1 / 21

องค์กรกำกับดูแลในภาคไฟฟ้า: การแปรรูปกิจการไฟฟ้าของไทย และประสบการณ์จากต่างประเทศ

องค์กรกำกับดูแลในภาคไฟฟ้า: การแปรรูปกิจการไฟฟ้าของไทย และประสบการณ์จากต่างประเทศ. ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน 23 สิงหาคม 2548 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การแปรรูปกิจการไฟฟ้า. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แปลงสภาพเป็น บริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ. กฟผ. แล้ว

fisseha
Download Presentation

องค์กรกำกับดูแลในภาคไฟฟ้า: การแปรรูปกิจการไฟฟ้าของไทย และประสบการณ์จากต่างประเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. องค์กรกำกับดูแลในภาคไฟฟ้า:การแปรรูปกิจการไฟฟ้าของไทย และประสบการณ์จากต่างประเทศ ชื่นชม สง่าราศรี กรีเซน 23 สิงหาคม 2548 ณ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. การแปรรูปกิจการไฟฟ้า • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้แปลงสภาพเป็น บริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) หรือ บมจ. กฟผ. แล้ว • แปลงสภาพโดยออกพระราชกฤษฏีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และผลประโยชน์ของ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 • พ.ร.บ. กฟผ. ถูกยุบเลิก แต่สิทธิ อำนาจ ประโยชน์ ส่วนใหญ่ เช่น สิทธิในการผูกขาดการจัดหาไฟฟ้า ได้โอนไปยัง บมจ. กฟผ. • กำหนดการขายหุ้น 25% ของ บมจ. กฝผ. ในตลาดหลักทรัพย์ : ภายในปี 2548

  3. แผนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลแผนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแล • รัฐบาลเห็นด้วยในหลักการถึงความจำเป็นของการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าที่มี พ.ร.บ. รองรับ • เนื่องจากต้องเร่งแปรรูป กฟผ.จึงออก พ.ร.บ. จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลไม่ทัน ดังนั้นให้มี “องค์กรกับดูแลชั่วคราว” • “องค์กรกับดูแลชั่วคราว” คือ คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า จัดตั้งโดยอาศัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึงประกาศใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2548 • พ.ร.บ.การประกอบกิจการไฟฟ้าเพื่อจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า “ถาวร” ยังอยู่ระหว่างการจัดทำของกระทรวงพลังงาน

  4. ความจำเป็นขององค์กำกับดูแลอิสระความจำเป็นขององค์กำกับดูแลอิสระ • เพื่อให้มีการแยกบทบาทอย่างชัดเจนระหว่างการกำหนดนโยบายการกำกับดูแล และการประกอบการ • เพื่อถ่วงดุลระหว่างผู้ประกอบ และผู้บริโภค โดยคุ้มครองดูแลผู้บริโภค และให้ความเป็นธรรมแต่ผู้ประกอบการทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน • เพื่อให้การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล เช่น การวางแผนการลงทุน การกำหนดค่าไฟ การออกกฎกติกาต่าง ๆ ในการซื้อขายไฟ หรือเชื่อมโยงระบบ เป็นไปด้วยความโปร่งใส เชื่อถือได้ ไม่ถูกแทรกแซงจากการเมือง หรือผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

  5. บทบาทการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแล และการประกอบการที่ไม่ชัดเจนในปัจจุบัน

  6. องค์กรกำกับดูแลอิสระมีความจำเป็นอย่างยิ่งเมื่อมีการแปรรูป กฟผ. • อำนาจ และสิทธิบางอย่างที่โอนให้ บมจ. เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล • กฟผ. แปลงสภาพจากองค์กรของรัฐที่ให้บริการสาธารณูปโภคเป็นหลัก เป็นบริษัทแสวงหากำไร เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น • จำเป็นต้องจำกัดสิทธิผูกขาด และอำนาจพิเศษต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการแสวงหากำไรเกินควร ซึ่งจะเป็นภาระต่อผู้ใช้ฟ้า และไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการรายอื่น • กรอบการกำกับดูแลต้องชัดเจนก่อนการแปรรูป

