1 / 16

ซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ

ซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ. โดย : นางสาวเพลินพิศ หวานจิตร รหัสนิสิต 49101010444 HM16 section B 07. Nero Burning Rom.

Download Presentation

ซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ซอฟต์แวร์ที่น่าสนใจ โดย: นางสาวเพลินพิศ หวานจิตร รหัสนิสิต 49101010444 HM16 sectionB 07

  2. Nero Burning Rom

  3. ปัจจุบันไดร์ฟซีดีรอมหรือ Compact Disk - Read Only Memory Drive กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วเครื่องใหม่ๆหรือเมื่อ 2-3 ปีก่อนมักจะมีซีดีรอมมาเป็นอุปกรณ์ชุดของคอมพิวเตอร์เลยไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เนมหรือประกอบเองตามห้างอย่างพันธุ์ทิพย์เนื่องจากเทคโนโลยีการพัฒนาซีดีรอมไดร์ฟเองทำให้ราคาต่อหน่วยถูกลงราคาเพียงพันต้นๆเราก็สามารถซื้อหามาใช้กันได้แล้วปัจจุบันไดร์ฟซีดีรอมก็มีความเร็วในการอ่านแผ่นกันสูงมากถึง 50X ขึ้นไปกันแล้วซึ่งคงไม่เร็วไปมากกว่านี้แล้วด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยีของไดร์ฟเองที่เป็นแบบ CLV ซึ่งจะทำให้การอ่านข้อมูลผิดพลาดได้เนื่องจากการหมุนแผ่นที่เร็วมากเกินไปนั่นเองเหตุผลทีทำให้ซีดีรอมไดร์ฟได้รับความนิยมจนกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในคอมพิวเตอร์ก็เนื่องจากความจำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ๆนั่นเองสมัยก่อนเราคงจะเคยมีประสบการณ์ที่เวลาจะใช้โปรแกรมสักตัวหนึ่งจะต้องติดตั้งจากแผ่นดิสก์เก็ตหลายๆแผ่นอย่างไมโครซอฟท์ออฟฟิศก็มีด้วยกันถึง 10 แผ่นหากเกิดปัญหากับแผ่นใดก็เป็นอันว่าหมดหวังครับนอกจากนี้แล้วโปรแกรมต่างๆที่มีการพัฒนาขึ้นมาในเรื่องความสามารถก็มีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วยไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมใช้งานหรือเกมส์ซึ่งก็จะถูกบันทึกลงบนแผ่นซีดีรอมทั้งสิ้นด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้การใช้ซีดีรอมไดร์ฟมีความจำเป็นมากขึ้นตามลำดับจนในปัจจุบันกล่าวได้เลยว่าร้อยเปอร์เซนต์ของโปรแกรมหรือเกมส์จะถูกจัดเก็บลงบนซีดีรอมทั้งสิ้นและแน่นอนครับว่าต้องติดตั้งผ่านไดร์ฟซีดีรอม

  4. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมจากเหตุผลข้างต้นทำให้เราต้องสัมผัสกับซีดีรอมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งที่เป็นโปรแกรมหรือโอเอสที่เราจำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งานหรือเกมส์และเพลง MP3 ที่เราใช้สำหรับพักผ่อนเพื่อความบันเทิงซึ่งแผ่นซีดีรอมเหล่านี้เราอาจได้มาจากการซื้อหาหรือจัดทำได้ด้วยตัวเองด้วยการก๊อปปี้โปรแกรมหนังเพลงที่เราชอบซึ่งก็จะช่วยให้เราประหยัดไปได้มากครับการเริ่มต้นเขียนแผ่นซีดีสำหรับมือใหม่เราคงอาจสงสัยครับว่าต้องมีอะไรกันบ้างสิ่งที่เราต้องมีก็จะต้องประกอบด้วย1. ไดร์ฟสำหรับอ่านหรือเขียนแผ่นซีดีรอม (CD Writer)แน่นอนครับก่อนอื่นเราต้งอมีไดร์สำหรับอ่านและเขียนแผ่นซีดีรอมหรือที่เรียกว่า CD Writer ก่อนซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายแบบหลายยี่ห้อราคาก็ลดลงมามากซึ่งมีตั้งแต่ราคา 6 พันถึงหมื่นกว่าบาทซึ่งก็จะมีประสิทธิภพในการเขียนและความเร็วต่างกันซึ่งตรงนี้คิดว่าเราคงหารายละเอียดจากหนังสือคู่มือการซื้ออุปกรณ์ได้ไม่ยากครับแต่ที่อยากแนะนำก็คือของ HP ครับเนื่องจากประสบการณ์ที่ใช้อยู่ยอมรับเลยครับว่าเขียนแล้วไม่มีปัญหาแผ่นเสียน้อยมากอีกทั้งรองรับการเขียนที่ความเร็วต่างๆหรือที่เรียกว่า Multi Read

