1 / 119

การป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตภาครัฐ โดย นายนพดล เพชรสว่าง

การป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตภาครัฐ โดย นายนพดล เพชรสว่าง ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4 สำนักงาน ป.ป.ท. กรอบการบรรยาย. 1. สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย และกลไกในการแก้ไขปัญหา. 2 . การตรวจสอบข้อเท็จจริงและการไต่สวน ข้อเท็จจริง.

Download Presentation

การป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตภาครัฐ โดย นายนพดล เพชรสว่าง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การป้องกันและปราบปรามการการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตภาครัฐ โดย นายนพดล เพชรสว่าง ผู้อำนวยการสำนักปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4 สำนักงาน ป.ป.ท.

  2. กรอบการบรรยาย 1. สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย และกลไกในการแก้ไขปัญหา 2. การตรวจสอบข้อเท็จจริงและการไต่สวน ข้อเท็จจริง 3. การป้องกันการทุจริตในภาครัฐ

  3. 1.สถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชัน ในสังคมไทย

  4. ปัญหาการทุจริตยังเป็นมะเร็งร้ายที่คุกคามสังคมไทยอยู่ตลอดเวลาและทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากปัญหาการทุจริตยังเป็นมะเร็งร้ายที่คุกคามสังคมไทยอยู่ตลอดเวลาและทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก 3. ประเทศชาติไม่เจริญ 1. รัฐบาลเสียหายต้องสูญเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น และใช้ประโยชน์จากพัสดุไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ 2. ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐและขาดโอกาสได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น

  5. ปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุให้การทุจริตปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุให้การทุจริต : การเข้าสู่อำนาจทางการเมือง : การขยายตัวและแข่งขันทางเศรษฐกิจ : โครงสร้างและค่านิยมของสังคมไทย -บุญคุณนิยม -พวกพ้องนิยม -อำนาจนิยม -สุขนิยม

  6. The World's Most Corrupt Countries 23 September 2008 The Transparency International CPI measures the perceived levels of public-sector corruption in a given country and is a composite index, drawing on different expert and business surveys. The 2008 CPI scores 180 countries (the same number as the 2007 CPI) on a scale from zero (highly corrupt) to ten (highly clean). Denmark, New Zealand and Swedenshare the highest score at 9.3, followed immediately by Singaporeat 9.2. Bringing up the rear is Somalia at 1.0, slightly trailing Iraq and Myanmar at 1.3 and Haiti at 1.4.

  7. Highly clean countries 9.3 9.2 9.0 8.9 8.7 Thailand อยู่ในลำดับที่ 80 จาก 180 ประเทศ ระดับคะแนน 3.5

  8. เปรียบเทียบลำดับในกลุ่มประเทศอาเซียน กับ 180 ทั่วโลก (141) (151) (4) (168) (47) (126) (178) (80) (121)

  9. เปรียบเทียบในกลุ่มประเทศในเอเชียด้วยกันเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศในเอเชียด้วยกัน 9.2 5.6 3.5 3.4 8.1 5.1 5.7 2.7 3.6

  10. บริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงด้านการเมืองและเศรษฐกิจ หรือเพิร์ค (คะแนนคอร์รัปชัน) ผลการสำรวจปัญหาการคอร์รัปชั่นในภูมิภาคเอเชีย รวมประเทศออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2009 พบว่า อินโดนีเซียและไทย ติดอันดับสองประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุด ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารต่างชาติเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นในแต่ละประเทศ เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 เมษายน ระบุว่า สิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นน้อยที่สุด รองลงมาคือฮ่องกง (1.89), ออสเตรเลีย (2.40), สหรัฐอเมริกา (2.89), ญี่ปุ่น (3.99), เกาหลีใต้ (4.64), มาเก๊า (5.84), จีน (6.16), ไต้หวัน (6.47), มาเลเซีย (6.70), ฟิลิปปินส์ (7.0), เวียดนาม (7.11), อินเดีย (7.21), กัมพูชา (7.25), ไทย (7.63) และอินโดนีเซีย (8.32)

