1 / 33

กระบวนการจัดทำคำของบประมาณ รายจ่ายประจำปี

กระบวนการจัดทำคำของบประมาณ รายจ่ายประจำปี. โดย นายประเสริฐ กมลวัทนนิศา รักษาการผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สิงหาคม 2553.

Download Presentation

กระบวนการจัดทำคำของบประมาณ รายจ่ายประจำปี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีกระบวนการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี โดย นายประเสริฐ กมลวัทนนิศา รักษาการผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สิงหาคม 2553

  2. การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ระดับประเทศกลุ่มจังหวัด และจังหวัดเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในแบบองค์รวม(สงป.มอง) รัฐธรรมนูญ นโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่น ๆ ของประเทศ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปีกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ๔ ปี- สอดคล้อง ยุทธศาสตร์กระทรวง/กรม ยุทธศาสตร์ กจ. ยุทธศาสตร์ จ. พรฎ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ พรฎ ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ แผนยุทธศาสตร์ แผนยุทธศาสตร์ แผนยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ เป้าประสงค์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด กลยุทธ์ กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 49 50 51 52 กลยุทธ์ กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 49 50 51 52 กลยุทธ์ กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ งบประมาณ 49 50 51 52 แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี หัวหน้าหน่วย หัวหน้าหน่วย หัวหน้าหน่วย พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.๒๕๐๒ คำของบประมาณ รายจ่ายประจำปี ความต้องการงบประมาณ

  3. กระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แผนปฎิบัติราชการประจำปี งบประมาณรายจ่ายประจำปี การจัดทำคำของบประมาณ

  4. รูปแบบแผนยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์(Vision) พันธกิจ(Mission) เป้าหมาย(Objective/Goal) แผนยุทธศาสตร์/กลยุทธ์(Strategic Plan) แผนปฏิบัติงาน(Action Plan) คำของบประมาณ กิจกรรม/โครงการ(Activity)

  5. ระบบงบประมาณปัจจุบันมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ระบบงบประมาณปัจจุบันมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ องค์ประกอบที่สำคัญ 1. มุ่งเน้นผลสำเร็จของงานตามผลผลิต ผลลัพธ์ (เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ ระดับชาติ ระดับกระทรวง ผลผลิตและตัวชี้วัด) 2. การมอบอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณ (เน้นให้กระทรวงมีอำนาจในการบริหารจัดการงบประมาณเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ) 3. เน้นหลักการธรรมาภิบาล (การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละระดับ มีระบบการติดตามประเมินผล การรายงานผล การดำเนินงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้) 4. ระบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์

  6. ความหมายที่ควรทราบ เป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวง หมายถึง ผลลัพธ์ที่กระทรวงต้องการให้เกิดขึ้นจากการให้บริการระดับกระทรวงทั้งนี้จะต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติของรัฐบาลซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จากผลสำเร็จของผลผลิตและโครงการของหน่วยงานของรัฐ เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน หมายถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือเพื่อดำเนินการจัดทำผลผลิต/โครงการตามที่กำหนดไว้ของหน่วยงานระดับกรมซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายการให้บริการกระทรวง ผลลัพธ์ หมายถึง ผลประโยชน์ที่เกิดจากการกระทำที่มีต่อเป้าหมายหรือกลุ่มสังคมที่ได้รับบริการ ตัวชี้วัดในเชิงปริมาณ คณภาพ เวลา ค่าใช้จ่าย ผลผลิต หมายถึง ผลของการดำเนินงานตามกิจกรรมซึ่งอาจเป็นผลผลิต(product) หรือการให้บริการ(service)ที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานของรัฐตัวชี้วัดความสำเร็จในเชิงปริมาณ คณภาพ เวลา ค่าใช้จ่าย กลุ่มเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ ได้แก่ สังคมในภาพรวมหรือพื้นที่ในภาพรวมหรือรัฐบาลในภาพรวม เช่น ประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศ รัฐบาล ฯลฯ กลุ่มเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ระดับกระทรวง หมายถึง กลุ่มสังคมที่กระทรวงรับผิดชอบหรือพื้นที่เฉพาะที่กระทรวงรับผิดชอบเช่น กลุ่มวัยแรงงาน ทรัพยากรน้ำ รายรับของรัฐบาล ฯลฯ กลุ่มเป้าหมายระดับกลยุทธ์ของกรม หมายถึง กลุ่มที่รับบริการที่กรมรับผิดชอบหรือพื้นที่เฉพาะที่กรมรับผิดชอบ เช่น กลุ่มวัยแรงงานที่ไม่มีงานทำ เขตชลประทาน ฯลฯ

