1 / 26

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หน่วย รู้จักดวงอาทิตย์ โดย นางมธุรส ภูมิผล

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หน่วย รู้จักดวงอาทิตย์ โดย นางมธุรส ภูมิผล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. มารู้จักระบบสุริยะ. ดาวฤกษ์.

Download Presentation

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หน่วย รู้จักดวงอาทิตย์ โดย นางมธุรส ภูมิผล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หน่วย รู้จักดวงอาทิตย์ โดย นางมธุรส ภูมิผล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

  2. มารู้จักระบบสุริยะ

  3. ดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์เกิดจากการหดตัวของฝุ่นแก๊สระหว่างดวงดาว (interstellar dust)เมื่อกลุ่มแก๊สเหล่านี้หดตัวและสะสมมวลมากพอก็จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชันกลายเป็นดาวฤกษ์ดาวฤกษ์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มในกาแล็กซี กาแล็กซีทั้งหมดอยู่ในเอกภพ  ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดคือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ห่างเป็นระยะทางประมาณ 150,000,000 กิโลเมตร

  4. ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุด

  5. ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ หมายถึง ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แต่สะท้อนแสงอาทิตย์ส่องเข้าไปตาเรา ดาวเคราะห์ แต่ละดวง มีขนาดและจำนวนดวงจันทร์บริวารไม่เท่ากัน อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็น ระยะทางต่างกัน และดวง ต่างก็อยู่ในระบบสุริยะ โดยหมุนรอบตัวเองโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ด้วย ความเร็วต่างกันไป 

  6. ดาวเคราะห์ เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง ไม่เหมือนกับดวงอาทิตย์ หรือดาวฤกษ์ ซึ่งสามารถส่องสว่างด้วยตนเองได้ แต่เราสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ เนื่องจากการที่ดาวเคราะห์ สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เข้าสู่ตาของเรานั่นเองแม้ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา จะมีถึง 8 ดวง (ไม่รวมโลก) แต่เราสามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เพียง 5 ดวงเท่านั้น คือ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เท่านั้น ซึ่งชาวโบราณเรียก ดาวเคราะห์ทั้งห้านี้ว่า "The Wandering Stars"หรือ "Planetes" ในภาษากรีก และเรียกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ทั้งสองดวงว่า "The Two Great Lights" ซึ่งเมื่อรวมกันทั้งหมด 7 ดวง จะเป็นที่มาของชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ นั่นเอง

  7. กลุ่มดาวเคราะห์

  8. ดาวเคราะห์ 8 ดวง

  9. ดาวพุธ ดาวพุธ (Mercury)ดาวเคราะห์วงในสุดของระบบสุริยะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเร็วที่สุด มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์สั้นมากเพียง 88 วัน ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งของดาวพุธจากซีกหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกหนึ่งกินเวลาเพียง 44 วันหรือราวเดือนครึ่ง เราจะมองเห็นดาวพุธได้ในระดับต่ำทางของฟ้าตะวันออกหรือขอบฟ้าตะวันตกเท่านั้น ตำแหน่งที่เราสามารถมองเห็นดาวพุธได้ดีที่สุดคือตำแหน่งที่เรียกว่า Greatest Elongation

  10. ดาวพุธ

  11. ดาวศุกร์ ดาวศุกร์(Venus)ดาวเคราะห์วงในอีกดวงที่มีเราจะเห็นได้เพียงทางขอบฟ้าด้านทิศตะวันออก หรือ ตะวันตก เท่านั้นแบบเดียวกับดาวพุธ  มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 224 วันครึ่ง หรือราว 7 เดือนครึ่ง น้อยกว่าโลกของเราเล็กน้อย ทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งจากซีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ไปอีกซีกด้านหนึ่งนั้นค่อยข้างนานเมื่อเทียบกับตำแหน่งของโลก กินเวลาราวๆ 9 เดือนครึ่งแตกต่างจากดาวพุธ ทำให้ใน 1 รอบปี ดาวศุกร์มีการเปลี่ยนตำแหน่งน้อยครั้งกว่าดาวพุธ  

