1 / 15

บทที่ 4 ตั๋วรับเงิน ( Notes Receivables)

บทที่ 4 ตั๋วรับเงิน ( Notes Receivables). ตั๋วรับเงิน ( Notes Resceivable). ตั๋วรับเงิน หมายถึง ตราสารสิ่งที่แสดงสิทธิที่จะได้ชำละเงิน ตั๋วเงินเป็น สินทรัพย์ชนิดหนึ่ง เนื่องจากกิจการมีสิทธ์ที่จะได้รับชำละเงินตามจำนวนที่แน่นอนเมื่อ ครบตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในตั๋วเงิน

gemma-beard
Download Presentation

บทที่ 4 ตั๋วรับเงิน ( Notes Receivables)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 ตั๋วรับเงิน ( Notes Receivables)

  2. ตั๋วรับเงิน ( Notes Resceivable) ตั๋วรับเงิน หมายถึง ตราสารสิ่งที่แสดงสิทธิที่จะได้ชำละเงิน ตั๋วเงินเป็น สินทรัพย์ชนิดหนึ่ง เนื่องจากกิจการมีสิทธ์ที่จะได้รับชำละเงินตามจำนวนที่แน่นอนเมื่อ ครบตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในตั๋วเงิน ตั๋วเงินรับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. ตั๋วแลกเงิน(Ball of Exchange) หมายถึง หนังสือชึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งกับบุคคลอีกกนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ดังนั้นจะทีบุคคล 3 ฝ่าย คือ 1.1 ผู้สั่งจ่าย หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ออกตั๋ว 1.2 ผู้รับรองตั๋ว หรือผู้จ่าย หมายถึงลูกหนี้ที่รับเงินจากตั๋ว 1.3 ผู้รับเงิน ซึ้งอาจเป็นผู้จ่ายเองหรือบุคคลที่สามารถจ่ายได้

  3. 2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) หมายถึง หนังสือตราสารที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ดังนั้นจะมีบุคคลเกี่ยวข้องทั้ง 2 ฝ่าย คือ 1. ผู้ออกตั๋วซึ่งเป็นลูกหนี้ และ เป้นผู้จ่ายเงิน 2. ผุ้รับเงินซึ้งเป็นเจ้าหนี้

  4. วันกำหนดชำละเงิน 1.กำหนดระยะเวลาเป็นปี วันครบกำหนดระยะจะตรงกันกับวันที่ในตั๋วเงินแต่ปีที่ครบกำหนดจะนับปีถัดไป 2. กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน จะนับเดือนที่กำหนดโดยนับตั้งแต่เดือนถัดไป ส่วนวันที่ถึงกำหนดจะเป็นวันที่เดียวกันกับวันที่ออกตั๋ว เว้นแต่เดือนซึ่งออกตั๋วถึงกำหนดไม่มีวันที่นั้นก็ให้ใช้วัยสุดท้ายของเดือนเป็นวันถึงกำหนด เช่น ตั่วเงินลงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 กำหนดเวลา 2 เดือน จะถึงวันกำหนดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 หรือ ตั๋วเงินลงวันที่ 10 กุมพาพันธ์ 2544 อายุตั๋วเงิน 3 เดือน ตั๋วจะครบกำหนดวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 3.กำหนดระยะเวลาเป็นวัน การนับวันกำหนด จะไม่นับวันที่ออกตั๋ว แต่นับวันที่ตั๋วครบกำหนด ดังนี้ ตัวอย่าง ตั๋วเงินลงวันที่ธันวาคม 2543 กำหนดเวลา 60 วัน อาจหาวันถึงกำหนดได้ ดังนี้ 2543 ธันวาคม 7-31 24 วัน 2544 มกราคม 31 วัน กุมพาพันธ์ 5 วัน รวม 60 วัน ตั๋วเงินฉบับนี้ ถึงกำหนดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544

