1 / 21

การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน การพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย

การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน การพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย. เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์ ศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัย Email : pensri0701@gmail.com. ที่มาและความสำคัญของปัญหา.

gay-calhoun
Download Presentation

การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายใน การพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์ ศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัย Email : pensri0701@gmail.com

  2. ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่มาและความสำคัญของปัญหา • ครอบครัวในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง โดยแม่ของเด็กก้าวสู่โลกของการทำงานมากขึ้น ทำให้บทบาทของพ่อ-แม่ในการอบรมเลี้ยงดูต้องปรับเปลี่ยน ระยะเวลาในการอบรมเลี้ยงดูน้อยลงเรื่อยจากเดิม 6 ปี เป็น 3 ปี และ 3 เดือน • มีหน่วยงานต่างๆเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมากขึ้น ได้แก่ อปท. ศูนย์เด็กเล็ก รพ.สต. แกนนำต่างๆ และชมรมต่างๆ เป็นต้น

  3. Research Question : 1. ระบบความคิด ความเชื่อ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยภาคีต่างๆในพื้นที่อย่างไร 2. การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวอย่างไรที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3. รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นอย่างไร

  4. วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษา ระบบความคิด ความเชื่อการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย • เพื่อศึกษาลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย • เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

  5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ รูปแบบ ของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย

  6. กรอบแนวคิดในการศึกษา • ครอบครัว • - เดี่ยว,ขยาย ระดับการศึกษาของพ่อแม่ • ลักษณะอาชีพ, รายได้ • สัมพันธภาพในครอบครัว (การสังเกต) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย - อบต./เทศบาล - ภาครัฐต่างๆ (รพ.สต. ศูนย์เด็กเล็ก) - ภาคประชาชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.ปราชญ์นมแม่ แกนนำธรรมชาติ และชมรมต่างๆ เด็ก -น้ำหนักแรกเกิด, เพศ, ลำดับการเกิด -น้ำหนัก ส่วนสูง - การเลี้ยงดูด้วยนมแม่, การเล่นของเด็ก พัฒนาการต่างๆ (ปกติ,ล่าช้า) - ภาษา - สังคมและการช่วยเหลือตนเอง - กล้ามเนื้อมัดเล็ก - กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู - ประชาธิปไตย - เผด็จการ - คุ้มครองเกินไป - ปล่อยปละละเลย

  7. นิยามศัพท์ การอบรมเลี้ยงดู หมายถึง วิธีการปฏิบัติของพ่อ-แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม1 ซึ่งเป็นขบวนการแรกที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ ค่านิยม วัฒนธรรม และพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม2 1 ดวงเดือน พันธุมนาวิน, อรพินธ์ ชูชม, งามตา วนินทานนท์.2528 หน้า 69 2 Mussen, Conger & Kogan. 1990, p206

  8. การอบรมเลี้ยงดู มี 2 ส่วน การอบรม หมายถึง การแนะนำ สั่งสอน ให้ความรู้ ให้แนวคิด แนวทางการปฏิบัติ ถ่ายทอดค่านิยม บุคลิกภาพ ตลอดจนทำเป็น ตัวอย่างให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การเลี้ยงดูหมายถึง การดูแลให้นม อาหารตามวัย สุขภาพ ความเป็นอยู่ เพื่อสนองความต้องการและส่งเสริมให้เด็กมี พัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาตาม วัยอันเหมาะสม รติชน พีรยสถ์. 2543. หน้า 60-61

  9. การอบรมเลี้ยงดูมี 4 แบบ แบบที่ 1 เป็นแบบประชาธิปไตย เป็นการเลี้ยงดูที่ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ รักและสนับสนุน และให้เด็กพึ่งตนเองเร็ว โดยพ่อ-แม่ หรือผู้เลี้ยงดู จะเลี้ยงดูลูกด้วยความรัก ให้การสนับสนุน ให้การดูแลอย่างเสมอภาค ให้เหตุผลของการทำ-ไม่ทำ การลงโทษ การให้รางวัล สอนเด็กให้ทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ภายใต้การแนะนำและฝึกฝน ซึ่งจะช่วยให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้เร็ว ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากและนานเกินไป Diana Baumrind .1971, Maccoby & Martin. 1983 จรรจา สุวรรณทัต , ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2538

  10. แบบที่ 2 เป็นแบบเผด็จการ เป็นการเลี้ยงดูที่ใช้อำนาจควบคุม พ่อ-แม่หรือผู้เลี้ยงเด็กจะมีกฎเกณฑ์ควบคุมตลอดเวลา ถ้าทำผิดจะมีการลงโทษอย่างรุนแรง อาจดุด่า ทุบตี งดรางวัล สั่งสอนตลอดเวลา เข้มงวดกวดขัน สัมพันธภาพระหว่างพ่อ-แม่-ลูกมีน้อย การแสดงความรักความเอาใจใส่ต่อลูกจะมีน้อย เช่น การหย่านม การดูดนมเป็นเวลา การฝึกการขับถ่าย การห้ามปรามการกระทำของเด็ก เป็นต้น

