1 / 50

โลกและการเปลี่ยนแปลง

โลกและการเปลี่ยนแปลง. จัดทำโดย. นาย ชนะ พงษ์ รอดทอง เลขที่ 4 นางสาว วรรณวิษา ผ่องน้อย เลขที่ 12 นางสาว สุรารักษ์ คล่องวิชา เลขที่ 15 นางสาว ชลิต ตา บุญคำกอง เลขที่. เสนอ. คุณครู ฉวีวรรณ กันทะคำ. กำเนิดโลก.

Download Presentation

โลกและการเปลี่ยนแปลง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โลกและการเปลี่ยนแปลง

  2. จัดทำโดย นาย ชนะพงษ์ รอดทอง เลขที่ 4 นางสาว วรรณวิษา ผ่องน้อย เลขที่ 12 นางสาว สุรารักษ์ คล่องวิชา เลขที่ 15 นางสาว ชลิตตา บุญคำกอง เลขที่ เสนอ คุณครู ฉวีวรรณ กันทะคำ

  3. กำเนิดโลก เมื่อประมาณ4,600ล้านปีมาแล้วกลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงมีชื่อว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar แปลว่าสุริยะ, Nebula แปลว่าหมอกเพลิง)แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มก๊าซยุบตัวและหมุนตัวเป็นรูปจานใจกลางมีความร้อนสูงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชันกลายเป็นดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆมีอุณหภูมิต่ำกว่ารวมตัวเป็นกลุ่มๆมีมวลสารและความหนาแน่นมากขึ้นเป็นชั้นๆและกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด

  4. ส่วนประกอบของโลก พื้นผิวนอกของโลกมีลักษณะแตกต่างกันบางแห่งเป็นพื้นดิน บางแห่งเป็นพื้นน้ำ โดยประมาณเป็นพื้นน้ำ 3 ส่วนและเป็นพื้นดิน 1 ส่วน ลักษณะพื้นผิวนอกของโลกดังกล่าวนี้เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ แต่ส่วนที่ลึกลงไปถึงใจกลางของโลกเราไม่อาจสังเกตได้โดยตรง แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ได้แก่ ภูเขาไฟระเบิดได้นำวัตถุที่อยู่ลึกขึ้นมาข้างบน และแผ่นดินไหวทำให้เกิดคลื่นเป็นสิ่งที่ช่วยในการศึกษาชั้นภายในโลกได้เป็นอย่างดี

  5. นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อสรุปว่า ภายในโลกตั้งแต่พื้นผิวโลกจนถึงจุดศูนย์กลาง แบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ได้ 3 ชั้น ดังนี้

  6. 1. เปลือกโลก (Crust)เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นดินและพื้นน้ำ และส่วนที่เป็นหินแข็ง เปลือกโลกมีความหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร ซึ่งบางมากเมื่อเทียบกับชั้นอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เปลือกโลกบางแห่ง เช่น ใต้ทะเลหนาเพียง 5-8 กิโลเมตร แต่บางแห่ง เช่น ภูเขา หรือที่ราบสูงอาจหนาถึง 80 กิโลเมตร ดังนั้น เปลือกโลกจึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.1 เปลือกโลกชั้นบน (Outer Crust)ส่วนใหญ่เป็นหินไซอัล (Sial) ซึ่งเป็นหินแกรนิตของเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป โดยหินไซอัลนี้ประกอบด้วยสารประกอบซิลิกา (Silica)และอลูมินา (Alumina) เป็นส่วนใหญ่1.2 เปลือกโลกชั้นล่าง (Inner Crust)เป็นหินไซมา (Sima) ซึ่งเป็นหินบะซอลต์ของเปลือกโลกส่วนที่เป็นท้องมหาสมุทรและรองอยู่ใต้หินไซอัล หินไซมานี้ประกอบด้วยสารประกอบซิลิกา (Silica) และแมกนีเซีย (Magnesia)

