1 / 35

อุตสาหกรรมเซรามิกส์

อุตสาหกรรมเซรามิกส์. โดย นางสาววราภรณ์ ชำนิงาน. อุตสาหกรรมเซรามิกส์. เซรามิกส์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย และแร่ธาตุต่างๆ นำมาผสมกัน แล้วทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หลังจากนั้นจึงนำไปเผาเพื่อเปลี่ยนเนื้อวัตถุให้แข็งแรง สามารถคงรูปอยู่ได้

ginny
Download Presentation

อุตสาหกรรมเซรามิกส์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุตสาหกรรมเซรามิกส์ โดย นางสาววราภรณ์ ชำนิงาน

  2. อุตสาหกรรมเซรามิกส์ เซรามิกส์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบในธรรมชาติ เช่น ดิน หิน ทราย และแร่ธาตุต่างๆ นำมาผสมกัน แล้วทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หลังจากนั้นจึงนำไปเผาเพื่อเปลี่ยนเนื้อวัตถุให้แข็งแรง สามารถคงรูปอยู่ได้ อุตสาหกรรมเซรามิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานรองรับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น   วัสดุทนไฟเป็นวัสดุพื้นฐานของอุตสาหกรรมการถลุงและผลิตโลหะ  ซีเมนต์เป็นวัสดุสำคัญของงานการก่อสร้างและสถาปัตยกรรม เป็นต้น

  3. กระบวนการผลิตเซรามิกส์มีขั้นตอนดังนี้กระบวนการผลิตเซรามิกส์มีขั้นตอนดังนี้ • การเตรียมวัตถุดิบ • การขึ้นรูป • การตากแห้ง • การเผาดิบ • การเคลือบ • การเผาเคลือบ นอกจากนี้ อาจมีการตกแต่งให้สวยงามโดยการเขียนลวดลายด้วยสีหรือการติดรูปลอก สามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังเคลือบ

  4. การเตรียมวัตถุดิบ วัตถุดิบอาจแบ่งเป็น • วัตถุดิบหลัก เช่น ดิน เฟลด์สปาร์ ควอตซ์ • วัตถุดิบอื่นๆ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้น เช่น ดิกไคต์โดโลไมต์ เป็นต้น

  5. วัตถุดิบหลัก ดินเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตเซรามิกส์หลายประเภท โดยเฉพาะที่ใช้เป็นภาชนะรองรับอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ กระเบื้อง องค์ประกอบที่สำคัญของดิน คือ SiO2, Al2O3, Fe2O3 ,CaO, MgO K2O และ Na2O ซึ่งดินจากที่ต่างกันจะมีองค์ประกอบในสัดส่วนที่ต่างกัน แบ่งดินตามลักษณะทางกายภาพ จะแบ่งได้ดังนี้

  6. ดินขาว ดินขาวเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ดินขาวบริสุทธิ์ มีสูตรเคมีเป็น Al2O3 (2SiO2.2H2O) ในประเทศไทยพบดินขาวในลักษณะที่เป็นสีขาวหรือสีอ่อนทั้งในสภาพที่ยังไม่ได้เผาและหลังเผา เช่น ที่จังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ ปราจีนบุรี ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช

  7. ดินเหนียว ดินเหนียวมีสีขาวคล้ำจนถึงดำสนิท เนื้อละเอียด เหนียวและแข็งแรงทนทานกว่าดินขาว พบมากที่ ลำปางเชียงใหม่ ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี เมื่อนำดินเหนียวผสมกับดินขาว จะทำให้เนื้อดินแน่น และเนียนมากขึ้น สะดวกในการขึ้นรูปและทำเป็นผลิตภัณฑ์

  8. เฟลด์สปาร์ เฟลด์สปาร์(หินฟันม้า) เป็นสารประกอบอะลูมิโนซิลิเกตของธาตุหมู่ I และ II ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบคงที่ ทำหน้าที่ช่วยให้เกิดการหลอมเหลวที่อุณหภูมิต่ำ ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อแก้ว ทำให้เกิดความโปร่งใส ในเนื้อดินโซดาเฟลด์สปาร์ที่มี Na ในปริมาณมาก จะใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำเคลือบและใช้โพแทสเฟลด์สปาร์ มี K ในปริมาณมาก จะใช้เป็นส่วนผสมในเนื้อดินปั้น

  9. ควอตซ์ ควอตซ์(หินเขี้ยวหนุมาน) องค์ประกอบคือ ซิลิกา ส่วนมากใสไม่มีสี ถ้ามีสิ่งเจือปนจะให้สีต่างๆ ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ช่วยให้เกิดความแข็งแรงไม่โค้งงอ ทำให้ผลิตภัณฑ์หดตัวน้อย