  11. ประชาชนมองสถานการณ์การทุจริตประชาชนมองสถานการณ์การทุจริต ในสังคมไทยอย่างไร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2547) ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรหนึ่ง ได้ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาคอร์รัปชันในสังคมไทย โดยสำรวจความเห็นของผู้นำภาคประชาชนทุกจังหวัดๆละ 100 คน รวม 7,191 คน พบว่า

  12. 1. วิธีการและรูปแบบคอร์รัปชัน

  13. 2. การทุจริตที่ประชาชนพบเห็น มากที่สุดได้แก่ การฮั้วการประมวลในการจัดซื้อ จัดจ้างของทางราชการ (44.3 %) ปานกลางได้แก่ 1. การเลือกตั้ง (44.2 %) 2.กินตามน้ำหรือค่าน้ำร้อนน้ำชา(44.0 %) 3. นักการเมืองขาดคุณธรรม (42.5 %)

  14. 3. กลุ่มผู้กระทำการทุจริต มากที่สุดข้าราชการ (47.8 %) ปานกลาง- พนักงานบริษัทเอกชน (43.1 %) - พนักงานรัฐวิสาหกิจ (39.6 %) - นักวิชาการ (34.0 %) น้อยที่สุดเกษตรกร (31.8 %)

  15. 4. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ ทุจริต มากที่สุดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รองลงมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. ,เทศบาล, อบจ.)

  16. 5. มูลเหตุสำคัญของการทุจริต 1. เจ้าหน้าที่ขาดคุณธรรมและไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ 2. ขาดกลไกในการลงโทษและการบังคับใช้กฎหมาย 3. เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำไม่สัมพันธ์กับหน้าที่ รับผิดชอบ 4. สภาพการทำงานเปิดโอกาส เอื้ออำนวยต่อการกระทำ ทุจริตกระบวนการปฏิบัติงานมีช่องโหว่

  17. 6. การทุจริตที่เป็นปัญหาเรื้อรังมากที่สุด ได้แก่การเมืองในระดับชาติรองลงมา ได้แก่ การเมืองระดับท้องถิ่น

  18. 7. แนวทางแก้ไข • 1. ควรสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการ ตรวจสอบการทุจริต • 2. ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล เพื่อสร้างจิตสำนึก ค่านิยม ต้านการทุจริต • 3. ควรส่งเสริมให้ภาคประชาชน และองค์กรอิสระทำการตรวจสอบการทุจริตอย่างแท้จริง

  19. ลักษณะการทุจริตคอร์รัปชัน 5 ประเภท ที่มา:โครงการร่วมใจ “คนไทยต้องไม่โกง ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ” • การศึกษาเรื่องทุจริตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวน และศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตของวุฒิสภา ได้แบ่งกรณีการทุจริตคอร์รัปชัน เป็น 5 ประเภท ได้แก่ (1) การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ (2) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง (3) การทุจริตในการให้สัมปทาน (4) การทุจริตโดยการทำลายระบบตรวจสอบ อำนาจรัฐ (5) การทุจริตเชิงนโยบาย

  20. 1 มหาดไทย 3,049 เรื่อง 2 เกษตรและสหกรณ์ 1,928 เรื่อง ศึกษาธิการ 1,388 เรื่อง 3 4 คมนาคม 777 เรื่อง การคลัง 621 เรื่อง 5 ข้อมูลการทุจริตในหน่วยงานของรัฐสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2544-2552 พบว่า 12 อันดับที่มีการกล่าวหาร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริต จำแนกตามกระทรวง ณ วันที่ 14 มกราคม 2552

  21. 7 ทรัพยากรธรรมชาติฯ 366เรื่อง 6 สาธารณสุข 436 เรื่อง 8 แรงงานฯ 309 เรื่อง กลาโหม 309 เรื่อง เทคโนโลยี ฯ 164 เรื่อง 9 สำนักนายกรัฐมนตรี 255 เรื่อง 10 ยุติธรรม 179 เรื่อง 11 12

