1 / 33

ปัญหาการวิจัย

eshe
Download Presentation

ปัญหาการวิจัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การผลิตและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิตสำหรับนักศึกษาชั้น ปวส.1 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม ปีการศึกษา 2550วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่จังหวัดสงขลาผู้วิจัยธนาธรณ์ ศรีหะรัญตำแหน่งครูชำนาญการ(งานวิจัยการพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในการประชุมสัมมนาทางวิชาการเสนอผลงานวิจัยอาชีวศึกษา ประจำปี 2552 โรงแรมปรินซ์พาเลซ 17-18 ก.ย.2552)

  2. ปัญหาการวิจัย • จากข้อมูลการวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม ปีการศึกษา 2549 ทีผ่านมา พบว่านักศึกษาร้อยละ 68.80 ยังมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนเรื่องการเจาะและเตรียมหลุมผลิตปิโตรเลียม อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งสอดคล้องกับการบันทึกหลังการสอนตามแผนการสอนพบว่า นักศึกษามีโอกาสน้อยในการเรียนรู้และทำความเข้าใจในเนื้อหาโดยการรับฟังคำบรรยายจากครูผู้สอนอย่างเดียว • จากปญหาที่พบในการเรียนการสอนวิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม จึงทําใหผูวิจัยเลือกที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนวิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต เพราะมีขอดีในการชวยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรูใหแกผูเรียน และมีความคงทนในการเรียนรู สูงกวาการสอนปกติ

  3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต สําหรับผู้เรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ระหว่าง ก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 3. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต ของผู้เรียนที่เรียนโดยใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนกับผู้เรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนปกติ 4. เพื่อศึกษาเจตคติตอการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน

  4. ขอบเขตการวิจัย - ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1 ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จํานวน 356 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง มาใช้ในการวิจัย จำนวน 2 ห้องเรียน คือ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1 สาขางานเทคโนโลยีปิโตรเลียม และ สาขางานเทคโนโลยีหลุมเจาะปิโตรเลียม สาขาวิชาช่างเครื่องมือวัดและควบคุม ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จํานวน 42 คน - ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรต้น ได้แก่ การผลิตและการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ตัวแปรตาม ได้แก่ 1. ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของ บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน3. ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 4. เจตคติต่อการเรียน

  5. สมมุติฐานงานวิจัย 1.บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 75/75 และประสิทธิผลไม่ต่ำกว่า0.5 2. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกวาก่อนเรียน 3. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนมีความคงทนในการเรียนรูเรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต มากกวาผู้เรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนปกติ 4. ผู้เรียนมีเจตคติตอการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนวิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต อยูในระดับดี

  6. กรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัยกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัย • แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ • แนวคิดทฤษฎีด้านเจตคติ

  7. แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิดหลักที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำการเรียนรู้ในทุกขั้นตอน มากกว่าที่จะให้ครูเป็นผู้กระทำ

  8. แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้แนวคิดทฤษฎีการจัดการเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ แนวคิดหลักที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นการค้นพบองค์ความรู้จากสถานการณ์ที่จัดให้เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้ของตนเอง

  9. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ห้องเรียน 42 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง คือ 1. สุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อเลือกผู้เรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ยคละกันระหว่างเด็กเก่ง ปานกลางและอ่อนในสัดส่วน 1/1/1 จำนวน 3 การทดลอง นักศึกษา 42 คน 2. สุ่มด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 1 ห้องเรียนได้กลุ่มตัวอย่าง 2 ห้อง นักศึกษา 60 คน ประชากรในการวิจัย เป็น ผู้เรียนระดับปวส.1ที่เรียน อยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2550 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จํานวน 356 คน

  10. ตัวแปรในการวิจัย 1 ตัวแปรต้น 1.1 การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 1.2 การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน 2 ตัวแปรตาม 2.1 ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของ บทเรียนคอมพิวเตอร ชวยสอน 2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3 ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน 2.4 เจตคติต่อการเรียน

  11. เครื่องมือในการวิจัย • บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียมเรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต สําหรับผู้เรียนระดับปวส.1 • แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน • แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์แบบคู่ขนาน ฉบับละ 20 ข้อ • แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน • แผนการสอนแบบบรรยาย • แบบวัดเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน จำนวน 10 ข้อ