  5. การคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงินการคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงิน เมื่อมีการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินคู่สัญญาอาจตกลงให้คิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินตามตั๋วก็ได้ โดยถือเป็นค่าตอบแทนเพื่อเครดิตสำหรับระยะเวลาหนึ่ง โดยกำหนดดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละต่อปีไว้ ผู้จ่ายชำละดอกเบี้ยพร้อมกับเงินต้นในวันที่ตั๋วถึงกำหนด เว้นแต่ตั๋วเงินที่มีระยะเวลาเป็นปีอาจจ่ายดอกเบี้ย เป็นงวดๆๆก็ได้ การคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงินแยกพิจารานาตามกำหนดระยะเวลาของตั๋ว ดังต่อไปนี้ 1. ตั๋วเงินที่กำหนดระยะเวลาเป็นปี ให้คำนวณดอกเบี้ยเป็นปี หรือเศษส่วนของปี เช่น ตั๋วเงิน จำนวน 2000 บาท ลงวันที่ 15 มกราคม 2542 มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ดอกเบี้ย 10% ต่อปี ถ้ากำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละครั้งในวันที่ 15 มกราคมของทุกปี จะคำนวณดอกเบี้ยได้ดังนี้ ดอกเบี้ยรับ= 20,000×10/100×1 = 20,000 บาท ถ้ากำหนดจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้งในวันที่ 15 มกราคม และ 15 กรกฎาคม จะคำนวณดอกเบี้ยได้แต่ละงวด ดังนี้ ดอกเบี้ยรับ= 20,000 ×10/100×1/2 = 1,000 บาท 2. ตั๋วเงินกำหนดระยะเวาลาเป็นเดือน ให้คำนวณดอกเบี้ยเป็นจำนานเดือน เช่น ตั๋วเงินจำนวน 40000 บาท ลงวันที่ 15 กันยายน 2543 กำหนดเวลา 2 เดือน ดอกเบี้ย 6 % ต่อปีจะคำนวณดอกเบี้ยได้ ดังนี้ ดอกเบี้ย = 40,000 ×6/100×2/12 = 400 บาท

  6. 3.ตั๋วเงินมีกำหนดระยะเวลาเป็นวัน ให้คำนวณดอกเบี้ยตามจำนวนวันเป็นเศษส่วนของปีโดยถือเกณฑ์ปีหนึ่งมี 365 วัน แต่ในบางปีเพื่อความสะดวกในการคำนวณ จะใช้เกณฑ์ 1 ปีมี 360 วัน เช่น ตั๋วเงินจำนวน 100000 บาท ลงวันที่ 15 มีนาคม 2543 กำหนดเวลา 60 วัน ดอกเบี้ย 12% ต่อปี จะคำนวณคอกเบี้ยได้ ดังนี้ ดอกเบี้ย = 100,000×12/100×60/365 = 1,572.60 บาท การบันทึกบัญชีรับเงินกู้ด้วยตั๋วเงิน เมื่อกิจการขายสิ้นค้าหรือให้บริการเงินเชื่อ กิจการจะได้รับชำระหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ แลกเงินซึ้งถือเป็นตั๋วเงินรับของกิจการ ตั๋วเงินรับขายรถให้ธนาคาร (DISCOUNTED NOTES) ตั๋วรับเงินกิจการได้รับจากลูกค้า กิจการอาจมีความจำเป็นต้องใช้เงินก่อนตั๋ว ถึงกำหนดในกรณีนี้กิจการ อาจโอนตั๋วดังกล่าวให้แก่ธนาคารก่อนวันถึงวันกำหนดธนาคารก็จะคิดส่วนลด จากข้อมูลค่าตั๋วเมื่อถึงกำหนด และ คำนวณคิดค่าส่วนลดนับจากวันที่นำตั๋วไปขึ้นเงินจนถึงวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋ว ส่วนลดของธนาคารคือดอกเบี้ยซึ้งธรนาคารหักไว้ล่วงหน้านั้นเอง เมื่อกิจการได้รับเงินหลังหักส่วนลดของธนาคารแล้ว 1. กรณีจำนวนเงินที่ได้รับต่ำกว่าจำนวนเงินตามตั๋วผลต่างให้ลงบัญชีเป็น ดอกเบี้ยจ่าย 2. กรณีจำนวนเงินที่ได้รับสูงกว่าจำนวนตามตั๋วผลต่างก็ให้ลงบัญชีเป็น ดอกเบี้ยรับ

