1 / 22

บทบาทของศาลเยาวชนและครอบครัว

บทบาทของศาลเยาวชนและครอบครัว. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. คดีอาญา. แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยไม่ต้องควบคุม 1. มาตรา 73 วรรคท้าย 2. มาตรา 90 3. มาตรา 132 4. มาตรา 138. คดีแพ่ง.

Download Presentation

บทบาทของศาลเยาวชนและครอบครัว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทของศาลเยาวชนและครอบครัวบทบาทของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จิรนิติ หะวานนท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

  2. คดีอาญา แก้ไข บำบัด ฟื้นฟู เด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยไม่ต้องควบคุม 1. มาตรา 73 วรรคท้าย 2. มาตรา 90 3. มาตรา 132 4. มาตรา 138

  3. คดีแพ่ง มาตรา 146* การพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวนั้นไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงกันหรือประนีประนอมกัน ในข้อพิพาท โดยคำนึงถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัว เพื่อการนี้ให้ศาลคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ เพื่อประกอบดุลพินิจด้วย คือ (1) การสงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรสในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของชายและหญิงที่สมัครใจเข้ามาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา หากไม่อาจรักษาสถานภาพของการสมรสได้ก็ให้การหย่าเป็นไปด้วยความเป็นธรรมและเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ (2) การคุ้มครองและช่วยเหลือครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ครอบครัวนั้น ต้องรับผิดชอบในการดูแลให้การศึกษาแก่บุตรผู้ที่เป็นเยาว์ (3) การคุ้มครองสิทธิของบุตรและส่งเสริมสวัสดิภาพของบุตร และ (4) หามาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือสามีภริยาให้ปรองดองกันและปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันเองและกับบุตร (* พรบ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553)

  4. บทบาทของศาลเยาวชนและครอบครัว ในคดีครอบครัว 1. ช่วยเหลือแก้ปัญหาของครอบครัว 2. คุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ และผลประโยชน์ ของเด็กและเยาวชน

  5. แผนภูมิขั้นตอนการดำเนินคดีครอบครัวแผนภูมิขั้นตอนการดำเนินคดีครอบครัว ยื่นฟ้อง ด้วยวาจา (ม.157) เด็กไม่มีผลประโยชน์ เด็กมีผลประโยชน์ ส่งหมายเรียก ส่งหมายเรียก ให้การ ให้การ แจ้ง ผอ.ทำความเห็น (ม.167) ไม่มีข้อพิพาท มีข้อพิพาท ผู้พิพากษา 2 + ผู้พิพากษาสมทบ 2 ตั้งองค์คณะ ผู้ประนีประนอม ผู้พิพากษา 2 พิจารณา ตั้งทนาย (ม.158) องค์คณะ (ม.147) ผู้พิพากษา 2 + ผู้พิพากษาสมทบ 2 สืบเสาะ (ม.152) พิจารณา พิพากษา ตั้งทนาย (ม.158) พิพากษา

  6. แผนภูมิขั้นตอนการดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กแผนภูมิขั้นตอนการดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก หนังสือ รับคำร้อง วาจา เหตุฉุกเฉิน ส่งหมายเรียก ให้การ องค์คณะ ผู้พิพากษา 2 + ผู้พิพากษาสมทบ 2 ไต่สวน คำสั่ง

  7. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับสภาพบุคคลและความสามารถของผู้เยาว์ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับสภาพบุคคลและความสามารถของผู้เยาว์ 1. ผู้เยาว์ใช้สิทธิอันเกิดจากชื่อและนามสกุล (ม.18 , 1561) 2. ผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้อนุญาตประกอบธุรกิจทางการค้าหรือธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน รวมถึงกรณีผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยมีเหตุอันสมควรและกรณีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขอศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้น (ม.27) 3. การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้เยาว์เป็นคนไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถ (ม.28 , 32 , 33)

  8. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับสภาพบุคคลและความสามารถของผู้เยาว์ (ต่อ) 4. ผู้เยาว์มีคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ม.31) 5. การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ที่เป็นบุคคลไร้ความสามารถและบุคคล เสมือนไร้ความสามารถ (ม.29 , 34) 6. คนเสมือนไร้ความสามารถซึ่งเป็นผู้เยาว์ขออนุญาตทำนิติกรรม (ม. 35) 7. การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ไม่อยู่ (ม.48 , 49) 8. ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ศาลสั่งให้ตั้งตัวแทน หรือผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่ไม่อยู่ (ม.50)

  9. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับสภาพบุคคลและความสามารถของผู้เยาว์ (ต่อ) 9. ตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจทั่วไป ขออนุญาตต่อศาลขอทำนิติกรรม เกินขอบอำนาจ (ม.51) 10. กรณีให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกัน ให้แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินหรือถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สินและตั้งผู้อื่นเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ (ม.56) 11. ผู้จัดการทรัพย์ยื่นร้องขอให้ศาลถอดถอนตัวแทน (ม. 55)

  10. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัวประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัว 1. ขออนุญาตศาลทำการสมรสก่อนอายุ 17 ปี (ม.1448) 2. ผู้เยาว์ขออนุญาตสมรส (ม.1456) * 3. การสมรสเป็นโมฆะ (ม.1497) 4. ฟ้องขอให้เพิกถอนการสมรสเพราะเหตุโมฆียะ (ม.1503) * 5. ฟ้องหย่า (ม.1516) * 6. ฟ้องขอแบ่งสินสมรส (ม.1532)

