1 / 21

พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507

พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507. เหตุผลในการประกาศใช้. 1. เด็ก และเยาวชน หรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาซึ่งเข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ เข้าพักอยู่ในหอพักของเอกชนมีจำนวนมากขึ้น 2. ไม่มีกฎหมายควบคุมหอพักของเอกชนที่จัดตั้งขึ้น

Download Presentation

พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507

  2. เหตุผลในการประกาศใช้ 1. เด็กและเยาวชน หรือผู้ที่อยู่ในระหว่างการศึกษาซึ่งเข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ เข้าพักอยู่ในหอพักของเอกชนมีจำนวนมากขึ้น 2.ไม่มีกฎหมายควบคุมหอพักของเอกชนที่จัดตั้งขึ้น 3.เพื่อให้ผู้จัดการหอพักคำนึงถึงสวัสดิภาพ ความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีมากกว่าประโยชน์ในการค้า

  3. ความหมายของ“หอพัก” คือ สถานที่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับผู้พัก ซึ่งอยู่ในระหว่างศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนของรัฐบาลหรือโรงเรียนราษฎร์ และเข้าอยู่ในหอพัก โดยให้ทรัพย์สินตอบแทน แต่ไม่รวมถึง -หอพักของกระทรวงทบวงกรม -หอพักที่รับผู้พักน้อยกว่าห้าคน -หอพักที่รับผู้พักโดยไม่เรียกทรัพย์สินตอบแทน -หอพักที่กำหนดในกฎกระทรวง

  4. ความหมายของคำว่า “เจ้าของหอพัก” และ “ผู้จัดการหอพัก” “เจ้าของหอพัก” หมายถึง บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกิจการหอพัก (ม.3) “ผู้จัดการหอพัก” หมายถึง ผู้ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินกิจการหอพัก (ม.3)

  5. (1) เป็นสถานที่ที่จัดขึ้นเพื่อรับผู้พักตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ลักษณะของหอพัก ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายนี้ (2) ผู้พักเป็นผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนรัฐบาล หรือโรงเรียนราษฎร์ (3) ผู้พักเข้าอยู่ในหอพักโดยให้ทรัพย์สินตอบแทน (4) มิใช่หอพักของกระทรวง ทบวง กรม (5) มิใช่หอพักของโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา หรือโรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณของโรงเรียน และรับเฉพาะนักเรียนของโรงเรียนนั้นเข้าพัก

  6. นายทะเบียน (ม.3) กรุงเทพมหานคร คือ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ จังหวัดอื่น คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด

  7. ประเภทหอพัก (ม.6) หอพักหญิง สำหรับผู้พักที่เป็นหญิง หอพักชาย สำหรับผู้พักที่เป็นชาย

  8. การตั้งหอพัก (ม.7) • ผู้ขออนุญาตตั้งหอพักจะต้องเป็นเจ้าของหอพัก และได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน (ม.7)

  9. การตั้งหอพัก (ต่อ) (2) เจ้าของหอพักต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด (ม. 8) - อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ - ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี - ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบป่วยด้วยโรค - ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท - ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรงหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง (3) นิติบุคคลจะเป็นเจ้าของหอพักต้องตั้งผู้แทนซึ่งมีคุณสมบัติตาม (2) เป็นผู้ปฏิบัติการแทน

  10. การตั้งหอพัก (ต่อ) (4) หอพักต้องมีห้องนอน ห้องต้อนรับผู้เยี่ยมเยียน ห้องอาหาร ห้องน้ำ และห้องส้วมซึ่งมีสภาพถูกสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ม. 9) - ห้องนอน ต้องมีขนาดความจุอากาศไม่น้อยกว่าเก้าลูกบาศก์เมตร ต่อผู้พัก 1 คน - ห้องต้อนรับผู้เยี่ยมเยียน ต้องมีเนื้อที่ของพื้นห้องไม่น้อยกว่าแปดตารางเมตร - ห้องอาหาร ต้องมีเนื้อที่ของพื้นห้องไม่น้อยกว่าเก้าตารางเมตร - ห้องน้ำ ต้องมีพื้นห้องซึ่งไม่ดูดซึมน้ำจากใต้พื้นและไม่มีน้ำขัง - ห้องส้วม ต้องมีส้วมซึม พื้นห้องไม่ดูดซึมน้ำจากใต้พื้น และไม่มีน้ำขัง

  11. เจ้าของหอพักต้องดำเนินการดังนี้ 4.1 ต้องจัดให้มีระเบียบประจำหอพัก (ม. 10) 4.2 ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบว่าใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย (ม.14) 4.3 ต้องแสดงขอใบอนุญาตให้ตั้งหอพักไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายในหอพัก ( ม.15)