  10. แร่โดโลไมต์ แร่โดโลไมต์แร่หรือหินตะกอนที่ประกอบด้วย [CaMg(CO3)2] เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะคล้ายหินปูน ผสมเล็กน้อยในเนื้อดินลดจุดหลอมเหลวของวัตถุดิบ และผสมในน้ำเคลือบ

  11. สารประกอบออกไซด์ BeOและ Al2O3ผสมในผลิตภัณฑ์ที่ทนไฟสูงSiO2  และ B2O3ผสมเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นเนื้อแก้วSnO2 และ ZnOใช้เคลือบเพื่อทำให้ทึบแสง

  12. ดิกไคต์ ดิกไคต์องค์ประกอบเหมือนดิน แต่มีโครงสร้างผลึกต่างกัน ปริมาณของอลูมินาที่เป็นองค์ประกอบมีผลต่อสมบัติของผลิตภัณฑ์ • อะลูมินาร้อยละ 28-32 โดยมวล จะเป็นหินแข็ง นำมาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ ไว้ประดับตกแต่ง • อะลูมินาร้อยละ 11-28 โดยมวล ใช้ทำวัสดุทนไฟ ทำกระเบื้องปูพื้นอะลูมินาร้อยละต่ำกว่าข้างต้น ใช้ทำปูนซีเมนต์ขาว วัตถุดิบทุกชนิดที่ใช้ผลิตเซรามิกส์ จะต้องทำให้บริสุทธิ์และบดให้มีความละเอียดตามต้องการ จากนั้นจึงน้ำมาผสมกับน้ำและสารอื่นๆ ทำให้เนื้อดินอยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการขึ้นรูป

  13. การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ 1. การเทแบบ โดยผสมดินกับน้ำจนได้ที่แล้วเทลงในแบบซึ่งมีรูปร่างต่างๆ ปล่อยไว้จนแข็งตัว จากนั้นจึงแกะแบบและตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เรียบร้อยการขึ้นรูปด้วยวิธีนี้ ใช้ในการผลิตแจกัน ขวด และเครื่องสุขภัณฑ์ต่างๆ

  14. 2.การขึ้นรูปโดยใช้แป้นหมุน 2.การขึ้นรูปโดยใช้แป้นหมุน จะปั้นได้เฉพาะภาชนะที่มีลักษณะกลม ทรงกลมหรือทรงกระบอก เช่น การปั้นไห โอ่ง อ่าง กระถาง แจกัน การปั้นต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษจึงจะได้เป็นรูปทรงตามต้องการ

  15. 3.การหลอมเหลว โดยหลอมเหลวเนื้อผลิตภัณฑ์ด้วยความร้อนแล้วเทลงในแบบโลหะหรือแบบทราย จากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีเนื้อแน่นมากและทนต่อการกัดกร่อนสูง 4.การอัดเนื้อดินผ่านหัวแบบ เป็นวิธีการขึ้นรูปที่นิยมใช้ในระบบอุตสาหกรรมเช่น การทำผลิตภัณฑ์วัสดุทนไฟ กระเบื้อง

  16. 5.การอัดผงเนื้อดินลงในแบบโลหะ 5.การอัดผงเนื้อดินลงในแบบโลหะ เป็นวิธีการขึ้นรูปที่นิยมใช้ในระบบอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปเสร็จแล้ว ควรเก็บในที่ร่มให้เนื้อดินแห้งอย่างช้าๆ แล้วนำมาตกแต่งให้ผิวเรียบ จากนั้นจึงนำไปตากหรืออบที่อุณหภูมิประมาณ 40-60 องศาเซลเซียส

  17. การเผาและเคลือบ การเผาครั้งแรก เรียกว่า เผาดิบ โดยเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงรูปไม่แตกชำรุด ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่หลังจากเผาดิบแล้วต้องเคลือบผิวเพื่อความสวยงามคงทน ป้องกันรอยขีดข่วน แต่บางชนิดไม่ต้องเคลือบ เช่น กระถางต้นไม้ อิฐ ไส้เครื่องกรองน้ำ เป็นต้น สารที่ใช้เคลือบ เป็นสารผสมระหว่างซิลิเกตกับสารช่วยหลอมละลาย มีลักษณะเหมือนแก้วบางๆ ฉาบติดอยู่บนผิวผลิตภัณฑ์

