1 / 89

ทฤษฎีบุคลิกภาพ

ทฤษฎีบุคลิกภาพ. อารีลักษณ์ พูล ทรัพย์. นิยาม. การ รับรู้พฤติกรรมรวมทั้งหมดของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทั้งในสิ่งที่มองเห็นได้ เช่น ลักษณะของพฤติกรรม และสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น ความคิด ความ สนใจ ค่านิยม ซึ่งจะทำให้คนอื่นสามารถจะ เข้าใจและ แยกได้ว่าบุคคลนั้นแตกต่างจาก คนทั่วไปได้

eugene
Download Presentation

ทฤษฎีบุคลิกภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีบุคลิกภาพ อารีลักษณ์ พูลทรัพย์

  2. นิยาม • การรับรู้พฤติกรรมรวมทั้งหมดของบุคคลใดบุคคลหนึ่งทั้งในสิ่งที่มองเห็นได้เช่นลักษณะของพฤติกรรมและสิ่งที่มองไม่เห็นเช่นความคิดความสนใจค่านิยมซึ่งจะทำให้คนอื่นสามารถจะเข้าใจและแยกได้ว่าบุคคลนั้นแตกต่างจากคนทั่วไปได้ • โครงสร้างทางจิตวิทยา (psychological construct) เป็นมโนคติอันซับซ้อนซึ่งรวมถึงภูมิหลังพิเศษทางยีนส์ของบุคคลและประวัติการเรียนรู้ รวมทั้งวิธีการที่ความซับซ้อนเหล่านี้รวมเป็นองค์เดียวและประสานกันทำให้เกิดพฤติกรรมสนองตอบของสิ่งเหล่านี้ในสภาพเฉพาะของสิ่งแวดล้อมบุคคลมีปฏิกิริยาในเหตุการณ์ต่างๆอย่างไร

  3. ความสำคัญ • บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ทั้งในด้านส่วนตัวและด้านการงานเพราะเป็นที่ชื่นชอบของคนโดยทั่วไป ทำให้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ และได้รับความร่วมมือจากบุคคลอื่นมากขึ้น ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ • บุคคลที่มีบุคลิกภาพดีมักจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพราะมีความเชื่อมั่น มีโอกาส รู้วิธีที่จะปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน คนที่มีบุคลิกภาพดีจะได้เปรียบคนอื่นเพราะจะทำให้ได้รับความเชื่อมั่น ศรัทธาจากผู้พบเห็นและคนที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยการทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ย่อมได้รับความร่วมมือจากคนส่วนใหญ่มากกว่าคนที่มีบุคลิกภาพไม่ดีและสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

  4. ประเภทของบุคลิกภาพ • นักจิตวิทยาและนักวิชาการได้แบ่งประเภทของบุคลิกภาพของบุคคลไว้หลายลักษณะเช่นแบ่งตามลักษณะโครงสร้างร่างกายแบ่งตามลักษณะการแสดงออกแบ่งตามลักษณะพฤติกรรมและแบ่งตามลักษณะบุคลิกภาพ • วิลเลียมเชลดอน (William Sheldon)นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้แบ่งประเภทของบุคลิกภาพของบุคคลตามลักษณะโครงสร้างของร่างกายได้ 3 ประเภทคือ • 1 รูปร่างอ้วนเตี้ย (Endomorphy) ได้แก่บุคคลที่มีลักษณะอ้วนเตี้ย เป็นคนชอบสังคม อารมณ์ดี ร่าเริง ช่างพูดคุย ใจดี ใจเย็น เป็นคนชอบสนุกสนานรื่นเริงจู้จี้ขี้บ่นเสียงดังฟังชัด โกรธง่ายหายเร็ว

  5. ประเภทของบุคลิกภาพ • 2 รูปร่างสมส่วน (Mesomorphy) ได้แก่บุคคลที่มีรูปร่างลักษณะสมส่วนลำตัวตรงไหล่กว้างกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกแข็งแรงเป็นบุคคลที่กล้าหาญ กล้าเสี่ยงกล้าผจญภัย เข้มแข็ง คล่องแคล่วว่องไวมีความอดทนและมีพลังมากส่วนใหญ่ชอบเล่นกีฬาและเป็นนักกีฬา • 3รูปร่างผอมบาง (Ectomorphy) ได้แก่บุคคลที่มีบุคลิกภาพในลักษณะผอมสูงช่วงไหล่ห่อเอวเล็กเอวบางสะโพกเล็กกล้ามเนื้อน้อยไวต่อการรู้สึกและไม่ชอบเข้าสังคมใจน้อย และอ่อนไหวง่าย