  5. . แผ่นซีดีรอมเปล่าแบบที่เขียนครั้งเดียว CD-R หรือแบบที่เขียนซ้ำได้ CD-RWนอกจาก CD-Writer แล้วลำดับต่อมาก็ต้องเตรียมแผ่นซีดีรอมเปล่าสำหรับเขียนข้อมูลซึ่งก็พอที่จะแยกได้เป็น 2 แบบด้วยกันดังนี้ • แผ่นซีดีรอมแบบอ่านและเขียนอย่างเดียวหรือ CD-R เป็นแผ่นซีดีรอมที่เราเห็นขายกันอยู่ทั่วไปซึ่งเราสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียวเมื่อนำไปใช้จะไม่สามารถอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถลบข้อมูลในแผ่นได้เหมาะกับการจัดเก็บข้อมูลที่เราต้องการเก็บไว้ถาวรไม่ต้องการอัพเดตเข่นโปรแกรมเพลงหรือเก็บข้อมูลสำคัญๆซึ่งก็มีตั้งแต่ราคา 15 - 40 บาทแล้วแต่ความจุและคุณภาพแต่เน้นนิดนึงนะครับว่าแผ่นที่ราคาแพงก็ใช่ว่าจะดีมีคุณภาพเสมอไปเพราะจากประสบกาณ์แล้วผมใช้แผ่นละ 18 บาทที่มีความจุถึง 700 เมกกะไบต์ก็สามารถเขียนแผ่นได้อย่างไม่มีปัญหาและแผ่นก็สามารถใช้งานได้ดีทีเดียว • แผ่นซีดีรอมแบบอ่านและเขียนได้หลายครั้งหรือ CD-RWเป็นแผ่นซีดีรอมที่มีขายทั่วไปเช่นกันสามารถเขียนข้อมูลได้หลายครั้งซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอ้างว่าสามารถเขียนได้เป็นพันครั้งแต่สำหรับผมคิดว่าสักร้อยครั้งนี่ก็คุ้มแล้วกลัวว่าแผ่นจะเป็นรอยเสียไปหรือหายไปก่อนล่ะมากกว่าเหมาะกับการเขียนข้อมูลที่มีการอัพเดตบ่อยๆเช่นการแบ็คอัพข้อมูลหรือใครเป็นประเภทขี้เบื่อใช้โปรแกรมหรือดูหนังฟังเพลงบ่อยๆกลัวบ้านจะรกไปด้วยซีดีก็ลงทุนหน่อยครับครั้งเดียวซื้อหา CD-RW มาใช้ซึ่งราคาก็จะแพงกว่าแผ่น CD-R ประมาณ 4 - 5 เท่าคือราคาตกประมาณ 80 - 250 บาทซึ่งก็อีกละครับว่าแผ่นที่ราคาแพงก็ใช่ว่าจะดีมีคุณภาพเสมอไปเพราะจากประสบกาณ์แล้วผมใช้แผ่นละ 80 บาทที่มีความจุถึง 650 เมกกะไบต์ก็สามารถเขียนแผ่นได้อย่างไม่มีปัญหาและแผ่นก็สามารถใช้งานได้ดีไม่แพ้แผ่นแบบแบรนด์เนมเลย • โปรแกรมสำหรับเขียนแผ่นซีดีรอมมีโปรกรมสำหรับเขียนแผ่นซีดีรอมหลายตัวในปัจจุบันที่น่าใช้และเป็นที่นิยมสามารถรองรับการเขียนแผ่นแบบต่างๆทั้ง CD-R หรือ CD-RW ได้รวมถึงมีวิซาร์ด (Wizard) ในการช่วยเขียนและสามารถเขียนแผ่นซีดีรอมได้ทั้งแบบข้อมูล (Data CD) แบบเพลง (Audio CD) หรือแบบหนัง (VCD) โปรแกรมหนึ่งในนั้นที่มีความสามารถสูงและใช้งานงายตัวหนึ่งที่จะขอแนะนำก็คือ nero BURNING ROM