  12. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบการวัดผลและประเมินผล • ศึกษาหลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม • ศึกษาหลักสูตรการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ ในส่วนที่เกี่ยวกับรายวิชา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม 4. วิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ 5. สร้างข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ให้สอดคล้องกับตารางวิเคราะห์เนื้อหาและพฤติกรรมที่ต้องการวัด โดยสร้างข้อสอบขึ้นมา 2 ชุด ๆ ละ 20 ข้อ 6. นําแบบทดสอบไปให้ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความชัดเจนถูกต้อง ความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อทําให้การปรับปรุงแก้ไข โดยพิจารณาจากค่า IOC ซึ่งมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.61 ขึ้นไป 7. นําแบบทดสอบทั้งสองชุดไปทดสอบกับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ชุดละ 9 คน โดยใช้เวลาในการทําข้อสอบชุดละ 30 นาที

  13. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ต่อ) • นําผลที่ได้จากการทดสอบทั้งสองฉบับมาวิเคราะห์เป็นรายข้อ เพื่อหาระดับของความยากง่าย (p) และอํานาจจําแนก (r) ปรากฏว่าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง (p) 0.50 ถึง 0.81 ค่าอํานาจจําแนก (r) 0.72 ถึง 0.93 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability KR-20) เท่ากับ 0.83

  14. แบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากเอกสารตําราต่าง ๆ และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับเจตคติ และแบบวัดเจตคติที่ Hooper & Others (1993)ได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างข้อคําถามให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 3. สร้างแบบวัดเจตคติต่อการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แบบ มาตรวัดLikert มีข้อความให้เลือก 5 ข้อความ จำนวน 15 ข้อ โดยมีข้อความทั้งด้านบวกและด้านลบ 4. นําแบบวัดเจตคติต่อการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ในข้อความ แล้วนํามาปรับปรุงแก้ไข 5. นําเครื่องมือที่ตรวจสอบและแก้ไขแล้ว ไปทดลองใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1 ห้อง จํานวน 30 คน

  15. แบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ)แบบเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ) 6. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเครื่องมือ โดยหาค่าอํานาจจําแนกรายข้อ และคัดเลือกข้อความที่มีค่าอํานาจจําแนก 0.2 ขึ้นไป โดยเลือกข้อที่มีค่าสูงสุดจํานวน 10 ข้อ

  16. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 1. ศึกษาทฤษฎีและหลักการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มี 5 ขั้นตอนคือ 1). ขั้นนำและทบทวนความรู้เดิม 2). ขั้นการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3). ขั้นการฝึกปฏิบัติจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4). ขั้นสร้างความคิดใหม่ 5). ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลงานร่วมกัน 2. ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาสาระรายวิชา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม จากคำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์รายวิชา และมาตรฐานรายวิชาจากหลักสูตรการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม 3. สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดที่ได้จากการศึกษาแนวคิดทฤษฎี 4. นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการสอน และนําข้อเสนอแนะต่างๆ มาทําการแก้ไขปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

  17. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ)แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(ต่อ) 5. นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้แก้ไขแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการสอน และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ซึ่งเป็นครูผู้สอนในสาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม ระดับ ปวส.1 จำนวน 5 ท่านตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง แล้วแก้ไขปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 6. นําแผนการจัดการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จํานวน 1 ห้องเรียน แล้วนําข้อบกพร่องมาปรับปรุงแก้ไขในเรื่องของวิธีดําเนินกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน เวลาที่ใช้ในการสอน และการเตรียมการสอน แล้วนําไปปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ก่อนที่จะนําไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยต่อไป