  7. 2. ชั้นแมนเทิล (Mantle)เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกมีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยหินและแร่ธาตุต่างๆ หลายชนิด เช่น หินเพริโดไทต์ (Paridotite) หินอัลตราเบสิก (Untrabasic) ซึ่งเป็นหินอัคนีชนิดหนึ่งบางส่วนของชั้นแมนเทิลนี้มีหินเหลวหนืดและร้อนจัดที่ประกอบด้วยธาตุต่างๆ เช่น ซิลิคอน อะลูมิเนียม เหล็กหลอมละลายปนกันอยู่ภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูงมากประมาณ 800-4,300 องศาเซลเซียส หินหนืดนี้เป็นสารเหลวร้อน เกิดตามธรรมชาติอยู่ภายในโลก สามารถเคลื่อนตัวไปมาได้ในวงจำกัด อาจมีแก๊สและของแข็งรวมอยู่ด้วย เรียกว่า แมกมา (Magma) เมื่อแทรกดันขึ้นมาหรือพุ่งออกสู่ผิวโลก เรียกว่า ลาวา (Lava)เมื่อเย็นและแข็งตัวจะเกิดเป็นหินอัคนี

  8. 3. แก่นโลก (Core)เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด มีความหนาจนถึงจุดศูนย์กลางของโลกประมาณ 3,440 กิโลเมตรประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนาแน่นมาก แก่นโลกนี้ มีทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและส่วนที่เป็นของเหลวร้อนจัด แก่นโลกจึงแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น คือ3.1 แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core)อยู่ในระดับความลึกจากผิวโลกประมาณระหว่าง 2,900-5,000 กิโลเมตรเป็นชั้นของเหลวร้อนจัดที่ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลหลอมละลายปนกันอยู่ มีความหนาแน่นสัมพัทธ์หรือความถ่วงจำเฉพาะประมาณ 12.0 อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 4,300-6,200องศาเซลเซียส ขณะที่โลกหมุนแก่นโลกส่วนนี้จะเคลื่อนที่ไปรอบๆอย่างช้าๆ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก3.2 แก่นโลกชั้นใน (Inner Core)อยู่ถัดจากแก่นโลกชั้นนอกจนถึงจุดศูนย์กลางของโลก ในระดับความลึกประมาณ 5,000 กิโลเมตร จากผิวโลก เป็นชั้นของแข็งที่ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลเช่นเดียวกับแก่นโลกชั้นใน แต่เนื่องจากเป็นชั้นที่อยู่ลึกมากจึงมีความดันและมีอุณหภูมิสูง ทำให้อนุภาคของเหล็กและนิกเกิลถูกอัดแน่นจนเป็นของแข็ง มีความถ่วงจำเฉพาะมากกว่า 17.0 อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 6,200-6,400 องศาเซลเซียส

  9. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สาเหตุที่ทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ 2 ประการ คือ การกระทำของมนุษย์ และอิทธิพลของธรรมชาติ

  10. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ 1. การค้นหาและขุดดิน หิน และแร่ธาตุ ซึ่งมีอยู่ในเปลือกโลกขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง และทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ 2. การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน ถนน อาคารใหญ่ โรงงานอุตสาหกรรม อุโมงค์ เป็นต้น การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างบางอย่างมีความจำเป็นต้องปรับพื้นที่ที่จะสร้าง ซึ่งอาจต้องมีการขุดเจาะลงไปในชั้นดินและหิน เพื่อวางฐานรากของสิ่งก่อสร้าง3. การระเบิดภูเขา เพื่อนำหินมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง เช่น สร้างถนน สร้างอุโมงค์ สร้างอาคาร เป็นต้น4. การทำเหมืองแร่ เพื่อหาแหล่งแร่และนำแร่มาใช้ประโยชน์5. การขุดเจาะหาแหล่งเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียม6. การขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อนำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการบริโภคอุปโภค7. การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูก และเพื่อนำไม้มาสร้างที่อยู่อาศัยและผลิตภัณฑ์ต่างๆ 8. การทดลองระเบิดปรมาณูและการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

  11. การกระทำของมนุษย์ดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีส่วนทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกบางครั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งแวดล้อมตัวอย่างเช่น - การขุดเจาะดิน หิน และการทำเหมืองแร่ทำให้ชั้นดินและหินถูกทำลาย - การขุดเจาะบ่อบาดาลทำให้แผ่นดินทรุดตัวน้ำท่วมขัง และเกิดมลภาวะ - การระเบิดภูเขาทำให้ชั้นดินและหินถูกทำลาย สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง และเกิดมลภาวะทางอากาศ - การตัดไม้ทำลายป่าทำให้หน้าดินพังทลายขาดความชุ่มชื้นและความสมบูรณ์ เมื่อมีกระแสน้ำพัดผ่าน ทำให้สายน้ำเปลี่ยนแนวไปจากเดิม - การทดลองระเบิดปรมาณูทำให้ชั้นดินเกิดการสั่นสะเทือนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก และทำให้รังสีปรมาณูแผ่กระจายในบรรยากาศ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