  22. ข้อมูลการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2544-2552 (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มกราคม 22552)พบว่าเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ในสังกัด อปท.ถูกกล่าวหาว่ากระทำการทุจริต รวมทั้งสิ้น 7,452 เรื่อง มีผู้ถูกกล่าวหา 13,683 ราย อันดับ 1 ได้แก่ อบต. 4,321 เรื่องผู้ถูกกล่าวหา 8,038 ราย อันดับ 2 ได้แก่ เทศบาล 2,324 เรื่องผู้ถูกกล่าวหา 4,234 ราย อันดับ 3 ได้แก่ อบจ. 424 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 740 ราย อันดับ 4 ได้แก่ กทม. 369 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 628 ราย อันดับ 5 ได้แก่ เมืองพัทยา 14 เรื่อง ผู้ถูกกล่าวหา 43 ราย

  23. 2. กลไกที่ใช้แก้ไขปัญหาการ ทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทย - ปี 2476 มีข้าหลวงใหญ่และข้าหลวงตรวจการ - ปี 2496 มีกรมตรวจราชการแผ่นดิน - ปี 2514 มีคณะกรรมการตรวจและติดตามผล การปฏิบัติราชการ (กตป.) - ปี 2518 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) - ปี 2540 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่ชาติ (ป.ป.ช.) - ปี 2551 มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงาน ป.ป.ท.

  24. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 301 (3) ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  25. ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 มาตรา 250 (3) ได้กำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ใหม่ ให้ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปกรณีร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับ

  26. ต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งงดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ตามพระราชพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  27. ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือภารกิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และให้รัฐบาลมีกลไกของตนเองในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ จึงได้จัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ท. ขึ้น เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

  28. โครงสร้าง คณะกรรมการ ป.ป.ท. รมว. ยุติธรรม สำนักงาน ป.ป.ท. กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขตพื้นที่1-9 __ กลุ่มงานกฎหมาย สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 1 สำนักงานเลขาธิการ _ สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 4 สำนักคุ้มครอง และป้องกัน สำนักนโยบายฯ สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 2 _ สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 5 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำนักปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ 3 กองการต่างประเทศ

  29. 3."การตรวจสอบข้อเท็จจริง"

  30. ผลลัพธ์ 1. ส่ง ป.ป.ช. 2. เสนอ ป.ป.ท. 3. รายงานผลต่อ ครม.หรือรมว.ยธ. 4. ส่งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการ วิธีการ 1. ตรวจสอบและ รวบรวมข้อมูลสาธารณะ 2. ขอความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูล/เอกสาร ด้วยความสมัครใจ 3. วิเคราะห์และประเมินผล ที่มา • เมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือกล่าวหา • เมื่อมีเหตุต้องสงสัย • เมื่อ ครม. หรือรมว.ยธ. มอบหมายให้ดำเนินการ การตรวจสอบข้อเท็จจริง

  31. ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ 1.ไม่มีการวางแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง และไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง 2. ไม่จัดทำรายงานเสนอก่อนดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง ซึ่งต้องประกอบด้วย เหตุผล ความจำเป็น รายละเอียดของพัสดุ ราคามาตรฐานหรือราคากลาง วงเงินที่จะจัดหา วิธีการจัดหา และเหตุผลที่ต้องจัดหาด้วยวิธีการนั้นๆ

  32. ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 3.ไม่ส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารการสอบราคาต้องส่งไปยังผู้มีอาชีพขาย หรือ รับจ้างนั้นโดยตรงไม่น้อยกว่า 5 ราย หรือ โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน กับให้ปิดประกาศเผยแพร่ไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการ 4. มีการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงวิธีการตามที่ระเบียบฯ กำหนด 5. คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาและผู้มีอำนาจอนุมัติไม่พิจารณาทำสัญญากับผู้เสนอราคาต่ำสุด

