1 / 26

ผู้ประเมิน : นายชุมพร ศาสตราวาหะ ผู้ช่วยผู้ประเมิน : นางสาว ณัฎฐิ รา สวัสดิ รัตน์

การประเมินผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกร ตำบลหัวหนอง-ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2543-2550. ผู้ประเมิน : นายชุมพร ศาสตราวาหะ ผู้ช่วยผู้ประเมิน : นางสาว ณัฎฐิ รา สวัสดิ รัตน์ นางสำรวย แลหน้า

Download Presentation

ผู้ประเมิน : นายชุมพร ศาสตราวาหะ ผู้ช่วยผู้ประเมิน : นางสาว ณัฎฐิ รา สวัสดิ รัตน์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกรตำบลหัวหนอง-ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นปีงบประมาณ 2543-2550

  2. ผู้ประเมิน : นายชุมพร ศาสตราวาหะ ผู้ช่วยผู้ประเมิน : นางสาวณัฎฐิรา สวัสดิรัตน์ นางสำรวย แลหน้า ม.ล.ศักดิ์ศิริ จักรพันธุ์ นางสาวมนันยา วงษ์อู่ทอง กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5

  3. หลักการ เหตุผล และความเป็นมาของโครงการ กรมพัฒนาที่ดิน โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2551) รวมระยะเวลาประมาณ 9 ปี โดยครอบคลุมพื้นที่บริเวณ บ้านดู่ใหญ่ บ้านดู่โพธิตาก บ้านขามเรียน บ้านเมืองเพีย และบ้านหัวหนอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านดินเค็ม เป็นผลให้เกษตรกรไม่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะปลูกได้อย่างเต็มที่ บางพื้นที่ที่มีความเค็มจัดเกษตรกรจะปล่อยทิ้งว่าง เนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย ส่วนพื้นที่ที่มีระดับความเค็มไม่รุนแรงเกษตรกรจะประสบกับปัญหาผลผลิตพืชต่ำไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดโครงการพัฒนาพื้นที่ขึ้นเกษตรกรจะมีความสนใจเข้าร่วมโครงการโดยเกษตรกรจะเสนอพื้นที่ของตนเข้าร่วมโครงการและดำเนินการแก้ไขร่วมกับภาครัฐ

  4. กิจกรรมที่ดำเนินการ (1) อบรมเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจ (2) ขุดร่องระบายน้ำ (3) ยกร่องระบายเกลือ เพื่อปลูกหญ้าดิ๊กซี่และกระถินออสเตรเลีย (4) ขุดบ่อน้ำในไร่นา (5) ปรับรูปแปลงนาลักษณะที่ 1 (6) ก่อสร้างทางลำเลียง พร้อมปลูกหญ้าแฝกริมทางลำเลียง (7) การปรับปรุงบำรุงดินตามเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน (8) สาธิตการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชผัก ที่สามารถทนเค็มได้ในระดับความเค็มต่างๆ

  5. วัตถุประสงค์ของการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1)เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มอย่างมีส่วนร่วมของเกษตรกร (2) เพื่อประเมินผลกระทบ (Impact) ของโครงการต่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรในพื้นที่บริเวณโครงการ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการดำเนินการโครงการสำหรับการขยายผลต่อไป

  6. วิธีการดำเนินงาน • เก็บรวบรวมข้อมูลทุติภูมิ (Secondary Data) จากรายงานการติดตามผลการดำเนินงานโครงการในแต่ละปี • เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยใช้ในรูปแบบของการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เป็นการสัมภาษณ์และสนทนาแบบเจาะประเด็นด้วยการเผชิญกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มละประมาณ 5 ราย โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางในประเด็นต่างๆที่ผู้ประเมินต้องการแล้วพยายามหาข้อสรุป