  11. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัว (ต่อ) *7. กรณีกฎหมายสันนิษฐานว่า เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้เป็น หรือเคยเป็นสามี ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็นบุตร (ม.1539) 8. ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็ก หรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดก เพราะการเกิดของเด็กฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร (ม.1544) 9. เด็กร้องให้อัยการฟ้องปฏิเสธความเป็นบุตร (ม.1545) * 10. ร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าเป็นบุตร (ม.1547) *11. ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (ม.1548) 12. ขอถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (ม.1554)

  12. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัว (ต่อ) 13. ฟ้องขอให้บิดาหรือมารดา จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา ตามสมควรแก่บุตร (ม.1564) * 14. ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าอำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ อยู่กับบิดาหรือมารดา (ม.1566 (5) ) 15. ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครองในการกำหนดที่อยู่ของบุตรทำโทษบุตรตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป หรือเรียกบุตรคืน จากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ม.1567) * 16. ขออนุญาตทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินบางชนิดของผู้เยาว์ (ม.1574) 17. กรณีประโยชน์ของผู้เยาว์และผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกัน (ม.1575)

  13. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัว (ต่อ) 18. ขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน (ม.1577) * 19. ฟ้องถอนอำนาจปกครองของผู้ใช้อำนาจปกครอง (ม.1582) 20. เมื่อเหตุให้ต้องถอนอำนาจปกครองตามมาตรา 1582 สิ้นไปแล้ว ผู้ถูกถอนอำนาจปกครองร้องขอให้มีอำนาจปกครองดังเดิม (ม.1583) 21. ขอให้บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดา ถูกถอนอำนาจปกครอง มีผู้ปกครองในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ (ม.1585) 22. ขอตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์โดยคำสั่งศาล หรือตามพินัยกรรม (ม.1586) * 23. ขอถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ (ม.1588)

  14. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัว (ต่อ) 24. ข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องผู้ปกครองต้องทำบัญชีทรัพย์สินภายในกำหนดเวลาที่ต้องยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินต่อศาลและข้อห้ามทำกิจกรรม (ม.1592 , 1593 , 1595) 25. กรณีมีหนี้ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองและเป็นคุณแก่ฝ่ายหนึ่งแต่เป็นโทษแก่อีกฝ่ายหนึ่ง (ม.1596) 26. กรณีศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันหรือแถลงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สิน (ม.1597) 27. กรณีผู้อยู่ในปกครองได้ทรัพย์สินมาในระหว่างปกครอง (ม.1598) 28. กรณีผู้ปกครองต้องทำบัญชีส่งศาล (ม.1598/1) 29. กรณีผู้ปกครองใช้เงินของผู้อยู่ในปกครอง (ม.1598/4)

  15. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัว (ต่อ) 30. ขอให้สั่งเรื่องอำนาจปกครองบุตร (ม.1566(5)) 31. กรณีศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง (ม.1598/8) 32. กรณีร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครอง (ม.1598/9) 33. กรณีการตั้งผู้จัดการชั่วคราวในระหว่างร้องขอให้ถอนผู้ปกครอง (ม.1598/10) 34. กรณีความปกครองหรือความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลง (ม.1598/11) 35. บำเหน็จของผู้ปกครอง (ม.1598/14)

  16. ประเภทคดีแพ่งคดีเกี่ยวกับครอบครัว (ต่อ) 36. ขอรับบุตรบุญธรรม (ม.1598/21) 37. การเลิกรับบุตรบุญธรรม (ม.1598 ว.3) 38. ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา (ม.1598/38) 39. ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างบิดามารดาและบุตร (ม.1598/38)

  17. ประเภทคดีแพ่งคดีมรดก 1. การขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ กรณีมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ (ม.32 , 1610) 2. การร้องขอต่อศาลเพื่ออนุมัติให้ทายาทซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ ทำการสละมรดก หรือรับมรดก อันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข (ม.1611) 3. สิทธิ หน้าที่ของผู้ปกครองทรัพย์ที่ตั้งขึ้นตาม ม.1687 (ม.1692)

  18. ประเภทคดีแพ่งคดีตาม พรบ. อื่นๆ 1. พรบ. จดทะเบียนครอบครัว 2. พรบ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย 3. พรบ. ชื่อบุคคล 4. พรบ. สัญชาติ 5. พรบ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  19. ประเภทคดีแพ่งคดีตามข้อหาอื่นๆ 1. ขอให้เป็นคนไร้ความสามารถ 2. ขอให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ 3. ขอทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ 4. ขอให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย 5. ค่าทดแทน 6. เรียกบุตรคืน 7. ผิดสัญญาหย่า

  20. ประเภทคดีแพ่งคดีตามข้อหาอื่นๆ (ต่อ) 8. เรียกทรัพย์คืน 9. บุตรผู้ตาย 10. ขอเป็นบิดาของผู้ตาย 11. ขอจัดการมรดกเฉพาะส่วน 12. ละเมิด 13. เพิกถอนการหย่า

  21. ประเภทคดีแพ่งคดีที่แตกสาขาออกมาจากเรื่องเดิมประเภทคดีแพ่งคดีที่แตกสาขาออกมาจากเรื่องเดิม 1. ชั้นร้องขอให้วินิจฉัยการกระทำหรือคำสั่งของผู้กำกับการปกครอง 2. ชั้นร้องขอให้เปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดู 3. ชั้นร้องขอให้เปลี่ยนแปลงค่าเลี้ยงชีพ 4. ชั้นร้องขอให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งเกี่ยวกับอำนาจจัดการสินสมรส 5. ชั้นร้องขอให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครอง 6. ชั้นร้องขอให้เปลี่ยนแปลงบำเหน็จแก่ผู้ปกครอง 7. อื่นๆ

  22. จบการบรรยาย ขอบคุณครับ

More Related