  7. แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการแนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ • นโยบายรัฐบาลโดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน • ยุทธศาสตร์ระดับต่างๆ ( /รายสาขา) • ศักยภาพ โอกาส ปัญหา ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ความสอดคล้องเชื่อมโยง แผนชาติ ยุทธศาสตร์ภาค คุณภาพแผน / โครงการ ชัดเจน&เป็นเหตุเป็นผล(Logical Framework) สอดคล้องเชื่อมโยงตั้งแต่วิสัยทัศน์/ประเด็นยุทธศาสตร์ถึงแผนงานโครงการ แผน • ปัญหา โอกาสชัดเจน พร้อมจัดลำดับความสำคัญ • วัตถุประสงค์ เป้าหมายชัดเจน สะท้อนการแก้ปัญหาและการใช้โอกาส • มียุทธศาสตร์ แนวทาง และการแก้ปัญหาที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ เป้าหมายแผน • มีแผนงาน/โครงการ ตอบสนองกับแนวทางและจัดลำดับความสำคัญ - เน้นพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมเพิ่มขีดความ สามารถแข่งขัน กระตุ้นการลงทุน และสร้างรายได้ โครงการ * หลักเกณฑ์ที่ผ่อนผันเพิ่มเติม : ศก.พอเพียง/เกษตรทฤษฎีใหม่/OTOP/อบรมอาชีพ/สร้างรายได้ให้ชุมชน

  8. โครงการที่มีคุณภาพ สะท้อนให้เห็นการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาที่มีเป้าหมายร่วมกันไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด • ต้องยึดเป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ และการแก้ปัญหาขององค์กรและสอดคล้องกับแผนจังหวัด • ไม่เป็นการรวมกิจกรรมย่อยเข้ามาด้วยกันเป็นโครงการ สะท้อนวิธีการและแนวทางการดำเนินโครงการที่จะชี้ให้เห็นความจำเป็นของโครงการที่ชัดเจน

  9. การพิจารณาคุณภาพโครงการการพิจารณาคุณภาพโครงการ • โครงการต้องสนับสนุนวิสัยทัศน์เป้าประสงค์ &ยุทธศาสตร์หลัก โดยมีวัตถุประสงค์/เป้าหมายโครงการที่ชัดเจนว่าจะบรรลุยุทธศาสตร์มากน้อยเพียงใด • การจัดทำแผน/โครงการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาค ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค &ท้องถิ่น แผน/โครงการมีคุณภาพ • สนับสนุนการจัดทำโครงการที่บูรณาการภารกิจหรือกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นแผนงาน/โครงการขนาดใหญ่มากกว่าโครงการย่อยๆ • โครงการต้องมีการหารือและยอมรับร่วมกัน

  10. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำคำของบประมาณประจำปีหลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำคำของบประมาณประจำปี ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณ ลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอเป็นคำของบประมาณ เป็นโครงการที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 1. มีวัตถุประสงค์หลักในการจัดซื้อครุภัณฑ์ 2. มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (เว้นแต่ฝึกอบรมด้านอาชีพ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา) 3. เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย 4. เป็นโครงการที่เน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งในระดับจุลภาคหรือระดับชุมชนย่อย 5. เป็นโครงการที่ไม่เป็นภารกิจประจำ อยู่แล้ว 6. เป็นโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการที่ได้รับอนุมัติภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 • การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์(Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า OTOP และการพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร • การฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะ/พื้นที่พิเศษ • อาทิ กลุ่มการค้าชายแดน กลุ่มธุรกิจและสินค้าฮาลาล