  6. ประเภทของบุคลิกภาพ • แบ่งตามประเภทลักษณะพฤติกรรม • คาร์ลกุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung) ได้แบ่งบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 3 ประเภท คือ • 1. ประเภทเก็บตัว (Introvert) คือ เป็นลักษณะที่เงียบเฉยเก็บตัวขี้อายไม่ชอบพูด ไม่ชอบสังคม ไม่ชอบและไม่สนใจเรื่องของผู้อื่นชอบคิดมาก ชอบความเงียบสงบไม่วุ่นวายจะคิดและฝันเองตามลำพังเมื่อประสบปัญหามักจะหลีกเลี่ยงปัญหา หรือแยกตัวออกจากสังคม มีอารมณ์รุนแรง นอกจากนี้ยังคิดช้า ตัดสินใจช้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเองถ้าจะพูดก็มักจะพูดเรื่องของตัวเองและชอบเขียนมากกว่าพูด

  7. ประเภทของบุคลิกภาพ • 2. ประเภทแสดงตัว (Extrovert) บุคคลที่มีบุคลิกภาพกล้าแสดงออกเปิดเผยร่าเริง แจ่มใส มีน้ำใจ ชอบงานสังคม การสังสรรค์ เข้าสังคม พบปะพูดคุยกับผู้อื่น และสนใจเรื่องราวของผู้อื่นมีความเชื่อมั่นในตนเองสามารถปรับตัวได้ดี ชอบช่วยเหลือสังคม ไม่สนใจตนเองมากนัก ถือสังคมเป็นศูนย์กลาง ชอบทำงานเป็นกลุ่ม ติดต่องานได้คล่องแคล่วว่องไว มีมนุษยสัมพันธ์ดี แต่มีข้อเสีย คือ เป็นคนพูดมาก เก็บความลับไม่อยู่ พูดนอกเรื่อง พูดเกินจริง สนิทกับคนแปลกหน้าเร็วเกินไป พูดไม่ถูกกาลเทศะ และชอบพูดทับถมผู้อื่น

  8. ประเภทของบุคลิกภาพ • 3. พวกกลาง ๆ (Ambivert) บุคคลประเภทนี้เป็นคนพูดพอควร เดินทางสายกลางมีชีวิตเรียบง่าย อยู่คนเดียวก็มีความสุขอยู่ในสังคมก็มีความสุข คบหากับคนทั่วไปได้ดี ไม่พูดมากเกินไป และไม่น้อยเกินไป

  9. ประเภทของบุคลิกภาพ • แบ่งตามลักษณะบุคลิกภาพ เราสามารถแบ่งบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ • 1 บุคลิกภาพภายนอก (External Personality) หมายถึงทั้งร่างกายที่ปรากฏ • 2 บุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) คือลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นสัมผัสยากแต่สามารถศึกษาจากการมีปฏิสัมพันธ์เช่นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ความเฉลียวฉลาดความเป็นมิตรอารมณ์และความรู้สึก

  10. ประเภทของบุคลิกภาพ • น.พ. ประสพ รัตนากร ให้ความคิดเห็นว่า บุคลิกภาพของมนุษย์แบ่งออกเป็น 8 ประเภท คือ • 1. ประเภทปัญญาชน คนประเภทนี้มักใช้สติปัญญาเป็นเคริ่องกำหนดพฤติกรรม ทำอะไรต้องไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล • 2. ประเภทปากเป็นเอก คนประเภทนี้ชอบใช้วาจาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ • 3. ประเภทถืออำนาจเป็นใหญ่ คนประเภทนี้ชอบใช้อำนาจวางโต หรือแฝงไว้ด้วยอำนาจ • 4. ประเภทที่รู้จักและเข้าใจตนเอง คือ ประเภทที่รู้ฐานะของตนเองว่าเป็นใคร มีความสำคัญอย่างไร

  11. ประเภทของบุคลิกภาพ • 5. ประเภทมีความอดทน คนประเภทนี้จะมีความอดทน อดกลั้น • 6. ประเภทเจ้าอารมณ์ คนประเภทนี้ใช้อารมณ์เป็นใหญ่ มีอารมณ์รุนแรง เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น • 7. ประเภทยึดระเบียบกฎเกณฑ์ คนประเภทนี้นอกจากจะยึดระเบียบกฎเกณฑ์แล้วยังเป็นประเภทเถรตรง • 8. ประเภทยึดถือสังคม คนประเภทนี้ชอบทำตามสังคม เปลี่ยนแปลงปรับปรุงสิ่งต่างๆ ตามสังคม นิยมใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องสำอาง เสื้อผ้าตามแฟชั่น ตามสังคม

