1 / 4

บททักทาย เก็บข่าวมาฝาก สาระน่ารู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย

กิ. น. จก รรมประจำเดือ. ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม 2544. ตุลาคม 2544. 12 ต.ค. 44 - ประชุมสำนักงานประกันคุณภาพและข้อมูล 14.00 น. อาคาร 5 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 19 ต.ค 44 - ประชุมคณะกรรมการ ( QRC) ณ ห้องศูนย์สารนิเทศชั้น 2

eve-oneill
Download Presentation

บททักทาย เก็บข่าวมาฝาก สาระน่ารู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กิ น จกรรมประจำเดือ ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม 2544 ตุลาคม 2544 12 ต.ค. 44 - ประชุมสำนักงานประกันคุณภาพและข้อมูล 14.00 น. อาคาร 5 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 19 ต.ค 44 - ประชุมคณะกรรมการ (QRC) ณ ห้องศูนย์สารนิเทศชั้น 2 14.30 น. อาคารชิน โสภณพนิช มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 29 ต.ค. 44 - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) ติดต่อ 13.00-16.00 น ขอเ ยี่ยมชมดูงานระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สำนักหอสมุด สำนักงานประกันคุณภาพและข้อมูล หน้า • บททักทาย • เก็บข่าวมาฝาก • สาระน่ารู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย • แวดวงการประกันคุณภาพ • กิจกรรมประจำเดือน 2 3 สำนักงานประกันคุณภาพและข้อมูล มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น โทร.สายตรง 0-2511-2948 และ 0-2938-7058 - 65 ต่อ 180 4 ที่ปรึกษา ดร.สุวิชากร ชินะผา อ.อัญชลี เหลืองอ่อน คณะผู้จัดทำ อ.ธรรมรงค์ สุขชื่น กาญจนา บางนิ่มน้อย สุพรรณี สนศิริ จารุณี มณีล้อมรัตน์ 6 8 8

  2. ประมวลภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ตรวจสอบคุณภาพภายในประมวลภาพการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ตรวจสอบคุณภาพภายใน บท ทัก ท าย 1 ท่านอธิการบดีเป็นประธาน กล่าวเปิดการฝึกอบรมฯ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 4 แล้วนะครับ สำหรับการนำเสนอข่าวสารสำนักงาน-ประกันคุณภาพและข้อมูล ซึ่งใน 3 ฉบับที่ผ่านมา ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้ให้สาระที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ ชาวมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น และท่านผู้อ่าน ทุก ๆ ท่าน ตามสมควร โดยที่ทางคณะผู้จัดทำได้พยายามทบทวนการดำเนินงานที่ ผ่าน ๆ มา เพื่อที่จะปรับปรุงและพัฒนาการนำเสนอข่าวสารให้มี ประสิทธิภาพและ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้อ่านให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ ดังนั้นหากท่านผู้อ่านมีข้อแนะนำประการใดขอได้โปรดส่งมาที่ qathamro@stjohn.ac.th สำหรับเนื้อหาสาระในฉบับนี้ จะได้เก็บกิจกรรมเด่น ๆในช่วงเดือน กันยายน มาฝากเพื่อน ๆ ได้ทราบกันทั้งในส่วนของการ Surveillance ครั้งที่ 5 และ การอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพภายใน มุมประจำในส่วนของสาระน่ารู้ในฉบับนี้จะ นำเสนอความสัมพันธ์ของการประกันคุณภาพภายในกับการประกันคุณภาพภายนอก และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการประกันคุณภาพได้ในส่วนของแวดวงประกัน-คุณภาพการศึกษา และที่สำคัญจะมีการเพิ่มในเรื่องของ คำศัพท์ ที่เกี่ยวกับการประกัน- คุณภาพการศึกษา และระบบประกันคุณภาพที่มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นจะนำมาใช้ เพื่อให้การสื่อความหมายต่าง ๆเข้าใจได้ถูกต้องตรงกัน ติดตามอ่านรายละเอียดของ สาระดี ๆ ได้ในเล่มนะครับ ความผิดพลาดคือบทเรียนในอดีต ที่จะทำให้เราแข็งแกร่งในอนาคต 2 อ.อัญชลี ผู้อำนวยการสำนักประกันฯ กำลังบรรยาย 3 ผู้เข้าอบรมอ่านและศึกษาคู่มือ SAR 4 ผู้เข้าอบรมถ่ายรูปร่วมกัน 2 7