  12. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากอิทธิพลของธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากอิทธิพลของธรรมชาติ แต่เดิมทวีปต่างๆ ที่เราเห็นอยู่นี้อาจติดเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันหมด แล้วค่อยๆ เคลื่อนที่ออกจากกัน ความจริงความคิดที่ว่าโลกเรามีทวีปเดียวเท่านั้นมิใช่เป็นความคิดใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ความคิดนี้เกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2458โดย นักอุตุนิยมวิทยาและนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ อัลเฟรด เวเกเนอร์ เขาได้เสนอทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ไว้ว่า ถ้าย้อนอดีตไปอีกประมาณ 180 ล้านปี ผิวโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งยื่นขึ้นมาจากผิวน้ำมีเพียงส่วนเดียว เป็นทวีปใหญ่เพียงทวีปเดียว เรียกทวีปนี้ว่า พันเจีย (Pangea) แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด (All land) เมื่อเวลาผ่านไปทวีปใหญ่ก็เริ่มแยกออกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนก็เริ่มขยับเคลื่อน บางส่วนก็แยกออกจากกันไปเลย จนกระทั่งเกิดเป็นทวีปต่างๆ ดังปรากฏในโลกปัจจุบัน การเคลื่อนที่ของทวีปดังกล่าวข้างต้น เรียกว่า ทวีปเลื่อน (Continental Drift)อัลเฟรด เวเกเนอร์ อ้างหลักฐานและข้อมูลบางอย่างที่สนับสนุนทฤษฎีของเขาดังนี้

  13. แผ่นเปลือกโลก จากผลการศึกษาและค้นคว้าดังกล่าวจึงทำให้เกิดทฤษฎีเพลตเทคโตนิก (Plate Tectonic) ขึ้น ตามทฤษฎีนี้นักธรณีวิทยา ได้แบ่งเปลือกโลกออกเป็นแผ่นๆ ซึ่งเรียกว่า แผ่นเปลือกโลก (Plate) หรือ แผ่นธรณีภาค (Lithosphere Plate) แผ่นเปลือกโลก มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่มีทั้งหมด 6 แผ่น

  14. 1. แผ่นยูเรเซีย (Eurasian Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง2. แผ่นอเมริกา (American Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำทางครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก3. แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับมหาสมุทรแปซิฟิก4. แผ่นออสเตรเลีย (Aultralian Plate) ซึ่งอาจเรียกว่าแผ่นอินเดียน เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปออสเตรเลียประเทศอินเดียและพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกันประเทศอินเดีย5. แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอนตาร์กติกและพื้นน้ำโดยรอบ6. แผ่นแอฟริกา (African Plate) เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำโดยรอบ

  15. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก หินหนืดที่อยู่ในชั้นแมนเทิล เมื่อได้รับความร้อนจากแก่นโลกจะไหลวนขึ้นมาถึงส่วนบน ลักษณะการเคลื่อนที่ของหินหนืดนี้ทำให้เกิดแรงผลักแผ่นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ไปด้วย แต่เนื่องจากหินหนืดในบริเวณต่างๆ ของโลกมีทิศทางการไหลวนที่แตกต่างกันจึงทำให้เปลือกโลกแต่ละแผ่นเคลื่อนที่ในทิศทางต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้แผ่นเปลือกโลกบางแผ่นแยกออกจากกันหรือบางแผ่นอาจเคลื่อนที่เข้าชนกัน

  16. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกนอกจากจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่ของหินหนืดในชั้นแมนเทิลแล้วยังมีสาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ การแทรกตัวของหินหนืดตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรมีความหนาน้อยกว่าแผ่นเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีป ทำให้หินหนืดในชั้นแมนเทิลสามารถแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรได้ง่ายกว่า หินหนืดในชั้นแมนเทิลจึงทำหน้าที่เป็นตัวดันและพยุงให้แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่และขยายตัวแยกออกจากกัน ดังตัวอย่างที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทรแอตแลนติกมีแนวหินใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แนวหินใหม่นี้เกิดขึ้นจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกดันขึ้นมาที่บริเวณรอยต่อนี้ แนวหินใหม่เหล่านี้พบว่ามีอายุน้อยกว่าหินที่อยู่บนทวีปรอบมหาสมุทรแอตแลนติกมาก