  18. แผนการสอนแบบบรรยาย 1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 สาขาวิชาเครื่องมือวัดและควบคุม และหลักสูตรการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ 2. ศึกษาเนื้อหารายวิชา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม และวิเคราะห์เนื้อหาจากหลักสูตร 3. ดําเนินการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย โดยมีขั้นตอนการสอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอนคือ1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นการบรรยายเนื้อหาสาระ 3) ขั้นการทบทวนความรู้ความเข้าใจ 4) ขั้นการสรุปและประเมินผล 4. นําแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ไปหาประสิทธิภาพของแผนการสอนโดยให้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นครูที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการพิเศษตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งด้านเนื้อหาและรูปแบบการสอนแล้วแก้ไขปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 5. ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายกับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 1 ห้องเรียน แล้วปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 6. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ไปทดลองสอนกับกลุ่มตัวอย่างตามขั้นตอนการวิจัยต่อไป

  19. รูปแบบการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (True Experimental Design) โดยใช้แบบแผนการวิจัยที่เรียกว่า The pretest – posttest groups design ดังนี้ กลุ่มทดลอง R O1 X O2 กลุ่มควบคุม R O3 C O4 ความหมายของสัญลักษณ์ • R หมายถึง การสุ่มนักศึกษาเข้ากลุ่ม • O1หมายถึง คะแนนสอบก่อนเรียนของกลุ่มทดลอง • O2หมายถึง คะแนนสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลอง • O3 หมายถึง คะแนนสอบก่อนเรียนของกลุ่มควบคุม • O4หมายถึง คะแนนสอบหลังเรียนของกลุ่มควบคุม • X หมายถึง การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน • C หมายถึง การสอนปกติ

  20. การเก็บรวบรวมข้อมูล • การทดลองแบบหนึ่งตอหนึ่ง (One to One Testing) โดยนําบทเรียนคอมพิวเตอร ชวยสอนที่พัฒนาขึ้น ทดลองกับผู้เรียนที่ไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มากอนแบบเจาะจง จํานวน 3 คน โดยเลือกผู้เรียนที่มีระดับผลการเรียนระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 1 คน เพื่อสำรวจดูว่า ภาษา ภาพ ตัวอักษร และการบันทึกข้อมูลของบทเรียนที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมหรือไม่ กรอบของบทเรียนใดอธิบายไม่ชัดเจนทำให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียน โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนมาเป็นข้อสรุป เพื่อหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของบทเรียน รวมทั้งหาขอบกพรอง แลวนําผลมาปรับปรุง แกไขต่อไป • การทดลองแบบกลุมเล็ก ( Small Group Testing) โดยนําบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่ปรับปรุง แกไขแลว ทดลองใช้กับผู้เรียนที่ไม่เคยเรียนเนื้อหานี้มากอน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง จํานวน 9 คน โดยเลือกผู้เรียนที่มีระดับผลการเรียนระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 3 คน โดยให้ผู้เรียนเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น แล้วทำการทดสอบหลังเรียน จากนั้นนำคำตอบและคะแนนที่ได้ของกลุ่มตัวอย่างไปวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น และค่าเฉลี่ย เพื่อหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของบทเรียนที่สร้างขึ้นรวมทั้งหาขอบกพรอง แลวนําผลมาทำการปรับปรุง แกไขขอบกพรองต่างๆ ที่พบจนสมบูรณ์ดีแล้วจึงนำไปทดลองภาคสนามต่อไป

  21. การเก็บรวบรวมข้อมูล (ต่อ) • การทดลองภาคสนาม (Field Testing) โดยนําบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่ปรับปรุง แกไขข้อบกพร่องต่างๆ แลว ทดลองกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปที่ 1ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จํานวน30 คน โดยชี้แจงวิธีการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากนั้นให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนก่อนการเรียนรู้ แล้วจึงให้ผู้เรียนเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน โดยปฏิบัติกิจกรรมประกอบการเรียนจนจบบทเรียน และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนแล้วให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนทันที และนำผลที่ได้ไปหาค่าร้อยละเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 และค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอนโดยใช้เกณฑ์ 0.50 4. สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนโดยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนเรียน จำนวน 20 ข้อกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มควบคุม ซึ่งถือเป็นการทดสอบก่อนเรียน (Pretest) 5. ดําเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 6. การทดสอบหลังเรียน (posttest) โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน จำนวน 20 ข้อกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มควบคุม