  11. การพิจารณาคุณภาพโครงการการพิจารณาคุณภาพโครงการ - มีข้อมูลเพียงพอสำหรับทำความเข้าใจสภาพพื้นฐานทั่วไปของจังหวัด • สอดคล้องตอบสนองกลยุทธ์ • สอดคล้องหลักเกณฑ์พิจารณาโครงการ • เสนอข้อมูลศก. สังคม ทรัพยากรฯ และ สวล. ในเชิงวิเคราะห์ศักยภาพและความรุนแรงของปัญหา • ทำ SWOTAnalysis สอดคล้องกับข้อมูลที่เสนอ • สรุปปัญหาและความต้องการประชาชนจากประชาคมที่สะท้อนปัญหาเชิงพื้นที่ แผนงาน/โครงการ ข้อมูลสภาพทั่วไป • สอดคล้องเป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ • แสดงแนวทางการดำเนินงานชัดเจนเพื่อกำหนดแผนงานโครงการ การวิเคราะห์สภาวการณ์ และศักยภาพ กลยุทธ์ องค์ประกอบแผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตัวชี้วัดและ ค่าเป้าหมาย • สะท้อนการบรรลุเป้าประสงค์ได้ชัดเจน • มีค่าเป้าหมายแสดงความก้าวหน้าจากปัจจุบัน วิสัยทัศน์ • สอดคล้องกับข้อมูลและเป็นไปได้ • มีจุดเน้นชัดเจนสอดคล้องกับลักษณะของจังหวัด ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ • สนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ • สื่อทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน • สอดคล้องนโยบายรัฐบาล แผนฯชาติ และกรอบยุทธศาสตร์ภาค • สอดคล้อง สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ • ชัดเจนเป็นรูปธรรม

  12. ลักษณะของโครงการที่ดีลักษณะของโครงการที่ดี

  13. รูปแบบหรือโครงสร้างการเขียนโครงการรูปแบบหรือโครงสร้างการเขียนโครงการ ไม่ว่าโครงการจะมีขนาด ชนิด และประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบหรือโครงสร้างการเขียนเหมือนกัน แต่อาจมีหัวข้อและรายละเอียดแตกต่างกันไปตามลักษณะหรือประเภทของโครงการ โครงสร้างการเขียนโครงการทั่วไป • ชื่อแผนงาน • ชื่อโครงการ • ความสำคัญ(หลักการและเหตุผล) • วัตถุประสงค์โครงการ • เป้าหมาย • วิธีดำเนินการ • ระยะเวลาดำเนินการ • งบประมาณ • ผู้รับผิดชอบโครงการ • หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน • การประเมินผล • ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ แบบข้อมูลพื้นฐาน(โครงการ จ./กจ.

  14. ขั้นตอนการเขียนโครงการขั้นตอนการเขียนโครงการ 1.  วิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการ ดำเนินการโดย 2.  เขียนโครงการ มีเทคนิค ดังนี้

  15. การตั้งชื่อโครงการ หลักการทั่วไป พิจารณาจากสถานการณ์จริง การตั้งชื่อโครงการในสถานการณ์จริงอาจต้องนำกลุ่มเป้าหมายและแหล่งทุนมาพิจารณา ชัดเจน กลุ่มเป้าหมาย เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสนใจต้องการเข้าร่วมโครงการ ชื่อโครงการ แหล่งทุน เฉพาะ เจาะจง อาจจำเป็นต้องมีคำสำคัญที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แหล่งงบประมาณเพื่อจะได้งบสนับสนุน เข้าใจง่าย

  16. การเขียนหลักการและเหตุผลการเขียนหลักการและเหตุผล

  17. การเขียนวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเขียนวัตถุประสงค์และเป้าหมาย 1. ใช้คำกริยาที่แสดงถึงความตั้งใจจริง เช่น เพื่อเพิ่ม.. เพื่อลด..เพื่อส่งเสริม. เพื่อปรับปรุง..เพื่อขยาย.. เพื่อรณรงค์.. เพื่อเผยแพร่..เป็นต้น 2. ระบุผลผลิต (Output ) หรือระบุผลลัพธ์ (Outcome ) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเพียงประการเดียวในวัตถุประสงค์หนึ่งข้อ ถ้าเขียนวัตถุประสงค์ไว้หลายข้อ ข้อใดทำไม่สำเร็จเราสามารถประเมินผลได้ ซึ่งอาจกำหนดเป็นวัตถุประสงค์หลัก 1 ข้อ และวัตถุประสงค์รอง โดยมีเงื่อนไขว่า • ถ้าบรรลุวัตถุประสงค์หลัก แต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์รอง ควรทำต่อไป • ถ้าบรรลุวัตถุประสงค์รองแต่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์หลัก อาจยุติโครงการ 3. กำหนดเกณฑ์มาตรฐานของความสำเร็จที่วัดได้ในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ 4. กำหนดช่วงเวลา พื้นที่ หรือกลุ่มเป้าหมาย การเขียนวัตถุประสงค์ควรต้องคำนึงถึง ลักษณะที่ดี 5 ประการ SMART