  17. ผลกระทบที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกผลกระทบที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 1. ทำให้เกิดภูเขา การชนกันของแผ่นเปลือกโลกส่วนที่ถูกดันโค้งตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง เช่น การชนกันของแผ่นออสเตรเลีย กับแผ่นยูเรเซียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย นอกจากนี้การชนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสอยังทำให้บางส่วนมุดตัวลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งและเกิดการหลอมเหลวเป็นหินหนืดในชั้นแมนเทิลอีกครั้ง ทำให้บางส่วนหายไป2. ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดการเคลื่อนที่เข้าชนกันหรือแยกออกจากกันของเปลือกโลกอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดได้

  18. แผ่นดินไหวคืออะไร เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์ได้เป็นบริเวณกว้าง เชื่อกันว่าทุกประเทศได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

  19. สาเหตุ แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะมีความหนาต่างกัน โดยบางแผ่นมีความหนาถึง 70 กิโลเมตร ในขณะที่บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร จะมีความหนาเพียง 6 กิโลเมตร นอกจากนี้แผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งยังมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกันหรือชนกัน จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ที่มีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน

  20. แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์ มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้

  21. คลื่นในแผ่นดินไหว คลื่นแผ่นดินไหวถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่มีลักษณะแผ่กระจายเป็นวงรอบๆจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ 1.คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) คลื่นตามยาว อนุภาคของคลื่นชนิดนี้เคลื่อนที่ในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น สามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ 2.คลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ ผ่านได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง 2.คลื่นพื้นผิว เป็นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว มี 2 ชนิด 1.คลื่น L (Wave of Love : Love wave) เป็นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบ มีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น 2.คลื่น R (Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุภาคในคลื่นนี้สั่นเป็นรูปรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นสาเหตุทำให้พื้นโลกสั่นขึ้นลง

  22. ขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลางขนาดและความสัมพันธ์ของขนาดโดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้ศูนย์กลาง

  23. ข้อปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวขณะเกิดแผ่นดินไหวข้อปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหวขณะเกิดแผ่นดินไหว -ตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟฟ้า เป็นต้น -ปฏิบัติตามคำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติของทางราชการอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป -ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก -เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง -ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟฟ้าดังอาจมีอันตรายจากการติดอยู่ภายใต้ลิฟต์ -อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปรักหักพังร่วงหล่นลงมา -อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง -ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย หรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้

  24. -หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือนหลังเกิดแผ่นดินไหว • -ตรวจเช็คการบาดเจ็บ และการทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาต่อไป • -ตรวจเช็คระบบน้ำ ไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ให้ปิดวาล์ว เพื่อป้องกันน้ำท่วมเอ่อ ยกสะพานไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต • -ตรวจเช็คระบบแก๊ส โดยวิธีการดมกลิ่นเท่านั้น หากพบว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส (มีกลิ่น) ให้เปิดประตูหน้าต่าง แล้วออกจากอาคาร แจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบในโอกาสต่อไป • -เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำ จากทางราชการโดยตลอด • -ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น • -อย่ากดน้ำล้างส้วม จนกว่าจะมีการตรวจเช็คระบบท่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอาจเกิดการแตกหักของท่อในส้วม ทำให้น้ำท่วมเอ่อหรือส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ • -สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง • -รวมพล ณ ที่หมายที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้ และตรวจนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่ • -อย่าออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งได้ แม้ว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม

  25. ผลกระทบ ผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การประกันภัย และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

  26. ภูเขาไฟ ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐาน (โดยทั่วไป คือ ภูเขา) ที่หินหนืด (หินภายในโลกที่ถูกหลอมเหลวด้วยความดันและอุณหภูมิสูง) ปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ แม้ว่าเราจะสามารถพบภูเขาไฟได้หลายแห่งบนดาวเคราะห์หินและดาวบริวารในระบบสุริยะ แต่บนโลก ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า ภูเขาไฟจุดร้อน