  22. การเก็บรวบรวมข้อมูล(ต่อ)การเก็บรวบรวมข้อมูล(ต่อ) 7. การทดสอบความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน จะทดสอบหลังจากเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ โดยใช้แบบทดสอบชุดแบบทดสอบหลังเรียนเพื่อหาค่าความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม • การสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน สอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อวัดเจตคติ ตอการเรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน จำนวน 10 ข้อ

  23. การวิเคราะห์ข้อมูล • ขั้นหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.1 การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย 1) วิเคราะหความคิดเห็นของผูเชี่ยวชาญ ใชคาเฉลี่ย (Arithmetic Mean) 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามแนวคิด ของ วิลเลียมส์ และ เอสพิส (อ้างถึงในสุวิมล เขี้ยวแก้ว, 2542) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 โดยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพตัวแรกจากร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่ผู้เรียนตอบถูกจากการทำแบบฝึกหัด และกิจกรรมระหว่างเรียน ส่วนค่าประสิทธิภาพตัวหลังคำนวณหา โดยการนำผลการทดสอบที่ได้จากแบบทดสอบหลังเรียนไปหาค่าร้อยละ 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index; E.I.) ของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ที่พัฒนาขึ้น เพื่อดูพัฒนาการของการเรียนกอนเรียนและหลังเรียน การคํานวณหาคาดัชนีประสิทธิผล ใชวิธีการของ กูดแมน เฟรทเชอร และชไนเดอร (สังคม ภูมิพันธ. ม.ป.ป.)

  24. การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) • ขั้นหาคุณภาพของเครื่องมือ 1.2 การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใชสถิติ คาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (IOC) คาความยากงาย (p) คาอํานาจจําแนก ( r ) และคาความเชื่อมั่น (Reliability) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1) หาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ของ แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้วิธี โรวิเนลลีและแฮมเบิลตัน (บุญชม ศรีสะอาด, 2535) 2) หาค่าความยากง่าย (Difficulty; p) และ ค่าอำนาจจำแนก (Discrimination; r) ของแบบทดสอบแบบเลือกตอบ (บุญชม ศรีสะอาด, 2535) 3) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้วิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20) (Kuder-Richardson Method) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540)

  25. การวิเคราะห์ข้อมูล (ต่อ) 2. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน 2.1 การวิเคราะหเจตคติของผู้เรียนที่มีตอบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ใชรอยละ (Percentage) คาเฉลี่ย (Arithmetic Mean) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2.2 การหาความก้าวหน้า เพื่อ ศึกษาความแตกต่างของคะแนน จากการทำ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 1) ทดสอบความแตกตางของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหวาง หลังเรียนกับกอน เรียนและระหว่าง หลังเรียน 2 สัปดาหกับหลังเรียนของกลุมทดลองใชคา t – test แบบ Dependent Samples 2) ทดสอบคาความแตกตางของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหวางกลุมทดลองกับ กลุมควบคุม ทั้งหลังเรียน และหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห ใชคา t – test แบบ Independent Samples

  26. สรุปผลการวิจัย 1. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน ที่ผูวิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.25/91.33 มีดัชนีประสิทธิผล เทากับ 0.86 2. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกวาก่อนเรียน 3. ผู้เรียนที่เรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน มีความคงทนในการเรียนรูสูงกวาผู้เรียนที่เรียนดวยวิธีปกติ 4. ผู้เรียนมีเจตคติตอการเรียนดวยบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต วิชาธรณีวิทยาปิโตรเลียม อยูในระดับดีมาก

  27. อภิปรายผล 1. คุณภาพของสื่อคอมพิวเตอร์ชวยสอน • ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน เรื่อง การเจาะและเตรียมหลุมผลิต มีค่าเท่ากับ 83.25/91.33 แสดงว่า บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ • ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเท่ากับ 4.70 หรือ ร้อยละ 94.00 จึงถือว่ามีความเที่ยงตรงสูง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของแฮมเบิลตันที่กล่าวว่า ความเที่ยงตรงที่ดี ควรมีค่าตั้งแต่ร้อยละ 70.00 ขึ้นไป • ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนเรื่องการเจาะ และ เตรียมหลุมผลิต มีค่าเท่ากับ 0.8617 หรือ คิดเป็นร้อยละ 86.17 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ที่ตั้งไว้