  6. รู้จักกับ nero BURNING ROM    nero BURNING ROM เป็นโปรแกรมสำหรับเขียนแผ่นซีดีรอมของบริษัท Ahead Software ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่ปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 5.0.2.2 แล้วโปรแกรมสามารถใช้งานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงมากเหมาะกับการเขียนซีดีรอมในทุกแบบทุกประเภทก็ว่าได้หา nero BURNING ROM ได้จากไหนเราสามารถดาวน์โหลด nero BURNING ROM ได้จากเว็บไซต์ของ Ahead Software ได้เลยที่ลิงค์ http://www.ahead.de/en/Download.htm หรือเว็บดาวน์โหลดโปรกรมดังๆอย่าง www.download.com หรือ www.tucows.com ก็ได้โดยโปรแกรมมีขนาด 4.85 เมกกะไบต์ทำงานบนวินโดวส์ 95, 98, NT และ 2000 รู้จักกับการใช้งาน nero BURNING ROM ตัวเก่งเมื่อเราดาวน์โหลดและทำการติดตั้งโปรแกรมรเรียบร้อยแล้วโปรแกรมจะสร้างช็อตคัทไอคอนลงบนเดสก์ท็อปให้เราดับเบิ้ลคลิกได้เลยก็จะเข้าสู่โปรแกรมซึ่งโปรแกรมจะให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัวรวมทั้ง Serial Number ซึ่งเราจะได้มาก่อต่อเมื่อต้องลงทะเบียนซื้อโปรแกรมก่อนครับแต่กรณีที่เราจะลองใช้กันก่อนดีแล้วค่อยซื้อหากันก็ได้ครับให้คลิกที่ปุ่ม Demo ได้เลย

  7. รูปที่ 1 กรอกรายละเอียดก่อนใช้งาน โปรแกรมจะแจ้งให้เราทราบว่าตอนนี้เราใช้โปรแกรมในแบบเดโมหรือทดลองใช้อยู่จะจำกัดเวลาการใช้ของเราจนถึงเวลาที่กำหนดที่ได้แสดงไว้ซึ่งถ้าหมดเวลาก็ไม่สามารถใช้ได้ครับนอกจากนี้หากเราซื้อเวอร์ชั่นจริงแล้วจะสามารถใช้งานได้ไม่จำกัดเวลาและยังสามารถใช้ฟังก์ชั่นการทำงานของโปรแกรมได้ทุกฟังก์ชั่นเช่นการเขียนลงแผ่นซีดีสองแผ่นในเวลาเดียวกันได้เป็นต้นซึ่งก็อ่านข้อดีที่ว่าได้จากไดอะล็อกนี้ครับจากนั้นก็ให้เรากดปุ่ม OK เพื่อใช้งานโปรแกรมกันเลย

  8. รูปที่ 2 กรอกรายละเอียดก่อนใช้งาน • ในลำดับแรกของการใช้งานจะเข้าสู่หน้าจอหลักของโปรแกรมที่ไดอะล็อกบ๊อกซ์ New Compilation คือการเลือกประเภทของการเขียนซีดีนั่นแองครับเพราะว่าซีดีเราก็เห็นๆกันอยู่นะครับว่ามีหลายแบบหลายประเภทแต่สังเกตว่าโปรแกรมจะเลือกเป็นประเภท CD-ROM (ISO) ให้เราเนื่องจากเป็นมาตรฐานของการเขียนซีดีส่วนใหญ่หรือใช้สำหรับการเก็บข้อมูลธรรมดาลงแผ่นซีดีเช่นการสำรองข้อมูลเป็นต้นโดยจะเลือกมาที่ส่วนแท็บ Multisession ก่อนซึ่งเจ้า Multisession นี้คือการกำหนดว่าจะให้มีการเขียนซีดีรอมในลักษณะแบบใดซึ่งประกอบด้วย • Start Multisession disk     คือให้การเขียนซีดีรอมนี้สามารถเขียนต่อในตอนหลังได้ • Continue Multisession      ใช้สำหรับเขียนต่อจากแผ่นที่ได้เขียนไปแล้วก่อนหน้า • No Multisession         กำหนดให้ไม่มีการเขียนต่อในภายหลัง • ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักจะใช้ตัวเลือกที่ 3 ในการเขียนแผ่นซีดีทั่วๆไปซึ่งก็มักจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องแผ่นเสียสำหรับตัวเลือกนี้