  33. ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 6. ตรวจรับพัสดุโดยยังไม่ส่งมอบของและตรวจพัสดุโดยพัสดุนั้น ผิดคุณลักษณะที่กำหนดตามสัญญา 7. คิดค่าปรับกรณีส่งมอบของเกินกำหนด ต่ำกว่าสัญญา / ไม่ได้คิดค่าปรับ 8.จ่ายเงินประกันสัญญาคืนก่อนกำหนด

  34. ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 9. หากในการดำเนินการบางโครงการการจัดหาไม่มีการวางแผน หรือ ไม่ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ หรือไม่มีการเตรียมการเพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาในเวลาอันควร ทำแล้วอ้างว่าจำเป็นต้องมีการซื้อ หรือ จ้างโดยเร่งด่วน (หากไม่เร่งดำเนินการจะเสียหายแก่ราชการ) ไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้างได้ 10.ไม่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ การรับ-จ่ายพัสดุ ประจำปี

  35. ปัญหาที่พบจากการตรวจสอบของ สตง. เกี่ยวกับการพัสดุ (ต่อ) 11.ทรัพย์สินที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพใช้การไม่ได้ ไม่ทำการซ่อมแซม หรือ จำหน่ายออกจากบัญชี ลงรายการในบัญชีไม่ถูกต้อง จัดทำบัญชีแยกประเภทไม่ถูกต้องครบถ้วนตามชนิดและรายการ รวมทั้งไม่ให้เลขหมายประจำครุภัณฑ์

  36. 4."การไต่สวนข้อเท็จจริง"

  37. คณะกรรมการ ป.ป.ท. การไต่สวนข้อเท็จจริง ลักษณะของการไต่สวนข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่และ ที่ไม่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ท. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการ ไต่สวนข้อเท็จจริง มีลักษณะบูรณาการและมี มาตรการคุ้มครองความ ปลอดภัยรวมทั้งมีมาตรการ สร้างขวัญกำลังใจ การทุจริตในภาครัฐ กรณีใดบ้างที่ต้องมีการ ไต่สวนข้อเท็จจริง อำนาจที่ใช้ในการไต่สวน ข้อเท็จจริง เรื่องที่ ป.ป.ท. ต้องส่ง ป.ป.ช. ดำเนินการ หรือเรื่องที่ไม่มีอำนาจ รับหรือพิจารณา ผู้ทำหน้าที่ไต่สวน ข้อเท็จจริง

  38. คณะกรรมการ ป.ป.ท. - องค์ประกอบมีจำนวน 7 คน (ม.5) - คุณสมบัติของคณะกรรมการ (ม.6) - ข้อห้ามของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ (ม.7) - วาระคราวละ 4 ปี รวมกันไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (ม.8) - การพ้นจากตำแหน่งกรรมการ (ม.9) - กรรมการต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินตามกฎหมาย ป.ป.ช. (ม.11)

  39. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (ม.17) 1. เสนอนโยบาย มาตรการ และแผนพัฒนา การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ต่อคณะรัฐมนตรี 2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 3. เสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.

  40. 4. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 5. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญา ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบด้วย

  41. 7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ท. มอบหมาย 8.ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หรือการอื่นใด เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตใน ภาครัฐตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. มอบหมาย

  42. การไต่สวนข้อเท็จจริง หมายความว่า แสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  43. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่/ไม่อยู่ในอำนาจการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ ป.ป.ท. มีใครบ้าง มาตรา 3 “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แต่ไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารระดับสูง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

  44. (2) ผู้พิพากษาและตุลาการ (3) พนักงานอัยการ (4) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วย ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกท้องถิ่นขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (5) เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของศาล รัฐสภา องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระจากการ ควบคุมหรือกำกับของฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นตาม รัฐธรรมนูญ

  45. (6) เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (7) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดในลักษณะที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด (8) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งร่วมกระทำความผิดกับบุคคลตาม(1) (2) (3) (4) (5) (6) และ (7)

  46. มาตรา 3 “ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบ ในภาครัฐ

  47. มาตรา 3 “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำการอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น

  48. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551มาตรา 84 การกระทำผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง (1) ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต มาตรา 97 ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

More Related