  7. ประสบการณ์จากต่างประเทศประสบการณ์จากต่างประเทศ

  8. องค์กรกำกับดูแลภาคพลังงานในประเทศต่าง

  9. กฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลในประเทศต่าง

  10. ประเทศอินโดนีเซีย • มีแผนที่จะจัดตั้งองค์กรกำกับอิสระ แต่ต้องสะดุดไปเมื่อกฎหมาย Electricity Law20/2002 ถูกตัดสินโดยศาลสูงสุดว่า “ขัดรัฐธรรมนูญ” เนื่องจากมีส่วนที่กำหนดให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจกิจการไฟฟ้า • รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียนั้นระบุว่าไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะที่ควรอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ดังนั้นกฎหมายฉบับดังกล่าวที่ยอมให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าจึงถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ

  11. สรุปบทเรียนจากต่างประเทศสรุปบทเรียนจากต่างประเทศ • จากการสำรวจองค์กรกำกับดูแลด้านพลังงานในประเทศต่าง ๆ (ประเทศที่พัฒนาแล้ว 4 ประเทศ และที่กำลังพัฒนา 19 ประเทศ ) พบว่า • • ในเกือบทุกประเทศ มีการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมากำกับดูแลกิจการไฟฟ้า (และมักจะรวมก๊าซหรือภาคพลังงานทั้งหมดด้วย) ยกเว้นสองประเทศคือ อินโดนีเซียและไทย • • ในทุกประเทศ ยกเว้นไทย องค์กรกำกับดูแลถูกจัดตั้งโดยการออกกฎหมาย (ระดับสูง) ก่อนที่จะมีการแปรรูปการไฟฟ้าที่เป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นการผูกขาด

  12. พัฒนาการขององค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าในประเทศไทยพัฒนาการขององค์กรกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าในประเทศไทย • มติครม. 17 ต.ค. 2542 เห็นชอบแนวทางการจัดตั้งองค์กรกำกับอิสระรายสาขาซึ่งรวมถึงสาขาพลังงาน ตามมติคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) • มติครม. 31 ต.ค. 2543 เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน ซึ่งใช้จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลสาขาพลังงาน • ในการแปรรูป บมจ. ปตท. รัฐบาลได้ระบุในหนังสือชี้ชวนว่าจะจัดตั้งองค์กำกับดูแลสาชาพลังงาน (ไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ) โดยประกาศใช้พ.ร.บ.การประกอบกิจการพลังงานภายหลังการแปรรูป • สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้เสนอร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ ในปี 2547 • ปัจจุบันยังไม่มีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลใด ๆ

  13. รองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวในคราวเยือน กฟผ. เมื่อต้นเดือน กรกฎาคม 2548 ว่าจะจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าให้เสร็จภายใน กรกฎาคม 2548 คณะกรรมการฯ ดังกล่าว (หรือ “องค์กรกำกับดูแลชั่วคราว”) ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้ง จากการศึกษาพบว่ามีข้อห่วงใยหลายข้อ “องค์กรกำกับดูแลชั่วคราว”

  14. องค์กรกำกับดูแลชั่วคราว : ที่มา

  15. องค์กรกำกับดูแลชั่คราว : ความเป็นอิสระด้านการปฏิบัติงาน และงบประมาณ

  16. องค์กรกำกับดูแลชั่คราว : อำนาจตามกฏหมาย

  17. องค์กรกำกับดูแลชั่วคราว : ขอบเขตหน้าที่ (1)

  18. องค์กรกำกับดูแลชั่วคราว : ขอบเขตหน้าที่ (2)

  19. องค์กรกำกับดูแลชั่วคราว :คุณสมบัติของ คกก.

  20. องค์กรกำกับดูแลชั่วคราว : สรุป • ไม่เป็นหลักประกันที่เพียงพอของผู้บริโภค • ไม่มีความเป็นอิสระทั้งในเรื่องที่มา การดำเนินงานและงบประมาณ • อีกทั้งยังขาดอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เพียงพอ และเบ็ดเสร็จ ขาดเอกภาพ และยังอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนอีกด้วย

  21. สรุป และข้อเสนอแนะ • องค์กรกำกับดูแลชั่วคราวไม่ใช่หลักประกันของผู้บริโภค • สนับสนุนความพยายามของรัฐบาลที่จะเร่งจัดทำร่างพ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงานให้แล้วเสร็จ และจัดรับฟังความคิดเห็นให้เร็วที่สุด • ควรพิจารณาชะลอการแปรรูป กฟผ. ออกไปก่อนจนกว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ โดยใช้ พ.ร.บ. แล้วเสร็จ เพื่อประโยชน์ของประชาชน และประเทศโดยรวม

More Related