  18. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการระยะเวลาในการดำเนินโครงการ • เป็นการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดโครงการว่าใช้เวลาทั้งหมดเท่าใด โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของโครงการโดยระบุ วันเดือน ปี ที่เริ่มทำและสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว และมีหลายระยะก็ต้องแสดงช่วงเวลาในแต่ละระยะของโครงการนั้นด้วย เพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการพิจารณา อนุมัติโครงการ

  19. วิธีดำเนินการ เป็นขั้นตอนตามลำดับก่อนหลังเพื่อใช้ปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ กิจกรรม วัตถุประสงค์ กิจกรรม กิจกรรม วิธีการดำเนินการ • ........................ • ........................ • ........................ • ........................ • .................................

  20. แผนการปฏิบัติงาน การเขียนแผนปฏิบัติงานเป็นการนำเอาขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงานมาแจกแจงรายละเอียดให้ผู้ทำโครงการสามารถลงมือปฏิบัติงานได้ โดยจะเขียนรายละเอียดแต่ละงานที่ต้องทำ มีใครเป็นผู้รับผิดชอบในงานนั้นบ้าง จะทำเมื่อใด และมีวิธีการในการทำอย่างไร ซึ่งในการเขียนแผนการปฏิบัติงาน เพื่อให้สะดวกและเข้าใจได้ง่าย แผนปฏิบัติงาน ตัวอย่าง แผนภูมิแสดงระยะเวลาในการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรม

  21. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ หลักการกำหนดงบประมาณและทรัพยากร 1. ความประหยัด (Economy) การเสนองบประมาณโครงการจะต้องเป็นไปโดยมีความประหยัด ใช้ทรัพยากรทุกอย่างให้คุ้มค่าที่สุด และได้คุณภาพของผลงานดีที่สุด 2. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) โครงการทุกโครงการจะต้องมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับ และทุกคนมีความพึงพอใจในผลงานที่เกิดขึ้น โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ประหยัดที่สุด และได้รับผลตอบแทนคุ้มค่า 3. ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) โครงการทุกโครงการจะต้องดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ นำผลที่เกิดขึ้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หากได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก็ถือว่ามีประสิทธิผล 4. ความยุติธรรม (Equity) การจัดสรรทรัพยากรทุกชนิด หรือการใช้จ่ายทรัพยากร จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง คล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

  22. การติดตามประเมินผล กำหนด เกณฑ์การประเมิน วิธีการตรวจสอบและ ประเมินผลโครงการ ใครเป็นผู้ประเมิน ประเมินอย่างไร ในขั้นตอนใดบ้าง

  23. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เมื่อโครงการที่ทำสิ้นสุดลง จะมีผลกระทบในทางที่ดีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นโดยตรงและโดยอ้อม โดยระบุให้ชัดเจนว่าใครจะได้รับผลประโยชน์และผลกระทบนั้น ได้รับในลักษณะอย่างไร ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

  24. การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ • กำหนดระดับของตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กิจกรรมนำส่งผลผลิต (CBF) • กำหนดประเด็นตัวชี้วัดก่อนเขียนตัวชี้วัด • กำหนดตัวชี้วัดรูปธรรม • ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวชี้วัด (VARS) • ความสมเหตุสมผล(ที่อธิบายได้)Validity • ความมีอยู่ของข้อมูลAvailability of Data • ความเชื่อถือได้ของข้อมูลReliability of Data • ความเคลื่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลง Sensibility • กำหนดค่าของตัวชี้วัด (เช่น ร้อยละ xx)

  25. การจัดลำดับความสำคัญของโครงการการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ง่าย กลุ่มที่ 3ง่ายในการปฏิบัติ แต่มีผลกระทบน้อย พิจารณาเป็นรายโครงการ กลุ่มที่ 1ง่ายในการปฏิบัติ และมีผลกระทบสูง ควรดำเนินการเป็นลำดับแรก To Implement กลุ่มที่ 4ยากแก่การปฏิบัติ และยังมีผลกระทบน้อย พิจารณาทบทวนเงื่อนไข และกลยุทธ์ในการดำเนินการให้เหมาะสม กลุ่มที่ 2ยากแก่การปฏิบัติ แต่มีผลกระทบสูง จำเป็นต้องวางแผนดำเนินการเป็นระยะยาว(แบ่งเป็นเฟส) ยาก ต่ำ สูง Level of Impact