  18. ส่วนผสมของน้ำเคลือบ แบ่งตามสมบัติทางเคมีได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่1สารช่วยลดอุณหภูมิการหลอมละลายของน้ำเคลือบ เช่น ออกไซด์โลหะแอลคาไลน์และแอลคาไลน์เอิร์ท รวมทั้งออกไซด์ของตะกั่ว สังกะสี และออกไซด์ที่ทำให้เกิดสี เช่นNa2O , Li2O , K2O , CaO , ZnOเป็นต้น กลุ่มที่ 2กลุ่มสารที่เป็นสารทนไฟและให้สี เช่นAl2O3 , Sb2O3 , Mn2O3 , Bi2O3 กลุ่มที่ 3 กลุ่มสารที่ช่วยให้ทึบแสง เช่น SiO2, SnO2, TiO2, ZrO2, CeO2, ThO2, P2O5, Ta2O5

  19. เทคนิคและวิธีการเคลือบขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของผลิตภัณฑ์ เมื่อเผาเคลือบเสร็จแล้วควรปล่อยให้อุณหภูมิลดลงช้าๆ จนผลิตภัณฑ์เกือบเย็นแล้วจึงนำออกจากเตา

  20. ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ • ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่ใช้เป็นภาชนะรองรับหรือปรุงอาหารเช่นถ้วย ชาม หม้อหุงต้ม • ผลิตภัณฑ์กระเบื้องเช่นกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องกรุฝาผนัง • ผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ เช่น โถส้วม อ่างล้างหน้า ที่วางสบู่ • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานด้านไฟฟ้า เช่น กล่องฟิวส์ ฐานและมือจับสะพานไฟ • วัสดุทนไฟ เช่น อิฐฉนวนไฟทนไฟ • ผลิตภัณฑ์แก้ว เช่น แก้ว กระจก

  21. ใช้ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ควรคำนึงถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสารตะกั่วที่ใช้เป็นตัวช่วยลดอุณหภูมิการหลอมละลายและทำให้มีสีสดใส ถ้าเคลือบยึดติดกับผิวเนื้อดินปั้นไม่ดี สารที่เคลือบอาจกะเทาะและมีสารตะกั่วหลุดออกมาได้ เพราะฉะนั้นการนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้ใส่สารที่เป็นกรดหรือเป็นเบส จึงไม่สมควร เช่นการใส่อาหารที่เป็นกรดเบส ก็จะทำให้ภาชนะนั้นถูกกร่อน และมีสารตะกั่วปนหลุดออกมา เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

  22. ผลิตภัณฑ์แก้ว แก้วคือ ผลิตภัณฑ์ซึ่งผลิตขึ้นจากทรายแก้วหรือซิลิกา โซดาแอช หินปูน โคโลไมต์ และเศษแก้วร้อยละ 30 สารที่ผสมลงไปช่วยลดจุดหลอมเหลวของซิลิกาจาก 1,723oCให้เหลือ 1,500-1,600oCเมื่อนำส่วนผสมมาให้ความร้อน หินปูน โซดาแอช และโดโลไมต์จะเปลื่ยนเป็นสารประกอบออกไซด์ และหลอมเหลวลงเกิดเป็นน้ำแก้ว จากนั้นจึงลดอุณหภูมิลงเพื่อให้น้ำแก้วมีความหนืด แล้วจึงขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แก้วแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยอาศัยองค์ประกอบทางเคมีได้ดังนี้

  23. แก้วโอปอลคือ แก้วที่มีการเติมNaFหรือ CaF2เพื่อให้เกิดการตกผลึกในเนื้อแก้ว ทำให้แก้วมีความขุ่น โปร่งใส มีความทนต่อกรด-เบสและความแข็งแรงปานกลาง

  24. แก้วโซดาไลม์คือ แก้วที่ประกอบด้วยซิลิกาประมาณ 70% Na2O ประมาณ 10% CaOประมาณ 10% แก้วชนิดนี้ไม่ทนต่อกรด-เบส ยอมให้แสงขาวผ่านแต่ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต สามารถทำให้เกิดสีโดยเติมสารประกอบออกไซด์ลงไป เช่น ออกไซด์ของนิกเกิลทำให้เกิดสีน้ำตาล แก้วโซดาไลม์ใช้ทำแก้ว ขวด ภาชนะบรรจุทั่วไป กระจกกันกระสุน

  25. แก้วโบโรซิลิเกตคือ แก้วซึ่งมีโบรอนออกไซด์เป็นองค์ประกอบ เพื่อลดสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อน ทำให้ทนอุณหภูมิสูงได้ ทนการกัดกร่อนของสารเคมี จึงใช้แก้วโบโรซิลิเกตทำเป็นอุปกรณ์เครื่องแก้วในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ ภาชนะบรรจุ ซึ่งใช้กับเตาไมโครเวฟ

  26. แก้วคริสตัลคือ แก้วซึ่งมีตะกั่วออกไซด์และโพแทสเซียมออกไซด์ มีดัชนีหักเหสูง ทำให้มีประกายแวววาว แก้วคริสตัลจึงใช้ทำแก้ว เชิงเทียน ตุ๊กตาซึ่งมีความสวยงามเป็นประกาย หรือใช้ทำเครื่องประดับ

