1 / 16

โรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบ และไม่มีน้ำนมในช่วงหลังคลอดในแม่สุกร (MMA)

โรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบ และไม่มีน้ำนมในช่วงหลังคลอดในแม่สุกร (MMA). ระบาดวิทยา พบในช่วง 36 ชม.หลังคลอด ( esp 12 ชม.) อัตราการป่วย 5-20% ของฝูง อัตราการตายในแม่สุกรน้อยมาก แต่ลูกสุกรจะตายเนื่องจากการขาดน้ำนม

Download Presentation

โรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบ และไม่มีน้ำนมในช่วงหลังคลอดในแม่สุกร (MMA)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคเต้านมอักเสบ มดลูกอักเสบและไม่มีน้ำนมในช่วงหลังคลอดในแม่สุกร (MMA) ระบาดวิทยา • พบในช่วง 36 ชม.หลังคลอด (esp 12 ชม.) • อัตราการป่วย 5-20% ของฝูง อัตราการตายในแม่สุกรน้อยมาก แต่ลูกสุกรจะตายเนื่องจากการขาดน้ำนม • พบว่า 17-18% ของการตายของลูกสุกรในช่วงก่อนขึ้นคอกอนุบาลมีสาเหตุมาจาก MMA MMA

  2. สาเหตุโน้มนำ • ความสกปรกในคอกคลอด และความเครียดที่เกิดจากการจัดการ เช่น การขาดอาหาร ท้องผูก สาเหตุที่แท้จริง • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น E.coli (55%), Streptococci, etc. ผ่านทางรูนม ทำให้เกิดเต้านมอักเสบนอกจากนี้เชื้อยังสร้าง endotoxin ประกอบกับความผิดปกติของฮอร์โมน จึงทำให้การสร้างน้ำนมลดลง อาการ • ไข้สูง มีหนองไหลออกมาทางช่องคลอด เต้านมอักเสบ ไม่มีน้ำนม MMA

  3. การรักษา • สุวิชัย (2536) ได้แนะนำการรักษาตามลำดับความสำคัญของยาที่ใช้ดังนี้ • 1. อ๊อกซีโตซิน • 2. ยาปฏิชีวนะหรือยาซัลฟา • 3. ยาลดการอักเสบประเภทสเตียรอยด์ • 4. ฮอร์โมนเอสโตรเจน • 5. ยาลดไข้และยาบำรุงทั่วๆ ไป การเลือกให้ยาขึ้นกับสภาพของแม่สุกร ไม่จำเป็นต้องให้พร้อมกันทุกชนิด MMA

  4. การควบคุมและป้องกันโรคการควบคุมและป้องกันโรค เน้นการสุขาภิบาลและการจัดการที่ดี • อาหารแม่สุกรตั้งท้องควรมีคุณภาพและปริมาณครบถ้วน และมีเยื่อใยสูง • ต้องมีการทำความสะอาดคอกคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและพักคอกอย่างน้อย 1 w ก่อนนำแม่สุกรเข้า • ควรให้ยาปฏิชีวนะผสมอาหารให้แม่สุกรกิน 3-5 d ก่อนคลอดจนถึง 2 d หลังคลอด • มีการช่วยคลอดอย่างถูกต้องและตามความเหมาะสม MMA

  5. โรคจากสารพิษจากเชื้อรา • เป็นปัญหาที่ทวีความสำคัญขึ้น esp ในฟาร์มขนาดใหญ่และมีการเลี้ยงแบบครบวงจร เนื่องจากมีการใช้ระบบการให้อาหารอัตโนมัติและใช้ไซโลในการเก็บอาหารสัตว์ • สารพิษจากเชื้อรามีหลายชนิดและมีผลให้เกิดความผิดปกติแตกต่างกัน นอกจากนี้บางชนิดยังก่อให้เกิดการกดระบบภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายและยากแก่การวินิจฉัยโรค • ความเป็นพิษมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง แต่ส่วนใหญ่สัตว์ป่วยจะเป็นแบบเรื้อรังผสมกับการติดเชื้อแทรกซ้อน โรคเกิดจากสารพิษจากเชื้อรา

  6. ลักษณะความเป็นพิษ • ผลผลิตลดลง 20-40% และช่วงความเสียหายนาน > 5-6 m esp พ่อพันธุ์ จะมีผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อ ทำให้ผลกระทบยิ่งยาวนาน • อาการหลักของความเป็นพิษ ~ PRRS (เกี่ยวกับระบบหายใจและระบบสืบพันธุ์) ส่วนอาการอื่นๆ ขึ้นกับชนิดของท๊อกซิน เช่น • Aflatoxin (>800 ppb) ตับ ดีซ่าน ท้องมาน แกร็น เลือดออกที่ซี่โครง ลำไส้ • Zearalenone (1-3 ppm) มีผลคล้ายเอสโตรเจน anus vulva บวมแดง ปวดเบ่ง ช่องคลอดทะลัก • Fumonisins (>1 ppm) ปอดบวม ไอ แท้ง • Trichothecenes (>5 ppm) เกิดการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร กิน โรคเกิดจากสารพิษจากเชื้อรา

  7. ลักษณะความเป็นพิษ (ต่อ) • Ochratoxin เป็นพิษต่อไต ท้องร่วง เบื่ออาหาร ขาดน้ำ • โรคแทรกซ้อน เช่น AD ปอดบวม แท้งจากการติดเชื้อราอื่นเพิ่ม • ความผิดปกติที่พบในระบบสืบพันธุ์ เช่น กลับสัดไม่ตรงรอบ ลูกอ่อนแอ ลูกมีขนาดแตกต่างกันมาก ลูกขาถ่าง ลูกตายหลังคลอด ลูกมัมมี่ การแก้ไข • มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ และภาชนะบรรจุอยู่เสมอ • ใช้สารดูดจับท๊อกซินผสมในอาหารสัตว์ โรคเกิดจากสารพิษจากเชื้อรา