  7. การคำนวณเงินที่จะได้รับจากการขายลดตั๋วเงินมีขั้นตอน ดังนี้ 1. คำนวณมูลค่าของตั๋วเงินที่ครบกำหนดในกรณีไม่ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้หน้าตั๋ว ไม่ต้องทำการคำนวณเพราะมูลค่าตั๋วเงินเมื่อครบกำหนดจะเท่ากับจำนวนเงินที่ระบุไว้หน้าตั๋วเงิน แต่ถ้าเป็นตั๋วเงินที่ระบุดอกเบี้ยไว้หน้าตั๋ว มูลค่าของตั๋วเงินเมื่อครบกำหนดจะเท่าที่ระบุไว้หน้าตั๋วเงินบวกดอกเบี้ยรับ คำนวณได้ ดังนี้ มูลค่าของตั๋วเงินที่ครบกำหนด = จำนวนตามหน้าตั๋ว+ ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยรับ= จำนวนเงินตามหน้าตั๋ว×อัตราดอกเบี้ยอายุของตั๋วเงิน 2. คำนวณส่วนลดที่ผู้รับซื้อตั๋วเงินหักไว้ระยะเวลาที่คิดส่วนลดจะนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่นำตั๋วเงินไปขายลดจนวันที่ตั๋วเงินครบกำหนด ส่วนลด = มูลค่าของตั๋วเงินเมื่อครบกำหนด×อัตราส่วนลด*ระยะเวลาที่คิดส่วนลด 3.คำนวณเงินที่จะได้รับจากการขายลดตั๋วเงิน จำนวนเงินที่จะได้รับ= มูลค่าของตั๋วเงินเมื่อครบกำหนด-ส่วนลด

  8. กรณีนำตั๋วเงินชนิดไม่มีดอกเบี้ยไปขายลดให้ธนาคารกรณีนำตั๋วเงินชนิดไม่มีดอกเบี้ยไปขายลดให้ธนาคาร บริษัทไทยเจริญ จำกัด ได้รับชำละหนี้เป็นตั๋วเงิน ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 กำหนดเวลา 60 วัน จำนวนเงิน 10000 บาท ลงบัญชีเป็นตั๋วเงินรับไว้แล้ว ต่อมากิจการนำตั๋วเงินรับไปขายลดราคาที่ ธนาคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 โดยธนาคารคิดส่วนลด 6 % ต่อปีดังนั้นส่วนลดที่ธนาคารคิดมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2544 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2544 รวม 30 วัน เป็นส่วนลดที่ธนาคารหักไว้ ส่วนลด = มูลค่าเมื่อถึงกำหนด* อัตราส่วนลด*ระยะเวลา*ระยะเวลาขึ้นเงินจน ครบกำหนด ส่วนลดตามตัวอย่างนี้= 10,000×6/100×30/360 = 50บาท กิจการจะได้รับจากธนาคารเพียง 10000-50 = 9950 บาท การบันทึกบัญชีเมื่อตั๋วเงินไปขายลดดังนี้ ก.ค. เงินสด 9,950 ดอกเบี้ยจ่าย 50

