1 / 36

บทนำกฎหมายสาธารณสุข

บทนำกฎหมายสาธารณสุข.

Download Presentation

บทนำกฎหมายสาธารณสุข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทนำกฎหมายสาธารณสุข รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  2. .....โดยที่การประกอบโรคศิลปะย่อมมีอิทธิพลอันสำคัญแก่สวัสดิภาพของประชาชน โดยที่กาลบัดนี้ ในกรุงสยามยังไม่มีระเบียบบังคับควบคุมการประกอบกิจเช่นนี้ปล่อยให้มหาชนปราศจากความคุ้มครองจากอันตราย อันเกิดแต่การประกอบแห่งผู้ที่ไร้ความรู้และมิได้ฝึกหัดและโดยที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรควบคุมวางระเบียบบังคับ และเลื่อนฐานะแห่งการประกอบโรคศิลปะให้สูงยิ่งขึ้นไปจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ..... รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  3. พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  4. การประกอบโรคศิลปะ แบ่งออกเป็น 7 สาขา ได้แก่ - เวชกรรม - เภสัชกรรม - ทันตกรรม - การพยาบาล - การผดุงครรภ์ - เทคนิคการแพทย์ - กายภาพบำบัด รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  5. การประกอบโรคศิลปะ แบ่งออกเป็น 7 สาขา ได้แก่ - เวชกรรมแผนโบราณ - เภสัชกรรม - ทันตกรรม - การพยาบาล - การผดุงครรภ์ - เทคนิคการแพทย์ - กายภาพบำบัด รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  6. พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  7. พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 เดิม คือ สาขาหนึ่งของการประกอบโรคศิลปะ พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาเป็นพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งต่อมาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้องค์กรอิสระ คือ แพทยสภามาทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานโดยการขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพก่อนจึงจะทำการประกอบวิชาชีพได้ บุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายนี้คือ แพทย์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  8. พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  9. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 เดิม คือ สาขาของการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 โดยแยกผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาการพยาบาล ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาการผดุงครรภ์ ทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสองมาอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ. วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 มีสภาการพยาบาลเป็นองค์กรสำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  10. พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2538 พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  11. พระราชบัญญัติเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 เป็นกฎหมายที่มีการแยกสาขาเภสัชกรรมของกฎหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะ มาอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ. วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 มีสภาเภสัชกรรมทำหน้าที่ควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  12. พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 ก็เป็นกฎหมายอีกฉบับที่มีการแยกสาขาทันตกรรมของกฎหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะ มาอยู่ภายใต้บังคับ พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม มีทันตแพทยสภาเป็นผู้ควบคุมการประกอบวิชาชีพ ทันตกรรม รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  13. พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  14. การประกอบโรคศิลปะหมายความว่าการประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  15. การประกอบโรคศิลปะ แบ่งออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ - สาขาการแพทย์แผนไทย ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และ การแพทย์แผนไทยประเภทอื่นตามที่รัฐมนตรี ประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ - สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ - สาขากายภาพบำบัด - สาขาเทคนิคการแพทย์ - สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  16. พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2538 พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติวิชาชีพการกายบำบัด พ.ศ. 2547 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  17. “วิชาชีพเทคนิคการแพทย์” หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อร่างกายมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่าง และการดำเนินการอย่างมีมาตรฐานโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจ ทดสอบวิเคราะห์ วิจัย และการรายงานผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัย การติดตาม การรักษา การพยากรณ์โรคและการป้องกันโรค หรือเพื่อการประเมินภาวะสุขภาพ สภาเทคนิคการแพทย์ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  18. “วิชาชีพกายภาพบำบัด” หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อร่างกายมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกายที่เกิดจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวไม่ผิดปกติ การป้องกัน การแก้ไข การฟื้นฟูการเสื่อมสภาพความพิการของร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดหรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่รัฐมนตรีประกาศโดยตำแนะนำของคณะกรรมการให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์กายภาพบำบัด สภากายภาพบำบัด รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  19. “สาธารณสุข” กิจการเกี่ยวกับการป้องกัน การบำบัดโรค การรักษา และส่งเสริมสุขภาพของประชาชน (public health) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  20. องค์ประกอบของการสาธารณสุของค์ประกอบของการสาธารณสุข • การส่งเสริมสุขภาพอนามัย(Health Promotion) • การป้องกันเฉพาะโรค(Specific Protection) • การวินิจฉัยแต่แรกเริ่มและการรักษาโดยฉับพลัน • (Early Diagnosis and Prompt Treatment) • การจำกัดความพิการและการฟื้นฟูสุขภาพ • (Disability Limitation and Rehabilitation) • การอนามัยสิ่งแวดล้อม(Environmental Health) รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  21. HOSTS AGENTS ENVIRONMENT รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  22. 1.บุคลากรสาธารณสุข 2. สถานบริการสาธารณสุข 3. การป้องกันควบคุมโรคและการดูแลสุขภาพ 3.1 พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2523 3.2 พ.ร.บ. เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 (แก้ไขเพิ่มเติม) 3.3 พ.ร.บ. โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2525 3.4 พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 3.5 พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  23. 