  12. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic Theory) • แนวคิดนี้พยายามอธิบายและศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่มุมและประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ • บุคคลได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สังคม และวัฒนธรรม • ประสบการณ์ในอดีตมีผลต่อพฤติกรรมในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร โดยเน้นว่าประสบการณ์ในวัยเด็กมีอิทธิพลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ ในวัยผู้ใหญ่ทั้งทางบวกและทางลบอย่างไร • ประสบการณ์จิตใต้สำนึก ควบคุมและบงการพฤติกรรมของบุคคลอย่างไร

  13. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic Theory) • การพัฒนาของมนุษย์มีขั้นตอนการพัฒนา ไม่มีการข้ามขั้น ทุกขั้นตอนมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อพัฒนาการในลำดับขั้นต่อไป หากพัฒนาการขั้นใดไม่มีเกิดขึ้นในระยะที่ควรพัฒนา (Critical Period) จะส่งผลในแง่ลบต่อพัฒนาการและบุคลิกภาพในวัยนั้น • อธิบายถึงพฤติกรรมที่ไร้เหตุผล และเบี่ยงเบนจากปกติได้ค่อนข้างชัดเจน • ได้ข้อมูลส่วนใหญ่จากการศึกษาบุคคลที่มีปัญหาทางอารมณ์ ทางความคิด และบุคลิกภาพแต่ก็มีแค่ยิ่งต่อการฉายภาพพฤติกรรมปกติให้เห็นชัดเจนขึ้น

  14. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1856-1939) เป็นจิตแพทย์ชาวออสเตรีย เป็นคนแรกที่เห็นความสำคัญของพัฒนาการในวัยเด็ก โดยเชื่อว่าเป็นรากฐานของพัฒนาการของบุคลิกภาพตอนวัยผู้ใหญ่ ตามคำกล่าวของนักกวี Wordsworth ที่ว่า "The child is father of the man" และมีความเชื่อว่า 5 ปีแรกของชีวิตมีความสำคัญมาก เป็นระยะวิกฤติของพัฒนาการของชีวิตบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ มักจะเป็นผลรวมของพัฒนาการใน 5 ปีแรกของชีวิต

  15. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

  16. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ฟรอยด์เชื่อว่า บุคลิกภาพของผู้ใหญ่ ที่แตกต่างกัน ก็เนื่องจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อเวลาอยู่ในวัยเด็ก และขึ้นอยู่กับว่าเด็กแต่ละคน แก้ปัญหาของความขัดแย้งของแต่ละวัยอย่างไร ทฤษฎีของฟรอยด์มีอิทธิพลทางการ รักษาคนไข้โรคจิต วิธีการนี้เรียกว่า จิตวิเคราะห์ (Psycho analysis) โดยให้คนไข้ระบายปัญหาให้จิตแพทย์ฟัง

  17. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ฟรอยด์เป็นคนแรก ที่ได้ให้ความคิดเกี่ยวกับแรงผลักดันไร้สำนึก (Unconscious drive) หรือแรงจูงใจไร้สำนึก (Unconscious motivation) ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของพฤติกรรม และมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของมนุษย์ • ฟรอยด์อธิบายว่าจิตใจมนุษย์มีสภาพคล้ายภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร ส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำมีเป็นส่วนน้อย ส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำมีเป็นส่วนมาก ฟรอยด์ได้แบ่งจิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับ คือ

  18. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • จิตสำนึก (Conscious) ภาวะจิตระดับสำนึกเป็นส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือผิวน้ำต้องแสงสวางและอากาศปรากฏแก่สายตา คือ จิตหรือพฤติกรรมที่อยู่ในความควบคุมของสำนึกรู้ เป็นระดับที่ผู้แสดงพฤติกรรมทราบและรู้ตัว • จิตก่อนสำนึก (Pre-conscious) คือส่วนที่อยู่ปริ่มผิวน้ำแจปรากฏขึ้นหรือจมหาบไป ระดับจิตก่อนสำนึก เป็นสิ่งที่จะดึงขึ้นมา อยู่ในระดับจิตสำนึก ได้ง่าย ถ้าหากมีความจำเป็นหรือต้องการ เป็นระดับความรู้สึกตัวของบุคคลที่บางครั้งรู้ตัว บางครั้งไม่รู้ตัว