  7. ขั้นตอนการดำเนินการ (1) รวบรวมและศึกษาข้อมูลจากรายงานผลการดำเนินงานโครงการในแต่ละปี (2) ออกแบบสัมภาษณ์สำหรับการประเมินผล โดยกำหนดประเด็นคำถามแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (1.1) ภาพรวมโครงการ (1.2) การฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการจัดการดินเค็ม (1.3) มาตรการในการจัดการพื้นที่ดินเค็ม ส่วนที่ 2 การประเมินผลกระทบของโครงการ (2.1) ด้านคุณภาพชีวิตของครอบครัวและชุมชน (2.2) ด้านสิ่งแวดล้อม (2.3) ด้านสังคม (2.4) ด้านเศรษฐกิจ

  8. ส่วนที่ 3 การขยายผลโครงการและการจัดการในอนาคต (3.1) การขยายผลของเกษตรกรหลังจากสิ้นสุดโครงการ (3.2) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินโครงการในอนาคต (3) จัดประชุมทีมงานเพื่อซักซ้อมความเข้าใจ (4) ประสานผู้นำกลุ่มที่เป็นสมาชิกของโครงการในพื้นที่เป้าหมาย (5) ดำเนินการภาคสนาม (6) ดำเนินการตรวจสอบข้อมูล บันทึกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล (7) จัดทำรายงาน เสนอผลการศึกษา

  9. การสัมภาษณ์กลุ่มย่อยเชิงลึก (focus group) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยๆโดยปกติจะมี กลุ่มละประมาณ 8-12 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่ศึกษา (นราศรี ไววนิธกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี,2549)

  10. การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ในการทำการวิจัยเชิงคุณภาพกับการทำวิจัยเชิงปริมาณจะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างขึ้นอยู่กับข้อจำกัดและเป้าประสงค์ของผู้ที่ทำการวิจัย ซึ่งสามารถแสดงได้ดังนี้

  11. ผลการศึกษา ส่วนที่ 1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ สมาชิกของโครงการทราบที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการมีการติดตามและให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในผลการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก เนื่องจากเห็นว่ามาตรการในการแก้ไขปัญหาดินเค็มได้ผลเป็นรูปธรรมชัดเจน จากพื้นที่ดินเค็มจัดไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จนสามารถปลูกต้นไม้ได้ ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาดินเค็มปานกลางปลูกข้าวได้ผลผลิตต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน จนสามารถปลูกข้าวแล้วให้ผลผลิตสูงขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจของเกษตรกร เกษตรกรมีการต่อยอดโครงการโดยมีการปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้พืชปุ๋ยสด (โสนอัฟริกัน) ซึ่งเกษตรกรจะปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองที่เหลือจะแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังขยายผลการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็ม(กระถินออสเตรเลีย) โดยเกษตรกรจะเก็บเมล็ดมาเพาะแล้วนำไปปลูกตามคันนา ส่วนมาตรการจัดการดินเค็มโดยวิธีกลไม่มีการต่อยอดเนื่องจากต้องลงทุนสูงประกอบกับเกษตรกรไม่มีเงินทุน

  12. ส่วนที่ 2 การประเมินผลกระทบของโครงการ การดำเนินโครงการส่งผลกระทบต่อตัวเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ ผลกระทบทางตรงได้แก่การเพิ่มขึ้นของรายได้อันเนื่องมาจากการที่พื้นที่สามารถปลูกข้าวได้และ/หรือผลผลิตข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประกอบกับที่ดินสามารถเพาะปลูกพืชได้หลายชนิดขึ้น เช่น ไม้ยืนต้น ไม้ผล และพืชผักสวนครัวซึ่งจะเป็นรายได้เสริมหรือสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ นอกจากนี้เกษตรกรยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดินเค็ม การปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีการต่างๆจนสามารถลดการใช้ปุ๋ย และสารเคมีทางการเกษตร ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการปลูกพืช ครอบครัวเกษตรกรมีความอบอุ่นขึ้นจากการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องดิ้นรนไปทำงานต่างถิ่น ส่วนผลกระทบทางอ้อมคือ ทางด้านสังคมพบว่าสังคมโดยรวมมีความสามัคคีกันมากขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการพูดคุยถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาดินเค็มระหว่างเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกโครงการกับเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกโครงการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ดำเนินโครงการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน มีพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์หลากหลายขึ้นกว่าเมื่อก่อนดำเนินโครงการ สัตว์เลี้ยง วัว-ควาย ได้อาศัยร่มเงา