  9. รูปที่ 3 กำหนดการใช้ Multisession ในการเขียนแผ่นซีดี • กำหนดรูปแบบการเขียนไฟล์ที่ File Optionsถัดมาในแท็บของ File Options จะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของไฟล์ที่จะทำการเขียนลงในซีดีซึ่งก็จะประกอบด้วย  File/Directorynames   length สำหรับกำหนดความยาวของชื่อไฟล์และไดเร็กทอรีหรือโฟลเดอร์ซึ่งมีด้วยกัน 2 แบบคือ • ISO Level 1      สำหรับกำหนดชื่อไฟล์และไดเร็กทอรีที่จะเขียนลงแผ่นได้ 11 ตัวอักษรคือเป็นชื่อไฟล์ 8 ตัวและนามสกุลอีก 3 ตัวซึ่งเป็นลักษณะของชื่อไฟล์แบบเก่า • ISO Level 2         สำหรับกำหนดชื่อไฟล์และไดเร็กทอรีที่จะเขียนลงแผ่นได้ยาวถึง 31 ตัวอักษรซึ่งกรณีที่เรามีโฟลดอร์ยาวๆก็ควรใช้ตัวเลือกนี้ถ้าใช้แบบแรกจะทำให้อ่านไม่ออกครับ

  10. เริ่มเขียนแผ่นซีดีด้วย nero BURNING ROM กันเลยหลังจากที่กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆในการเขียนซีดีเรียบร้อยแล้วเราจะมาลองเริ่มเขียนแผ่นซีดีกันเลยซึ่งจากตัวอย่างผมจะเขียนแผ่นเพลง MP3 จากแผ่นต้นฉบับไปยังแผ่นซีดีเปล่าก็จะมีขั้นตอนดังนี้     1. เลือกประเภทการเขียนแผ่นเป็น CD-ROM (ISO) จากนั้นกำหนด Multisession เป็น No Multisession เนื่องจากผมต้องการเขียนครั้งเดียวครับไม่ต้องการเขียนต่อเพราะแผ่น MP3 เพลงเยอะครับเขียนครั้งเดียวก้อเต็มแล้วครับ 2. กำหนด File Option เป็น ISO Level 2 พร้อมกับ Format เป็น Mode 2 เพื่อให้รองรับการเขียนไฟล์และโฟลเดอร์ยาวๆได้พร้อมกับกำหนดตัวเลือก Juliet ด้วยเพื่อให้รองรับภาษาไทยส่วน Character Set และ Relax ISO Restricstion ให้ใช้ค่าดีฟอลต์ของโปรแกรม

  11. 3. กำหนด Volumn Discriptor เป็น ISO 9660 พร้อมทั้งกำหนดรายละเอียดของแผ่นให้เรียบร้อย 4. กำหนด Date หรือวันที่ของไฟล์และไดเร็กทอรีที่เขียนลงในแผ่นซีดีในที่นี้ระบุเป็น Use the date and time from original file คือใช้วันเวลาเดียวกันกับไฟล์ต้นฉบับ 5. กำหนด Burn แผ่นซีดีโดยกำหนด Action ที่ต้องการในที่นี้กำหนดให้ Write เพียงอย่างเดียวไม่ต้อง Determine Maximum Speed และ Simulation เนื่องจากว่าต้องใช้เวลาในการเขียนแผ่นถึง 2 เท่าแต่จะอาจมีความเสี่ยงสูงเพราะที่ผมใช้ตัวเลือก Write อย่างเดียวเพราะใช้บ่อยครับไม่มีปัญหาแต่ถ้าสำหรับคุณๆหากกลัวละก็อแนะนำให้เลือกตัวเลือก Simulation ด้วยครับพร้อมกันนี้ก็ให้กำหนด Writer Speed เป็น 4X คือเขียนที่ความเร็วสูงสุดไปเลยครับจะได้เสร็จไวๆ