  27. ปูนซีเมนต์ (CEMENT) ปูนซีเมนต์ หมายถึงผงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการบดปูนเม็ด ซึ่งเกิดจากการเผาส่วนผสมต่างๆ ได้แก่ แคลเซียมคาร์บอเนต ซิลิกา อะลูมินา และออกไซด์จากเหล็ก สัดส่วนของวัตถุดิบแตกต่างกันจะทำให้มีสมบัติแตกต่างกัน

  28. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ • วัตถุดิบเนื้อปูน เป็นเป็นส่วนประกอบหลักร้อยละ 80 หินปูน ดินสอพองหรือดินมาร์ล หินอ่อน หินชอล์ก • วัตถุดิบเนื้อดิน ส่วนใหญ่ใช้หินดินดาน ประกอบด้วย ซิลิกา อะลูมินา และออกไซด์ของเหล็ก เป็นส่วนประกอบร้อยละ 15-18 • วัตถุดิบปรับคุณภาพ เป็นวัตถุดิบที่มีเนื้อปูน อลูมินา ซิลิกาหรือเหล็กออกไซด์ปริมาณสูง ใช้ในกรณีที่ส่วนผสมมีองค์ประกอบไม่เป็นไปตามข้อกำหนด • สารเติมแต่ง จะเติมหลังการเผาปูน เพื่อปรับสมบัติบางประการ

  29. กรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์กรรมวิธีการผลิตปูนซีเมนต์ จำแนกออกตามลักษณะของวัตถุดิบที่นำใช้ได้เป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ 1. กรรมวิธีการผลิตแบบเปียก (Wet Process) 2. กรรมวิธีการผลิตแบบแห้ง (Dry Process)

  30. แบบเผาเปียก ใช้ในกรณีความชื้นสูง เช่น มีดินดำ ดินขาว หรือ ดินเหนียวเป็นส่วนประกอบ   กระบวนการผลิต นำวัตถุดิบผสมกันตรมสัดส่วนบดให้ละเอียดแล้วนำมาตีรวมกับน้ำจนเป็นน้ำดิน สูบน้ำดินที่ผ่านกรรมวิธีปรับคุณภาพมาสู่เตาเผา จะได้เป็นปูนเม็ดเก็บไว้ในไซโล เมื่อนำปูนเม็ดผสมกับยิปซัมแล้วบดละเอียดจะได้ปูนซีเมนต์ผง การผลิตแบบนี้ใช้พลังงานมากและต้นทุนสูงจึงไม่นิยม

  31. แบบเผาแห้ง ใช้ในกรณีความชื้นต่ำ เช่น มีหินปูน หรือ หินดินดานเป็นส่วนประกอบ กระบวนการผลิตนำวัตถุดิบทั้งหมดมาบดผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสมแล้วนำไปเผาแบบฝุ่นแห้ง เมื่อนำปูนซีเมนต์มาผสมกับน้ำจะจับตัวแข็งและมีกำลังอัดสูง จึงใช้เป็นตัวประสานวัสดุชนิดเม็ด เช่น ทรายหยาบ กรวด และหินให้เกาะตัวแน่นเป็นคอนกรีตได้

  32. ปูนซีเมนต์แบ่งประเภทตามประโยชน์ตามใช้งานปูนซีเมนต์แบ่งประเภทตามประโยชน์ตามใช้งาน ได้แก่ 1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 2. ปูนซีเมนต์ผสม

  33. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ • ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดา ใช้สำหรับงานการก่อสร้างตามปกติทั่วไป • ประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สำหรับใช้ในการทำคอนกรีตหรือผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกิดความร้อนและทนซัลเฟตได้ปานกลาง • ประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดแรงเร็วสูง ใช้ในงานคอนกรีตที่ต้องการถอดแบบได้เร็ว หรืองานที่ต้องการใช้เร็วเพื่อแข่งกับเวลา

  34. ประเภทที่ 4 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทเกิดความร้อนต่ำ ใช้ในงานคอนกรีตที่มีเนื้อหนาๆ • ประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภททนซัลเฟตได้สูง ใช้ในงานก่อสร้างบริเวณดินที่มีความเค็มปนอยู่ เช่น ในทะเลหรือตามชายฝั่ง

  35. ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ผสม(Mixed Cement) เป็นการนำปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 ผสมกับทรายหรือหินบดละเอียด ประมาณ25-30% ซึ่งทำให้ง่ายต่อการใช้งาน ลดการแตกร้าว เหมาะกับงานก่ออิฐ ฉาบปูน

More Related