  19. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • จิตไร้สำนึก (Unconscious) คือส่วนที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งมีปริมาณมหาศาล อยู่ในความมืด ไม่ปรากฏแก่สายตา ห้าม จิตระดับนี้มีกลไกทางจิตหลายประเภท เช่น แรงจูงใจ อารมณ์ที่ถูกเก็บกด ความรู้สึกนึกคิด ความฝัน ความจำ ฯลฯ จิตใต้สำนึกสะสมประสบการณ์ในอดีตมากมาย ถูกบีบอัด เก็บกด หรือคอยเพื่อให้ได้สมความปารถนา เพื่อให้ได้จังหวะเหมาะสำหรับตอบสนองต่อสิ่งเร้าอันยังไม่ได้กระทำหรือยังไม่สมปารถนาหรือกระทำไม่ได้ในสภาวะปกติ เช่น จารีตประเพณีห้าม กฎหมาย • พลังจิตใต้สำนึกมีอิทธิพลเหนือจิตสำนึกกระตุ้นให้มีพฤติกรรมประจำวันทั่วๆ ไป เป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผลและผิดปกติในลักษณะต่างๆ จิตใต้สำนึกนี้มักจะถูกกล่าวถึงในแง่ลบเป็นส่วนใหญ่

  20. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ระดับจิตไร้สำนึกเป็นระดับที่อยู่ในส่วนลึกภายในจิตใจ จะดึงขึ้นมาถึงระดับจิตสำนึกได้ยาก แต่สิ่งที่อยู่ในระดับไร้สำนึกก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เป็นระดับที่เก็บกด (Repress) สิ่งต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายใจให้อยู่ในระดับไม่รู้ตัว แต่สิ่งเหล่านี้จะหลุดออกมาในรูปของความฝันหรือการพูดพลั้งปาก (Slipped Tongue) พลังจิตใต้สำนึกที่ถูกเก็บกดไว้มักแปรรูปเป็นพฤติกรรมผิดปกติ เช่น หวาดระแวง วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ

  21. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

  22. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ฟรอยด์กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด สัญชาตญาณเป็นตัวขับบุคลิกภาพ พฤติกรรมส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยสัญชาตญาณ • สัญชาตญาณบางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า "Libido" เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure)

  23. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • แรงขับของสัญชาติญาณเริ่มจากความต้องการของร่างกายส่วนต่างๆ ซึ่งผลักดันให้คนต้องกระทำเพื่อสนองความต้องการของร่างกาย เมื่อได้รับการสนองแล้วร่างกายจะกลับเข้าสู่สภาพสมดุล เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองคนเราจะรู้สึกปวดร้าวหงุดหงิด ความสุขจะเกิดขึ้นเมื่อแรงกระตุ้นและการเรียกร้องถูกลดลง

  24. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • สัญชาติญานมีลักษณะสี่อย่าง • Source สิ่งที่ร่างกายขาด • Aim การสนองความต้องการ • Inputs สิ่งที่ขับให้เกิดพฤติกรรม • Object สิ่งที่ทำให้สัญชาตญานสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งในโลกเรามีอยู่มากมายที่จะสนองความสุขของร่างกายได้ สัญชาติญาณจะเลือกของที่ทำให้ร่างกายมีสุขมากที่สุด มีแฟน/เปลี่ยนแฟน แก้แค้น/หาแพะรับบาป ฆ่าคน/ทำอัตวิบากกรรม มีเซ็กส์/สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง

  25. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ฟรอยด์ได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2 ชนิดคือ 1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life instinct) โดยหลักแล้วคือความต้องการทางกายภาพ อาหาร น้ำ ความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ ความต้องการทางเพศเพื่อให้เกิดการสืบพันธุ์และแสวงหาความสุข มีพลังสำคัญ คือ libido ที่คอยขับเคลื่อนพฤติกรรม

  26. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ 2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct) หรือเรียกว่า Thanatos เป็นสัญชาติญาณแห่งการทำลายล้าง เป็นพลังตรงข้ามกับสัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต เป้าหมายของทุกชีวิตก็คือความตาย มนุษย์ดิ้นรนที่จะกลับไปสู่สภาพเป็นธุลีเหมือนก่อนเกิดนั่นก็คือความตายเพื่อยุติความปวดร้าวดิ้นรน ถ้าเราไม่ทำให้ตัวเองตายก็จะต้องทำให้ผู้อื่นตาย เป็นสัญชาติญาณแห่งความก้าวร้าว • โดยทั่วไปแล้วสัญชาติญาณทั้งสองอย่างแสดงออกทางสังคมไม่ได้สะดวกจึงมักถูกเก็บกดอยู่ในจิตไร้สำนึก เช่น การมีเซ็กส์ไปเรื่อยๆ หรือการฆ่าและทำร้ายผู้คนเรื่อยเปื่อย

