1 / 22

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การ จัดทำรายงานตามแบบ มคอ.5 และ มคอ. 7

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การ จัดทำรายงานตามแบบ มคอ.5 และ มคอ. 7. จัดโดย งานการศึกษาคณะ ศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. มคอ. คืออะไร?. มคอ. ≠ ไม่มีใครเอา มัดคออาจารย์ ฯลฯ 

erik
Download Presentation

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง การ จัดทำรายงานตามแบบ มคอ.5 และ มคอ. 7

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อง การจัดทำรายงานตามแบบ มคอ.5 และ มคอ. 7 จัดโดย งานการศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2556 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  2. มคอ. คืออะไร? • มคอ. ≠ ไม่มีใครเอา มัดคออาจารย์ ฯลฯ  • มคอ. = มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา • กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF:HEd) • กรอบแนวคิดในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามความคาดหวังของสังคมและตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตในสาขานั้นๆ กำหนดร่วมกัน

  3. ระบบและกลไกของ TQF มคอ.3

  4. ต.ย. มาตรฐานของคนจบ “เอกไทย” คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ • มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม • มีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะในการสื่อสารในศาสตร์วิชาภาษาไทยและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง • มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและมีเจตคติที่ดีต่อประเทศและวัฒนธรรมไทย • มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถประยุกต์ใช้ภาษาไทยได้ • มีบุคลิกภาพและโลกทัศน์ที่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในทุกระดับได้อย่างเหมาะสม • มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ + เอกลักษณ์สถาบัน

  5. ต.ย. มาตรฐานของคนจบ “เอกไทย” + เอกลักษณ์สถาบัน ต้องผ่านวิชาบังคับ • กลุ่มเนื้อหาวิชาหลักภาษาไทย และ ภาษาศาสตร์ (วิชาลักษณะภาษาไทยภาษาศาสตร์เบื้องต้น) • กลุ่มเนื้อหาวิชาการใช้ภาษา (วิชาทักษะการใช้ภาษาไทยด้านต่างๆการคิดและการใช้เหตุผล) • กลุ่มเนื้อหาวิชาวรรณคดี (วิชาวรรณคดีศึกษา วรรณคดีวิจารณ์วรรณคดีวิจักษ์ วรรณคดีเอกวรรณกรรมร่วมสมัย • กลุ่มเนื้อหาวิชาภาษาและวรรณกรรมที่สัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม (ภาษากับสังคมภาษากับวัฒนธรรมวรรณกรรมกับสังคมและวัฒนธรรม)

  6. ประโยชน์(?)ของ TQF • ผู้เรียน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ • สถาบันอุดมศึกษา มีแนวทางในการจัดการศึกษาได้อย่างมี คุณภาพ • ผู้ใช้กำลังคน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และได้ บัณฑิตที่มีคุณภาพไปปฏิบัติงาน • ประเทศ มีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในการพัฒนา ประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน

  7. ประโยชน์(?)ของ TQF • ผู้สอนต้องทำประมวลรายวิชา (มคอ.3) • ต้องทำตามที่สัญญา (?) จะสอนอะไร สอนอย่างไร วัดผลอย่างไร • จะปรับปรุง/พัฒนาอย่างไร • ต้องทำสรุปผลการเรียนการสอน (มคอ.5) • หลักสูตรต้องสรุปผลการดำเนินงาน (มคอ.7) • ต้องทำตามตัวชี้วัดตามมาตรฐาน • ต้องทำตามที่สัญญา (?) • จะรับประกัน “คุณภาพหลักสูตร” อย่างไร

  8. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน > มาตรฐาน • มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือ มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)  • มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบมคอ.3 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกรายวิชา  • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 ภายใน 30วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชา  • จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษา  • มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ที่กำหนดใน มคอ.3 อย่างน้อย ร้อยละ 25ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา  • มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือ การประเมินผลการเรียนรู้ จากผลการประเมินการดำเนินงานที่รายงานใน มคอ.7ปีที่แล้ว 

  9. ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน > มาตรฐาน • อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย ร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตร  • อาจารย์ใหม่ (ถ้ามี) ทุกคน ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน  • อาจารย์ประจำ ทุกคน ได้รับการพัฒนาทางวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง  • จำนวนบุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน (ถ้ามี) ได้รับการพัฒนาวิชาการ และ/หรือวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50ต่อปี  • ระดับความพึงพอใจ ของนักศึกษาปีสุดท้าย/บัณฑิตใหม่ที่มีต่อคุณภาพหลักสูตร เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0 • ระดับความพึงพอใจ ของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่ เฉลี่ยไม่น้อยกว่า3.5 จากคะแนนเต็ม 5.0

  10. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ • เป็นกระบวนการเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลว่า ผู้จบการศึกษาทุกคนมีผลการเรียนรู้อย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา (มคอ.2) และรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) • กลวิธีการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ระดับหลักสูตร อาจทำได้ดังนี้ ๑. นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนในระดับรายวิชาโดยใช้แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้านต่างๆที่ต้องการทวนสอบ ๒. คณะกรรมการสอบไล่ประเมินข้อสอบเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหารายวิชา และการให้คะแนนในแต่ละรายวิชา ๓. บัณฑิตใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ประเมินหลักสูตร ๔. ผู้ประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงาน และผู้ใช้บัณฑิตประเมินทักษะการปฏิบัติงาน • เมื่อดำเนินการทวนสอบแล้ว ให้สาขาวิชาจัดทำรายงานผลการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้เพื่อเป็นหลักฐานการบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้

  11. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ • ระดับรายวิชา (การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้) หลักสูตรตั้งกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ ตกลงหรือสุ่มเลือกรายวิชาอย่างน้อยร้อยละ 25 ของจำนวนรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษานั้นๆ สัมภาษณ์ สังเกต จัดสอบ ส่งเข้าประกวดหรือรับการคัดเลือก ฯลฯ โดยอิงจากมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ระบุไว้ใน มคอ.3 สรุปและจัดทำรายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

  12. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education; TQF:HEd)

  13. กรอบมาตรฐาน • ลักษณะของสาขา / สาขาวิชา • คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ • โครงสร้างหลักสูตร • เนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา • มาตรฐานผลการเรียนรู้

  14. มาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน • คุณธรรม จริยธรรม • ความรู้ • ทักษะทางปัญญา • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  15. จากหลักสูตร...สู่รายวิชาจากหลักสูตร...สู่รายวิชา เน้น  ไม่เน้น  ไม่มี

  16. ระบบและกลไกของ TQF • วิธีประเมิน* • หลักฐาน **

  17. แนะนำแบบมคอ. • มคอ.1 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิของสาขาวิชา • มคอ.2 หลักสูตร • มคอ.3 ประมวลรายวิชา • มคอ.4 ประมวลรายวิชา (ภาคสนาม) • มคอ.5 สรุปผลการเรียนการสอน > ทุกเทอม • มคอ.6 สรุปผลการเรียนการสอน (ภาคสนาม) • มคอ.7 สรุปผลการดำเนินงานของหลักสูตร > ทุกปี

  18. ศิลปศาสตร์กับการทำมคอ.ศิลปศาสตร์กับการทำมคอ.

  19. เทคนิค: กระดาษ เอ 4 แผ่นเดียว การประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อม ก่อนเริ่มใช้หลักสูตรฯตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2556)

  20. การกรอกมคอ.5 และมคอ.7 http://www.student.mahidol.ac.th

  21. การกรอกมคอ.5 และมคอ.7

More Related