1 / 41

มโนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

มโนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. ความสำคัญของโลกที่เป็นที่อยู่ของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมคืออะไรมีความสำคัญอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของระบบนิเวศน์ การพัฒนาประเทศ คุณภาพสิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต.

giles
Download Presentation

มโนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มโนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมโนทัศน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของโลกที่เป็นที่อยู่ของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมคืออะไรมีความสำคัญอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของระบบนิเวศน์ การพัฒนาประเทศ คุณภาพสิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต

  2. การบ้าน คะแนนเดี่ยว 5% ส่วนของอ.ประสิทธิ์ส่งวันอังคารที่ 6 พ.ย. 55 ตอนท้ายชั่วโมง ให้นิสิต เตรียมกระดาษ A4 คนละ 2 แผ่น ให้วาดรูปในหัวข้อเรื่อง “สิ่งแวดล้อมที่บ้านของฉัน” และ เขียนบรรยายว่าสิ่งแวดล้อมที่บ้านของฉันมีอะไรบ้าง รวมถึงอธิบายกลไกความสัมพันธ์ของระบบนิเวศน์ของท่านว่างมีความสัมพันธ์อย่างไร สรุปได้ว่าระบบนิเวศน์ของบ้านที่ท่านอาศัยอยู่เป็นระบบนิเวศน์ประเภทไหน

  3. จงอธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศของนิสิตจงอธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศของนิสิต

  4. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต อนินทรีย์สาร อินทรีย์สาร สภาพแวดล้อมทางกายภาพ องค์ประกอบที่มีชีวิต จงอธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศของนิสิต

  5. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต องค์ประกอบที่มีชีวิต ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้บริโภคขั้นปฐมภูมิ ผู้บริโภคขั้นทุติยภูมิ ผู้บริโภคขั้นตติยภูมิ ผู้ย่อยสลาย จงอธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศของนิสิต

  6. จงอธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศของนิสิตจงอธิบายองค์ประกอบของระบบนิเวศของนิสิต

  7. การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ (Energy Transfer)

  8. การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ (Energy Transfer)

  9. ชีวิตและระบบสนับสนุนชีวิต • ชีวิตดำรงอยู่บนโลกนี้ได้ ต้องอาศัย • การไหลเททางเดียวของพลังงานคุณภาพสูง (the one-way of high quality (unable) energy) • การหมุนเวียนสสาร (the cycling of matter) • แรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) • ที่ทำให้ชั้นบรรยากาศยังคงเคลือบคลุมโลกอยู่ • ที่เป็นเหตุให้เกิดการไหลเวียนของเคมีสารในรูปแบบต่างๆ

  10. ชีวิตและระบบสนับสนุนชีวิตชีวิตและระบบสนับสนุนชีวิต • พระอาทิตย์: แหล่งพลังงานแหล่งเดียวของชีวิต • เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการสังเคราะห์แสง • เป็นพลังในการหมุนเวียนสสาร • เป็นแรงขับเคลื่อนระบบภูมิอากาศ • โครงสร้างของพระอาทิตย์ • ประกอบด้วยไฮโดรเจน ร้อยละ ๗๒ และฮีเลี่ยม ร้อยละ ๒๘ • มีอุณหภูมิและความกดสูงมาก อันเป็นผลมาจากปฏิกิริยาฟิวชั่นของนิวเคลียร์ ทำให้เกิดพลังงานมหาศาลแผ่ออกมาในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic spectrum)

  11. ลิขิตของพลังงานแสงอาทิตย์ • มีพลังงานจากพระอาทิตย์ ๑ ส่วนใน ๑ พันล้านส่วนเท่านั้น ที่ส่งผ่านมาถึงโลกของเรา • ร้อยละ ๓๔ ของพลังงานจากพระอาทิตย์ที่ตกมายังโลกแล้วสะท้อนกลับออกไปด้วยวิธีต่างๆ • ร้อยละ ๖๖ ของพลังงานจากพระอาทิตย์ที่ตกมายังโลกถูกปรับแปลงไปเป็นความร้อน • ร้อยละ ๐.๐๒๓ ของพลังงานจากพระอาทิตย์ที่ตกมายังโลก ถูกดูดซับไว้โดยพืชสีเขียวและแบคทีเรียบางอย่างเพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสง

  12. ลิขิตของพลังงานแสงอาทิตย์

  13. ลิขิตของพลังงานแสงอาทิตย์

  14. วัฏจักรโภชนาการและชีวภูมิเคมีวัฏจักรโภชนาการและชีวภูมิเคมี • การหมุนเวียนต่อเนื่องของมวลสารที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตสู่ร่างของสิ่งมีชีวิต และย้อนกลับสู่สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต • วัฏจักรนี้ถูกขับเคลื่อนทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยรังสีพระอาทิตย์ และแรงโน้มถ่วงของโลก • มีวัฏจักรบางอย่างที่ขอยกเป็นตัวอย่าง • วัฏจักรของอ๊อกซิเจน • วัฏจักรของคาร์บอน • วัฏจักรของฟอสฟอรัส • วัฏจักรของไนโตรเจน

  15. Biogeochemical Cycles:Water Cycle

  16. วัฏจักรอุทกและน้ำ • วัฏจักรนี้จะทำหน้าที่รวบรวม ฟอกให้สะอาด และกระจายอุปทานน้ำไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก มีกระบวนการหลัก คือ • การระเหย (evaporation)การเปลี่ยนจากน้ำไปสู่ไอน้ำ • น้ำซึมน้ำซับ (transpiration)การระเหยของน้ำที่รากไม้ดูดซับไว้แล้วส่งไปเกิดการระเหยที่ใบ • การกลั่นตัว (condensation)เปลี่ยนไอน้ำเป็นหยดน้ำ

  17. ที่มาของน้ำ • หยาดน้ำฟ้า (precipitation)ได้แก่ ฝน หิมะ ลูกเห็บ • น้ำที่สะสมตัวอยู่ในชั้นดิน (infiltration) เป็นการเคลื่อนตัวของน้ำใต้ผิวโลก • น้ำพุ (percolation) เป็นน้ำที่เคลื่อนตัวลงผ่านชั้นดินและชั้นหิน ไปสู่พื้นที่เก็บกักน้ำใต้ดินลึก • น้ำท่า (runoff)เป็นน้ำที่ไหลลงมาตามพื้นที่ลาดชันลงไปสู่ทะเล เป็นจุดเริ่มต้นของวัฏจักรของน้ำต่อไป

  18. วัฏจักรของน้ำ • วัฏจักรของน้ำได้รับการขับเคลื่อนจากพระอาทิตย์และแรงโน้มถ่วงของโลก • รังสีของพระอาทิตย์ส่งผลให้เกิดการระเหยของน้ำ • ร้อยละ ๘๔ ของความชื้นมาจากมหาสมุทรที่เป็นแหล่งสะสมน้ำทั้งมวลที่ไหลลงมาจากแผ่นดิน

  19. Biogeochemical Cycles:Oxygen Cycle

  20. Biogeochemical Cycles:Carbon Cycle

  21. วัฏจักรคาร์บอน การเคลื่อนตัวของอะตอมของคาร์บอนที่ปะปนอยู่ในอากาศและน้ำเข้าสู่สิ่งมีชีวิต (ผ่านการสังเคราะห์แสงและเมตาบอลิสซึม) จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของพืชทั้งหลาย อีกทั้งยังผ่านเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหาร ซึ่งที่นั่นคาร์บอนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต และท้ายที่สุด อะตอมของคาร์บอน ก็จะกลับเข้าสู่สิ่งแวดล้อม

  22. Biogeochemical Cycles:Nitrogen Cycle

  23. วัฏจักรของไนโตรเจน ไนโตรเจนส่วนใหญ่ปนเปอยู่ในอากาศ (ร้อยละ ๗๘ เป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ หรือ N2) แต่ต้องเข้าใจกันว่า พืชทั้งหลายไม่สามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศได้ แต่พืชจะต้องเปลี่ยนไนโตรเจนให้มาอยู่ในรูปของแร่ธาตุเสียก่อนจึงจะใช้ได้ (พืชใช้ไนโตรเจนในรูปของ NH4และ NO3) ซึ่งก็มีแบคทีเรียหลายชนิด (rhizobium) และไซอะโนแบคทีเรีย (cyanobacteria) ที่ใช้ไนโตรเจนพวกนี้ ทั้งนี้ไนโตรเจนจะเข้าไปสู่ห่วงโซ่อาหารของพืช จากนั้นก็จะกลับเข้าสู่ดิน ที่จะอาศัยแบคทีเรียในดินแปรสภาพกลับสู่อากาศอีกคราหนึ่ง