  12. ดาวศุกร์ ดาวศุกร์

  13. ดาวอังคาร ดาวอังคาร (Mars) ดาวเคราะห์วงนอกดวงแรกที่อยู่ถัดจากโลกไปมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ปี 11 เดือน ทำให้ตำแหน่งของดาวอังคารเปลี่ยนกลุ่มดาวไปเรื่อยๆ เราจึงมีโอกาสเห็นดาวอังคารตามแนวเส้นสุริยะวิถีตลอดแนวจากขอบฟ้าตะวันออกไปขอบฟ้าตะวันตก ต่างจากดาวพุธดาวศุกร์ที่เราจะเห็นได้แค่เพียงขอบฟ้าเท่านั้น ดาวอังคารประกอบด้วยคือ ขั้วน้ำแข็งและแถบพายุฝุ่นสีดำ เนื่องจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคารส่วนใหญ่เป็นก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ซึ่งใสสามามารถมองทะลุผ่านได้ดี จึงเห็นพื้นผิวของดาวอังคารได้

  14. ดาวอังคาร

  15. ดาวพฤหัส ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่ มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา  11 ปี 11 เดือน หรือ ราว 12 ปี ทำให้ดาวพฤหัสมีการเปลี่ยนตำแหน่งไปอย่างช้าๆปีละ 1 จักราศี ตำแหน่งที่เราจะสังเกตดาวพฤหัสที่ดีที่สุดก็คือตำแหน่งOppositionเช่นกัน แม้ตำแหน่งนี้จะเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับดาวเคราะห์ชั้นนอกที่อยู่ไกลๆจะมีผลของเรื่องความแตกต่างของระยะห่างน้อยมากจนเกือบตัดทิ้งไปได้

  16. ดาวพฤหัส

  17. ดาวเสาร์ ดาวเสาร์(Saturn)ดาวเคราะห์วงนอกลำดับถัดมาต่อจากดาวพฤหัส และเป็นดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 29.5 ปี สิ่งที่เราสนใจดูจากดาวเสาร์คือ วงแหวน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของก้อนหิน ฝุ่นและก้อนน้ำแข็ง ที่หนาเพียง 10 กิโลเมตร แต่มีรัศมีกว้างหลายแสนกิโลเมตร  มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดี ทำให้มองเห็นได้จากบนโลก ซึ่งกล้องโทรทรรศน์คุณภาพดีๆจะสามารถแยกออกได้เป็น 3 ชั้นจากทั้งหมด 7 ชั้น

  18. ดาวเสาร์

  19. ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัส(Uranus) ดาวเคราะห์อันดับ 7 ของระบบสุริยะ ซึ่งมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบกินเวลา 84 ปี       ดาวยูเรนัสมีความสว่างปรากฏ 5.85 ซึ่งเป็นความสว่างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้าที่มืดสนิท แต่จะกลมกลืนไปกับดาวอื่นบนท้องฟ้าทำให้มองเห็นได้ลำบากถ้าไม่รู้ตำแหน่งที่แท้จริง ซึ่งกล้องสองตาหรือกล้องดูดาวขนาดเล็กก็สามารถมองเห็นได้  

  20. ดาวยูเรนัส

  21. ดาวเนปจูน ดาวเนปจูน(Neptune)ดาวเนปจูนมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 165 ปี จึงมีการเปลี่ยนตำแหน่งจักราศีช้ามากคือราว 14 ปีต่อ 1จักราศี         ดาวเนปจูน มีความสว่างปรากฏ 7.8 มองเห็นได้ลำบากต้องใช้กล้องดูดาวที่มีขนาดตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไปและต้องรู้ตำแหน่งที่แน่นอนด้วย 

  22. ดาวเนปจูน

  23. โลก   โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว

  24. โลก ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน 

  25. โลก

  26. จบการนำเสนอ พบกันใหม่เรื่องต่อไปนะคะ

More Related