  27. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • มนุษย์มิใช่จะเป็นมิตรและอ่อนโยนมุ่งแสวงหาความรักและรู้จักแต่การป้องกันตัวเองเท่านั้น แต่มนุษย์มีความต้องการที่ก้าวร้าวมากเพราะเป็นสัญชาติญาณ • ผลก็คือผู้ใกล้เคียงมิเพียงแต่เป็นคนที่ช่วยเหลือและเป็นคู่ทางเพศ แต่เป็นเป้าหมายที่เย้ายวนให้ทำร้าย ถูกเอาเปรียบและถูกใช้ทางเพศโดยไม่ยินยอม ถูกปล้น ถูกทำให้อาย ทำให้เจ็บ ถูกทรมานและฆ่าทิ้ง • มนุษย์เมื่อทำผิดก็เป็นผู้กล้าที่จะเถียงและปฏิเสธ ทั้งๆ ที่มีหลักฐานมัดตัว

  28. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • โครงสร้างบุคลิกภาพ • Freud ได้อธิบายโครงสร้างทางจิตหรือโครงสร้างของบุคลิกภาพว่าประกอบด้วย 3 ส่วน คือ • Id เป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เป็นส่วนที่อยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นสัญชาติญาณดิบของมนุษย์ที่ต้องการให้สนองความต้องการส่วนตัวของตนเอง มีหลักการที่จะสนองความต้องการที่เป็นความสุขของตนเองเท่านั้น เอาแต่ได้อย่างเดียว และเป้าหมายก็คือ หลักความพึงพอใจ (Pleasure Principle) • Id จะผลักดันให้ Ego ประกอบกิจกรรมในสิ่งต่างๆ ตามที่ Id ต้องการ

  29. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • Freud รู้สึกว่าส่วนนี้ของจิตไม่สามารถเข้าถึงมันได้โดยสำนึก ส่วนหนึ่งเขามองว่ามันเป็นเหมือนกล่องทิ้งของที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีแรงกระตุ้น ความรู้สึก ความคิดคำนึง ที่ผูกติดกับความกระวนกระวายใจ ความขัดแย้งภายใน ความเจ็บปวด ความรู้สึกและความคิดเหล่านี้ไม่ได้หายไปแต่มันยังคงอยู่ มีอิทธิพลต่อการกระทำของคนเราและต่อความสำนึกของเรา • อิดถูกควบคุมด้วยกฎความพึงพอใจกับความทุกข์ the pleasure-pain principle • ไม่มีสำนึกเรื่องเวลา ไม่มีตรรกะ เน้นเรื่องเพศ เหมือนทารกไร้เดียงสา • อิดเป็นแหล่งเก็บพลังงานแห่งความรักและความต้องการทางเพศ libido or "love energy".

  30. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • อีโกไม่ได้แยกออกจากอิดโดยเด็ดขาด ส่วนล่างของอีโกยังผสมกับอิดอยู่ และส่วนที่ถูกกด (repressed) ก็ผสมกับอิดด้วย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของอิด • The repressed is only cut off sharply from the ego by the resistances of repression; it can communicate with the ego through the id." • (Model of the mind which appears in Freud's 1923 paper "The Ego and the Id")

  31. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • เด็กเกิดใหม่ถูกกดดันด้วยอิดอย่างมาก เป็นแบบถูกครอบงำด้วยอารมณ์ Id-ridden ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะเด็กจะมีแรงผลักดันและแรงกระตุ้นทางอารมณ์สูงมาก drives and impulses • นอกจากนี้เด็กยังต้องการการตอบสนองอารมณ์โดยฉับพลัน ไม่มีสำนึกรับผิดชอบ • Id รับผิดชอบต่ออารมณ์ความต้องการพื้นฐาน เช่นทางเพศ อาหาร และแรงกระตุ้นความก้าวร้าว (aggressive impulses) และเรียกร้องต้องการการตอบสนองโดยฉับพลัน • อิด ไม่มีคุณธรรม และเน้นแต่ตนเองเป็นใหญ่ (amoral and egocentric)

  32. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • Ego เป็นส่วนของบุคลิกภาพ ที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่การที่ทารกได้ติดต่อหรือมีปฎิสัมพันธ์กับโลกภายนอก หลักการที่ Ego ใช้คือหลักแห่งความเป็นจริง (Reality Principle) เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินโดยอาศัยเหตุผลความเป็นจริงของสังคม และสิ่งแวดล้อม • ego เชื่อมต่อระหว่าง id กับ super-ego และโลกภายนอก หน้าที่ของมันก็คือ หาความสมดุล ระหว่างความต้องการดิบๆที่เป็น primitive drives กับคุณธรรม และความเป็นจริง ในขณะเดียวกันก็จะต้องทำให้ id และ superego มีความพอใจ