  8. โรคบาดทะยัก (Tetanus) ระบาดวิทยา • เป็นโรคที่พบได้ในสัตว์ทุกชนิดและในคน และพบในช่วงอายุน้อยมากกว่าเมื่อโตเต็มที่ • พบอัตราการเกิดโรคมากในประเทศที่กำลังพัฒนา esp ในคนพบมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • ความไวต่อการพบโรคเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ม้า คน แกะ แพะ สุกร โค • มักพบหลังจากมีการทำให้เกิดบาดแผลและใช้เครื่องมือที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ โรคบาดทะยัก

  9. สาเหตุ • เกิดจากเชื้อ Clostridium tetani ซึ่งเป็นชนิด Gram-positive, anaerobic, nonencapsulated, spore-forming และสภาพสปอร์ทนต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีมาก • เชื้อสามารถสร้าง toxin ได้หลายชนิดและชนิดที่สำคัญจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ตาย และการฉีดยากันบาดทะยักนั้นก็เพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษนี้ • เชื้ออาจถูกทำลายได้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน โรคบาดทะยัก

  10. การติดต่อ • การติดต่อในสัตว์จะเกิดหลังจากที่มีบาดแผลและมีการปนเปื้อนกับเชื้อหรือสปอร์ เช่น บาดแผลจากการผ่าตัด การคลอดลูก การตัดสายสะดือ • ระยะฟักตัวของโรค 3 วัน - 3 อาทิตย์ • การติดเชื้อจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ บาดแผลที่ไม่มีรูเปิด ฟกช้ำ จะท่วยให้เชื้อสามารถเจริญได้ดีขึ้น โรคบาดทะยัก

  11. อาการ • จัดเป็นโรคที่เฉียบพลันและทำให้สัตว์ตายเนื่องจาก neurotoxin ทำให้เกิด spastic paralysis esp กล้ามเนื้อในส่วนหัว จะทำให้เกิดอาการขากรรไกรค้าง nictitating member ที่ตาจะยื่นออกมา(ปกติจะไม่เห็น) ระยะท้ายๆสัตว์จะล้มลงนอน กระดูกสันหลังเหยียดโค้ง ขาทั้งสี่เหยียดแข็งตรง หางเหยียดตรง (hyperextend and rigid) และตายในที่สุด การวินิจฉัยโรค • จากอาการและประวัติของการเกิดบาดแผลในระยะเวลาใกล้ๆที่ผ่านมา โรคบาดทะยัก

  12. การรักษา • หลังแสดงอาการทางประสาทแล้วไม่สามารถรักษาได้ การควบคุมและป้องกันโรค • มีการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเมื่อทำการผ่าตัด • ในสัตว์ที่มีความไวต่อโรคมาก เช่น ม้า จะต้องมีโปรแกรมการให้ toxoid เป็นประจำและจะต้องให้ อีกเป็นกรณีพิเศษก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัด • ในคนเมื่อเกิดบาดแผลจะต้องล้างและทำแผลโดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ฉีดเข้าไปในแผล ซึ่งได้ผลดีกว่าการให้ยาปฏิชีวนะไปกินเพื่อทำลายเชื้อเพียงอย่างเดียว ในกรณีที่มีความเสี่ยง แพทย์มักจะฉีด antitoxin ให้ด้วย โรคบาดทะยัก

  13. โรคขี้เรื้อน (Mange) • เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิภายนอกที่สำคัญที่สุดในสุกรทั่วโลก • เกิดจากตัวไรชนิดตัวกลม (Sarcoptes scabei) • แหล่งแพร่โรคที่สำคัญคือ วิการเป็นโรคแบบเรื้อรังที่ใบหู ซึ่งจะมีตัวไรอยู่รวมกันมาก esp ในพ่อสุกร • ติดต่อโดยการสัมผัส ทำให้สัตว์มีอาการคัน ซึ่งสัตว์จะพยายามใช้ขาหลังเกา หรือใช้การสีหรือถูตัวกับผนังคอก โรคผิวหนัง

  14. Exudative epidermatitis • เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นแบบปัจจุบันในลูกสุกรดูดนมเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุ • สาเหตุโน้มนำเกิดจากการเกาเนื่องจากเป็นขี้เรื้อน พื้นคอกหยาบ ทำให้เป็นแผล แล้วมีเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus hyicusซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดกรัมบวก รูปร่างกลมเป็นสาเหตุที่แท้จริงของโรค โรคผิวหนัง

  15. อาการ • ทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ ทั่วร่างกาย หรือเป็นหย่อม มีของเหลวที่ขับออกมาจากการอักเสบ (exudate) ผสมกับสิ่งคัดหลั่งพวกไขมัน ซึ่งจะจับกับขน ทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายซี่หวี • อัตราการป่วย 40-80% อัตราการตาย 10-80% • รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะทั่วไป เช่น ฉีดเพนนิซิลลิน โรคผิวหนัง

  16. Pox • เกิดจากไวรัส โดยมียุงเป็นพาหะ • พบโรคได้ในสุกรทุกอายุ esp >4 w • ทำให้เกิดวิการของฝีดาษ เป็นผื่นนูนแบน หรือคล้ายภูเขาไฟมีสะเก็ดดำตรงกลาง เกิดขึ้นทั่วตัว • อัตราการป่วย ~100% อัตราการตาย 3-5% esp ลูกสุกร • ไม่มียาที่ใช้รักษา การให้ยาฉีดเตตร้าซัยคลินอาจทำให้อาการดีขึ้นบ้าง โรคผิวหนัง

More Related