  27. การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่างการจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง ปกติจะมีการจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง ตามส่วนประกอบที่ทำให้เกิด และชนิดของการประทุ โดยสรุปแล้วเราจะจำแนกภูเขาไฟได้ 3 ลักษณะคือ 1.กรวยภูเขาไฟสลับชั้น (Composit Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกระทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐฯ) 2.ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Muana Loa (ฮาวาย) 3.กรวยกรวดภูเขาไฟ (Cinder Cone) ภูเขาไฟชนิดนี้จะสูงชันมาก และเกิดจากลาวาที่พุ่งออกมาทับถมกัน ลาวาจะมีความหนืดสูง การไหลไม่ต่อเนื่อง และมีลักษณะเป็นลาวาลูกกลมๆ ที่พุ่งออกมาจากปล่องเดี่ยว และทับถมกันบริเวณรอบปล่อง ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้ไม่ค่อยก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตมากมาย

  28. ภูเขาไฟระเบิด คำนิยาม ภูเขาไฟระเบิด เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดงให้เห็นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่ง ความร้อนสะสมอยู่มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า"จุดร้อน" ณ บริเวณนี้มีหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา และเมื่อมันถูกพ่นขึ้นมาตามรอยแตกหรือปล่องภูเขาไฟ เราเรียกว่า ลาวา

  29. สาเหตุของการเกิดภูเขาไฟระเบิดสาเหตุของการเกิดภูเขาไฟระเบิด กระบวนการระเบิดของภูเขานั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจกระจ่างชัดนักธรณีวิทยาคาดว่ามีการสะสมของความร้อนอย่างมากบริเวณนั้น ทำให้มีแมกมา ไอน้ำและแก๊ส สะสมตัวอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อให้เกิดความดัน ความร้อนสูงเมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะระเบิดออกมา อัตราความรุนแรงของการระเบิดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระเบิด รวมทั้งขึ้นอยู่กับความดันของไอ และความหนืดของลาวา ถ้าลาวาข้นมากๆ อัตราการรุนแรงของการระเบิดจะรุนแรงมากตามไปด้วย เวลาภูเขาไฟระเบิด มิใช่มีแต่เฉพาะลาวาที่ไหลออกมาเท่านั้น ยังมีแก๊สไอน้ำ ฝุ่นผงเถ้าถ่านต่างๆออกมาด้วย มองเป็นกลุ่มควันม้วนลงมา พวกไอน้ำจะควบแน่นกลายเป็นน้ำนำเอาฝุ่นละอองเถ้าต่างๆ ที่ตกลงมาด้วยกัน ไหลบ่ากลายเป็นโคลนท่วมในบริเวณเชิงเขาต่ำลงไปยิ่งถ้าภูเขาไฟนั้นมีหิมะคลุมอยู่ มันจะละลายหิมะ นำโคลนมาเป็นจำนวนมากได้ เช่น ในกรณีของภัยพิบัติที่เกิดในประเทศโคลัมเบียเมื่อไม่นานนี้

  30. โทษของภูเขาไฟระเบิด 1. แรงสั่นสะเทือน -มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหวเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชิงภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันเกิดความสูญเสียแก่ ชีวิตและทรัพย์สิน 2. การเคลื่อนที่ของลาวา -อาจไหลออกมาจากปากปล่องภูเขาไฟเคลื่อนที่รวดเร็วถึง 50กิโลเมตรต่อชั่วโมง มนุษย์และสัตว์อาจหนีภัยไม่ทันเกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง 3. เกิดฝุ่นภูเขาไฟ เถ้า มูลบอมบ์ภูเขาไฟ ระเบิดขึ้นสู่บรรยากาศ ครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟระเบิดหลายพันกิโลเมตร ภูเขาไฟพินาตูโบระเบิดที่เกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ ฝุ่นภูเขาไฟยังมาตกทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดสงขลา นราธิวาส และปัตตานี เกิดมลภาวะทางอากาศ และแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน รวมทั้งฝุ่นภูเขาไฟได้ขึ้นไปถึงบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ใช้เวลานานหลายปี ฝุ่นเหล่านั้นถึงจะตกลงบนพื้นโลกจนหมด 4. เกิดคลื่นสึนามิ

  31. ประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิดประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิด 1. การระเบิดของภูเขาไฟช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล • 2. แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น 3. แหล่งภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญขึ้น เช่น เพชร เหล็ก และธาตุอื่นๆ อีกมาก 4. แหล่งภูเขาไฟจะเป็นแหล่งดินดีเหมาะแก่การเพาะปลูก เช่น ดินที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น 5. แหล่งภูเขาไฟ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติฮาวาย ในอเมริกา หรือแหล่งภูกระโดง ภูอังคาร ในจังหวัดบุรีรัมย์ของไทย เป็นต้น 6. ฝุ่น เถ้าภูเขาไฟที่ล่องลอยอยู่ในอากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ทำให้บรรยากาศโลกเย็นลงปรับระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ของโลกที่กำลังร้อนขึ้น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำแอลนิโน ที่ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกสูงขึ้นนั้นลดต่ำลง • 7. ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ • 8..เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน

  32. ภาคผนวก

  33. ชุดแบบทดสอบ คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด 1. โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่เท่าใด ก. ลำดับที่ 3   ข. ลำดับที่ 4  ง.  ลำดับที่ 6 ค.ลำดับที่ 5 2. โลกแบ่งเป็นกี่ชั้น ก. 2 ชั้น ข. 3 ชั้น ค. 4 ชั้น ง.  5 ชั้น

  34. 3. แรงโน้มถ่วงทำให้เกิดกลุ่มก๊าซยุบตัวได้หมุนตัวเป็นรูปอะไร ก.  รูปกังหัน ข.  รูปภูเขา ค.  รูปจาน ง.  รูปอะไรก็ได้ 4. ดาวเคราะห์กี่ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ก. 12 ดวง ข. 11 ดวง ค. 10ดวง ง. 9 ดวง  

  35. 5. สาเหตุที่เปลือกโลกเกิดการยุบ มีอยู่ 2 ประการ คือ ก.  การกระทำของมนุษย์ และ อิทธิพลของธรรมชาติ ข.  การที่เกิดควันลอยตัว และ การที่เกิดเครื่องบินตก ค.  การที่เกิดโลกหมุนเร็วกว่าเวลา และ การที่มนุษย์บินขึ้นสู่อวกาศ ง.  การเกิดปรากฏการเรือนกระจก และ การเกิดสุริยุปราคา 6. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกเกิดจากอิทธิพลธรรมชาติ คืออะไร ก. ทวีปอยู่ที่เดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไป ใดๆเลย ข. ทวีปต่างๆอาจติดเป็นพื้นเดียวกัน แล้วค่อยๆเคลื่อนออกจากกัน ค.ทวีปมีแม่น้ำไหลผ่าน ง.  เปลือกโลกบางส่วนที่ถูกมนุษย์ทำลาย

  36. 7. ในคำว่าพันเจีย (pangea) มีความหมายว่าอย่างไร ก.  แผนที่ที่ยุบออกไป ข.  แผ่นดินที่พุ่งออกมา ค.  แผ่นดินทั้งหมด ง.  แผ่นดินบางส่วน 8. ผลการทบที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลก คือ ก.  อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ข.  ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด ค.  ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ง.  ถูกทั้ง ข และ ค

  37. 9. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเกิดจากข้อใด ก.  หินหนืดที่อยู่ในเมนเทิลไหลวนขึ้นมาบนโลก ข.  หินหนืดที่อยู่ในเมนเทิลหยุดอยู่นิ่ง ค.  หินหนืดที่อยู่ในเมนเทิลร้อนเกินไป ง.  หินหนืดที่อยู่ในเมนเทิลเกาะกันเป็นกลุ่ม 10. การขุดเจาะบ่อบาดาลทำให้เกิดเหตุการณ์ใด ก. แผ่นดินทรุดตัว น้ำท่วมขัง ข. ถูกทุกข้อ ค. เกิดแก็สพิษ ง. ถูก ก เท่านั้น

  38. 11. ภูเขาและเทือกเขาส่วนใหญ่มีลักษณะการเกิดแบบใด ก. การเกิดแผ่นดินไหว ข. พลังงานจากภูเขาไฟ ค. การโก่งตัวของเปลือกโลก ง.การเลื่อนตัวของหินเปลือกโลก 12. เราสามารถจำแนกลักษณะภูเขาไปได้กี่ลักษณะ ก. 4 ลักษณะ ข. 3 ลักษณะ ค. 2 ลักษณะ ง. 5 ลักษณะ

  39. 13. เปลือกโลกมีความหนาประมาณเท่าใด ก. เปลือกโลกมีความหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร ข. เปลือกโลกมีความหนาประมาณ 36-39 กิโลเมตร ค. เปลือกโลกมีความหนาประมาณ 1-5 กิโลเมตร ง. เปลือกโลกมีความหนาประมาณ 36-46 กิโลเมตร 14. แผ่นเปลือกโลกที่รองรับประเทศอินเดีย มีชื่อว่าอย่างไร ก. แผ่นยูเรเชีย ข. แผ่นอเมริกา ค. แผ่นออสเตรเลีย ง. แผ่นแอฟริกา