  9. ตั่วเงินรับขายลด 100,000 (นำตั๋วเงินนำไปขายลดในธนาคาร) และ หากตั๋วเงินรับที่นำไปขายลดนี้ ครบกำหนดธนาคารไปขึ้นเงินได้ตามตั๋วกิจการก็หมดความรับผิดชอบแล้ว จึงโอนยอดบัญชีตั๋วเงินรับที่ขายลดไปหักจากบัญชี ตั๋วเงินรับต่อไป รายการเมื่อวันครบรอบกำหนดตั๋วเงิน มีดังนี้ ส.ค. ตั๋วรับเงินขายลด 10,000 ตั๋วรับเงิน 10,000 (บันทึกโยกหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น) กรณีนำตั๋วเงินรับชนิดมดอกเบี้ยไปขายธนาคาร มูลค่าเมื่อถึงกำหนดนี้ คือ จำนวนในตั๋วเงินบวกดอกเบี้ยเมื่อนำตั๋วไปขายลดกิจการจะได้รับเงินจากธนาคารเท่ากับมูลค่าตามตั๋วเมื่อถึงกำหนดหักด้วยส่วนลด

  10. เช่น เมื่อ 1 กรกฎาคม 2544 กิจการได้รับชำระนี้เป็นตั๋วเงินรับ กำหนดเวลา 90 วัน จำนวนเงิน 10,000 บาท ดอกเบี้ย 6 % ต่อปี เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2544 กิจการนำตั๋วเงินฉบับนี้ไหขายลดให้ธนาคาร เสียส่วนลด 9 % ต่อปี กรณีนี้ใช้เกณฑ์ 1 ปี = 360 วัน 2544 ก.ค. 1 ตั๋วเงินรับ 10,000 ลูกหนี้ 10,000 (รับชำละหนี้เป็นตั๋วเงิน กำหนด 60 วัน ดอกเบี้ย 6 % ต่อปี ถึงกำหนดชำระ 30 สิงหาคม 2544 ) ก.ค. 21 เงินสด 9972.37 ดอกเบี้ย 27.63 ตั๋วรับเงิน 10,000 (นำตั๋วรับเงินไปขายลดให้ธนาคาร เสียส่วนลด 9% ต่อปี)

  11. คำนวณได้ดังนี้ มูลค่าเมื่อถึงกำหนด= 10,000×6/100×90/360+10,000 = 10150 ส่วนลดธนาคาร= 9/100×70/360×10,150 = 177.150 เงินที่ได้รับ= 10,150-17÷7.63 9972.23 ส.ค. 30 ตั๋วเงินรับขายลด 10,000 ตั๋วเงินรับ 10,000 (ยกเลิกหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น) ตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ ถ้าหากตั๋วเงินรับซึ่งกิจการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ ถึงกำหนดผู้รับเงิน ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วรวมทั้งดอกเบี้ยได้ ผู้รับเงินย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้หรือผู้จ่ายเงินชำระเงินตามมูลค่าของตั๋วเงินเมื่อถึงกำหนด รวมทั้งดอกเบี้ยตั๋วเงินพ้นกำหนดและค่าใช้จ่ายในการคัดค้านด้วย

  12. ตัวอย่าง เช่น บริษัทกำแพงเพชรรุ่งเรือง จำกัด ได้รับชำระหนี้จากร้านแดงเฟอร์นิเจอร์เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จำนวน 10,000 บาท กำหนด 60 วัน ดอกเบี้ย 6% ต่อปี เมื่อตั๋วถึงกำหนดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 บริษัทกำแพงเพชรรุ่งเรือง จำกัด ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วได้ บริษัทฯ ทำคำคัดค้านในวันที่ 3 ธันวาคม 2544 เสียค่าแจ้งความ 20 บาท ต่อมาในวันที่ 6 ธันวาคม ร้านแดงเฟอร์นิเจอร์ จ่ายชำระเป็นเงินสดให้ตามจำนวนเงินตามตั๋วพร้อมดอกเบี้ย ค่าแจ้งความ 20 บาท และดอกเบี้ยพ้นกำหนดอีก 15 บาท รายการในสมุดรายวันทั่วไป มีดังนี้ 2544 พ.ย. 30 ลูกหนี้-ร้านแดงเฟอร์นิเจอร์ 10,100 ตั๋วเงินรับ 10,000 ดอกเบี้ยรับ 100 (ตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ มีดอกเบี้ยรับ) ต่อมาวันที่ 3 ธันวาคม ที่บริษัททำคำคัดค้านหรือที่เรียกว่า ค่าแจ้งความนั้น บริษัทฯ จะลงรายการโดย เดบิต บัญชีลูกหนี้ไว้ เพื่อเรียกเก็บจากลูกหนี้ในภายหลัง ธ.ค. 3 ลูกหนี้-ร้านแดงเฟอร์นิเจอร์ 20 เงินสด 20 (จ่ายค่าแจ้งความตั๋วขาดความเชื่อถือ)