4.การคุ้มครองสุขภาพอนามัย4.การคุ้มครองสุขภาพอนามัย 4.1 พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 4.2 พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 4.3 พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 4.4 พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 4.5 พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2535 4.6 พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 4.7 พ.ร.บ. เครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 4.8 พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2535 5. การส่งเสริมอนามัย 5.1 พ.ร.บ. ยา พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 5.2 พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  24. พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไข โดยยกเลิก พ.ร.บ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2504 เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมสถานที่ที่ผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ มาทำการประกอบวิชาชีพ โดยเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ให้ได้รับความปลอดภัยในการดำเนินการของสถานพยาบาล จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งและดำเนินการสถานพยาบาล รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  25. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 เป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโรค หรือพิษของเชื้อโรคชนิดหนึ่งชนิดใดซึ่งอาจถ่ายทอดจากคนหรือสัตว์มิให้มีการระบาดในประเทศ หากมีโรคระบาดเกิดขึ้นก็จะต้องกำจัดโรคหรือพาหะของโรคให้เสร็จสิ้นโดยเร็วด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามหลักวิชาการควบคุมโรคติดต่อเพื่อต้องการให้โรคติดต่อสงบลง รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  26. พระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 • เป็นกฎหมายควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นโรคติดต่ออันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ กำหนดให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  27. พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2525 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็นกฎหมายที่มีลักษณะควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บในคน จึงต้องมีมาตรการควบคุมการผลิต การครอบครอง การจำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  28. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่ควบคุมกำกับดูแลกิจการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เหมาะสมในการดำเนินกิจการในท้องถิ่นที่รับผิดชอบ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะออกข้อกำหนดแตกต่างกันได้ บางกิจการต้องขออนุญาต บางกิจการต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบโดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ทั้งนี้ โดยมีส่วนกลางและอธิบดีกรมอนามัยเป็นผู้สนับสนุนทางด้านวิชาการ เพื่อให้การดำเนินกิจการต่าง ๆ เป็นไปโดยถูกสุขลักษณะและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  29. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุมดูแลรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและสถานสาธารณะ เช่น ทางเท้า ถนน ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยให้ราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจควบคุมดูแลในท้องถิ่นที่รับผิดชอบไม่ให้มีการกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อที่สาธารณะและสถานสาธารณะ สิ่งของที่เป็นของสาธารณะและสิ่งแวดล้อม โดยส่วนกลางจะให้คำแนะนำในการพิจารณาแห้ไขข้อบกพร่องในการปฏิบัติตามกฎหมายและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดด้วย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  30. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 กำหนดมาตรการในการควบคุมยาเสพติดให้โทษโดยรัฐอย่างเข้มงวด ทั้งการผลิต นำเข้า จำหน่าย ส่งออก ทำผ่าน และการมีไว้ในครอบครอง ยาเสพติดให้โทษประเภท 3 ได้รับการยกเว้นให้ นำมาใช้เป็นยาเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์แต่ก็จะต้องควบคุมในการขึ้นทะเบียนวัตถุตำรับ และต้องไม่มีลักษณะเป็นยาเสพติดปลอม ผิดมาตรฐาน เสื่อมคุณภาพ ด้วย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  31. ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน, แอมเฟตามีนประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน, โคคาอีน, โคเดดีน, ฝิ่นยา ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ด้วย และได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ยาแก้ไอผสมโคเดอีน, ยาแก้ท้องเสียผสมฝิ่นยา เป็นต้น รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  32. ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติดแอนไฮไดรด์, อาเซติลคลอไรด์ ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มีได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  33. พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท • เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลและสังคมโดยรวม โดยการควบคุมสถานที่ผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่าน การมีไว้ในครอบครอง การโฆษณา และกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิดไว้ด้วย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  34. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ที่ต้องได้รับควันบุหรี่ในที่สาธารณะ จึงต้องควบคุมโดยกำหนดเขต หรือสถานที่ที่ให้สูบบุหรี่เป็นการเฉพาะหรือสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่ โดยให้ผู้ดำเนินการจัดส่วนใดส่วนหนึ่งของสถานที่สาธารณะเป็นเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ รวมทั้งต้องจัดให้มีเครื่องหมายในเขตดังกล่าว รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  35. พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 สาระสำคัญของกฎหมายยา คือ การควบคุม การผลิตยา การขายยา การนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร การขึ้นทะเบียนตำรับยา การควบคุมคุณภาพของยา ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและปลอดภัย การควบคุมการโฆษณาขายยาเพื่อให้ประชาชนไม่ถูกหลอกลวงให้เกิดความเข้าใจผิด รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

  36. กฎหมายสาธารณสุข ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ • พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 • พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 • พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 • พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา ศิริทรัพย์

More Related