  24. Biogeochemical Cycles:Phosphorous Cycle

  25. วัฏจักรของฟอสฟอรัส ฟอสเฟต (PO4-3) เกิดมาจากหินและแร่ที่แตกหัก จากนั้นฟอตเฟตก็จะละลายน้ำ ซึ่งก็มีการปะปนสะสมไปสู่สิ่งมีชีวิตต่างๆ ฟอสเฟตที่สะสมอยู่ในอินทรีย์เหล่านี้จะถูกเคลื่อนย้ายผ่านห่วงโซ่อาหาร ผ่านไปจากผู้ผลิตไปองค์ประกอบทั้งปวงของสู่ระบบนิเวศ ซัลเฟอร์ส่วนใหญ่ถูกสะสมตามธรรมชาติในรูปซัลไฟด์ในหินและแร่ ซัลเฟอร์ในบรรยากาศได้มาจากภูเขาไฟ บึงหนอง ที่ชุ่มน้ำ และหล่มหนอง ซึ่งเป็นที่ก่อตัวของไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กระบวนการระเหยของน้ำทำให้เกิดกรดซัลฟูริก (H2SO4) หนึ่งส่วนสามของซัลเฟอร์ (ร้อยละ ๙๙ ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์) ที่มีอยู่ในอากาศ เชื่อไหมว่า มนุษย์เป็นคนผลิตขึ้นมา

  26. มนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไรมนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไร วิดิทัศน์กำเนิดโลก จาก The Miracle Planet “เปิดบันทึกโลกมหัศจรรย์” แผ่น 2 ตอนที่ 11 ย่างก้าวสู่งความเป็นมนุษย์ นาทีที่ 5 ถึง นาทีที่ 17

  27. วิวัฒนาการของมนุษย์

  28. คุณสมบัติของมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสติปัญญาสูง มีความสามารถในการจำ การคิด การปรับตัว การเอาตัวรอด การวางแผน รู้จักควบคุมจิตใจและอารมณ์ได้ดี มีการสร้างขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม มีภาษา มีความสามารถด้านต่างๆ รวมถึงสืบทอดเผ่าพันธุ์และแพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก มนุษย์มีกิเลส (มีรัก, มีโลภ, มีโกรธ และมีหลง), เป็นไปตามกฎธรรมชาติ (เกิด แก่ เจ็บ และตาย) และ วัฏสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด

  29. คำสอนตามหลักพุทธศาสนาหลักอริยสัจ 4 “ทุกข์” การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยากความยึดมั่นถือมั่น “สมุทัย” เหตุแห่งทุกข์ ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง “นิโรจ” ความดับทุกข์ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน “มรรค” หนทางไปสู่ความดับทุกข์ มรรค 8 (ศีล สมาธิ ปัญญา)

  30. การพัฒนากับสิ่งแวดล้อม (Development and Environment) ทรัพยากร ประชากร การใช้ทรัพยากรของแต่ละคน ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจ ตัวอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสังคมมนุษย์

  31. โลกมีทรัพยากรจำกัดเป็นสัจธรรม ยิ่งกว่านั้นปริมาณของทรัพยากรยังลดลงเรื่อยๆ เพราะเรานำมาใช้ให้หมดไปอีกด้วย จากวันที่บรรพบุรุษของมนุษย์ถือกำเนิดขึ้นมา ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนในขณะนี้มีกว่า 7 พันล้านคนแล้ว แต่ละคนใช้ทรัพยากรเพื่อดำรงชีวิต นับจากวันที่เรามีเทคโนโลยีใหม่ในรูปของการรู้จักทำเกษตรกรรมแทนการเก็บของป่าและล่าสัตว์ เราแต่ละคนใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นซึ่งแสดงออกมาทางการขยายตัวของเศรษฐกิจ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เราคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา มันมีคุณอนันต์ แต่ก็มักแฝงโทษมหันต์มาด้วย โทษบางอย่างมองเห็นได้ง่าย แต่บางอย่างมองไม่ค่อยเห็น เช่น เทคโนโลยีนิวเคลียร์ซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้สูงแต่เป็นอาวุธร้ายแรงมาก และสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรช่วยผลิตอาหารได้มาก แต่หากใช้แบบไม่ระวัง มันจะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อแหล่งน้ำและดิน