  40. 15. หากนำไข่ต้ม มาผ่าครึ่ง ไข่ขาวของไข่ต้มเปรียบเหมือนชั้นใดของโลก ก. ชั้นเปลือกโลก ข. ชั้นแก่นโลกชั้นนอก ค. ชั้นแก่นโลกชั้นใน ง. ชั้นแมนเทิล

  41. เฉลย ชุดแบบทดสอบ 1. โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่เท่าใด ตอบ ก. ลำดับที่ 3   2. โลกแบ่งเป็นกี่ชั้น ตอบ ข. 3 ชั้น 3. แรงโน้มถ่วงทำให้เกิดกลุ่มก๊าซยุบตัวได้หมุนตัวเป็นรูปอะไร ตอบ ค.  รูปจาน 4. ดาวเคราะห์กี่ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ตอบ ง. 9 ดวง   5. สาเหตุที่เปลือกโลกเกิดการยุบ มีอยู่ 2 ประการ คือ ตอบ ก.  การกระทำของมนุษย์ และ อิทธิพลของธรรมชาติ

  42. 6. การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกเกิดจากอิทธิพลธรรมชาติ คืออะไร ตอบ ข. ทวีปต่างๆอาจติดเป็นพื้นเดียวกัน แล้วค่อยๆเคลื่อนออกจากกัน 7. ในคำว่าพันเจีย (pangea) มีความหมายว่าอย่างไร ตอบ ค.  แผ่นดินทั้งหมด 8. ผลการทบที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลก คือ ตอบ ง.  ถูกทั้ง ข และ ค 9. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเกิดจากข้อใด ตอบ ก.  หินหนืดที่อยู่ในเมนเทิลไหลวนขึ้นมาบนโลก 10. การขุดเจาะบ่อบาดาลทำให้เกิดเหตุการณ์ใด • ตอบ ข. ถูกทุกข้อ

  43. 11. ภูเขาและเทือกเขาส่วนใหญ่มีลักษณะการเกิดแบบใด ตอบ ค. การโก่งตัวของเปลือกโลก 12. เราสามารถจำแนกลักษณะภูเขาไปได้กี่ลักษณะ ตอบข. 3 ลักษณะ 13. เปลือกโลกมีความหนาประมาณเท่าใด ตอบ ก. เปลือกโลกมีความหนาประมาณ 6-35 กิโลเมตร 14. แผ่นเปลือกโลกที่รองรับประเทศอินเดีย มีชื่อว่าอย่างไร ตอบ ค. แผ่นออสเตรเลีย 15. หากนำไข่ต้ม มาผ่าครึ่ง ไข่ขาวของไข่ต้มเปรียบเหมือนชั้นใดของโลก ตอบ ง. ชั้นแมนเทิล

  44. คำศัพท์ 1. โซลาร์เนบิวลา(Solar แปลว่าสุริยะ, Nebula แปลว่าหมอกเพลิง) 2. Solar System ระบบสุริยะ 3. Crust เปลือกโลก 4. Magma แมกมา คือ หินหนืดนี้เป็นสารเหลวร้อน เกิดตามธรรมชาติอยู่ภายในโลก สามารถเคลื่อนตัวไปมาได้ในวงจำกัด อาจมีแก๊สและของแข็งรวมอยู่ด้วย 5. Lava ลาวา คือ แมกมาที่แทรกดันขึ้นมาหรือพุ่งออกสู่ผิวโลก 6. Core แก่นโลก 7. Pangea พันเจีย แปลว่า แผ่นดินทั้งหมด 8. Continental Drift ทวีปเลื่อน คือ การเคลื่อนที่ของทวีป 9. Plate แผ่นเปลือกโลก 10. Lithosphere Plate แผ่นธรณีภาค 11. Lavabomb ลาวาบอมบ์ คือ เศษหินขนาดใหญ่ที่พ่นออกมาจำนวนมาก 12. Lavaflowลาวาหลาก 13. fault การเลื่อนตัวของเปลือกโลก 14. physical weathering การกระทำทางกายภาพ 15. chemical weathering การกระทำทางเคมี 16. aggradationอะกราเดชั่น คือ การทับถม 17. degradationดีกราเดชั่น คือ การทำลาย

  45. ขอบคุณค่ะ

More Related