  3. เก็บ ม า ฝ า ก แวดวง โดย อ.ธรรมรงค์ สุขชื่น เรื่องแรก การ Surveillance ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2544 ผ่านไปแล้ว ซึ่งการทำ Surveillance ในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งสุดท้ายของการรับรอง มาตรฐาน ISO 9002 : 1994 ของมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ซึ่งผลการ Surveillance ครั้งนี้มี 2 Findingคือ 1. ในส่วนของการดำเนินงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจากการ Audit พบว่าไม่มีการบันทึกข้อมูล (Record) ในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การดำเนินงานตามระเบียบปฏิบัติ QP 10 ในส่วนของ WI 1002 ซึ่งไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนด ข้อ 4.16 2. ในส่วนของบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งไม่มีทำเนียบอาจารย์ตามที่ ในระเบียบปฏิบัติ (QP 04) ที่ไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนด ข้อ 4.9 นอกจากนั้นทางคณะผู้ตรวจติดตามคุณภาพ ยังได้กล่าวชมเชยบุคลากร ของมหาวิทยาลัยฯ ที่มีความเข้าใจในระบบคุณภาพอย่างดี มีความกระตือรือร้น ในการรับการตรวจสอบ และมีวิธีการดำเนินงานตามระบบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งมีการพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ก็มีข้อแนะนำ ที่น่าสนใจ คือข้อมูลในการดำเนินการต่าง ๆ ของทุกหน่วยงานที่มีอยู่จำนวนมาก จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรบ้างในการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพ การดำเนินงาน เรื่องที่สอง :เมื่อวันที่ 18 - 21 และ 25- 28 กันยายน 2544 สำนักงาน-ประกันคุณภาพและข้อมูล ได้จัดให้มีการอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพภายใน (Internal Auditor) จำนวน 2 รุ่นโดยที่รุ่นที่ 1 จะเป็นบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น และรุ่นที่ 2 จะเป็นบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 11 สถาบัน ซึ่งผลการจัดอบรมผ่านไปด้วยความเรียบร้อย และต้องขอแสดงความยินดีกับผู้ที่เข้าร่วมอบรมทุกท่านที่จะได้เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพภายใน (Internal Auditor) ตามแนวทางประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งทางผู้จัดทำ จึงเก็บภาพบรรยากาศในการอบรมมาฝากให้ชมกันนะครับ (ต่อหน้า 7) การประกันคุณภาพการศึกษา นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ สำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กำหนดดัชนีกลางบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอก สำหรับสถาบันอุดมศึกษา 16 ตัวนั้น พบว่า สมศ. เน้นด้านการตลาด และการเงิน ทั้งที่แต่ละสาขาวิชา มีข้อจำกัดแตกต่างกัน และด้านเน้นจำนวนบุคลากรและงบประมาณ ทั้งที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ได้รับงบจากรัฐบาลอยู่แล้วและยังเน้นว่าต้องมีวิทยานิพนธ์ที่จัดพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ทั้งที่วิทยานิพนธ์ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เพราะขึ้นอยู่กับสาขาวิชาและเรื่องที่เขียน ขณะที่ไม่ได้เน้นบทบาท ของสถาบันอุดมศึกษาไม่ว่าจะเป็นคุณลักษณะของบัณฑิตที่ต้องการ กระบวนการที่ใช้จัดการเรียน การสอนที่มีประสิทธิภาพ ความหลากหลายของสาขาวิชา และการทำวิจัยตามสภาพจริงและ ในส่วนที่บอกว่าต้องส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนก็ไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน ทั้งยังไม่กระตุ้นให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์ของแต่ละแห่งด้วย ดังนั้น สมศ. และคณะกรรมการพัฒนาระบบประเมินคุณภาพฯ น่าจะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับบุคลากรทางการศึกษาในสาขาต่าง ๆ และไม่ควรกำหนดให้ทุกสาขาวิชาอยู่ภายใต้กรอบเดียวกัน จาก หนังสือประชาชาติธุรกิจ ประจำเดือนกันยายน 2544 คำศัพท์ชวนรู้ Findingหมายถึง สิ่งที่พบจากการตรวจติดตามคุณภาพที่ไม่สอดคล้องหรือไม่เป็น ไปตามข้อกำหนด (Non - Conformance) CAR(Corrective Action Report) หมายถึง รายงานการแจ้งให้ปฏิบัติการแก้ไข Surveillanceหมายถึง การตรวจติดตามระบบบริหารคุณภาพ ซึ่งดำเนินการโดย ผู้ให้การรับรอง (Certified Body Organization) 6 3