  33. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • Ego เป็นตัวกลางที่จะตัดสินว่าจะดำเนินกิจกรรมตามความต้องการของ Id หรือไม่โดยใช้หลักการของความเป็นจริงในสังคม บุคคลที่มีบุคลิกภาพปกติ คือ บุคคลที่ Ego สามารถที่ปรับตัวให้เกิดสมดุลระหว่างความต้องการของ Id โลกภายนอก และ Superego • Its main concern is with the individual's safety and allows some of the id's desires to be expressed, but only when consequences of these actions are marginal. Ego defense mchanisms are often used by the ego when id behaviour conflicts with reality and either society's morals, norms, and taboos or the individual's expectations as a result of the internalization of these morals, norms, and taboos.

  34. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • Superego เป็นส่วนที่ควบคุมการดำเนินการของ Ego อีกชั้นหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยยึดหลัก Morality Principle และการอบรมเลี้ยงดูเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่เกิดขึ้นในระยะที่ 3 ของพัฒนาการที่ชื่อว่า "Phallic Stage" เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ตั้งมาตรการของพฤติกรรมให้แต่ละบุคคล โดยรับค่านิยมและมาตรฐานจริยธรรมของบิดามารดา เป็นของตน โดยตั้งเป็นมาตรการความประพฤติ มาตรการนี้จะเป็นเสียงแทนบิดามารดา คอยบอกว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ

  35. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • มาตรการของพฤติกรรมโดยมากได้มาจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่พ่อแม่สอนและ มักจะเป็นมาตรฐานจริยธรรม และค่านิยมต่างของพ่อแม่ ฟรอยด์กล่าวว่าเป็นผลของการปรับของ Oedipus และ Electra Complex ซึ่งนอกจาก ทำให้เด็กชายเลียนแบบพฤติกรรมของ "ผู้ชาย" จากบิดา และเด็กหญิงเลียนแบบพฤติกรรมของ "ผู้หญิง" จากมารดาแล้ว ยังยึดถือหลักจริยธรรม ค่านิยมของบิดามารดา เป็นมาตรการของพฤติกรรมด้วย

  36. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • Superego แบ่งเป็น 2 อย่างคือ 1. Conscience ซึ่งคอยบอกให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่พึงปารถนา 2. "Ego ideal" ซึ่งสนับสนุนให้มีความประพฤติดี"Conscience" มักจะเกิดจากการขู่ว่าจะทำโทษ เช่น "ถ้าทำอย่างนั้นเป็นเด็กไม่ดี ควรจะละอายแก่ใจที่ประพฤติเช่นนั้น" ส่วน "Ego ideal" มักจะเกิดจากการให้แรงเสริมบวก หรือการยอมรับ เช่น แม่รักหนู เพราะหนูเป็นเด็กดี • ฟรอยด์ถือว่าความต้องการทางเพศเป็นแรงขับ และไม่จำเป็นจะอยู่ในระดับจิตสำนึกเสมอไป แต่จะอาจอยู่ในระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious) และมีพลังงานมาก

  37. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

  38. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับแรงขับระดับจิตไร้สำนึก เป็นประโยชน์ในการเข้าใจพฤติกรรมของคน ซึ่งปัจจุบันนี้นักจิตวิทยาส่วนใหญ่ยอมรับความคิดของฟรอยด์เกี่ยวกับ Unconscious motivation แม้ว่าจะไม่รับหลักการของฟรอยด์ทั้งหมดฟรอยด์กล่าวว่า พัฒนาการทางบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะขั้นวัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น ระบบทั้ง 3 ของบุคลิกภาพ คือ Id, Ego และ Superego จะทำงานประสานกันดีขึ้น เนื่องจากเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือโลกภายนอกมากขึ้น ยิ่งโตขึ้น Ego ก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้น และสามารถที่จะควบคุม Id ได้มากขึ้น

  39. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ขั้นตอนพัฒนาการทางบุคลิกภาพของ Freud • พลังงาน "Libido" เป็นพลังงานแห่งสัญชาติญาณเพื่อการมีชีวิต มีเป้าหมายคือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึกเป็นจุดตอบสนองความต้องการ และได้เรียกส่วนเรียกนี้ว่า อีโรจีเนียสโซน (Erogenous Zones) แบ่งออกเป็นส่วนต่างดังนี้ • ส่วนปาก ช่องปาก (Oral) • ส่วนทางทวารหนัก (Anal) • ส่วนทางอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Organ)

  40. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ฟรอยด์กล่าวว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ • 1. ขั้นปาก (Oral Stage) • 2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) • 3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) • 4. ขั้นแฝง (Latence Stage) • 5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)