  11. แบบที่ 3 แบบคุ้มครองเกินไปเป็นการเลี้ยงดูที่พ่อ-แม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจะตามใจและทำให้ทุกอย่าง เลี้ยงดูเหมือนไข่ในหิน เมื่อโตขึ้น เด็กจะไม่ตอมทำตามพ่อ-แม่ ทำอะไรจะขาดความยั้งคิด และจะมีลักษณะของการเรียกร้องมากกว่าเด็กอื่น และพ่อ-แม่จะยอมลูกทุกเรื่อง แบบที่ 4 แบบปล่อยปละละเลย เป็นการเลี้ยงดูที่พ่อ-แม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจะไม่ดูแลเด็ก ทอดทิ้งปล่อยไปตามยถากรรม ไม่สนใจ เช่น ปล่อยให้หิวนานๆ นอนจนถี่-อึ ไม่พูดไม่สนใจเด็ก นอกจากจะสิ่งผลให้พัฒนาการด้านต่างๆ แล้ว เด็กจะขาดความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ต้องการให้ใครมาสนใจ ไม่ต้องการผูกพันกับใคร ทำให้ไม่มีแรงบันดาลใจในชีวิต เป็นเด็กเร่ร่อนไม่มีที่นอน เด็กจรจัด

  12. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย หมายถึงการที่บุคคล กลุ่มคน หรือองค์กรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ท้องถิ่น ศพด. รพ.สต. แกนนำ ชมรมต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย • การมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา • การมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางและตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา • การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ • การมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์ • การมีส่วนร่วมในการประเมินผล Cohen & Uphoff. 1977 : p 38-40

  13. ขอบเขตของการศึกษา พื้นที่ดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับประเทศ ทำทุกภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับภาค เลือกภาคละ 1 เขตบริการสุขภาพๆละ 1จังหวัด รวมเป็น 4 พื้นที่การศึกษา

  14. การเลือกพื้นที่ดำเนินการเขตบริการสุขภาพการเลือกพื้นที่ดำเนินการเขตบริการสุขภาพ 1. เลือกจังหวัดที่มีการดำเนินงานตำบลนมแม่ฯ และผ่านเกณฑ์ในปี พ.ศ.2555 แต่ถ้าจังหวัดที่สุ่มได้ไม่มีตำบลนมแม่เลย ขอให้สุ่มอย่าง่ายเครือข่ายละ 1 จังหวัด 2. เลือก อปท. 2 แห่ง แห่งแรกเป็นตำบลนมแม่ฯที่ผ่านเกณฑ์ แห่งที่สองเลือกพื้นที่ที่มีลักษณะตรงข้ามกับตำบลนมแม่ฯ หรือถ้าจังหวัดที่สุ่มได้ไม่มีตำบลนมแม่ฯ ก็ขอให้เลือกพื้นที่ดังนี้ 2.1 อบต./เทศบาล ที่มีลักษณะของความเป็นชุมชนเมืองสูง 1 แห่ง 2.2 อบต./เทศบาล ที่มีลักษณะของความเป็นชุมชนชนบทสูง 1 แห่ง (โดยดูในเรื่องของ ความเป็นอยู่ ลักษณะอาชีพ การศึกษา วิถีชีวิต)

  15. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ของแต่ละ อปท แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ครอบครัว 16 ครอบครัว (ของแต่ละกลุ่มวัยๆละ 4 คน เป็นปกติ 2 คน ล่าช้า 2 คน) 2. นายกอบต./เทศบาล หรือปลัด อบต.และผอ.กองสาธารณสุข 3. รพ.สต. ทุกแห่งใน อบต./เทศบาล 4. ศูนย์เด็กเล็กทุกแห่งใน อบต./เทศบาล 5. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประธาน อสม. ปราชญ์นมแม่ ชมรมสายใยรักฯ

  16. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) มี 5 ฉบับ ฉบับที่ 1ลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ฉบับที่ 2โรงเรียนพ่อ-แม่ (รพ.สต.)ลักษณะของการให้บริการ ฉบับที่ 3การอบรมเลี้ยงดูในศูนย์เด็กเล็ก ฉบับที่ 4 การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพัฒนาการเด็กปฐมวัย ฉบับที่ 5 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่าง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์นมแม่ ปราน อสม. ชมรมต่างๆ เป็นต้น

  17. การหาคุณภาพของเครื่องมือการหาคุณภาพของเครื่องมือ Validity และ Reliabilityจะทำขณะสัมภาษณ์ โดยดูว่าคำตอบที่ได้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนหรือไม่ หรือสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์หรือไม่ ซึ่งเรียกว่า การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)

  18. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลขอให้ลงเก็บพร้อมๆกันทั้ง 5 โครงการ โดยขอให้เก็บในตำบลที่จะลงในโครงการวิจัยที่ 4 – 5 ก่อน เพื่อที่จะนำข้อมูลไปใช้ต่อไป โดยโครงการวิจัยที่ 5ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 1-2 เดือน มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. สัปดาห์ที่หนึ่ง-สอง สัมภาษณ์ระดับลึก นายก อบต./เทศบาล ศพด. รพ.สต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม. ชมรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง 2. สัปดาห์ที่สาม-สี่ สัมภาษณ์ระดับลึก 16 ครอบครัว (หลังจากที่รู้ของการตรวจพัฒนาการ และได้เด็กมา 4 กลุ่ม รวมเป็น16 คน ปกติ 8 คน ล่าช้า 8 คน)

  19. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)เพื่อดู 1. ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว รพ.สต. และศูนย์เด็กเล็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2. เพื่อดูการมีส่วนร่วมและการเชื่อมโยงของภาคีต่างๆ ได้แก่ อปท. รพ.สต. ศพด. แกนนำต่าง และครอบครัว ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย

  20. การเขียนรายงาน การบรรยายถึงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในชุมชน (ประกอบด้วย การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว การมีส่วนร่วมของ อปท. ศูนย์เด็กเล็ก รพ.สต. แกนนำ ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว) กับกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย และความเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏี

More Related