  28. อภิปรายผล (ต่อ) 2. คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • คุณภาพของแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่เรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอนซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน5 คน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.94 ซึ่งอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับดีมาก และเป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของ บุญชม ศรีสะอาด (2535) • ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.81 ซึ่งถือว่า มีความยากง่ายพอเหมาะ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2535) • ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง0.72 ถึง 0.93 ซึ่งถือว่า สามารถจำแนกได้ เป็นไปตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2535) ที่กล่าวว่า ค่าอำนาจจำแนกที่ดีควรอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 1.00 • ค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.83 ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540) ซึ่งกล่าวว่าความเชื่อมั่นควรมีค่ามากกว่า 0.8

  29. อภิปรายผล (ต่อ) 3. การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน • ความก้าวหน้า ซึ่งประเมินจากแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ผลปรากฏว่า เป็นไปตามสมมติฐาน คือ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 • ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียน พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของผู้เรียนหลังเรียน และหลังจากเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุมทดลอง สูงกว่า ผู้เรียนกลุ่มควบคุม นั่นคือ กลุมทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนเรื่องการเจาะและเตรียมหลุมผลิตสูงกว่า กลุมควบคุม

  30. อภิปรายผล (ต่อ) 4. เจตคติของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอน • เจตคติของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ชวยสอน ซึ่งความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดีมาก (X = 4.88, S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับดีมากทุกข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความชัดเจนของเนื้อหา และ สามารถใช้งานได้จริง สำหรับความคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับระดับความคิดเห็น ของ ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533)

  31. ข้อเสนอแนะ 1. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนนั้น ขณะพัฒนาผูวิจัยพบวา ผู้เรียนจะตื่นเตน กับหนาจอที่มีทั้งภาพ และขอความมาก รวมทั้งใหความสนใจขอความที่คอยใหกําลังใจที่สอดแทรกไว ดั้งนั้นควรสรางสิ่งที่ทําใหเกิดการตอบสนองเชนนั้นมาก ๆ 2. บทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนที่มีประสิทธิภาพตองผานกระบวนการสรางอยางเปน ระบบ มีการปรับปรุงแกไขขอบกพรองกอนนําไปทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพ • ตองใชเวลา คาใชจาย ทักษะการออกแบบ การใชคอมพิวเตอร การจัดองคประกอบของ หนาจอ เนื้อหาที่ถูกตอง และเทคนิคการนําเสนอที่ดี ดังนั้นในการพัฒนาบทเรียนใหมีประสิทธิภาพสูง ควรมีการรวมมือระหวางผูเชี่ยวชาญด้านตาง ๆ • ควรเตรียมอุปกรณ เครื่องใชคอมพิวเตอรใหพรอมกอนใชบทเรียน • ควรศึกษาคูมือการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนใหเขาใจกอนใชบทเรียน 6. ควรใหความอิสระในการใชเครื่องคอมพิวเตอรกับผู้เรียนใหมาก ใหสามารถที่จะใชเวลาวางในการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนอยางมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  32. ข้อเสนอแนะในการวิจัย 1. ควรมีการวิจัยเชิงพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนในเนื้อหาวิชาตางๆ ใหมากขึ้น เนื่องจากสภาพการใชเครื่องคอมพิวเตอรในปจจุบันตามสถานศึกษาตางๆ ทุกระดับมีอยางทั่วถึง และนับวันจะเขามามีสวนรวมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น แตยังขาดซอฟทแวรของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน จึงควรมีการสงเสริมใหมีการวิจัยเชิงพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนใหมากขึ้น 2. เนื่องจากปจจุบันตัวอักษรที่ใชในการออกแบบจอภาพของบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน มีอยูมากมายหลายแบบ จึงควรระมัดระวังในการเลือกใชตัวอักษรในการออกแบบกรอบภาพ ถา เปนไปไดควรมีการวิจัยเกี่ยวกับลักษณะตัวอักษรที่ใชในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนตอไป 3. ควรมีการวิจัยเกี่ยวกับระยะเวลาในการใชบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอน กับผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนรู สูง ปานกลาง และ ต่ำ

  33. สวัสดี

More Related