  32. ปัจจัยเหล่านี้ยังผลให้มีการแย่งชิงทรัพยากรกันอย่างกว้างขวางและอย่างเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ วิธีแย่งชิงกันบางอย่างอาจมองเห็นได้ง่าย แต่บางอย่างอาจมองไม่ค่อยเห็น เช่น การยึดครองสินทรัพย์ของคนอื่นจากในระดับบุคคลจนถึงระดับประเทศซึ่งนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง ความขัดแย้ง สงครามและความฉ้อฉลด้วยกลยุทธ์ต่างๆ การแย่งชิงเกิดขึ้นทั้งที่คนส่วนใหญ่มีทุกอย่างที่ร่างกายต้องการแล้ว มันเกิดขึ้นเพราะเราส่วนใหญ่ซึ่งล้วนยึดความสุขเป็นจุดหมายในชีวิตคิดไม่ถึงว่า หลังจากร่างกายได้รับการตอบสนองเบื้องต้นแล้ว การใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นทั้งเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวันและเพื่อการสะสมวัตถุไม่ทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เรื่องแนวนี้มีอยู่แล้วในคำสอนของศาสนามา

  33. การพัฒนากับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิตการพัฒนากับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับคุณภาพชีวิต

  34. Rachel Carson (1907-1964)เธอเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักนิเวศวิทยา และนักเขียน เป็นบรรณาธิการหนังสือเกี่ยวกับทะเลที่ขายดีมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1962เธอเขียนหนังสือที่ทรงคุณค่ามากที่สุดเล่มหนึ่งขึ้นมา คือSilent Springซึ่งถือเป็นการช็อกวงการมาก เพราะเธอเสนอให้คว่ำบาตรดีดีทีและสารปราบศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ถือกันว่าหนังสือเล่มนี้ได้ทิ้งระเบิดลูกใหญ่มากให้กับอุตสาหกรรมเคมีในห้วงเวลานั้น จึงสมควรให้เกียรติที่จะยกย่องว่า เป็นจุดก่อกำเนิดให้คนทั้งหลายปรับตัวเข้ามาสู่กระแสใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม

  35. หนังสือ Silent Spring (1962) ของ Rachel Carson ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยใช้ชื่อเรื่องว่า เงามฤตยู (บางคนแปลว่า ฤดูใบไม้ผลิที่ไร้เสียง หรือ ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบสนิท) โดยคุณหญิงดิฐการภักดี (สายหยุด บุญรัตพันธุ์)และหม่อมวิภา จักรพันธ์โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ.2517 และ 2525หนังสือเล่มนี้ได้ทำให้เกิดความสำนึกในปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และเริ่มตื่นตัวมากขึ้นๆ โดย Carsonระบุว่าความก้าวหน้าทางการผลิตและการค้าซึ่งผลักดันโดยการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ ได้เข้าทำลายถิ่นที่อาศัยอันแสนวิเศษของเราเองที่สำคัญนั้นหนังสือได้เผยแพร่เตือนภัยอันตรายของสารเคมี และทำนายว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และระบบนิเวศของโลกจะถูกทำลายเสียหายอย่างไม่มีทางเรียกกลับคืนมาได้ หากมนุษยชาติยังไม่หยุดใช้สารเคมี

  36. Carsonชี้ว่า สารประกอบจำพวก Chlorinated Hydrocarbon เช่น DDT ไม่เพียงแต่จะทำลายแมลงศัตรูที่เป็นเป้าหมายเท่านั้น แต่ยังทำลายสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ด้วย ซึ่งการทำลายสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมายมีด้วยกันสองลักษณะ คือ 1) เข้าทำลายสิ่งที่ไม่ใช่เป้าหมายโดยตรง มีการค้นพบว่า DDT เป็นพิษต่อปลาโดยเฉพาะที่มีขนาดเล็ก (ลูกปลา หรือปลาที่มีอายุน้อย) ปู และสัตว์น้ำอื่นๆและ 2) การเข้าทำลายสิ่งที่ไม่ใช่เป้าหมายทางอ้อม หมายถึง การตกค้างในธรรมชาติได้เป็นระยะเวลานาน . . . ดังนั้นที่มาของคำว่า Silent Spring ก็คือ ไม่มีเสียงนกใดๆ ร้องเลยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพราะนกได้กินแมลงและหนอนที่ถูกสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจนตายหมด

  37. ธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบทั้งภายในและภายนอกประเทศธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบทั้งภายในและภายนอกประเทศ

  38. ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  39. การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ที่ขาดความยั้งคิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ที่ขาดความยั้งคิด

More Related