  12. 6. ก็เป็นอันว่าเสร็จขั้นตอนการกำหนดค่าการเขียนซีดีเรียบร้อยให้คลิกปุม Next ต่อไป 7. โปรแกรมจะแสดงไฟล์บราวเซอร์และหน้าต่างเลย์เอาต์ของแผ่นซีดีที่เราจะเขียนข้อมูลลงไปให้เราเลือกโฟลเดอร์ทั้งหมดของแผ่นแล้วลากไปวางในหน้าต่างเลย์เอาต์ดังรูปที่ 13 โปรแกรมจะแสดงรายการที่จะเขียนลงในซีดีพร้อมกับขนาดของข้อมูลที่แถบแสดงขนาดข้อมูลด้านล่างโดยแถบสีน้ำเงินคือขนาดของข้อมูลที่เลือกเขียนจริงแต่จากรูปจะเห็นว่ามีแถบสีส้มเกิดขึ้นแสดงว่าข้อมูลที่เราเลือกมีขนาดเกินความจุที่แผ่นจะรับได้ให้คลิกเลือกโฟลเดอร์บางตัวออกจนมีแต่แถบสีน้ำเงินไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่สามารถเขียนแผ่นได้

  13. 8. คลิกเลือกเมนู File แล้วเลือกคำสั่ง Write CD เพื่อสั่งให้เริ่มทำการเขียนแผ่นซีดีจากข้อมูลที่เราใส่ไว้ในหน้าต่างเลย์เอาต์ 9. โปรแกรมจะกลับมาที่ส่วน Burn อีกครั้งเพื่อให้เราตรวจสอบเงื่อนไขการเขียนแผ่นซีดีอีกครั้งซึ่งหากเราเปลี่ยนใจจะกำหนดยกเลิกอะไรก็ทำได้อีกครั้งเมื่อแน่ใจแล้วให้คลิกที่ปุ่ม Write ได้เลย 10. โปรแกรมจะเริ่มเขียนข้อมูลงในผ่นซีดีโดยจะให้เราใส่แผ่นที่จะเขียนข้อมูลหรือแผ่นเปล่าไปที่ CD-Writer จากนั้นก็จะเริ่มเขียนแผ่นตอนนี้ก็ให้เรารอจนกว่าจะเขียนเสร็จครับซึ่งก็ถ้าเต็มความจุ 650-700 เมกกะไบต์ก็ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาทีที่ CD-Writer 4X ครับ

  14. 11. เมื่อโปรแกรมเขียนแผ่นซีดีเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะคายแผ่น (Eject) ที่ CD-Writer ที่เขียนเสร็จแล้วออกมาพร้อมกับแสดงไดอะล็อกบ๊อกซ์ว่าเขียนแผ่นเสร็จเรียบร้อยก็เป็นอันว่าเราได้แผ่นเพลง MP3 สมใจเรียบร้อยแล้วครับสามารถนำไปใช้ฟังได้เลย

  15. ส่งท้ายกับ nero BURNING ROMถึงตอนนี้เราก็สามารถใช้ nero BURNING ROM กันได้แล้วครับในการจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมยังมีฟังก์ชั่นในการเขียนแผ่นอีกเช่นการเขียนแผ่นวีดีโอซีดี (VCD)การเขียนแผ่นออดิโอ (Audio CD) เป็นต้นซึ่งเราก็เลือกประเภทของการเขียนแผ่นซีดีที่ต้งการแทน CD-ROM (ISO) ที่เราเลือกจากในตัวอย่างนี้แทนในส่วนรายละเอียดต่างๆก็มีลักษณะคล้ายกันซึ่งใช้งานไม่ยากครับซึ่งเราก็คงจะเห็นแล้วว่า nero BURNING ROM เป็นโปรแกรมเขียนซีดีที่ใช้งานง่ายมีประสิทธิภาพสูงในขณะเขียนแผ่นซีดีสามารถใช้งานโปรแกรมอื่นๆก็ได้ด้วยไม่ทำให้การเขียนเสียหายแต่ก็อาจจะโหลดทำให้ช้าบ้างดังนั้นหากคราวต่อไปคุณคิดจะเขียนแผ่นซีดีแล้วละก็อย่าลืมคิดถึง nero BURNING ROM โปรแกรมเขียนแผ่นซีดีตัวเก่งนี้นะครับ

  16. สาเหตุที่เลือกโปรแกรมนี้ก็คือ ในชีวิตประจำวันของข้าพเจ้า มีความจำเป็นที่ต้องใช้โปรแกรมนี้อย่างมาก ทั้งการทำงานส่ง การฟังเพลง ดูหนัง บันเทิงต่างๆ ข้าพเจ้าจึงอยากรู้ถึงรายละเอียดของโปรแกรมนี้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อการใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

More Related