  13. เมื่อบริษัทฯได้รับเงินจากร้านแดงเฟอร์นิเจอร์ สำหรับตั๋วเงินที่ขาดความเชื่อถือ บริษัทจะลงรายการดังนี้ ธ.ค. 6 เงินสด 10,135 ลูกหนี้-ร้านแดงเฟอร์นิเจอร์ 10,120 ดอกเบี้ยรับ 15 (รับชำระหนี้สำหรับตั๋วขาดความเชื่อถือพร้อมค่าแจ้งความและดอกเบี้ยพ้นกำหนด) ตั๋วเงินรับขายลดแล้วขาดความเชื่อถือ เมื่อกิจการนำตั๋วเงินไปขายลดให้ธนาคารเมือตั๋วถึงกำหนด ถ้าธนาคารเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินไม่ได้เมื่อถึงกำหนดธนาคารย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้กิจการชำระเงินตามตั๋วพร้อมดอกเบี้ย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการคัดค้านด้วย เมื่อกิจการจ่ายเงินให้ธนาคารไปแล้ว กิจการย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ของตนตามจำนวนที่ได้จ่ายให้ธนาคารไปรวมทั้งดอกเบี้ยตั๋วพ้นกำหนดด้วย ตัวอย่าง บริษัทฟ้ารุ่ง จำกัด รับชำระหนี้จาก บริษัท ศุภมิตร จำกัด เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 5 มกราคม 2544 จำนวน 20,000 บาท กำหนดเวลา 60 วัน ดอกเบี้ย 6% ต่อปี บริษัทฟ้ารุ่ง จำกัด นำตั๋วเงินฉบับนี้ไปขายลดให้ธนาคารในวันที่ 20 มกราคม โดยธนาคารหักส่วนลดไว้ เมื่อตั๋วถึงกำหนดในวันที่ 6 มี.ค. 2544 ธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วได้ ธนาคารทำคำคัดค้านในวันที่ 7 มีนาคม เสียค่าแจ้งความ 50 บาท บริษัทฟ้ารุ่ง จำกัด จ่ายเงินสดให้ธนาคารเมื่อวันที่ 4 มีนาคม เป็นจำนวนเงินในตั๋ว 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 200 บาท และค่าแจ้งความ 50 บาท รวมเป็นเงิน 20,250 บาท ต่อมาในวันที่ 10 มีนาคม บริษัท ศุภมิตร จำกัด จ่ายเงินสดให้

  14. บริษัทฟ้ารุ่ง จำกัด เท่ากับจำนวนเงินที่บริษัทฟ้ารุ่ง จำกัด จ่ายแทนไป 20,250 บาท บวกดอกเบี้ยพ้นกำหนดอีก 25 บาท รายการบันทึกบัญชีเป็นดังนี้ มี.ค. 6 ตั๋วเงินรับขายลด 20,000 ตั๋วเงินรับ 20,000 (กลับรายการตั๋วเงินรับขายลด) มี.ค. 8 ลูกหนี้-บริษัท ศุภมิตร จำกัด 20,250 เงินสด 20,250 (จ่ายชำระหนี้ตามตั๋วเงินแก่ธนาคาร และตั้งบริษัท ศุภมิตร จำกัด เป็นลูกหนี้) มี.ค. 10 เงินสด 20,275 ลูกหนี้-บริษัท ศุภมิตร จำกัด 20,250 ดอกเบี้ยรับ 25 (รับชำระหนี้จากบริษัท ศุภมิตร จำกัด)

  15. จบบริบูรณ์

More Related