  4. าระน่ารู้การประกันคุณภาพ โดยการตรวจประเมินของ สมศ. นี้จะพิจารณาข้อมูลเบื้องต้นของสถาบัน- อุดมศึกษาจากรายงานประจำปีที่ส่งให้หน่วยงานต้นสังกัด และดำเนินการ-ประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันตามตัวบ่งชี้ (Index) เกณฑ์ (Criteria) และวิธีการตามที่กำหนด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้สถาบัน เกิดการพัฒนาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่ง ความสัมพันธ์ของการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกสามารถแสดงได้ดังนี้ ความสัมพันธ์ของการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก โดย อ.ธรรมรงค์ สุขชื่น การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) เป็นสิ่งที่บุคลากรทางการศึกษาทุกระดับจะต้องทำความเข้าใจ เพราะการประกันคุณภาพการศึกษา ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นภารกิจอีกประการหนึ่งที่สถาบันการศึกษาจะต้องดำเนินการตามรายละเอียดของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การดำเนินการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักได้มีการพิจารณาร่วมกันอย่างชัดเจนถึงรูปแบบและแนวทางการดำเนินการ เพื่อให้คุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมและประเทศชาติอย่างชัดเจน โดย รายละเอียดที่สำคัญที่บุคลากรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาจะต้องทำความเข้าใจ ให้ชัดเจน คือ “การประกันคุณภาพภายใน” และ “การประเมินคุณภาพภายนอก” การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย / สถาบันอุดมศึกษา โดยสถาบันหรือหน่วยงาน ต้นสังกัด การประเมินคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย / สถาบันอุดมศึกษา โดย สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) การประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะเชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งครอบคลุมพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องทำรายงานประจำปีที่แสดงถึงผลการดำเนินการในการจัดการศึกษาของสถาบันให้กับหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นการประกันคุณภาพการศึกษา- ภายใน จากนั้นจะรับการตรวจประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ- การศึกษา (สมศ.) ทุก ๆ 5 ปีตามรายละเอียดที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การประกันคุณภาพภายใน การประเมินคุณภาพภายนอก การตรวจประเมิน รายงานผลการประเมิน การรับรองมาตรฐาน การประเมิน/ตรวจสอบ ผลการดำเนินงาน การดำเนินงานตามภารกิจของสถาบัน รายงานประจำปี ข้อมูลป้อนกลับ ข้อมูลป้อนกลับ ที่มา : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จากภาพจะเห็นได้ว่ารายงานประจำปีจะเป็นจุดเชื่อมของการประกัน คุณภาพภายใต้และการประเมินคุณภาพภายนอกโดยเฉพาะการประเมินคุณภาพ ภายนอก ทาง สมศ. ประกาศอย่างชัดเจนในการที่จะประเมินเฉพาะในส่วน Output และ Outcome ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น ส่วนระบบ และกลไกจะให้สถาบันและหน่วยต้นสังกัดซึ่งรับผิดชอบด้านการประกัน- คุณภาพภายในเป็นผู้ตรวจสอบการประเมิน 4 5

More Related