  26. การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาลการวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล โครงการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายและผู้มีส่วนได้เสีย เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน/โครงการ หลักการมีส่วนร่วม โครงการมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่มาในการกำหนดแผนงาน/โครงการอย่างชัดเจนและได้ให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ง่ายหรือไม่ หลักความโปร่งใส โครงการได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการและ/หรือแก้ปัญหาของผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ หลักการสนองตอบรับ โครงการได้มีการดำเนินการเพื่อสะท้อนว่าการตอบสนองความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเป็นธรรมและเสมอภาคหรือไม่ หลักความเสมอภาค

  27. การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล(ต่อ)การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล(ต่อ) การจัดการความเสี่ยง หมายถึง แนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดความเป็นไปได้ในการเกิดเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับที่คาดการณ์ไว้ หรือ ลดขนาดของการสูญเสียอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่คาดการณ์ไว้ โดย 1. ลดความรุนแรงของความเสี่ยง 1.1 ลดระดับความรุนแรง 1.2 ลดความเป็นไปได้ในการเกิด 2. การโอนถ่ายความเสี่ยง 2.1 โอนถ่ายโดยใช้สัญญา เช่น จ้างผ็ดำเนินการภายนอก 2.2 โอนถ่ายโดยใช้การทำประกัน 3. การแบกรับความเสี่ยง คือ การที่หน่วยงานเจ้าของโครงการแบกรับความเสี่ยงไว้จัดการเองภายในหน่วยงาน 4. การสร้างระบบเตือนภัยรวมถึงการมีแผนฉุกเฉินรองรับการดำเนินการ 5. การกระจายความเสี่ยง หรือ การแบ่งรับความเสี่ยง

  28. ปัญหาการเขียนโครงการที่มีผลต่อความสำเร็จปัญหาการเขียนโครงการที่มีผลต่อความสำเร็จ และความล้มเหลวของโครงการ • ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ ขาดข้อมูลที่มีความเป็นจริง หรือขาดข้อมูลที่จะต้องใช้จริง จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนำเอาโครงการไปปฏิบัติให้เกิดเป็นผลได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ • ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาการจัดทำในระยะอันสั้น ทำให้ไม่สามารถศึกษาข้อมูลได้อย่างละเอียด ขาดการวิเคราะห์ที่ดีพอ เมื่อเขียนโครงการจึงเป็นปัญหายุ่งยากในการนำเอาโครงการไปปฏิบัติ • ขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากต่อการตรวจสอบ ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน และมีผลสืบเนื่องถึงการประเมินผลโครงการด้วย • การเขียนโครงการเป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานทั้งสิ้น • ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์การ แม้จะเขียนดีเพียงใด หากผู้บริหารไม่ให้ความสนใจขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นต่อการทำโครงการอย่างเพียงพอ ย่อมจะสร้างปัญหาให้แก่การดำเนินโครงการได้เช่นเดียวกัน • ขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทำให้เกิดปัญหาในการทำโครงการ โครงการดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้

  29. ประเด็นข้อคำนึงการกลั่นกรองโครงการประเด็นข้อคำนึงการกลั่นกรองโครงการ ความสอดคล้อง ความจำเป็น • ช่วยพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหาย • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างรายได้ ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ ความคุ้มค่า ความเหมาะสม&เป็นไปได้ ผลลัพธ์หรือประโยชน์ของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ • ด้านเทคนิค(วิธีการ/รูปแบบดำเนินการ) • ด้านกายภาพ (ความพร้อมพื้นที่/บุคลากร/การบริหารจัดการ) • ด้านงบประมาณ (วงเงินกับประโยชน์ที่ได้) • ด้านระยะเวลา (เสร็จภายในปีงบประมาณ,มีการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบ)

  30. ปฎิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

  31. ปฎิทินการจัดทำคำรับรองการปฎิบัติงานและการประเมินผลการปฎิบัติงานขององค์การมหาชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

  32. คำถาม-คำตอบ

  33. อพท. ขอขอบคุณ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

More Related