  41. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • 1) ขั้นปาก (Oral Stage) อายุระหว่าง 0-18 เดือน ฟรอยด์เรียกขั้นนี้ว่า เป็นขั้นปากเพราะความพึงพอใจอยู่ที่ช่องปาก เริ่มตั้งแต่เกิด เด็กอ่อนจนถึงอายุราวๆ 2 ปี หรือวัยทารก เป็นวัยที่ความพึงพอใจ เกิดจากการดูดนมแม่ นมขวด และดูดนิ้ว เป็นต้น ในวัยนี้ความคับข้องใจ จะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า "การติดตรึงอยู่กับที่" (Fixation) ได้และมีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ เรียกว่า "Oral Personality" มีลักษณะที่ชอบพูดมาก และมักจะติดบุหรี่ เหล้า และชอบดูด หรือกัดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเวลาที่มีความเครียด บางครั้งจะแสดงด้วยการดูดนิ้ว หรือดินสอ ปากมีลักษณะแบบนี้อาจจะชอบพูดจาถากถาง เหน็บแนม เสียดสีผู้อื่น

  42. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • 2) ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อายุระหว่าง 18 เดือน – 3 ปี ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กวัยนี้ได้รับความพึงพอใจทางทวารหนัก คือ จากการขับถ่ายอุจจาระ และในระยะซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง และความคับข้องใจของเด็กวัยนี้ เพราะพ่อแม่มักจะหัดให้เด็กใช้กระโถน และต้องขับถ่ายเป็นเวลา เนื่องจากเจ้าของความต้องการของผู้ฝึก และความต้องการของเด็ก เกี่ยวกับการขับถ่ายไม่ตรงกันของเด็ก คือความอยากที่จะถ่ายเมื่อไรก็ควรจะทำได้ เด็กอยากจะขับถ่ายเวลาที่มีความต้องการ กับการที่พ่อแม่หัดให้ขับถ่ายเป็นเวลา บางทีเกิดความขัดแย้งมาก

  43. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • อาจจะทำให้เกิด Fixation และทำให้เกิดมีบุคลิกภาพนี้เรียกว่า "Anal Personality" ผู้ที่มีพฤติกรรมแบบนี้ อาจจะเป็นคนที่ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นพิเศษ และค่อนข้างประหยัด มัธยัสถ์ หรืออาจมีบุคลิกภาพตรงข้าม คืออาจจะเป็นคนที่ใจกว้าง และไม่มีความเป็นระเบียบ เห็นได้จากห้องทำงานส่วนตัวจะรกไม่เป็นระเบียบ

  44. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • 3) ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อายุระหว่าง 3-5 ปี ความพึงพอใจของเด็กวัยนี้อยู่อวัยวะสืบพันธุ์ เด็กมักจะจับต้องลูกคลำอวัยวะเพศ ระยะนี้ ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กผู้ชายมีปมออดิปุส (Oedipus Complex) ฟรอยด์อธิบายการเกิดของปมออดิปุสว่า เด็กผู้ชายติดแม่และรักแม่มาก และต้องการที่จะเป็นเจ้าของแม่แต่เพียงคนเดียว และต้องการร่วมรักกับแม่ แต่ขณะเดียวกันก็ทราบว่าแม่และพ่อรักกัน และก็รู้ดีว่าตนด้อยกว่าพ่อทุกอย่าง ทั้งด้านกำลังและอำนาจ ประกอบกับความรักพ่อ และกลัวพ่อ ฉะนั้นเด็กก็พยายามที่จะเก็บกดความรู้สึก ที่อยากเป็นเจ้าของแม่แต่คนเดียว และพยายามทำตัวให้เหมือนกับพ่อทุกอย่างฟรอยด์เรียกกระบวนนี้ว่า "Resolution of Oedipal Complex" เป็นกระบวนการที่เด็กชายเลียนแบบพ่อ ทำตัวให้เหมือน "ผู้ชาย"

