – ปัญหาค่าใช้จ่าย • ด้านอาชีพการงาน – ปัญหาการทำงาน การเรียน • ด้านจิตวิญญาณ – คุณค่าของตนเอง ความรู้สึกผิด ความรู้สึกเต็ม

  35. ข้อที่ 8 สรุปความ การฟังแบบสะท้อนความคิด “ด้านหนึ่งก็คือ คุณชอบที่จะใช้ยาบ้ากับเพื่อนๆ ของคุณในงานปาร์ตี้ เพราะมันทำให้คุณมั่นใจและมีความสุข แต่ในทางกลับกัน คุณก็ใช้เงินไปมากกว่าที่คุณจะหามันมาได้ซึ่งมันก็ทำให้คุณกังวล นอกจากนี้คุณก็สังเกตว่าคุณโกรธง่ายหงุดหงิดหลังใช้ ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ เดี๋ยวนี้มันเกิดรุนแรงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับตอนที่คุณเริ่มใช้ยาบ้าใหม่” • แสดงให้ผู้ป่วยเห็นว่า เราฟังและเข้าใจสิ่งที่เขาพูด (และเห็นใจ) • ควรใช้การสรุปความบ่อยๆ เพื่อชี้ให้ผู้ป่วยเห็นความขัดแย้งทางความคิดของเขาเอง • พยายามดึงการสนทนาให้เข้าหาข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร • การสรุปความจะเป็นช่องทางให้ผู้บำบัดสามารถถามคำถามปลายเปิดต่อไปได้

  36. ขั้นที่ 9: ความกังวลเกี่ยวกับการใช้สารความเป็นห่วงต่อข้อไม่ค่อยดีของการใช้สาร • จากไม้บรรทัดตั้งแต่ 1 ถึง 10 คุณจะให้คะแนน ความกังวลต่อการใช้สาร ของคุณประมาณสักเท่าไร • จากไม้บรรทัดตั้งแต่ 1 ถึง 10 คุณคิดว่า คุณ ตั้งใจว่าจะลดหรือเลิกใช้ สารเสพติดมากน้อยเพียงไร • จากไม้บรรทัดตั้งแต่ 1 ถึง 10 คุณมี ความมั่นใจว่าคุณจะทำได้สำเร็จ มากน้อยเพียงใจ

  37. ขั้นที่ 10. ให้ข้อมูลกลับบ้าน • เป็นการเสริมคำแนะนำและผลการบำบัดแบบย่อที่ทำไปให้เข้มข้นมากขึ้น • สิ่งที่อาจจะให้กลับบ้าน • บัตรรายงานข้อมูลสะท้อนกลับของผู้ป่วย • แผ่นพับความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดตัวที่ผู้ป่วยใช้ • คู่มือดูแลตนเพื่อลดละเลิกสารเสพติด • เวลาให้เอกสารควรพูดแบบกลางๆ และให้เกียรติผู้ป่วยใช้การกล่าวถึงบุคคลที่สาม

  38. องค์ประกอบของการบำบัดแบบสั้นที่ได้ผลองค์ประกอบของการบำบัดแบบสั้นที่ได้ผล ความเข้าใจเห็นใจ ชี้ความขัดแย้งและความลังเลใจด้วยคำถามปลายเปิด การหมุนไปกับแรงต้าน การฟังอย่างตั้งใจ เพื่อสะท้อนความหรือสรุปความ

  39. การแสดงการต่อต้าน วิธีลดการต่อต้าน สังเกตการณ์ต่อต้านของผู้ป่วย : RESISTANCE • โต้เถียง • ขัดคอ • ไม่ยอมเชื่อมโยงว่าปัญหาที่มีอยู่เกิดจากการใช้สาร • ปฏิเสธ ไม่สนใจปัญหา • ไม่ยอมรับการดูแลรักษา • หมุนแรงต่อต้าน • เปลี่ยนจุดสนใจ • เปลี่ยนคำพูด • ย้ำว่าการใช้สารเป็นทางเลือกของผู้ป่วยและอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ป่วยเอง • ยุติการบำบัด

  40. ถ้าผู้ป่วยไม่มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงถ้าผู้ป่วยไม่มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลง • ยอมรับ • พยายามเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องยาก • ถามผู้ป่วยว่าเขาจะจัดการได้ไหมถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น • ถามผู้ป่วยว่ามีอะไรอย่างอื่นอีกไหมที่จะช่วยเขาในการตัดสินใจ เช่น ใช้เวลาพูดคุยมากขึ้น ฯลฯ

More Related