  13. ส่วนที่ 3 การประเมินผลการขยายโครงการ เกษตรกรต้องการให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการโครงการต่อไป เนื่องจากผลการดำเนินโครงการเห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรที่ได้รับความเดือนร้อนจากปัญหาดินเค็มเป็นอย่างยิ่ง

  14. สรุปผลการศึกษา • การดำเนินโครงการประสพผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับมาก สังเกตจากเกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมาก เนื่องจากมาตรการในการแก้ไขปัญหาดินเค็มได้ผลเป็นรูปธรรมชัดเจน เกษตรกรมีการต่อยอดโครงการในการแก้ปัญหาดินเค็มโดยใช้วิธีพืช เช่นการปลูกไม้ยืนต้นทนเค็มและการปรับปรุงบำรุงดินโดยการใช้พืชปุ๋ยสด • ผลกระทบของโครงการ • - การดำเนินโครงการทำให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้นกว่าเดิม • - สภาพแวดล้อมของพื้นที่โครงการดีกว่าเดิม • - เกิดความร่วมมือกันระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิ่มขึ้นและเกิดการถ่ายทอดความรู้โดยเกษตรกรด้วยกันเอง • - รายได้ของครอบครัวเพิ่มขึ้น • (3) เกษตรกรต้องการให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการโครงการต่อไปเรื่อยๆเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนจากดินเค็ม

  15. ข้อเสนอแนะ (1) การฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดินเค็มให้แก่สมาชิกโครงการฯควรใช้ระยะเวลามากขึ้นจากเดิมประมาณ 1 วันเป็น 2-3 วันและแบ่งระยะเวลาการฝึกอบรมเป็น 2 ช่วง กล่าวคือ ช่วงแรกเป็นการแนะนำโครงการฯและอบรมความรู้ในการจัดการดินเค็มทั่วๆไป ในช่วงที่ 2 เป็นการอบรมแบบแบ่งกลุ่มตามกิจกรรมซึ่งสมาชิกได้รับการสนับสนุน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่สมาชิกเพิ่มขึ้น (2) มาตรการในการจัดการดินเค็มไม่ควรเน้นมาตรการด้านวิธีกลมากนัก เนื่องจากเป็นวิธีการซึ่งต้องลงทุนสูง เกษตรกรไม่สามารถนำไปต่อยอดได้เนื่องจากเกษตรกรขาดแคลนเงินทุน ควรหันมาเน้นมาตรการด้านพืชและการปรับปรุงบำรุงดินเนื่องจากเป็นวิธีการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยเกษตรกรสามารถนำวิธีการเหล่านั้นไปต่อยอดโครงการได้

  16. ข้อเสนอแนะ (3) การดำเนินโครงการฯ ไม่ควรจัดกิจกรรมกระจุกอยู่เฉพาะสมาชิกไม่กี่ราย แต่ ควรจัดกิจกรรมลงให้กระจายครอบคลุมพื้นที่บริเวณโครงการ เพื่อให้มีจำนวนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการเพิ่มขึ้นซึ่งจะมีผลต่อการประชาสัมพันธ์โครงการในอนาคต (4) กรมพัฒนาที่ดิน โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ควรขยายการดำเนินงานโครงการฯต่อไปเนื่องจากปัญหาดินเค็มยังเป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ประกอบกับผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมาเกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและเกษตรกรมีความเห็นว่าการดำเนินโครงการในการแก้ปัญหาดินเค็มของกรมพัฒนาที่ดินได้ผลเป็นรูปธรรมชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อตัวเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง

  17. ภาพกิจกรรม กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2543 กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2544

  18. กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2545 กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2546

  19. กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2547 กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2548

  20. กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2549 กลุ่มสมาชิกโครงการปีงบประมาณ 2550

  21. จบการนำเสนอ

More Related