  12. เจ้าของหอพักต้องดำเนินการ ดังนี้ (ต่อ) 4.4 ต้องจัดให้มีป้าย คำว่า หอพัก ชื่อหอพัก และประเภทหอพักชายหรือหญิงเป็นภาษาไทย (ม.16) 4.5 ต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนภายในเจ็ดวันก่อนแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมหอพัก (ม.17)

  13. การจัดการหอพัก (1 ) หอพัก จะดำเนินการได้ต้องมีผู้จัดการหอพัก ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าของหอพัก และได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน เจ้าของหอพักซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นผู้จัดการหอพักเองก็ได้ (ม. 19) (2) ผู้จัดการหอพักต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับเจ้าของหอพักตาม ม. 8 ( ม. 20)

  14. ผู้จัดการหอพักต้องดำเนินการดังนี้ผู้จัดการหอพักต้องดำเนินการดังนี้ -แจ้งต่อนายทะเบียนและยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบว่าใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย (ม.24) - แสดงใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการหอพักไว้ ณ ที่เปิดเผยเห็นได้ง่ายในหอพัก (ม.25) - จัดทำสมุดทะเบียนผู้พักตามแบบที่กำหนด(ม.26) - ให้ความร่วมมือแก่สถานศึกษาของผู้พักในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา และความ ประพฤติของผู้พัก (ม.27)

  15. ผู้จัดการหอพักต้องดำเนินการดังนี้ (ต่อ) - แจ้งให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองของผู้พักทราบโดยด่วน เมื่อปรากฏหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้พักตกอยู่หรือจะตกอยู่ในอันตราย (ม.29) - ควบคุมดูแลมิให้หญิงเข้าอยู่ในหอพักชาย และมิให้ชายเข้าอยู่ในหอพักหญิง (ม.30)

  16. ใบอนุญาต 1.ใบอนุญาตให้ตั้งหอพัก และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการหอพักใช้ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต (ม.12, 22) 2. การต่อใบอนุญาตให้ตั้งหอพัก และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการหอพัก ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่า 30 วัน (ม.12, 22) 3. กรณีนายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาตหรือไม่ต่อใบอนุญาต ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด (ม.13, 23)

  17. อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน 2) ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหอพักหรือผู้จัดการหอพัก จัดการ หรือแก้ไขหอพัก หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ (ม.32) 1) เข้าไปในหอพักเพื่อตรวจตรา ควบคุมการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ (ม.31) 3) ออกคำสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าควบคุม หรือดำเนินกิจการหอพัก หรือถ้าเห็นสมควรจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ตั้งหอพัก หรือใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการหอพักโดยอนุมัติของรัฐมนตรีก็ได้ (ม.33)

  18. อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ 1) เข้าไปในหอพักเพื่อตรวจตรา ควบคุมการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ (ม.31) 2) ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน (ม.33)

  19. บทกำหนดโทษ การตั้งหอพักหรือ เป็นผู้จัดการหอพักโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุก ไม่เกิน6เดือนหรือปรับไม่เกิน2,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.35) เจ้าของหอพักหรือผู้จัดการหอพักฝ่าฝืนกฎหมายในกรณีดังนี้ มีโทษปรับไม่เกิน500บาท -ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย ไม่แจ้งและไม่ยื่นขอรับใบแทนต่อนายทะเบียน (ม.14,24) -ไม่แสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย (ม.15,25) -ไม่มีป้ายคำว่าหอพัก ชื่อของหอพัก และประเภทของหอพัก (ม.16) - แก้ไข เปลี่ยนแปลงหอพักโดยไม่แจ้งต่อนายทะเบียน (ม. 17)

  20. บทกำหนดโทษ (ต่อ) ผู้จัดการหอพักผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายดังนี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - ไม่ทำสมุดทะเบียนหอพักตามแบบที่กำหนด (ม. 26 ) - ไม่ให้ความร่วมมือแก่สถานศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาและความประพฤติของผู้พัก (ม.27) - รับหรือยอมรับให้บุคคลซึ่งขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดทำงานในหอพัก (ม.28) - ไม่แจ้งให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง เมื่อผู้พักตกอยู่ในอันตราย (ม.29 ) - ไม่ควบคุมดูแลให้หญิงเข้าอยู่หอพักชายและชายเข้าอยู่หอพักหญิง(ม.30)

  21. จบการนำเสนอ โดย... กองนิติการ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โทร. 0 2306 8688-93 แฟกซ์0 2306 8690 www.m-society.go.th

More Related