  45. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ส่วนเด็กหญิงมีปมอีเล็คตรา (Electra Complex) ซึ่งฟรอยด์ก็ได้ความคิดมาจากนิยายกรีก เหมือนกับปมออดิปุส ฟรอยด์อธิบายว่า แรกทีเดียวเด็กหญิงก็รักแม่มากเหมือนเด็กชาย แต่เมื่อโตขึ้นพบว่าตนเองไม่มีอวัยวะเพศเหมือนเด็กชาย และมีความรู้สึกอิจฉาผู้ที่มีอวัยวะเพศชาย แต่เมื่อทำอะไรไม่ได้ก็ยอมรับ และโกรธแม่มาก ถอนความรักจากแม่มารักพ่อ ที่มีอวัยวะเพศที่ตนปรารถนาจะมี แต่ก็รู้ว่าแม่และพ่อรักกัน เด็กหญิงจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้กลไกป้องกันตน โดยเก็บความรู้สึกความต้องการของตน (Represtion) และเปลี่ยนจากการโกรธเกลียดแม่ มาเป็นรักแม่ (Reaction Formation) ขณะเดียวกันก็อยากทำตัวให้เหมือนแม่ จึงเลียนแบบ สรุปได้ว่าเด็กหญิงมีความรักพ่อ แต่ก็รู้ว่าแย่งพ่อมาจากแม่ไม่ได้ จึงเลียนแบบแม่ คือ ถือแม่เป็นแบบฉบับ หรือต้นแบบของพฤติกรรมของ "ผู้หญิง"

  46. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • 4) ขั้นแฝง (Latency Stage) เด็กวัยนี้อยู่ระหว่างอายุ 6-12 ปี เป็นระยะที่ฟรอยด์กล่าวว่า เด็กเก็บกดความต้องการทางเพศ หรือความต้องการทางเพศสงบลง (Quiescence Period) เด็กชายมักเล่น หรือจับกลุ่มกับเด็กชาย ส่วนเด็กหญิงก็จะเล่น หรือจับกลุ่มกับเด็กหญิง • 5) ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป จะมีความต้องการทางเพศ วัยนี้จะมีความสนใจในเพศตรงข้าม ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นของวัยผู้ใหญ่

  47. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • ฟรอยด์กล่าวว่า ถ้าเด็กโชคดี และผ่านวัยแต่ละวัย โดยไม่มีปัญหาก็จะเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพปกติ แต่ถ้าเด็กมีปัญหา ในแต่ละขั้นของพัฒนาการ ก็จะมีบุคลิกภาพผิดปกติ ซึ่งฟรอยด์ได้ตั้งชื่อตามแต่ละวัย เช่น "ผู้ใหญ่ที่มี Oral Personality เป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะหาความพึงพอใจทางปากอย่างไม่จำกัด เช่น สูบบุหรี่ กัดนิ้ว ดูดนิ้ว รับประทานมาก มีความสุขในการกิน และชอบดื่ม คนที่มี Oral Personality อาจจะเป็นผู้ที่เห็นโลกในทางดี (Optimist) มากเกินไป จนถึงกับเป็นคนที่ไม่ยอมรับความจริงของชีวิต หรืออาจจะเป็น คนที่แสดงตนว่าเป็นคนเก่ง ไม่กลัวใคร และใช้ปากเป็นเครื่องมือ เช่น ชอบพูดเยาะเย้ย ถากถางและกระแนะกระแหนผู้อื่น

  48. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • Fixation ในระยะที่ 2 คือ อายุ 2-3 ปี จะทำให้มีบุคลิกภาพแบบ Anal Personality ซึ่งอาจจะมีลักษณะต่างๆ ดังนี้ • (1) เป็นคนเจ้าสะอาดมากเกินไป (Obsessively Clean) และเรียบร้อยเจ้าระเบียบ เข้มงวด และเป็นคนที่ต้องทำอะไรตามกฎเกณฑ์ เปลี่ยนแนวไม่ได้ • (2) อาจจะมีลักษณะตรงข้ามเลย คือ รุงรัง ไม่เป็นระเบียบ • (3) อาจจะเป็นคนสุรุ่ยสุร่าย หรือตระหนี่ก็ได้ ผู้ชายที่แต่งงานก็คิดว่า ตนเป็นเจ้าของ "ผู้หญิง" ที่เป็นภรรยาเก็บไว้แต่ในบ้าน หึงหวงจนทำให้ภรรยาไม่มีความสุข ผู้หญิงที่มี Anal personality ก็จะหึงหวงสามีมาก จนทำให้ชีวิตสมรสไม่มีความสุข

  49. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ • องค์ประกอบที่มีส่วนพัฒนาการทางบุคลิกภาพมีหลายอย่างซึ่งฟรอยด์ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้ • 1. วุฒิภาวะ ซึ่งหมายถึงขั้นพัฒนาการตามวัย • 2. ความคับข้องใจ ที่เกิดจากความสมหวังไม่สมหวัง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก • 3. ความคับข้องใจ เนื่องมาจากความขัดแย้งภายใน • 4. ความไม่พร้อมของตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านเชาวน์ปัญญา และการขาดประสบการณ์ • 5. ความวิตกกังวล เนื่องมาจากความกลัว หรือความไม่กล้าของตนเอง

More Related